ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์

ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์ (อังกฤษ: Quine-McCluskey algorithm) เป็นหนึ่งในขั้นตอนวิธีที่ใช้สำหรับการลดรูปนิพจน์ตรรกศาสตร์ให้อยู่ในรูปอย่างง่ายที่มีประสิทธิภาพสูง พัฒนาโดย ดับเบิลยู.วี. ควิน (W.V.Quine) และเอ็ดเวิด เจ. แมกคลัสกีย์ (Edward J. McCluskey)

ขั้นตอนวิธีของควิน-แม็กคลัสกีย์เป็นขั้นตอนวิธีที่ช่วยในการลดรูปนิพจน์ตรรกะได้เมื่อข้อมูลขาเข้าที่มีปริมาณตัวแปรจำนวนมาก แต่ในการทำงานยังมีข้อจำกัดในเรื่องของเวลาอยู่ จึงควรดูขนาดของข้อมูลขาเข้า ว่ามีขนาดเท่าไหร่ และสมควรที่จะใช้วิธีการนี้หรือไม่ หากไม่สมควรควรจะเลือกใช้วิธีการอื่นที่สามารถลดนิพจน์ตรรกะได้ เช่น วิธีการเอกเพรซโซ่ ซึ่งเป็นวิธีการที่จะใช้ผ่านโปรแกรม[ต้องการอ้างอิง]

วิธีการทำงาน แก้

วิธีการนี้มีขั้นตอนการทำงานเหมือนกับการทำแผนผังคาร์โนห์ (Karnaugh map หรือ K-map) แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ในด้านการนำไปประยุกต์เพื่อสร้างโปรแกรมคอมพิวเตอร์อย่างมีประสิทธิภาพ และด้านการใช้งานกับนิพจน์ตรรกศาสตร์ที่มีตัวแปรเป็นจำนวนมาก
ขั้นตอนการทำงาน แบ่งออกเป็นสองขั้นตอน ดังนี้:

  1. รวมเทอมเข้าด้วยกันเพื่อลดจำนวนเทอม
  2. สร้างตารางเพื่อหานิพจน์ตรรกศาสตร์ในรูปอย่างง่าย

รหัสเทียม แก้

ตัวอย่างรหัสเทียม แก้

ตัวอย่างรหัสเทียมสำหรับการทำงานของขั้นตอนวิธีควิน-แมกคลัสกีย์
Function QM1 ( levels ) returns primes
put { } (empty set) into primes
for each level level do
	irredundant level (remove duplicates from level)
	put { } (empty set) into nonprimes
	for every term term in level from 1 to the size of level 1 do
		for every term compterm in level from term + 1 to the size of level do
			put 1 into differentLiteral as a flag
			for every literal literal from 1 to NUMINPUTS do
				if literal literal of term  ?  literal literal of compterm then
					if differentLiteral = 1 then
						(there was no previous difference)
						put literal into differentLiteral
					else (there was a previous difference)
						put 1 into differentLiteral as a flag
						break (get out of this comparison loop)
					end if
				end if
			end for of literal
			if differentLiteral  ?  1 then (there was exactly one difference)
				add term to nonprimes
				add compterm to nonprimes
				add term with 2 in literal differentLiteral to level level + 1
		end for of compterm
	end for of term
	if the size of nonprimes > 0 then
		add all terms not in nonprimes to primes
	else
		break (get out of loop for levels)
	end if
end for of level
return primes

ข้อจำกัด แก้

ถึงแม้วิธีการนี้จะได้ผลดีกว่ากว่าแผนผังคาร์โนห์เมื่อใช้ลดนิพจน์ตรรกศาสตร์ที่มีตัวแปรมากกว่าสี่ตัวก็ตาม แต่เวลาที่ใช้ในการทำงานจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วตามจำนวนของตัวแปร (เพิ่มขึ้นในอัตราส่วนแบบฟังก์ชันเลขชี้กำลัง) โดยสามารถแสดงในรูปแบบของฟังก์ชันขอบเขตสูงสุดของตัวแปร   ตัว ได้เป็น   ซึ่งหากนิพจน์ตรรกศาสตร์มีจำนวนตัวแปรเท่ากับ 32 ตัว หรือ   อาจจะมีเทอมที่ไม่สามารถจับคู่ได้มากกว่า   เทอม ดังนั้นหากต้องการลดนิพจน์ตรรกศาสตร์ที่มีจำนวนตัวแปรมากๆ ควรใช้วิธีการอื่นแทน เช่น การใช้โปรแกรมเอสเปรสโซ่ เป็นต้น
ขั้นตอนวิธีนี้ เป็นขั้นตอนวิธีปัญหา เอ็นพี-แบบยาก เพราะมีอัตราการทำงานเติบโตในรูปของฟังก์ชันเอกซ์โพเน็นเชียล

ปัญหาที่เกี่ยวข้อง แก้

  • วิธีการของแพททริก

ตัวอย่างขั้นตอนการทำงาน แก้

ลดรูปนิพจน์ตรรกศาสตร์ต่อไปนี้:

 

รวมเทอมเข้าด้วยกันเพื่อลดจำนวนเทอม แก้

เนื่องจากนิพจน์ตรรกศาสตร์ดังกล่าว มีตัวแปรจำนวน 4 ตัว ได้แก่ A, B, C และ D ดังนั้นจึงสามารถสร้างตารางค่าความจริงได้ทั้งหมด 16 กรณี ดังนี้
A B C D - f
m0 0 0 0 0 - x
m1 0 0 0 1 - 0
m2 0 0 1 0 - 0
m3 0 0 1 1 - 0
m4 0 1 0 0 - 1
m5 0 1 0 1 - 1
m6 0 1 1 0 - 1
m7 0 1 1 1 - x
m8 1 0 0 0 - 1
m9 1 0 0 1 - 1
m10 1 0 1 0 - 1
m11 1 0 1 1 - 0
m12 1 1 0 0 - 0
m13 1 1 0 1 - 1
m14 1 1 1 0 - 0
m15 1 1 1 1 - x


ในการรวมเทอมเข้าด้วยกันเพื่อลดจำนวนเทอมนั้น จะพิจารณาจากเทอมที่มีค่าของ A,B,C และ D ต่างกันเพียง 1 บิต ตัวอย่างเช่น 0000 กับ 0100 (ต่างกันที่บิตที่สอง) หรือ 0000 กับ 1000 (ต่างกันที่บิตที่หนึ่ง) เป็นต้น ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการพิจารณา จะทำการแบ่งกลุ่มที่มีค่าของ A,B,C และ D ต่างกันเพียง 1 บิตโดยแบ่งตามจำนวนของเลข 1 ในค่า A,B,C และ D ดังนี้

จำนวนเลข 1 ใน A,B,C,D m ค่าของ A,B,C,D
0 m0 0000
1 m4 0100
m8 1000
2 m5 0101
m6 0110
m9 1001
m10 1010
3 m7 0111
m13 1101
4 m15 1111


จากตารางด้านบน จะเห็นว่าเราสามารถแบ่งกลุ่มที่มีค่าของ A,B,C,D ต่างกันเพียง 1 บิทได้เป็น 5 กลุ่ม ดังนั้นในการรวมเทอมที่มีรูปแบบคล้ายกัน เราจะพิจารณาแต่ละกลุ่มเทียบกันโดยใช้วิธีการเขียนตาราง ดังนี้

  1. เขียนค่าของ ABCD ที่ต้องการพิจารณาลงในคอลัมน์เริ่มต้นของตาราง (คอลัมน์ที่ 1)
  2. เปรียบเทียบค่า ABCD ที่ต่างกันเพียง 1 บิต (ค่าของกลุ่มติดกันที่แบ่งไว้ข้างต้น) เพื่อยุบรวมเป็นตัวเดียว โดยแทนตัวที่ต่างกันด้วย "-" และแทนตัวที่เหมือนกันด้วยตัวเลขนั้นๆ เขียนผลลัพธ์ลงในคอลัมน์ถัดไป (คอลัมน์ที่ 2) ตัวอย่างเช่น เปรียบเทียบ 0000 กับ 0100 แล้วรวมเป็น 0-00, เปรียบเทียบ 0000 กับ 1000 แล้วรวมเป็น -000 เป็นต้น
  3. เมื่อยุบรวมพจน์เรียบร้อยแล้ว ให้ทำการเขียนเครื่องหมายถูก "/" หากยุบไม่ได้ก็ใส่เครื่องหมายดอกจัน "*" ไว้ด้านหลังพจน์ที่ถูกยุบรวมแล้ว
  4. ทำการเปรียบเทียบค่า ABCD ไปเรื่อยๆ เพื่อยุบรวมพจน์จนกระทั่งไม่สามารถยุบรวมได้อีก
คอลัมน์ที่ 1 คอลัมน์ที่ 2 คอลัมน์ที่ 3
0000 / 0-00 * 01-- *
- -000 *
0100 / -1-1 *
1000 / 010- /
- 01-0 /
0101 / 100- *
0110 / 10-0 *
1001 /
1010 / 01-1 /
- -101 /
0111 / 011- /
1101 / 1-01 *
-
1111 / -111 /
11-1 /

จากตารางด้านบน แสดงให้เห็นว่าพจน์ที่ไม่สามารถยุบรวมได้อีก มีทั้งหมด 7 พจน์ ได้แก่ 0-00, -000, 100-, 10-0, 1-01, 01-- และ -1-1

สร้างตารางเพื่อหานิพจน์ตรรกศาสตร์ในรูปอย่างง่าย แก้

การสร้างตาราง แก้

การสร้างตารางในเบื้องต้น มีขั้นตอนดังนี้

  • สำหรับแต่ละแถว คือ พจน์ที่ไม่สามารถยุบรวมได้อีก ที่ได้หามาแล้วในขั้นตอนที่ 1
  • สำหรับแต่ละคอลัมน์ คือ พจน์ที่มีค่าฟังก์ชันเป็น 1
  • ทำเครื่องหมายกากบาท "X" ในตารางตามช่องที่มีตัวเลขในแถวและคอลัมน์เหมือนกัน


ขั้นตอนที่ 1
4 5 6 8 9 10 13
0,4 (0-00) X
0,8 (-000) X
8,9 (100-) X X
8,10 (10-0) X X
9,13 (1-01) X X
4,5,6,7 (01--) X X X
5,7,13,15 (-1-1) X X

การหารูปอย่างง่ายของนิพจน์ตรรกศาสตร์ แก้

หลังจากสร้างตารางเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลักการในการหารูปอย่างง่ายของนิพจน์ตรรกศาสตร์ คือการเลือกแถวให้น้อยที่สุด โดยเลือกให้ครอบคลุมทุกคอลัมน์

  • ในการเลือกแถวเบื้องต้นนั้น จะทำการตรวจสอบคอลัมน์ที่มีเครื่องหมาย "X" เพียงแถวเดียว แล้วทำการเลือกแถวนั้นๆ เนื่องจากเป็นแถวที่จำเป็นต้องเลือก หากไม่เลือกจะทำให้ไม่ครอบคลุมครบทุกคอลัมน์
  • ทำเครื่องหมายทั้งในแนวแถวและคอลัมน์ที่เลือก
ขั้นตอนที่ 2
4 5 6 8 9 10 13
0,4 (0-00) X
0,8 (-000) X
8,9 (100-) X X
8,10 (10-0) X X
9,13 (1-01) X X
4,5,6,7 (01--) X X X
5,7,13,15 (-1-1) X X
  • จากนั้นให้ทำเครื่องหมายให้กับ "X" ที่อยู่ในคอลัมน์เดียวกันทั้งหมด เพื่อแสดงว่าคอลัมน์นั้นๆ ได้ถูกครอบคลุมโดยแถวที่เลือกไปแล้ว
ขั้นตอนที่ 3
4 5 6 8 9 10 13
0,4 (0-00) X
0,8 (-000) X
8,9 (100-) X X
8,10 (10-0) X X
9,13 (1-01) X X
4,5,6,7 (01--) X X X
5,7,13,15 (-1-1) X X
  • เลือกแถวที่ครอบคลุม "X" ในคอลัมน์ที่เหลืออยู่ แล้วทำเครื่องหมายสำหรับแถวนั้น (หากมีหลายแถวจะต้องเลือกแถวที่ครอบคลุมคอลัมน์ได้มากที่สุด)
  • ผลที่ได้จะมีจำนวนแถวที่เลือกน้อยที่สุด และครอบคลุมส่วนที่เหลือทั้งหมดได้
ขั้นตอนที่ 4
4 5 6 8 9 10 13
0,4 (0-00) X
0,8 (-000) X
8,9 (100-) X X
8,10 (10-0) X X
9,13 (1-01) X X
4,5,6,7 (01--) X X X
5,7,13,15 (-1-1) X X

ดังนั้น นิพจน์ตรรกศาสตร์ในรูปอย่างง่าย คือ : 


ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

เชื่อมต่อภายนอก แก้