ขวานไทยใจหนึ่งเดียว

ขวานไทยใจหนึ่งเดียว เป็นเพลงที่แต่งโดยยืนยง โอภากุล (แอ๊ด คาราบาว) ขับร้องบันทึกเสียงโดยกลุ่มศิลปินนักร้องชาวไทยกว่า 40 ชีวิต โดยเป็นซิงเกิลการกุศลในปี พ.ศ. 2547 ซึ่งมีเนื้อหาปลุกจิตสำนึกให้คนไทยมีความรักสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จากความต้องการที่จะแสดงออกถึงความห่วงใยต่อสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้

"ขวานไทยใจหนึ่งเดียว"
เพลงโดยรวมศิลปิน
วางจำหน่ายธันวาคม พ.ศ. 2547
บันทึกเสียงเจนเอ็กซ์ อคาเดมี สตูดิโอ (1)
เซ็นเตอร์สเตจ เรคคอร์ดิ้ง สตูดิโอ (2)
ความยาว7 นาทีครึ่ง
ค่ายเพลงไม่มีสังกัด
ผู้ประพันธ์เพลงยืนยง โอภากุล

เบื้องหลัง แก้

เพลง ขวานไทยใจหนึ่งเดียว เกิดจากแนวคิดของคุณวินิจ เลิศรัตนชัย ผู้ริเริ่มโครงการ "สานใจไทย สู่ใจใต้" โดยต้องการให้เพลงนี้ถูกบรรจุด้วยนักร้องและบุคคลในวงการบันเทิงจำนวนมากที่จะมารวมกันปลุกจิตสำนึกและแสดงความห่วงใย โดยไม่มีเรื่องค่ายหรือธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยกำหนดแนวทางเพลงให้มีดนตรีไทยพื้นบ้านกับดนตรีสากล และเนื้อร้องที่สมบูรณ์แบบซึ่งทำงานสอดคล้องกับความเร่งด่วนของสถานการณ์ โดยมอบหมายให้ พงษ์พรหม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา และ เทียรี่ เมฆวัฒนา ทำหน้าที่เรียบเรียงเสียงประสาน ร่วมด้วย ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี มาเป่าขลุ่ยในช่วงอินโทรของเพลง รวมทั้งได้รับพระกรุณาจาก ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จร่วมขับร้องเพลงนี้ด้วย[1]

การเผยแพร่ แก้

"ขวานไทยใจหนึ่งเดียว" ถูกเผยแพร่เป็นซิงเกิ้ลวิทยุตามสถานีวิทยุทั่วประเทศ และมิวสิกวิดีโอทางสถานีโทรทัศน์ทุกช่อง โดยเป็นภาพการรวมตัวของเหล่าศิลปิน นักร้อง นักแสดง และคนในวงการบันเทิงกว่า 300 ชีวิตมาร้องเพลงร่วมกัน

คาราบาว ได้นำเพลงนี้มาขับร้องและบรรเลงอีกครั้ง ในอัลบั้ม สามัคคีประเทศไทย กลางปี พ.ศ. 2548 โดยเปลี่ยนให้ แอ๊ด คาราบาว ร้องนำเพียงคนเดียว และสมาชิกวงร้องประสานเสียง ส่วนภาคดนตรีได้เพิ่มสีสันด้วยทีม Light Orchestra ซึ่งมีนักดนตรีเครื่องสายและเครื่องเป่าจริง และได้หยิบเอาทำนองบรรทัดสุดท้ายของเพลงชาติไทย มาใส่ไว้ท้ายเพลง[2]

ผู้ขับร้อง แก้

ร้องเดี่ยว แก้

ร้องประสาน แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "'ขวานไทยใจหนึ่งเดียว'คือภาษาใจในภาษาเพลง จากเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 653 วันที่ 6 - 12 ธ.ค. 2547". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-15. สืบค้นเมื่อ 2010-05-25.
  2. "ขวานไทยใจหนึ่งเดียว-สามัคคีประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-25. สืบค้นเมื่อ 2010-06-03.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้