ก้นปิดถ้ำ หรือ เถาก้นปิดถ้ำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Stephania tomentella) เป็นพืชเลื้อยล้มลุกอายุหลายปีในสกุลสบู่เลือด ของวงศ์บอระเพ็ด ได้รับการอธิบาระบุชนิดครั้งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2531 โดย L.L. Forman เป็นหนึ่งใน 15 ชนิดที่เป็นพืชเฉพาะถิ่นของสกุลสบู่เลือดที่พบในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย[1]

ก้นปิดถ้ำ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
เคลด: พืชดอก
เคลด: พืชใบเลี้ยงคู่แท้
อันดับ: พวงแก้วกุดั่น
วงศ์: บอระเพ็ด
สกุล: สบู่เลือด
Forman
สปีชีส์: Stephania tomentella
ชื่อทวินาม
Stephania tomentella
Forman

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

เป็นพืชเลื้อยใช้ลำต้นเกี่ยวพันต้นไม้อื่น ไม่มีเนื้อไม้ หัวใต้ดิน บางครั้งอยู่เหนือพื้นดิน

ก้านใบยาวมาก ใบรูปหัวใจออกกลม ปลายใบแหลม ก้านใบอยู่กลางใบ (peltate) ขอบใบเรียบ ใบบาง หลังใบมีสีเขียวออกสีนวล ใบกว้างและยาว 7–9 ซม. (2.8–3.5 นิ้ว)

ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ ดอกย่อยขนาดเล็กมีจำนวนมาก กลีบเลี้ยงสีเขียวอ่อน กลีบดอกสีเขียวอ่อน เกสรตัวผู้สีเข้ม ล้อมเกสรตัวเมียอยู่กลางดอก

การแพร่กระจายและถิ่นที่อยู่ แก้

เป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย หายาก พบในภาคเหนือของประเทศไทยโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย [2] พบได้ทั่วไปตามหินปูน มักพบในระดับความสูง 500 เมตร ในป่าเบญจพรรณ[3] ตัวอย่างเดียวพบที่ ถ้ำตุ๊ปู่ อำเภอเมืองเชียงราย[4] อาจพบได้ที่เขาหินปูน อุทยานแห่งชาติภูซาง จังหวัดพะเยา

อ้างอิง แก้

  1. "Stephania tomentella Forman | Plants of the World Online | Kew Science". Plants of the World Online (ภาษาอังกฤษ).
  2. Threatened Plants in Thailand.--Bangkok : Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, 2017. 224 p. ISBN 978-616-316-334-9
  3. Thailand red data : plants. Thawatchai Santisuk, Thailand. Samnakngān Nayōbāi læ Phǣn Sapphayākō̜n Thammachāt læ Singwǣtlō̜m. Bangkok: Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. 2006. ISBN 978-974-286-183-4. OCLC 398144360.{{cite book}}: CS1 maint: others (ลิงก์)
  4. "HerbWeb - Details Page". apps.kew.org.