กึ่งแกนโท (semi-minor axis) คือส่วนของเส้นตรงภายในภาคตัดกรวย เช่น วงรี และ ไฮเพอร์โบลาในทางเรขาคณิต ตั้งฉากกับกึ่งแกนเอก มีปลายด้านหนึ่งอยู่ตรงตรงใจกลางของส่วนโค้ง นอกจากนี้แล้วยังเป็นหนึ่งในแกนสมมาตรของส่วนโค้ง สำหรับในวงรีจะตัดกับส่วนโค้งของวงรีเช่นเดียวกับกึ่งแกนเอก แต่ว่าเป็นแกนที่สั้นกว่า ส่วนในไฮเพอร์โบลาจะไม่ตัดกับส่วนโค้งของไฮเพอร์โบลา

กึ่งแกนเอก (สีแดง) และกึ่งแกนโท (สีน้ำเงิน) ของวงรี

วงรี แก้

ขนาดกึ่งแกนโทของวงรีเป็นระยะทางต่ำสุดที่ลากจากจุดศูนย์กลางของวงรี (ศูนย์กลางของส่วนของเส้นตรงระหว่างจุดโฟกัส 2 จุด) ไปยังขอบของวงรี

กึ่งแกนโท   มีความสัมพันธ์กับความเยื้องศูนย์กลาง  , กึ่งเลตัสเรกตัม   กึ่งแกนเอก   เป็นดังนี้

 

กึ่งแกนโทของวงรีเป็นค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของระยะทางสูงสุดจากจุดโฟกัสไปยังส่วนโค้งวงรี   และระยะทางต่ำสุดจากจุดโฟกัสไปยังส่วนโค้งวงรี  

 

ขนาดกึ่งแกนโทจะแสดงด้วยสูตรต่อไปนี้[1]

 

โดยที่   คือระยะห่างระหว่างจุดโฟกัส 2 จุด และ p และ q คือระยะห่างจากจุดโฟกัสแต่ละจุดไปยังจุดบนส่วนโค้งของวงรี

ไฮเพอร์โบลา แก้

 
ในภาพนี้ b คือกึ่งแกนโท (กึ่งแกนสังยุค) ของไฮเพอร์โบลา ส่วน a คือกึ่งแกนเอก

ในไฮเพอร์โบลา แกนโทมักเรียกว่า แกนสังยุค (conjugate axis) และกึ่งแกนโทก็อาจเรียกว่ากึ่งแกนสังยุค (semi-conjugate axis) โดยกึ่งแกนสังยุคหรือกึ่งแกนโทนี้คือเส้นที่ลากจากจุดยอดเส้นโค้งไฮเพอร์โบลาไปทางด้านบนหรือด้านล่างจนถึงเส้นกำกับ

ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวกึ่งแกนเอก   และความยาวกึ่งแกนโท   แสดงได้ด้วยสมการต่อไปนี้

 

หรืออาจความสัมพันธ์กันโดยใช้ความเยื้องศูนย์กลางดังนี้

 

ในไฮเพอร์โบลานั้นความยาวกึ่งแกนโท   อาจจะมากกว่าความยาวกึ่งแกนเอกได้  [2] ต่างจากกรณีของวงรีที่แกนเอกจะหมายถึงแกนที่ยาวกว่าแกนโทเสมอ

ดูเพิ่ม แก้

กึ่งแกนเอกและกึ่งแกนโท

อ้างอิง แก้