กีฬายิงปืนในโอลิมปิกฤดูร้อน

(เปลี่ยนทางจาก กีฬายิงปืนในโอลิมปิก)

กีฬายิงปืนในโอลิมปิก เป็นกีฬาที่แข่งกันที่ความแม่นยำ ปิแอร์ เดอ กูแบร์แตง (Pierre De Coubertin) ผู้ฟื้นฟูโอลิมปิกสมัยใหม่นั้น เขาก็เคยเป็นแชมป์ยิงปืนสั้นของประเทศฝรั่งเศสมาหลายปีก่อนแล้ว เขาได้ร่วมแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งแรกที่กรุงเอเธนส์ในปี 1896 ด้วย ในตอนนั้นมีการแข่งขันเพียง 3 รายการเท่านั้น จากนั้นกีฬายิงปืนก็ได้รับการบรรจุในโอลิมปิกมาโดยตลอด ขาดอยู่เพียง 2 ครั้ง คือ ปี 1904 ที่เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา และ ปี 1928 ที่ อัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ รายการประเภททีมซึ่งมีทั้งปืนสั้นและปืนยาวค่อยๆถูกตัดออกไปจนหมดไปอย่างสิ้นเชิงในปี 1948

กีฬายิงปืนในโอลิมปิกฤดูร้อน
สัญลักษณ์กีฬายิงปืน
หน่วยงานไอเอสเอสเอฟ
รายการ2 (ชาย: 1; หญิง: 1)
การแข่งขัน

การยิงปืนเป้าบินรายการสกีท (Skeet) ที่มีขึ้นในช่วงระหว่างปี 1910 ถึง 1915 ในฐานะกีฬาซ้อมมือสำหรับนักยิงปืนนั้นได้รับการบรรจุในโอลิมปิกปี 1968 ที่เม็กซิโกซิตี ประเทศเม็กซิโก

ในสมัยก่อนมีการแข่งขันแบบไม่จำกัดเพศด้วย เรียกว่ารายการโอเพ่น เป็นรายการที่ทั้งหญิงและชายแข่งขันกันด้วยความเสมอภาค ชิงเหรียญเดียวกัน และตลอดมาก็เป็นนักกีฬายิงปืนชายที่คว้าชัยชนะไปครอง จนถึงปี 1976 นักยิงปืนหญิงจึงสามารถเอาชนะได้เหรียญทองเป็นครั้งแรก ซึ่งเกือบทุกรายการแข่งขันในปัจจุบันนี้ทำการแข่งขันในร่มกันทั้งหมด ยกเว้นการแข่งขันยิงเป้าบินที่ยังเป็นการแข่งขันกลางแจ้งอยู่

สรุปผล แก้

ครั้งที่ ปี ค.ศ. จำนวนรายการ ทีมที่ผลงานดีที่สุด
1 1896 5   กรีซ
2 1900 9   สวิตเซอร์แลนด์
3
4 1908 15   สหราชอาณาจักร
5 1912 18   สวีเดน
6
7 1920 21   สหรัฐ
8 1924 10   สหรัฐ
9
10 1932 2   อิตาลี
11 1936 3   เยอรมนี
12
13
14 1948 4   สหรัฐ
15 1952 7   นอร์เวย์
16 1956 7   สหภาพโซเวียต
ครั้งที่ ปี ค.ศ. จำนวนรายการ ทีมที่ผลงานดีที่สุด
17 1960 6   สหภาพโซเวียต
18 1964 6   สหรัฐ
19 1968 7   สหภาพโซเวียต
20 1972 8   สหรัฐ
21 1976 7   เยอรมนีตะวันออก
22 1980 7   สหภาพโซเวียต
23 1984 11   สหรัฐ
24 1988 13   สหภาพโซเวียต
25 1992 13   ทีมรวม
26 1996 15   รัสเซีย
27 2000 17   จีน
28 2004 17   จีน
29 2008 15   จีน
30 2012 15   เกาหลีใต้
31 2016 15   อิตาลี
32 2020 15   จีน

อ้างอิง แก้