วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน

(เปลี่ยนทางจาก กิ้งก่าคาเมเลี่ยน)
กิ้งก่าคาเมเลี่ยน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: สมัยไมโอซีนตอนต้น-ปัจจุบัน, 26–0Ma
Chamaeleo zeylanicus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Iguania
อันดับฐาน: Acrodonta
วงศ์: Chamaeleonidae
สกุล
      Native range of Chamaeleonidae

วงศ์กิ้งก่าคาเมเลี่ยน (อังกฤษ: Chameleon) เป็นวงศ์ของสัตว์เลื้อยคลานจำพวกกิ้งก่า ใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Chamaeleonidae

ลักษณะ แก้

เป็นกิ้งก่าที่มีรยางค์ขาและมีลักษณะจำเพาะคือ ลำตัวแบนข้างมาก หางมีกล้ามเนื้อเจริญและใช้ยึดพันกิ่งไม้ได้ บนหัวและด้านหลังของคอมีสันเจริญขึ้นมาปกคลุม นิ้วเท้าแยกจากกันเป็นสองกลุ่ม คือ 2 นิ้วกับ 3 นิ้ว และอยู่ตรงกันข้ามกัน โดยนิ้วเท้าของขาหน้าเป็นกลุ่มของนิ้วที่ 1, 2 และ 3 และกลุ่มของนิ้วที่ 4 และ 5 ส่วนนิ้วเท้าของขาหลังเป็นกลุ่มของนิ้วที่ 1 และ 2 และกลุ่มของนิ้วที่ 3, 4 และ 5 ซึ่งเป็นการปรับปรุงเพื่ออาศัยบนต้นไม้โดยใช้ยึดติดกับกิ่งไม้

นอกจากนี้แล้วยังสามารถยืดลิ้นออกจากปากได้ยาวมาก เนื่องจากกระดูกการปรับปรุงโครงสร้างของกระดูกไฮออยด์ ตามีลักษณะโปนขึ้นมาทางด้านบนของหัวและแต่ละข้างเคลื่อนไหวเป็นอิสระจากกัน สามารถใช้ดวงตาเพียงข้างเดียวคำนวณระยะทางได้ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งต่างจากสัตว์มีกระดูกสันหลังชั้นอื่นที่ต้องใช้ตาทั้งสองข้างถึงจะคำนวณระยะทางได้ แต่ทว่ากิ้งก่าคาเมเลี่ยนไม่สามารถที่จะมองเห็นภาพในตำแหน่งหลังหัวได้[1] เปลือกตามีแผ่นหนังปกคลุม เกล็ดปกคลุมลำตัวมีขนาดเล็กและเรียงตัวต่อเนื่องกัน ไม่มีกระดูกในชั้นหนัง กระดูกหัวไหล่ไม่มีกระดูกอินเตอร์คลาวิเคิลและไม่มีกระดูกไหปลาร้า บางชนิดมีหางสั้นและบางชนิดมีหางยาว พื้นผิวด้านบนของลิ้นมีตุ่ม ฟันที่ขากรรไกรเกาะติดกับพื้นผิวกระดูกโดยตรง กระดูกพเทอรีกอยด์ไม่มีฟัน อีกทั้งยังถือว่าเป็นกิ้งก่าที่สามารถเปลี่ยนสีได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย เพื่อใช้ในการพรางตัว กิ้งก่าคาเมเลี่ยนหากินและใช้ชีวิตในเวลากลางวัน ขณะที่กลางคืนจะเป็นเวลาพักผ่อน เซลล์เม็ดสีก็จะพักการทำงานด้วย ดังนั้นในเวลากลางคืน สีต่าง ๆ ของกิ้งก่าคาเมเลี่ยนจะซีดลง บางชนิด บางตัวอาจจะซีดเป็นสีขาวทั้งตัวเลยก็มี[1]

มีความแตกต่างกันของขนาดลำตัวมาก โดยสกุลที่มีขนาดเล็กที่สุด คือ Brookesia และ Rhampholeon มีความยาวของลำตัว 2.5-5.5 เซนติเมตร และสกุล Chamaeleo มีขนาดลำตัวใหญ่ที่สุดโดยมีความยาวของลำตัว 7–63 เซนติเมตร ทุกสกุลทุกชนิดมีสีสันลำตัวสดใสสวยงามทั้ง เหลือง, เขียว, ฟ้า หรือแดง ยกเส้นสกุล Brookesia ที่มีสีลำตัวคล้ำ อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าและส่วนมากอาศัยและหากินบนต้นไม้ แต่ในสกุล Brookesia มีหางสั้นจะอาศัยบนพื้นดิน ออกหากินในเวลากลางวันและกินแมลงเป็นอาหารหลัก แต่ก็สามารถกินนกได้ โดยพบเป็นซากในกระเพาะของชนิดที่มีขนาดใหญ่ คือ Trioceros melleri และ Chamaeleo oustaleti เป็นต้น ขยายพันธุ์โดนการวางไข่ แต่สกุล Bradypodion และบางชนิดในสกุล Chamaeleo ตกลูกเป็นตัว จำนวนไข่และจำนวนลูกสัมพันธ์กับขนาดตัว

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนมีทั้งหมดด้วยกันประมาณ 140–150 ชนิด แพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา บนเกาะมาดากัสการ์ (โดยเฉพาะบนเกาะมาดากัสการ์จะพบได้ประมาณครึ่งหนึ่ง)[1] และบางพื้นที่ในอินเดีย และภาคพื้นอาหรับ รวมทั้งยุโรปตอนใต้ คือ สเปน และโปรตุเกส โดยเป็นกิ้งก่าที่นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง [2]

การจับเหยื่อ แก้

กิ้งก่าคาเมเลี่ยนจัดได้ว่าเป็นกิ้งก่าที่มีความโดดเด่นมากในหลายอย่างที่แตกต่างจากกิ้งก่าในวงศ์อื่น ประการหนึ่งก็คือ การใช้ลิ้นยาวในการจับเหยื่อ คือ แมลง กินเป็นอาหาร โดยมีความยาวของลิ้นมากกว่าความยาวลำตัวถึง 2 เท่า ที่ปลายลิ้นจะมีก้อนเนื้อและมีสารเหนียวเคลือบอยู่ ตัวลิ้นมีกล้ามเนื้อวงแหวนขนาดใหญ่ และมีกล้ามเนื้อตามความยาวของลิ้น กล้ามเนื้อวงแหวนถูกล้อมรอบด้วยก้านกระดูกอ่อนที่เจริญจากกระดูกฮัยโอแบรนเคียม ส่วนกล้ามเนื้อฮัยโอกลอสซัสอยู่ทางด้านท้ายของลิ้น กระดูกอ่อนเอนโทกลอสซัสเป็นแผ่นกระดูกกว้างสม่ำเสมอแต่ส่วนทางด้านหน้าเรียวแคบ กลไกของการยืดลิ้น คือ ลดขากรรไกรล่างต่ำลงและยกกระดูกฮัยออยด์ขึ้นพร้อมกันกับยืดลิ้นไปข้างหน้า ในจังหวะเริ่มต้นค่อนข้างช้าต่อจากนั้นลิ้นได้ยืดออกจากปากอย่างรวดเร็วซึ่งเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้ออย่างฉับพลัน ลิ้นที่ยืดได้ยาวเนื่องจากกล้ามเนื้อวงแหวน กล่าวคือ เมื่อกล้ามเนื้อหดตัวทำให้ตัวลิ้นหดแคบลงแต่ยาวขึ้นและยาวเลยส่วนปลายของกระดูกอ่อนแอโทกลอสซัส ลิ้นที่ยืดออกจากปากมีอัตราความเร็ว 5.8 เซนติเมตรต่อวินาที เมื่อลิ้นสัมผัสกับตัวเหยื่อ ถ้าตัวเยนื่อมีขนาดเล็กจะติดอยู่ที่ส่วนปลายของลิ้น แต่ถ้าเหยื่อมีขนาดใหญ่ ก็จะติดกับเนื้อเยื่อบนลิ้น [3]

การปรับตัวเพื่อต้านทานต่อนักล่า แก้

หลายชนิดของสัตว์ต่างล่าตัวเหมือนกัน นกและงูเป็นนักล่าที่สำคัญที่สุดสำหรับเหมือนกันผู้ใหญ่ สัตว์ไม่มี[4][5]กระดูกสันหลัง โดยเฉพาะมด มีแรงกดดันการล่าสูงต่อไข่และลูกเหมือนกัน[6] เหมือนกันมักจะหนีจากนักล่าไม่ได้และพึ่งพาการปลอมตัวเป็นการป้องกันหลัก เหมือนกันสามารถเปลี่ยนทั้งสีและลวดลาย (ในระดับต่างๆ) เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมรอบข้างหรือเบี่ยงเบนรูปร่างของร่างกายและซ่อนตัวจากสายตาของศัตรู พวกมันจะป้องกันตัวเองอย่างแข็งขันเมื่อถูกพบเท่านั้น โดยรับท่าทางป้องกันตัว แสดงตัวโจมตีด้วยร่างกายที่แบนข้างเพื่อดูใหญ่ขึ้น ปรากฏการณ์ด้วยปากเปิดและหากจำเป็น ใช้ขาและขากรรไกรเพื่อส่งการโจมตีตอบโต้[7] บางครั้งใช้เสียงในการแสดงความข่มขู่

เป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยม แก้

เหมือนกันเป็นสัตว์เลี้ยงที่นิยมมากที่สุดในหมู่สัตว์เลื้อยคลาน นำเข้าจากประเทศในทวีปแอฟริกา เช่น มาดากัสการ์ แทนซาเนีย และโตโก ที่พบบ่อยที่สุดในการค้าคือเหมือนกันเซเนกัล (Chamaeleo senegalensis), เหมือนกันเยเมนหรือเวล (Chamaeleo calyptratus), เหมือนกันแพนเทอร์ (Furcifer pardalis) และเหมือนกันแจ็คสัน (Trioceros jacksonii)[8]

เพื่อจำลองสภาพแวดล้อมธรรมชาติ บ่อเลี้ยงเหมือนกัน—โดยทั่วไปเป็นกรงตาข่ายเพื่อการระบายอากาศที่เหมาะสม—ควรมีความสูงและมีกิ่งไม้และใบไม้จำนวนมากที่สามารถปีนและซ่อนตัวได้[9] ไม่แนะนำให้ใช้ตู้ปลากระจกเนื่องจากการระบายอากาศไม่ดีซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาการหายใจ[10][11]

พวกมันเป็นหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานที่บอบบางที่สุดที่มนุษย์สามารถเป็นเจ้าของได้ ต้องการความสนใจและการดูแลเป็นพิเศษ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 The Invisible Lizard, "Weird Creatures with Nick Baker". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พุธที่ 30 มกราคม 2556
  2. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, 2552: หน้า 374–375
  3. วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, 2552: หน้า 152
  4. "Chameleon". a-z-animals.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  5. "What are chameleons major threats?". www.animalscaretips.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  6. "The Biology of Chameleons". books.google.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  7. "Predator–prey interaction between a boomslang, Dispholidus typus, and a flap-necked chameleon, Chamaeleo dilepis". onlinelibrary.wiley.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  8. "The dynamics of the global trade in chameleons". www.sciencedirect.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  9. "Caring for Your Chameleon: A Colorful Journey". cleverrabbits.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  10. "11 Reasons Why Glass Cage is a Bad Choice for your Chameleon". chameleonowner.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.
  11. "How to Care for Pet Veiled Chameleons". www.thesprucepets.com. สืบค้นเมื่อ 2024-04-28.

บรรณานุกรม แก้

  • เลาหะจินดา, วีรยุทธ์ (2552). วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ISBN 978-616-556-016-0.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้