กิลัด ชาลิต (อังกฤษ: Gilad Shalit, ฮีบรู: גלעד שליט; เกิด 28 สิงหาคม พ.ศ. 2529) เป็นพลเมืองอิสราเอล-ฝรั่งเศส และทหารกองกำลังป้องกันอิสราเอล (IDF) เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2549 เขาถูกจับตัว[1] ในอิสราเอลโดยกลุ่มติดอาวุธฮามาสในการตีโฉบฉวยข้ามพรมแดนผ่านอุโมงค์ใต้ดินใกล้กับพรมแดนที่ติดต่อกับกาซา กลุ่มฮามาสจับตัวเขาอยู่นานกว่าห้าปี กระทั่งเขาได้รับการปล่อยตัวเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กิลัด ชาลิตเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ชาลิตถูกลักพาตัวใกล้กับจุดผ่านแดนเคเล็มชาลอมในอิสราเอล และถูกจับเป็นตัวประกันโดยฮามาส ณ ตำแหน่งที่ไม่ทราบในฉนวนกาซา[2] วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เขาได้รับการปล่อยตัวในข้อตกลงให้อิสรภาพแก่เขาหลังถูกโดดเดี่ยวและควบคุมตัวนานกว่าห้าปี แลกกับนักโทษชาวปาเลสไตน์รวม 1,027 คน ซึ่งในจำนวนนี้มีหลายคนถูกตัดสินว่าฆาตกรรมและดำเนินการก่อการร้ายต่อพลเรือนอิสราเอล[3][4]

ระหว่างการถูกควบคุมตัว ฮามาสปัดคำร้องจากคณะกรรมาธิการกาชาดสากล (ICRC) ที่ขออนุญาตเยี่ยมชาลิต โดยอ้างว่า ผู้ช่วยเหลือทางมนุษยธรรมและแพทย์กาชาดอาจทรยศบอกตำแหน่งที่ฮามาสควบคุมตัวชาลิตไว้เป็นตัวประกัน ด้านผู้อำนวยการใหญ่กาชาด ยีฟส์ ดัคคอร์ ยืนกรานว่า "ครอบครัวชาลิตมีสิทธิตามกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศที่จะติดต่อกับบุตรชาย"[5]

องค์การสิทธิมนุษยชนหลายแห่งว่า เงื่อนไขและข้อกำหนดการกักขังชาลิตนั้นขัดต่อกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ คณะผู้แทนศึกษาข้อเท็จจริงว่าด้วยความขัดแย้งกาซาสหประชาชาติ (United Nations Fact Finding Mission on the Gaza Conflict) ออกรายงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 ซึ่งยังได้เรียกร้องการปล่อยตัวชาลิต[6] ในแถลงการณ์โดวิลล์วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 กลุ่มจี 8 ต้องการให้ปล่อยตัวกิลัด ชาลิต[7]

เพื่อแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวเขา ฮามาสเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษมากกว่า 1,000 คน ซึ่งเป็นชาวปาเลสไตน์ที่กำลังรับโทษจำคุกอยู่ในอิสราเอล เช่นเดียวกับชาวปาเลสไตน์ผู้ถูกพิพากษาและกำลังรับโทษที่เป็นสตรีและที่อายุน้อยทั้งหมด สองปีถัดมา จุดติดขัดสำคัญในการเจรจา คือ การยืนกรานของฮามาสให้ปล่อยตัวมัรวาน บาร์กูฮ์ติ ซึ่งปัจจุบันกำลังรับโทษห้าปีในอิสราเอลข้อหาฆาตกรรม[8][9]

ชาลิตซึ่งมียศสิบโทเหล่ายานเกราะของ IDF เมื่อครั้งที่เขาถูกลักพาตัวนั้น ได้รับการเลื่อนยศเป็นจ่าสิบตรี จ่าสิบโท และจ่าสิบเอกเมื่อถึงวันก่อนหน้าการปล่อยตัวของเขา[10] การติดต่อทางเดียวระหว่างชาลิตกับโลกภายนอกหลังการจับกุมและก่อนการปล่อยตัว มีจดหมายสามฉบับ เทปเสียง และดีวีดี ซึ่งอิสราเอลได้รับโดยแลกเปลี่ยนกับการปล่อยตัวนักโทษปาเลสไตน์หญิง 20 คน[11]

อ้างอิง แก้

  1. "Hamas releases audio of captured Israeli". USA Today. 25 June 2007.
  2. Miskin, Maayana (26 October 2008). "Hamas Demands Release of Notorious Killers". Arutz Sheva.
  3. [1] เก็บถาวร 2009-06-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน – Haaretz, [2] – UPI – "[K]idnapped soldier Gilad Shalit"
  4. "In Shalit deal, Israel did cross its own red lines." Haaretz Newspaper, 14 October 2011.
  5. "PM vows to end jailed terrorists' privileges". Jerusalem Post. 23 June 2011. สืบค้นเมื่อ 28 June 2011.
  6. "Inquiry into Gaza conflict singles out Israeli policy towards Palestinians for most serious condemnation"
  7. "The Deauville G-8 Declaration". The White House (Press release). 27 May 2011. สืบค้นเมื่อ 28 May 2011.
  8. "Palestine's Mandela by Uri Avnery. Accessed: 5 December 2009". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-12. สืบค้นเมื่อ 2011-10-24.
  9. Matt Beynon Rees (6 January 2010). "Analysis: The "Palestinian Nelson Mandela". The Boise Weekly. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-08. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.
  10. "Parents of Gilad Shalit received their son's ranks of Staff Sergeant". Ynet.co.il (20 June 1995). Retrieved on 29 August 2011.
  11. Calev Ben-David (21 December 2009). "Israel Orders More Talks on Shalit Prisoner Swap Deal (Update2)". Bloomberg. สืบค้นเมื่อ 29 December 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

  วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gilad Shalit