การ์ตูนล้อการเมือง

การ์ตูนล้อการเมือง (อังกฤษ: Political Cartoon) หรือ การ์ตูนบรรณาธิการ (อังกฤษ: Editorial Cartoon) คือภาพการ์ตูนที่วาดและตีพิมพ์ลงสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ โดยใช้ทักษะทางศิลปะ, อติพจน์ และการเสียดสีเพื่อตั้งคำถามถึงผู้มีอำนาจและดึงดูดความสนใจต่อการทุจริต, ความรุนแรงทางการเมือง และประเด็นสังคมอื่น ๆ[1][2]

ไฟล์:ภาพล้อฝีพระหัตถ์-บุรฉัตรไชยากร.jpg
ภาพการ์ตูนล้อ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะเป็นกรมขุนกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวง ฝีพระหัตถ์โดย รัชกาลที่ 6 ถือได้ว่าเป็นการ์ตูนล้อการเมืองภาพแรกๆ ของไทย
โรสเวลต์เสนอแทฟต์เป็นมกุฎราชกุมาร: หน้าปกนิตยสาร Puck, ค.ศ. 1906

ผู้บุกเบิกการ์ตูนล้อการเมืองคือเจมส์ กิลเรย์ ผู้อาศัยอยู่ในอังกฤษช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 18[3]

ประวัติ แก้

จุดเริ่มต้น แก้

การ์ตูนล้อการเมือง เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศอังกฤษ โดยชาวอังกฤษ ชื่อ เจมส์ กิลล์เรย์ (ค.ศ. 1757-1815) ได้เขียนภาพล้อเลียนพระบรมวงศานุวงศ์ของประเทศอังกฤษ ที่ใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือย ศีลธรรมของชนชั้นสูง และการทำงานของรัฐบาล ทำให้ประชาชนคลายความเครียดจากภาวะสงครามในขณะนั้น

การ์ตูนล้อการเมืองในประเทศไทย แก้

สำหรับในประเทศไทย การ์ตูนล้อการเมืองเริ่มขึ้นมาพร้อม ๆ กับวิวัฒนาการการ์ตูนในประเทศไทย ยิ่งโดยเฉพาะในยุครัชกาลที่ 6 ที่สื่อสิ่งพิมพ์และประชาธิปไตยเฟื่องฟู ในยุคนี้มีการ์ตูนล้อการเมืองเริ่มเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย

นักเขียนการ์ตูนการเมืองคนแรกของไทยคือ ขุนปฏิภาคพิมพ์ลิขิต (เปล่ง ไตรปิ่น) ซึ่งมีโอกาสเดินทางไปศึกษาวิชาศิลปะการวาดภาพที่ยุโรป ได้นำเทคนิคจากต่างประเทศ วาดภาพการ์ตูนเป็นลายเส้น ได้รับรางวัลการประกวดภาพล้อจากรัชกาลที่ 6 โดยการเขียนการ์ตูนล้อเลียนนักการเมืองสำคัญๆ ในยุคนั้น

นอกจากนี้แล้วชาวญี่ปุ่นที่ชื่อ ไอ เคียว คาวา ซึ่งอาศัยอยู่ในเมืองไทยสนับสนุนให้ นักเขียนการ์ตูน วาดภาพการ์ตูนลงใน หนังสือพิมพ์ยาโมโต จวบจนสมัยรัชกาลที่ 7 การ์ตูนเริ่มซบเซาเนื่องจากเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง เกิดปัญหาการขาดแคลนกระดาษพิมพ์

จนกระทั่งยุคการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 วงการการ์ตูนเริ่มฟื้นฟูขึ้นพร้อมกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง แต่ก็มีการ์ตูนที่วาดล้อเลียนจนเกินขอบเขต ทำให้มีกฎหมายของคณะราษฎรออกมาควบคุม

หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ประยูร จรรยาวงศ์ ได้วาดภาพการ์ตูนที่มีตัวแสดงชื่อ "ศุขเล็ก" ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำตัว เขียนการ์ตูนขำขันและการ์ตูนล้อการเมือง ได้รับรางวัลจากการประกวดการ์ตูนสันติภาพโลก เมื่อ พ.ศ. 2503 ที่นิวยอร์ก ชื่อภาพ การทดลองระเบิดปรมาณูลูกสุดท้าย (The Last Nuclear Test) และได้รับรางวัลแมกไซไซ ที่ประเทศฟิลิปปินส์

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Sterling, Christopher (2009). Encyclopedia of Journalism. Thousand Oaks: Sage Publications, Inc. pp. 253–261. ISBN 978-0-7619-2957-4.
  2. Shelton, Mitchell. "Editorial Cartoons: An Introduction | HTI". hti.osu.edu (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2017-06-28.[ลิงก์เสีย]
  3. "Satire, sewers and statesmen: why James Gillray was king of the cartoon". The Guardian. 16 June 2015.

อ่านเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้