การโฆษณาชวนเชื่อในประเทศรัสเซีย

การโฆษณาชวนเชื่อรัสเซียเป็นสื่อมวลชนหรือการสื่อสารแบบมุ่งเป้าที่ส่งเสริมมุมมอง ทัศนะหรือวาระของรัฐบาลรัสเซีย สื่อดังกล่าวได้แก่ ช่องทาง (outlet) และเทคโนโลยีออนไลน์ที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ[1][2] ปลายปี 2551 เลฟ กุดคอฟ ซึ่งอาศัยข้อมูลสำรวจความเห็นศูนย์เลวาดา ชี้การเกือบหมดไปของมติมหาชนในฐานะสถาบันทางสังคมการเมืองในประเทศรัสเซียร่วมสมัยและมีการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐที่ยังให้ผลตามต้องการอยู่[3]

ความพยายามประชาสัมพันธ์ทั่วโลกที่รัฐบาลสนับสนุน แก้

ไม่นานหลังเหตุก่อการร้ายเบสลันในเดือนกันยายน 2547 วลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย เสริมโครงการที่รัฐบาลสนับสนุนซึ่งมุ่ง "ปรับปรุงภาพลักษณ์ของรัสเซีย" ในต่างประเทศ[4] โครงการหลักหนึ่งคือโครงการสร้างรัสเซียทูเดย์ในปี 2548 ซึ่งเป็นช่องข่าวโทรทัศน์ภาษาอังกฤษที่รายงานข่าวตลอด 24 ชั่วโมงโดยจำลองแบบจากซีเอ็นเอ็น มีการจัดสรรงบสาธารณะ 30 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นงบประมาณตั้งต้น[5][6] ข่าวซีบีเอสนิวส์เรื่องการเปิดตัวรัสเซียทูเดย์อ้างคำพูดของบอริส คาการ์ลิตสกีโดยกล่าวว่ามันเป็น "เหมือนการต่ออายุบริการการโฆษณาชวนเชื่อเก่าสมัยโซเวียต"[7]

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศรัสเซีย กรีกอรี คาราซิน กล่าวในเดือนสิงหาคม 2551 ในห้วงสงครามรัสเซีย-จอร์เจียว่า "สื่อตะวันตกเป็นเครื่องจักรที่จัดระเบียบอย่างดี ซึ่งแสดงเฉพาะภาพที่พอดีในความคิดของพวกเขาเท่านั้น เราพบว่าการบีบความเห็นของเราสู่หน้าหนังสือพิมพ์ของพวกเขาทำได้ยากมาก"[8] ในเดือนมิถุนายน 2550 เวโดมอสตี รายงานว่ารัฐบาลรัสเซียเพิ่มความเคลื่อนไหววิ่งเต้นอย่างเป็นทางการในสหรัฐตั้งแต่ปี 2546 เช่น ว่าจ้างบริษัทอย่างแฮนนาฟอร์ดเอ็นเทอร์ไพรส์และคัตชัม (Ketchum)[9]

ในการสัมภาษณ์เมื่อปี 2548 กับผู้แพร่สัญญาณภายนอกที่รัฐบาลสหรัฐเป็นเจ้าของ วอยซ์ออฟอเมริกา บล็อกเกอร์ชาวรัสเซีย-อิสราเอล อันตอน โนซิกกล่าวว่าการสร้าง RT เป็น "การตบการรณรงค์การโฆษณาชวนเชื่อแบบโซเวียต"[10] ปาสคาล บงนามัวร์ (Pascal Bonnamour) หัวหน้าแผนกยุโรปของผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เรียกเครือข่ายใหม่ว่า "อีกก้าวหนึ่งของรัฐเพื่อควบคุมสารสนเทศ"[11] ในปี 2552 ลุก ฮาร์ดิง (ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้สื่อข่าวของเดอะการ์เดียนในกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย) อธิบายการรณรงค์โฆษณาของ RT ว่า "ความพยายามทะเยอทะยานในการสร้างจักรวรรดิการโฆษณาชวนเชื่อทั่วโลกยุคหลังโซเวียตใหม่"[12] เลฟ กุดคอฟ ผู้อำนวยการศูนย์เลวาดา องค์การสำรวจความเห็นที่ได้รับความนับถือมากที่สุดของประเทศรัสเซีย ว่า การโฆษณาชวนเชื่อของประเทศรัสเซียภายใต้ปูติน "ก้าวร้าวและหลอกลวง ... แย่ยิ่งกว่าที่ผมเคยเห็นในสหภาพโซเวียต"[13]

ในปี 2557 อีวาน ซัสโซอุร์สกี ศาสตราจารย์คณะสื่อและทฤษฎีการสื่อสารในการหนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยรัฐมอสโก กล่าวว่า "ทุกวันนี้มีแผนส่งอิทธิพลซับซ้อนมากมายในโลกที่สามารถตีตราได้ว่าเป็นอำนาจอ่อน แต่วิธีการโฆษณาแบบอันธพาลดั้งเดิมและการควบคุมโดยตรงที่รัฐบาลรัสเซียใช้ไม่อาจถือได้ว่าได้ผลจากจุดยืนวิชาชีพและความยอมรับจากมุมมองของจริยธรรมนักหนังสือพิมพ์"[14]

หลังการผนวกไครเมียของรัสเซียในปี 2557 นาโต้สังเกตพบการเพิ่มขึ้นอย่างสำคัญของการโฆษณาชวนเชื่อรัสเซีย[15] ในเดือนกุมภาพันธ์ 2560 บันทึกเสียงกุของเลขาธิการนาโต้ เจนส์ สโตลเตนเบิร์ก ซึ่งเชื่อว่ามีปฏิสัมพันธ์กับชาวยูเครน ปีโตร โปโรเชนโก (Petro Poroshenko) มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ข่าวรัสเซีย Life.ru เสียงสมมติของโปโรเชนโกมีการเปิดเผยว่าเป็นผู้เล่นอุตริชาวรัสเซีย ประเทศรัสเซียถูกกล่าวหาว่าเปรียบยนกสู้ชาตินิยมยูเครนในดอนบัสส์กับสมาชิกรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIS)[16] นักวิชาการการเมือง นีโคเลย์ โคฮานอฟ อ้างว่าประเทศรัสเซียใช้การโฆษณาชวนเชื่อเพื่อถ่ายทอดสารชาตินิยมตลอดจนนิยมบัชชาร อัลอะซัดระหว่างสงครามกลางเมืองซีเรีย โคฮานอฟอ้างว่าประเทศรัสเซียใช้ความพยายามผ่านการโฆษณาชวนเชื่อพรรณนาประเทศรัสเซียและประเทศซีเรียว่าเป็นกำลังเสถียรภาพ "ในการต่อสู้กับความไร้เสถียรภาพที่เกิดจากชาวอเมริกันและการก่อการร้ายที่พวกในภูมิภาคของสหรัฐสนับสนุน"[16]

RT และสปุตนิกยังถูกกล่าวหาว่าเผยแพร่สารสนเทศเท็จ[17][18][18][18][19][20] ในเหตุยิงเครื่องบินมาเลเซียแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 17 ตก เว็บไซต์เบลลิงแคตของอีเลียต ฮิกกินส์ให้หลักฐานเกี่ยวกับการตัดต่อภาพถ่ายดาวเทียมที่กระทรวงกลาโหมรัสเซียเผยแพร่ซึ่งมีการให้ผ่าน RT และสปุตนิก[21][22]

การใช้สื่อสังคม แก้

ในช่วงปีหลัง ประเทศรัสเซียใช้แพลตฟอร์มสื่อสังคมบ่อยครั้งเพื่อเผยแพร่สารการโฆษณาชวนเชื่อแก่ผู้ชมทั่วโลก โดยการแพร่ข่าวหลอกเช่นเดียวกับการปล่อยโฆษณาและสร้างขบวนการกิจกรรมปลอม การโฆษณาชวนเชื่อมักมุ่งสร้างความแตกแยกรุนแรงในหมู่ผู้ใช้สื่อสังคม

ประเทศรัสเซียถูกทางการสหรัฐวิจารณ์อย่างหนักเรื่องพยายามเผยแพร่ข่าวหลอกและการโฆษณาชวนเชื่อในความพยายามข้องแวะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ พ.ศ. 2559[23] [24] ประเทศรัสเซียใช้ยุทธวิธีอย่างบัญชีสื่อสังคมฉ้อฉล การจัดระเบียบการเดินขบวนทางกงารเมืองและโฆษณาการเมืองออนไลน์เพื่อพยายามช่วยผู้สมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีพรรครีพับลิกัน ดอนัลด์ ทรัมป์ ชนะการเลือกตั้ง[25] ผู้นำแพลตฟอร์มพยายามตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อรัสเซียโดยการลบบัญชีอัตโนมัติและแจ้งเตือนผู้ใช้ถึงการมีอยู่ของสารสนเทศเท็จที่มาจากรัสเซียในแพลตฟอร์มของตนและปฏิสัมพันธ์ที่ผู้ใช้อาจมีกับสารสนเทศนั้น ในเดือนมกราคม 2560 ทวิตเตอร์ประมาณว่ามีผู้ใช้ประมาณ 677,000 คน "มีปฏิสัมพันธ์กับการโฆษณาชวนเชื่อหรือบอตรัสเซียระหว่างการรณรงค์ปี 2559" ทว่า อีกสองสัปดาห์ต่อมา เจ้าหน้าที่ทวิตเตอร์อ้างว่าน่าจะมีผู้ใช้กว่า 1.4 ล้านคนเปิดรับต่อเนื้อหาที่มาจากบัญชีโฆษณาชวนเชื่อรัสเซีย[26] [27] ในปี 2561 ทวิตเตอร์ลบทวีตประมาณ 200,000 ทวีตที่พบว่ามาจากบัญชีที่เชื่อมโยงกับรัสเซีย[28] ในวันที่ 31 ตุลาคม 2560 ผู้บริหารจากเฟซบุ๊ก กูเกิลและทวิตเตอร์ให้การเรื่องการใช้สื่อสังคมของรัสเซียในการรณรงค์ปี 2559 ต่อคณะกรรมาธิการข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎร[29] ในความพยายามต่อสู้กับข่าวหลอก ซึ่งมาจากแหล่งของการโฆษณาชวนเชื่อจำนวนมาก เฟซบุ๊กประกาศแผนพยายามเน้นแหล่งข่าว "น่าเชื่อถือ" ในเดือนมกราคม 2561[30]

วันที่ 17 พฤษภาคม 2560 รองอัยการสูงสุด ร็อด โรเซนสไตน์ แต่งตั้งอดีตผู้อำนวยการเอฟบีไอ รอเบิร์ต มอลเลอร์ เป็นที่ปรึกษาพิเศษของกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในการสืบสวนการแทรกแซงการเลือกตั้งสหรัฐของรัสเซีย พ.ศ. 2559[31] วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฟ้องคดีอาญาอุกฉกรรจ์ต่อผู้มีสัญชาติรัสเซีย 13 คนและบริษัทรัสเซีย 3 บริษัทฐานพยายามมีอิทธิพลในการเลือกตั้งปี 2559 โดยสนับสนุนการรณรงค์ของทรัมป์[32] ในหมู่องค์การที่ถูกฟ้องคดีมีสำนักวิจัยอินเทิร์เน็ต (IRA) ปฏิบัติการที่รัฐบาลรัสเซียสนับสนุนตั้งอยู่ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กที่ใช้สื่อสังคมเผยแพร่ข่าวหลอกที่ส่งเสริมผลประโยชน์ของรัสเซีย คำฟ้องคดีอาญาดังกล่าวอ้างว่าลูกจ้างของ IRA ได้รับการกระตุ้นให้ "วิจารณ์ฮิลลารีและคนอื่นทุกโอกาส (ยกเว้นแซนเดอส์และทรัมป์ เราสนับสนุนพวกเขา)"[33]

ประเทศรัสเซียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนในการรณรงค์การโฆษณาชวนเชื่อในความพยายามเปลี่ยนมติมหาชนเกี่ยวกับการผนวกไครเมียของรัสเซียในปี 2557 มีการใช้ปฏิบัติการสื่อสังคมของรัสเซียเพื่อใช้สารสนเทศเท็จเพื่อสร้างความดึงดูดแก่กำลังนิยมรัสเซียในไครเมีย ขณะที่ป้ายสีกบฏและกลุ่มแบ่งแยกดินแดน ที่สำคัญคือ มีการเผยแพร่เรื่องเท็จทั่วสื่อสังคมของเด็กน้อยถูกทหารชาตินิยมยูเครนตรึงกางเขนในสโลฟยานสค์[34] เรื่องเท็จนี้เป็นตัวอย่างของความพยายามอย่างกว้างขวางในการสร้างภาพปีศาจแก่กองทัพยูเครนและเปลี่ยนให้มหาชนอยู่ฝั่งตรงข้ามกำลังยูเครน ในการตอบโต้การรณรงค์สารสนเทศเท็จของรัสเซีย รัฐบาลยูเครนห้ามบริการอินเทอร์เน็ตของรัสเซียหลายอย่าง รวมทั้งเครือข่ายสื่อสังคมที่ได้รับความนิยม วีคอนตักเต[35]

อ้างอิง แก้

  1. The readers' editor on… pro-Russia trolling below the line on Ukraine stories, The Guardian, 4 May 2014
  2. Максимальный ретвит: Лайки на Запад ("Maximum Retweet: 'Likes' for the West") Vedomosti, 21 May 2014
  3. Новогодний баланс: После стабильности (ภาษารัสเซีย). Vedomosti. December 30, 2008. สืบค้นเมื่อ 2008-12-31.
  4. Finn, Peter (2008-03-06). "Russia Pumps Tens of Millions Into Burnishing Image Abroad". Washington Post. สืบค้นเมื่อ 2009-01-04.
  5. «Честь России стоит дорого». Мы выяснили, сколько конкретно เก็บถาวร 2007-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Novaya gazeta July 21, 2005.
  6. Имидж за $30 млн Vedomosti June 6, 2005.
  7. "Journalism mixes with spin on Russia Today: critics". CBC News. 2006-03-10. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 11, 2007. สืบค้นเมื่อ 2009-01-04.
  8. Russia claims media bias, by Nick Holdsworth, Variety, August 2008
  9. Россия наращивает официальную лоббистскую деятельность в США NEWSru June 5, 2007.
  10. "New Global TV Venture to Promote Russia". VOANews. July 6, 2005.
  11. Reporters Without Borders Don't Fancy Russia Today Kommersant October 21, 2005
  12. Luke Harding (December 18, 2009). "Russia Today launches first UK ad blitz". The Guardian. London.
  13. "Russian propaganda machine 'worse than Soviet Union'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 22 June 2016.
  14. Darmaros, Marina (2014-12-02). ""Propaganda cannot be considered effective"". Russia Beyond The Headlines (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2017-02-28.
  15. "NATO says it sees a sharp rise in Russian disinformation since Crimea..." Reuters. Sat Feb 11 17:22:29 UTC 2017. สืบค้นเมื่อ 2018-03-05. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  16. 16.0 16.1 Kozhanov, Nikolay (2016). Russia and the Syrian Conflict: Moscow’s Domestic, Regional and Strategic Interests. Gerlach Press. doi:10.2307/j.ctt1hj9wjf. ISBN 9783940924728.
  17. Logiurato (April 29, 2014), Russia's Propaganda Channel Just Got A Journalism Lesson From The US State Department, Business Insider
  18. 18.0 18.1 18.2 Crowley, Michael (May 1, 2014). "Putin's Russian Propaganda". TIME.
  19. Inside Putin's Information Wars เก็บถาวร 2019-06-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, by Peter Pomerantsev, politico.com
  20. R.C. Campausen (January 10, 2011), KGB TV to Air Show Hosted by Anti-war Marine Vet, Accuracy in Media, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-08, สืบค้นเมื่อ April 5, 2011.
  21. "Forensic Analysis of Satellite Images Released by the Russian Ministry of Defense: A bell¿ngcat Investigation" (PDF). Bellingcat. 30 May 2015. สืบค้นเมื่อ 22 June 2015.
  22. Borger, Julian (8 September 2014). "MH17: Dutch Safety Board to publish preliminary report on disaster". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 5 July 2015.
  23. https://www.c-span.org/video/?443057-2/senator-mark-warner-social-media-2016-election
  24. https://www.politico.com/story/2017/11/02/social-media-commission-lindsey-graham-244466
  25. https://www.nytimes.com/interactive/2018/02/16/us/politics/russia-propaganda-election-2016.html
  26. https://www.theverge.com/2018/1/19/16911086/twitter-russia-propaganda-us-presidential-election-bot-accounts-findings
  27. http://www.foxnews.com/tech/2018/02/01/1-4-million-twitter-users-engaged-with-russian-propaganda-during-election.html
  28. https://www.nbcnews.com/tech/social-media/now-available-more-200-000-deleted-russian-troll-tweets-n844731
  29. https://www.c-span.org/video/?436362-1/facebook-google-twitter-executives-testify-russias-influence-2016-election
  30. https://www.npr.org/sections/thetwo-way/2018/01/19/579285094/facebook-moves-to-decide-what-is-real-news
  31. https://www.nytimes.com/interactive/2017/05/17/us/politics/document-Robert-Mueller-Special-Counsel-Russia.html
  32. https://www.nytimes.com/2018/02/16/us/politics/russians-indicted-mueller-election-interference.html
  33. https://slate.com/technology/2018/02/what-we-know-about-the-internet-research-agency-and-how-it-meddled-in-the-2016-election.html
  34. https://thestrategybridge.org/the-bridge/2017/5/10/how-russia-weaponized-social-media-in-crimea
  35. https://www.bloomberg.com/view/articles/2017-05-17/why-ukraine-said-nyet-to-russian-social-networks