การแสร้งป่วย (อังกฤษ: malingering) เป็นคำที่ใช้ในวงการแพทย์ สำหรับอาการของมนุษย์ที่ไม่ต้องการกระทำสิ่งใด ๆ เช่น ไม่ต้องการไปพบใครบางคน หรือ ไม่ไปสถานที่ใดที่หนึ่ง ซึ่งหากไม่มีข้ออ้างนั้น อาจจะต้องไปร่วมกิจกรรมที่ไม่อยากทำนั้นด้วย[1] การแสร้งป่วยส่วนมากพบบ่อยในเด็ก ๆ ซึ่งเด็กหลาย ๆ คน ก็มีการปฏิเสธหรือกลัวโรงเรียน ทำให้ต้องมีการวางแผนตบตา โดยใช้วิธีการการแสร้งป่วยในการหลอกลวง

การแสร้งป่วย
(malingering)
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10Z76.5
ICD-9V65.2
MeSHD008306

ภาษาไทยมีคำที่มีความหมายเดียวกับการแสร้งป่วยว่า ป่วยการเมือง ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองเสมอไป แต่เป็นการเอาความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองมาผสมผสาน เพื่อให้เข้าใจว่าอาการป่วยนั้น ไม่เป็นข้อเท็จจริง ซึ่งสะท้อนภาพลักษณ์ของการเมือง ในมุมมองของสาธารณชนคนไทยว่าเป็นเรื่องของการหลอกลวง หรือการแก้ตัว[2][3][4]

อ้างอิง แก้

  1. "การแสร้งป่วย โดย สุรนันทน์ เวชชาชีวะ 15 พฤศจิกายน 2552". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2019-09-04.
  2. "เพื่อไทยเชื่อรองฯสุเทพป่วยการเมือง". สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2013.[ลิงก์เสีย]
  3. พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ คำว่า "การเมือง" มีเนื้อหาส่วนหนึ่งดังนี้

    (ปาก) ว. มีเงื่อนงำ, มีการกระทำอันมีเจตนาอื่นแอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.

  4. "ป่วยการเมือง? "ปู" โผล่วังอัมพร ก่อนย่องขึ้นทำเนียบฯ อ่านวาระประชุม ครม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2013.