การแทรกสัญญาณข้าม

การแทรกสัญญาณข้าม หรือ สัญญาณแทรกข้าม[1] (อังกฤษ: crosstalk (XT)) หมายถึงสัญญาณไฟฟ้าข้ามไปรบกวนกัน เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นได้ในการส่งสัญญาณในขณะที่สัญญาณเดินทางไปในสื่อสายทองแดงด้วยความเร็วสูง ปรากฏการณ์นี้มักพบได้เมื่อสื่อที่ใช้ในการส่งสัญญาณเป็นสายทองแดงตั้งแต่สองคู่ขึ้นไป เช่น โทรศัพท์ ซึ่งมีสายทองแดงมัดรวมกันเป็นคู่ นอกจากนี้ปรากฏการณ์นี้ยังสามารถเกิดจากสนามแม่เหล็กภายในสายทองแดงเองขณะกำลังส่งสัญญาณ ทำให้เกิดสัญญาณเสียงข้ามไปยังคู่สนทนาคู่อื่นได้แม้ว่าจะมีการหุ้มแผ่นโลหะไว้เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนแล้วก็ตาม. การลดปัญหาการแทรกสัญญาณข้าม จะใช้เทคนิคการตีเกลียวกันภายในคู่กรณีที่มีสายเพียงหนึ่งคู่และการตีเกลี่ยวกันระหว่างคู่ในกรณีที่มีมากกว่าหนึ่งคู่สาย เพื่อการแทรกสัญญาณข้าม

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน 1 การแทรกสัญญาณข้าม(วงจร) 2สัญญาณแทรกข้าม(วงจร) (คอมพิวเตอร์ 19 มิ.ย. 2544) (เทคโนโลยีสารสนเทศ 11 มี.ค. 2545)