การเปรียบเทียบแพร์ไวส์

การเปรียบเทียบแพร์ไวส์ (อังกฤษ: Pairwise comparison) หรือ การเปรียบเทียบเชิงคู่ เป็นการศึกษาเปรียบเทียบในเชิงจิตวิทยากล่าวถึงกระบวนการในการเปรียบเทียบสิ่งของเป็นคู่ โดยเลือกว่าของสิ่งใดในสองสิ่งมีความคุณค่ามากกว่ากันในคุณสมบัติเชิงปริมาณ วิธีการนี้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาวิจัยในหลายหัวข้อ ได้แก่ ทัศนคติ ทางเลือกทางสังคม ทางเลือกชุมชน

แอล. แอล. เธิร์สโตน นักจิตวิทยาชาวอเมริกันได้เริ่มต้นนำมาประยุกต์ใช้เมื่อ พ.ศ. 2470 โดยใช้ในชื่อว่า กฎการตัดสินเชิงเปรียบเทียบ (law of comparative judgement) โดยเขาได้ทำการเชื่อมโยงความสัมพันธ์เข้ากับทฤษฎีของ เอิร์นต์ ไฮน์ริช วีเบอร์ และ กุสตาฟ เฟชเนอร

การเปรียบเทียบแพร์ไวส์ถูกนำมาประยุกต์ใช้บ่อยในเอเอชพี ซึ่งเป็นเทคนิคหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจ โดยทำการเปรียบเทียบปัจจัยสองปัจจัย ไม่ว่าปัจจัยนั้นจะเป็นปัจจัยที่ชัดเจน หรือเป็นปัจจัยที่ไม่ชัดเจน เพื่อสร้างอัตราส่วนในเชิงปริมาณเพื่อช่วยให้การเปรียบเทียบชัดเจนขึ้น[1][2]

อ้างอิง แก้

  1. Saaty, Thomas L. (May 1, 1999). Decision Making for Leaders: The Analytic Hierarchy Process for Decisions in a Complex World. Pittsburgh, Pennsylvania: RWS Publications. ISBN 0-9620317-8-X.
  2. Saaty, Thomas L. (June 2008). "Relative Measurement and its Generalization in Decision Making: Why Pairwise Comparisons are Central in Mathematics for the Measurement of Intangible Factors – The Analytic Hierarchy/Network Process" (PDF). RACSAM (Review of the Royal Spanish Academy of Sciences, Series A, Mathematics). 102 (2): 251–318. สืบค้นเมื่อ December 22, 2008.