การเดินทัพทางไกล

การเดินทัพทางไกล (อังกฤษ: Long March) หรือ ฉางเจิง จีนตัวย่อ: 长征; จีนตัวเต็ม: 長征; พินอิน: Chángzhēng) หมายถึงการถอยทัพครั้งใหญ่หลายครั้งของกองทัพแดงแห่งพรรคคอมมิวนิสต์จีน ระหว่างปี ค.ศ. 1934 ถึง 1936 โดยการนำของเหมา เจ๋อตุง และโจว เอินไหล ที่กำลังต่อสู้กับกองทัพรัฐบาลจีนในขณะนั้น ซึ่งนำโดยเจียง ไคเช็ก

การเดินทัพทางไกล
ส่วนหนึ่งของ สงครามกลางเมืองจีน
Overview map of the route of the Long March
แผนที่ภาพรวมทั้งหมดของการเดินทัพทางไกล
วันที่16 ตุลาคม ค.ศ.1934 – ตุลาคม ค.ศ.1935
สถานที่
ผล ทหารของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนบุกใส่กองทหารของก๊กมินตั๋ง
คู่สงคราม

ก๊กมินตั๋งและพันธมิตรจากขุนศึก
สนับสนุนทางทหาร

นาซีเยอรมนีนาซีเยอรมนี

พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
สนับสนุนทางทหาร

สหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียต
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
เจียง ไคเชก
ชเว ยูเอะ
ไป๋ โจ่งซี
ฮันส์ ฟ็อน เซคท์
เหมา เจ๋อตง
จูเต๋อ
โจว เอินไหล
เผิง เต๋อหวย
หลิน เปียว
ออทโท บรอน
กำลัง
มากกว่า 300,000 คน ทหารแดงกองหน้า: 69,000 นาย (ตุลาคม ค.ศ.1934)
7,000 นาย (ตุลาคม ค.ศ.1935)
การเดินทัพทางไกล
อักษรจีนตัวเต็ม長征
อักษรจีนตัวย่อ长征

ในขณะนั้นกองทัพของพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีขนาดเล็กกว่า และกำลังเพลี่ยงพล้ำต่อกองทัพรัฐบาล จึงนำกำลังทหาร พร้อมด้วยประชาชนจำนวนหนึ่งเดินเท้าถอยร่นจากทางใต้ หนีขึ้นไปทางเหนือของประเทศจีน การเดินทัพครั้งสำคัญเกิดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคม ค.ศ. 1934 โดยเริ่มต้นจากมณฑลเจียงซีไปทางทิศตะวันตก และย้อนขึ้นไปทางทิศเหนือ เป็นระยะทางประมาณ 25,000 ลี้ หรือ 12,500 กิโลเมตร (8,000 ไมล์) ผ่านดินแดนทุรกันดารทางตะวันตกของประเทศจีน ใช้ระยะเวลากว่า 370 วัน ไปยังมณฑลฉ่านซี โดยมีผู้รอดชีวิตไปถึงจุดหมายเพียงหนึ่งในห้า [1]

การนำทัพโดยเหมา เจ๋อตุง ในครั้งนั้น ทำให้เขาได้รับการสนับสนุนจากผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนคนอื่นๆ ให้ขึ้นสู่อำนาจในเวลาต่อมา [2] และหลังจากสะสมกำลังพลและอาวุธที่มณฑลฉ่านซีอยู่หลายปีจนถึง ค.ศ. 1945 กองทัพแดงได้ยกทัพมาต่อสู้กับรัฐบาลเจียง ไคเช็ก และขับไล่เจียง ไคเช็กไปยังไต้หวัน และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949

อ้างอิง แก้

  1. Shuyun, Sun (2006-03-16). "Mao's lost children". London: The Guardian. สืบค้นเมื่อ 2007-03-15.
  2. "Mao Zedong". The Oxford Companion to Politics of the World. สืบค้นเมื่อ August 23, 2008.