การเกาะกันทางโมเลกุล

การเกาะกันทางโมเลกุล (Molecular Binding) เป็นปฏิสัมพันธ์แบบดึงดูดระหว่างโมเลกุล 2 โมเลกุล และเป็นผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างของโมเลกุลเสถียรและระยะห่างของทั้งสองโมเลกุลสั้นลง การเกาะกันทางโมเลกุลจะก่อให้เกิด โมเลกุลาร์คอมเพล็กซ์ (molecular complex)

ชนิดของการเกาะกันทางโมเลกุล แก้

ชนิดของการเกาะกันทางโมเลกุล สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิดดังนี้[1]

  • แบบนอนโควาเลนท์ (non-covalent) - การเกาะกันของโมเลกุล ไม่มีได้เกิดจากพันธะเคมีระหว่างโมเลกุลทั้งสอง ดังนั้นความสัมพันธ์จะสามารถย้อยกลับได้โดยสมบูรณ์
  • แบบรีเวอร์ซิเบิลโควาเลนท์ (reversible covalent) - การเกาะกันของโมเลกุล เกิดจากพันธะเคมีระหว่างโมเลกุลทั้งสอง แต่ความต่างระหว่างพลังงานเสรีของการมีพันธะกับไม่มีพันธะใกล้กับจุดสมดุล (chemical equilibrium) และพลังงานกระตุ้นอยู่ในระดับต่ำที่ทำให้ปฏิกิริยาย้อยกลับสามารถเกิดขึ้นได้
  • แบบเออรีเวอร์ซิเบิลโควาเลนท์ (irreversible covalent) - การเกาะกันของโมเลกุล เกิดจากพันธะทางเคมีระหว่างโมเลกุลทั้งสอง โดยที่การเกาะกันทำให้โมเลกุลาร์คอมเพล็กซ์ที่ได้มีเสถียรภาพทางอุณหภูมิพลศาสตร์มากกว่าโมเลกุลทั้งสองที่ไม่มีพันธะ ทำให้ปฏิกิริยาย้อยกลับไม่สามารถเกิดขึ้นได้

ตัวอย่างการเกาะกันทางโมเลกุล แก้

โมเลกุลต่างๆสามารถที่จะมีส่วนในการเกาะกันทางโมเลกุลได้ ซึ่งโมเลกุลเหล่านั้นก็รวมถึง โปรตีน กรดนิวคลีอิก คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และ อินทรีย์โมเลกุลขนาดเล็กเช่น โมเลกุลของยา ดังนั้นชนิดของโมเลกุลาร์คอมเพล็กซ์ที่เกิดจากการเกาะกันทางโมเลกุล ก็รวมถึง

อ้างอิง แก้

  1. Smith AJ, Zhang X, Leach AG, and Houk KN, Beyond picomolar affinities: quantitative aspects of noncovalent and covalent binding of drugs to proteins, J. Med. Chem. vol 52 issue 2, pages 225–33, Jan 2009