การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ

การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ[1][2][3] (ญี่ปุ่น: 涼宮ハルヒの消失โรมาจิSuzumiya Haruhi no Shōshitsu; อังกฤษ: The Disappearance of Haruhi Suzumiya หรือ The Vanishment of Haruhi Suzumiya) เป็นอนิเมะอิงนิยายชื่อเดียวกัน ซึ่งเป็นเล่มที่สี่ในไลต์โนเวลชุด สึซึมิยะ ฮารุฮิ ของนางารุ ทานิงาวะ

การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ
ใบปลิวอนิเมะในญี่ปุ่น ในภาพประกอบด้วยตัวละครหลัก คือ อิซึกิ โคอิซึมิ, ยูกิ นางาโตะ, เคียวน์, ฮารุฮิ สึซึมิยะ และ มิคุรุ อาซาฮินะ ตามลำดับ
กำกับทัตสึยะ อิชิฮาระ
ยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ
บทภาพยนตร์ฟูมิฮิโกะ ชิโมะ
เนื้อเรื่องนางารุ ทานิงาวะ
อำนวยการสร้างอัตสึชิ อิโต
ฮิเดอากิ ฮัตตะ
นักแสดงนำ(ดูเบื้องล่าง)
กำกับภาพรีวตะ นากางามิ
ตัดต่อเค็งโงะ ชิเงมูระ
ดนตรีประกอบซาโตรุ โคซากิ
บริษัทผู้สร้าง
วันฉาย 6 กุมภาพันธ์ 2553
6 พฤศจิกายน 2554[1]
ความยาว164 นาที
ประเทศญี่ปุ่น และอื่น ๆ
ภาษาญี่ปุ่น และอื่น ๆ
ทำเงิน 1,038,000,000 เยน

อนิเมะนี้ผลิตโดยเกียวโตแอนิเมชัน โดยทัตสึยะ อิชิฮาระและยาซูฮิโระ ทาเกโมโตะ ร่วมกันกำกับ มีความยาวหนึ่งร้อยหกสิบสี่นาที (เกือบสามชั่วโมง) ซึ่งเท่ากับอนิเมะโทรทัศน์เจ็ดตอนรวมกัน และสำนักพิมพ์คาโดกาวะ (Kadokawa Shoten) นำออกฉายในโรงภาพยนตร์ญี่ปุ่นตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 แล้วทำเป็นดีวีดีและบลูเรย์ขายตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม ปีนั้น ส่วนในทวีปอเมริกาเหนือ บันไดเอนเตอร์เทนเมนต์ (Bandai Entertainment) ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ ในสหราชอาณาจักร มังงะเอนเตอร์เทนเมนต์ (Manga Entertainment) เผยแพร่ และในประเทศไทย โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ เผยแพร่

อนิเมะ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ขึ้นชื่อว่า ไม่มีแนวเรื่องแนวหนึ่งแนวใดเป็นการจำเพาะ เพราะมีทั้งตลก วีรคติ วิทยาศาสตร์ ลึกลับ จินตนิมิต เสี้ยวชีวิต และละคร[4] โดยดำเนินเรื่องสืบจากอนิเมะโทรทัศน์ชุด เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ (The Melancholy of Haruhi Suzumiya) ซึ่งมียี่สิบแปดตอนและสร้างจากนิยายเล่มที่หนึ่ง สอง สาม และห้าจากไลต์โนเวลชุดเดียวกัน และอนิเมะนี้มีสถานะเป็นตอนที่ยี่สิบเก้าต่อกันนั้น[5]

เนื้อเรื่อง แก้

เรื่องราวเกิดระหว่างวันที่ 16 ธันวาคม ถึง 24 ธันวาคม ปีเดียวกัน ซึ่งเป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังจากงานวัฒนธรรมตามตอนสุดท้ายของอนิเมะโทรทัศน์ เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ สิ้นสุดลง ในวันที่ 16 ธันวาคมนั้น หน่วย SOS (SOS Brigade) ของฮารุฮิ สึซึมิยะตกลงจะกินเลี้ยงหม้อไฟกันที่ห้องของหน่วยในวันที่ 24 ธันวาคม เนื่องในวันคริสตสมภพ แม้ว่าโรงเรียนห้ามก่อประกายไฟในอาคารก็ตาม

เช้าวันที่ 18 ธันวาคม เคียวน์มาถึงโรงเรียน และพบว่าทุกสิ่งเปลี่ยนไป เพราะฮารุฮิ, อิซึกิ โคอิซึมิ และเพื่อนบางห้องสาบสูญไปพร้อมกัน, ฝ่ายมิคุรุ อาซาฮินะ หญิงสาวนักเดินทางข้ามเวลาซึ่งเป็นรุ่นพี่มัธยมศึกษาปีที่ 5 และคนที่เขาหลงรัก กลับจำเขามิได้ และเดินทางข้ามเวลาไม่เป็นอีกต่อไป, ส่วนนางาโตะ ยูกิ แอนดรอยด์ที่มนุษย์ต่างดาวสร้างขึ้น กลับกลายเป็นมนุษย์จริง ๆ และมีอารมณ์ความรู้สึกดังมนุษย์ทั่วไปขึ้นมา, ขณะที่เรียวโกะ อาซากุระ แอนดรอยด์ที่เป็นเพื่อนร่วมห้องของเขาและถึงแก่ความตายไปแล้ว กลับฟื้นชีพและกลายเป็นมนุษย์ปรกติเช่นกัน, และชามิเซน แมวที่ฮาริฮุเคยบันดาลให้พูดจาได้อย่างมนุษย์ ก็กลับไปเป็นแมวธรรมดาดังเดิม นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า นอกจากเขาแล้ว ไม่มีใครในโรงเรียนที่รู้จักฮารุฮิและหน่วย SOS เลย เคียวน์พบเค้าเงื่อนเดียว คือ ข้อความที่ยูกิเขียนลงบนที่คั่นหนังสือแล้วเสียบทิ้งไว้ก่อนเกิดความเปลี่ยนแปลงว่า ภายในกำหนดสองวัน ให้เขารวบรวม "กุญแจ" มาไขโปรแกรมโปรแกรมหนึ่งซึ่งยูกิสร้างทิ้งเอาไว้

ระหว่างครุ่นคิดถึงเงื่อนงำนั้น เคียวน์ได้ทำความรู้จักกับยูกิที่เป็นมนุษย์มากขึ้น และพบว่า บัดนี้ ยูกิชอบเขาเป็นอันมาก จนวันที่ 20 ธันวาคม เคียวน์ทราบจากทานิงุจิ เพื่อนร่วมห้อง ว่า เพื่อนที่หายตัวไปนั้น ที่จริงเป็นนักเรียนอยู่โรงเรียนมัธยมอื่นตลอดเวลา เคียวน์จึงตามไปและพบฮารุฮิกับอิซึกิ ทว่า ทั้งคู่จดจำเขามิได้ ที่สุด เคียวน์บอกเธอว่า เขาคือ "จอห์น สมิธ" (John Smith, ชื่อที่เขาคิดขึ้นมาเล่น ๆ แล้วบอกฮารุฮิ ครั้งที่เขาย้อนเวลาไปสู่ช่วงเทศกาลทะนะบะตะเมื่อสามปีก่อน เพื่อช่วยฮารุฮิในวัยมัธยมต้นเขียนพื้นสนามโรงเรียนเป็นข้อความถึงเจ้าหญิงทอผ้า) เนื่องจากเรื่องดังกล่าวเป็นความทรงจำเดียวที่ฮารุฮิมีอยู่เกี่ยวกับโลกเดิม เธอจึงเชื่อเขาและร่วมมือด้วย ฮารุฮิช่วยเขาตามหาและรวบรวมสมาชิกของหน่วย SOS ได้เป็นผลสำเร็จ สมาชิกทุกคนประชุม ณ ห้องของหน่วย ปรากฏว่า โปรแกรมข้างต้นมีอำนาจย้อนวันเวลา และกุญแจสำคัญสำหรับไขโปรแกรมก็คือ การที่พวกเขาทั้งหลายได้อยู่พร้อมหน้ากัน

เพื่อให้สรรพสิ่งกลับเป็นดังเดิม เคียวน์กดปุ่มให้โปรแกรมทำงาน โปรแกรมนั้นนำพาเขาย้อนกลับไปสู่เทศกาลทะนะบะตะเมื่อสามปีก่อนดังกล่าว ณ ที่นั้น เขาได้พบมิคุรุในวัยสาวที่เดินทางมาจากโลกอนาคตเพื่อรอคอยช่วยเหลือเขา ทั้งในการที่เขาจะได้ช่วยฮารุฮิวัยเด็กเขียนพื้นสนามโรงเรียน และที่เขาจะได้ฟื้นฟูโลก แต่ก่อนถึงเวลาสมควร มิคุรุกับเคียวน์ได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันในค่ำคืนนั้นให้มากที่สุด และมิคุรุซบบ่าเขาหลับไปใต้แสงดาว เมื่อตื่นขึ้นแล้วทั้งคู่ก็พากันไปหายูกิซึ่งในเวลานั้นอยู่ในวัยมัธยมต้นเช่นเดียวกับฮารุฮิ ยูกิมอบโปรแกรมล้างความเปลี่ยนแปลงให้แก่เคียวน์ โปรแกรมดังกล่าวบรรจุในปืนกระบอกหนึ่ง และจำต้องยิงใส่บุคคลผู้ยังให้เกิดความเปลี่ยนแปลงนั้น

ครั้นแล้ว เคียวน์และมิคุรุวัยสาวก็เดินทางกลับมายังวันที่ 18 ธันวาคม ของโลกปัจจุบัน เพื่อยิงปืนเช่นว่าใส่ตัวต้นเหตุ ซึ่งก็คือ ยูกินั้นเอง ยูกิอาศัยความสามารถพิเศษของฮารุฮิเปลี่ยนแปลงความทรงจำของคนทั้งปวง ด้วยหวังว่าจะทำให้ทุกคนเป็นสุขขึ้นเมื่อมีชีวิตอันราบเรียบราวกับไม่เคยมีปฏิสัมพันธ์กันมาก่อน แต่งดเว้นเคียวน์ไว้คนหนึ่ง เพื่อให้เขาเลือกระหว่าง โลกเดิมที่สับสนอลหม่าน กับโลกใหม่ที่เธอเปลี่ยนให้ เคียวน์ไต่สวนตนเองอยู่เป็นนาน ที่สุดก็เห็นว่า โลกเดิมซึ่งมีฮารุฮิที่ดื้อรั้นซุกซนไม่เกรงกลัวใครนั้นมีชีวิตชีวาและเป็นสุขยิ่งกว่า

แต่ก่อนที่เขาและมิคุรุจะได้ยิงปืนใส่ยูกิ เขาก็ถูกเรียวโกะโผเข้าแทงจนบาดเจ็บสาหัสด้วยสำคัญว่าเขาจะทำร้ายยูกิ อย่างไรก็ดี ตัวเขาเอง, มิคุรุวัยเด็ก และยูกิเดินทางจากอนาคตกลับมา ณ เวลานั้นเพื่อจัดการเรื่องราวต่อได้อย่างทันท่วงที โดยยูกิจากอนาคตประมือด้วยเรียวโกะ รักษาเคียวน์ที่นอนเจ็บอยู่บนพื้น แล้วคว้าปืนไปยิงยูกิแทนเคียวน์ ส่วนมิคุรุวัยสาวนั้นสะกดให้มิคุรุวัยเด็กหมดสติไปเพื่อป้องกันมิให้เธอทราบเรื่องเกี่ยวกับตนเองในวัยสาวอันจะยังให้ประวัติศาสตร์เสียสมดุลและเพื่อรักษาความลับราชการตามหน้าที่[6]

เมื่อเคียวน์ตื่นขึ้น เขาพบว่าโลกกลับเป็นปรกติแล้ว โดยที่คนอื่น ๆ จะได้มีความทรงจำเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงของโลกแม้สักน้อยก็หาไม่ อิซึกิซึ่งนั่งปอกผลไม้อยู่ข้างเตียงแจ้งแก่เคียวน์ว่า ในวันที่ 18 ธันวาคม ระหว่างที่สมาชิกหน่วย SOS พากันไปซื้อข้าวของ เพื่อเตรียมเลี้ยงหม้อไฟในวันที่ 24 ธันวาคม และจัดงานเลี้ยงให้เด็ก ๆ ในวันที่ 25 ธันวาคมนั้น เคียวน์ตกบันไดหัวฟาดพื้นสลบไสลไปสามวัน เคียวน์ยังพบด้วยว่า ฮารุฮินอนเฝ้าเขาอยู่ข้างเตียงไม่ห่างตลอดสามวันนั้น ไม่กี่วันต่อมา เคียวน์ก็ออกจากโรงพยาบาล และมีชีวิตประจำวันดังเดิม

วันที่ 24 ธันวาคม เมื่อเลิกเรียน เคียวน์มุ่งหน้าไปยังห้องของหน่วย SOS เขาหยุดอยู่เบื้องหน้าประตูเมื่อได้กลิ่นหอมโชยมาจากข้างใน ซึ่งหมายความว่า ฮารุฮิและคนอื่น ๆ ตั้งหม้อไฟกันแล้ว เขาเดินเข้าไปพร้อมรอยยิ้มเปี่ยมสุขบนใบหน้า

ตัวละคร แก้

ชื่อ พากย์
ญี่ปุ่น อังกฤษ ไทย
หน่วย SOS
ศรีอาภา เรือนนาค

  เด็กสาวนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายคิตะ (北高; North High School) มีความสามารถเหนือธรรมชาติในอันที่จะบันดาลให้ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงไปได้ดังใจปรารถนาโดยที่ตนเองก็ไม่ทราบ เธอก่อตั้งหน่วย SOS ขึ้นเพื่อสืบหาเรื่องประหลาดในโลกนี้ และตั้งตนเองเป็นหัวหน้าหน่วย เมื่อเรื่องราวผ่านไปเรื่อย ๆ เธอมีและพัฒนาความรู้สึกที่ดีต่อเคียวน์ แต่เพราะเคียวน์หลงรักมิคุรุ เธอจึงหึงหวงในบางครั้ง ในเรื่อง เมื่อเธอกลายเป็นนักเรียนโรงเรียนอื่นแล้ว มีผมยาว ขณะที่ในโลกเดิมนั้นไว้ผมสั้น

กริน อักษรดี

  เพื่อนร่วมห้องเรียนของฮารุฮิ ผู้บรรยายเรื่องราวทั้งมวลให้ผู้ชมทราบผ่านมุมมองของตน เคียวน์มิใช่ชื่อเขา แต่เป็นชื่อสุนัขของป้าเขา เมื่อน้องสาวเขาใช้เรียกเขาท่ามกลางเพื่อนของเธอ ชื่อนั้นก็แพร่หลายต่อไปยังเพื่อนของเขาอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ชื่อจริง ๆ ของเขาหามีระบุไว้ในเรื่องไม่

พนาวรรณ ศรีวะโลสกุล

  เด็กสาวจากอนาคต ซึ่งเดินทางกลับมายังโลกปัจจุบัน และเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเดียวกับเคียวน์ เธอชอบเคียวน์ และความสัมพันธ์ของทั้งคู่มักเป็นไปในทางจีบกัน (flirtation) แต่เพราะองค์กรซึ่งเธอสังกัดอยู่ไม่อนุญาตให้มีความสัมพันธ์ทางรักใคร่กับผู้ใด เธอจึงมักบอกเคียวน์ว่า อย่าใกล้ชิดเธอให้มาก และแม้ต้องการอธิบายเรื่องราวต่าง ๆ แก่เขา แต่ก็มักจบลงด้วยคำพูดว่า "ความลับของทางการค่ะ" (禁則事項; "That's classified") เพราะกฎขององค์กรห้ามไว้ มิคุรุในวัยสาวเดินทางกลับสู่อดีตเพื่อช่วยเหลือเคียวน์หลายครั้ง

แวววิไล ถาวรนันท์

  เด็กสาวซึ่งเป็นเพื่อนร่วมโรงเรียนของเคียวน์ เป็นแอนดรอยด์ที่กลุ่มมนุษย์ต่างดาวอันเรียกตนว่า "องค์กรข้อมูล" (Data Entity) สร้างขึ้นและส่งมาคอยเฝ้าระวังฮารุฮิ มีความสามารถจัดการสิ่งทั้งปวงไปในทางที่ตนเห็นสมควร เช่น เยียวยาบาดแผล, ย้อนวันและคืน และเปลี่ยนแปลงความทรงจำ เพราะเป็นหุ่นยนต์ ปรกติจึงไม่ค่อยพูดจา มีอารมณ์เรียบเฉย และหมกมุ่นอยู่กับหนังสือ

อภินันท์ ธีระนันทกุล

  เพื่อนร่วมโรงเรียนของเคียวน์ เป็นนักพลังจิต (ESPer) มีหน้าที่ร่วมกับนักพลังจิตคนอื่น ๆ คอยรับมือกับอสุรกายในมิติปิดกั้น (closed space) ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อฮารุฮิฝันร้ายหรือไม่สบายใจเป็นต้น

เพื่อนร่วมโรงเรียน
แวววิไล ถาวรนันท์

  เด็กสาวซึ่งเป็นหัวหน้าห้องของเคียวน์ และเป็นแอนดรอยด์ที่กลุ่มมนุษย์ต่างดาวสร้างขึ้นไว้สำรอง (backup) ยูกิ โดยให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างเดียวกัน ผิวเผินดูน่ารักและมีอุปนิสัยอ่อนโยนอารี แต่เมื่อทราบว่า เคียวน์เป็นคนเดียวที่ฮารุฮิเอาใจใส่ ก็เกิดความคิดต้องการสังหารเขาเพื่อศึกษาปฏิกิริยาจากฮารุฮิ จึงถูกยูกิทำลายไป ในเรื่อง เธอฟื้นคืนชีพมาเป็นหัวหน้าห้องอีกครั้ง แต่เมื่อทุกสิ่งกลับสู่สภาวะเดิม ก็ไม่ปรากฏเธออีก

ธันวา ภักดีอำนาจ

  เด็กสาวซึ่งเป็นเพื่อนร่วมห้องและเพื่อนสนิทของมิคุรุ

อภิชาติ สมุทคีรี

  เพื่อนร่วมห้องและเพื่อนสนิทของเคียวน์

ธันวา ภักดีอำนาจ

  เพื่อนร่วมห้องและเพื่อนสนิทของเคียวน์

อื่น ๆ
คาริ วาห์ลเกรน ธันวา ภักดีอำนาจ

  น้องสาวเคียวน์ ไม่ปรากฏชื่อเสียงเรียงนามเหมือนกัน อายุสิบปี และเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 เธอมักปลุกเคียวน์ตอนเช้า ทั้งที่เขายังไม่อยากตื่น

  แมวซึ่งอยู่หลังห้องแถวของยูกิ และฮารุฮิบันดาลให้พูดจาได้อย่างมนุษย์

หมายเหตุ:     = ไม่ทราบ   และ     = ไม่พูด

การผลิต แก้

อนิเมะ เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ ฉายทางโทรทัศน์ญี่ปุ่นจบไปเมื่อปี 2549 ครั้นปี 2552 ก็นำออกฉายซ้ำอีกพร้อมตอนที่ไม่เคยฉายมาก่อน เมื่อจบตอนสุดท้าย ได้มีการขึ้นโฆษณาทำนองว่า ตอนต่อไป ซึ่งก็คือ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ นั้นจะสร้างเป็นอนิเมะฉายทางโรงภาพยนตร์[7] วางกำหนดว่าจะเริ่มแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ ปีถัดมา[8] อนึ่ง ในเดือนธันวาคม 2552 ยังมีการเผยแพร่ทางเว็บไซต์ซึ่งวีดิทัศน์ประชาสัมพันธ์ความยาวหนึ่งนาทีด้วย[9]

เพลง แก้

'การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ'
ออริจินัลซาวด์แทร็ก
『涼宮ハルヒの消失』 オリジナル
サウンドトラック

The Vanishment of Haruhi Suzumiya Original Soundtrack
 
ซาวด์แทร็กอัลบั้มโดย
วางตลาด27 มกราคม 2553
แนวเพลงเพลงประกอบอนิเมะ
ความยาว75:27 นาที
(01:42 ชั่วโมง)
ค่ายเพลงแลนทิส
ผู้อำนวยการ• แผ่นหนึ่ง เพลงที่ห้า: แดเนียล บราวน์
• เพลงอื่น ๆ: อิมเมจิน
โปรดิวเซอร์แลนทิส
ภาพปกเพิ่มเติม
 

อนิเมะนี้ใช้เพลงหลักอยู่สองเพลง เป็นเพลงเปิดหนึ่ง เพลงปิดหนึ่ง เพลงเปิด คือ "โบเก็นเดโชะเดโชะ?" (冒険でしょでしょ?; "เป็นการผจญภัยใช่ไหมล่ะ ใช่ไหม?) อายะ ฮิราโนะ ซึ่งพากย์เป็น ฮารุฮิ สึซึมิยะ ขับร้อง และเป็นเพลงเดียวกับที่ใช้เปิดอนิเมะ เรียกเธอว่าพระเจ้า สึซึมิยะ ฮารุฮิ ส่วนเพลงปิด คือ "ยาซาชีโบเกียกุ" (優しい忘却; "ลืมเลือนไปด้วยใจอ่อนโยน") มิโนริ ชิฮาระ ซึ่งพากย์เป็น ยุกิ นางาโตะ ขับร้อง และเพลงปิดนี้ยังทำเป็นซิงเกิลขายตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553 ด้วย[10]

ส่วนอัลบัมเพลงประกอบอนิเมะนั้น ประกอบด้วยซีดีสองแผ่น เพลงทั้งหมดสามสิบเพลง และขายตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2553[11]

แผ่นหนึ่ง แก้

ลำดับชื่อเพลง
ศิลปิน
ยาว
1."อิสึโมะโนะฟูเกคะระฮะจิมะรุโมะโนะงะตะริ ('เรื่องเริ่มด้วยฉากธรรมดานี่ล่ะ')
いつもの風景から始まる物語, Itsumo no Fūkei kara Hajimaru Monogatari
The Story Begins With the Usual Scenery
"
ซาโตรุ โคซากิ
3:51
2."เอสโอเอสดังคริสต์มาสพาร์ที ('งานเลี้ยงคริสต์มาสของหน่วย SOS ')
SOS団クリスマスパーティ, SOS-dan Christmas Party
SOS Brigade Christmas Party
"
2:24
3."โดะตะบะตะไทม์ ('เวลาวุ่นวาย')
ドタバタ・タイム, Dotabata Time
Noisy Time
"
1:03
4."นิชิโจโนะซะกินิมะชิอุเกะรุโมะโนะ ('เรื่องราวอย่างทุกวันซึ่งรอกันอยู่เบื้องหน้า')
日常の先に待ち受けるもの, Nichijō no Saki ni Machiukeru Mono
Everyday Things That Lie Ahead
"
เคโงะ โฮอาชิ
0:51
5."อะซะกุรุเรียวโกะโทะอิอุโจะเซ ('หญิงสาวนาม เรียวโกะ อาซากุระ')
朝倉涼子という女性, Asakura Ryōko to Iu Josei
The Woman Named Ryoko Asakara
"
รีวอิจิ ทากาดะ
2:59
6."ฟุอังคะระเคียวฟุเอะ ('กังวลจนหวาดกลัว')
不安から恐怖へ, Fuan kara Kyōfu e
Fear from Anxiety
"
1:44
7."อุรุงิระเระตะคิไต ('ไม่ได้ดังหมาย')
裏切られた期待, Uragirareta Kitai
Betrayed Expectations
"
เคโงะ โฮะอะชิ
2:48
8."โคะโดะกุเซะไกโนะฮิโระงะริ ('โลกอ้างว้างยิ่งกว้างใหญ่ขึ้น')
孤独世界の広がり, Kodoku Sekai no Hirogari
Lonely World’s Spread
"
3:14
9."คันเกียวเฮ็งกะโนะเซะฮิ ('ดีหรือไม่ที่สภาพแวดล้อมเปลี่ยนไป')
環境変化の是非, Kankyō Henka no Zehi
Pros and Cons of Environmental Changes
"
ซาโตรุ โกซะกิ
2:56
10."ซุซุมิยะฮะรุฮิโนะเทะงะกะริ ('แกะรอยฮารุฮิ สึซึมิยะ')
涼宮ハルヒの手がかり, Suzumiya Haruhi no Tegakari
The Trail of Haruhi Suzumiya
"
คาเกรุ อิชิฮามะ
1:27
11."ฮะยะรุโคะโกะโระโทะมะเอะนิเดะไนอะชิ
หัวใจอันทะเยอทะยาน และแข้งขาที่ก้าวไม่ออก')
はやる心と前に出ない足, Hayaru Kokoro to Mae ni Denai Ashi
Eager Spirit and Feet That Won't Leave
"
ซาโตรุ โกซะกิ
1:14
12."สึนะงัตตะคิโอะกุ ('เรียงร้อยความทรงจำ')
つながった記憶, Tsunagatta Kioku
Memories Tied Together
"
ซาโตรุ โกซะกิ
2:33
13."เอสโอเอสดังฟุตะตะบิ ('หน่วย SOS อีกครั้ง')
SOS団再び, SOS-dan Futatabi
SOS Brigade Once Again
"
1:56
14."เรดี? ('พร้อมไหม?')
Ready?"
รีวอิจิ ทากาดะ
4:13
15."อะโนะฮิโนะคิโอะกุโอะโอะอิกะเกะเตะ ('ไล่ล่าความทรงจำของวันนั้น')
あの日の記憶を追いかけて, Ano Hi no Kioku o Oikakete
Chasing the Memory of That Day
"
ซาโตรุ โกซะกิ
1:27
16."มิชิบิกุโจะเซโนะคะตะรุโคะโตะบะ ('สนทนากับหญิงสาวผู้ชี้ทาง')
導く女性の語る言葉, Michibiku Josei no Kataru Kotoba
Having Words With the Female Guide
"
เคโงะ โฮะอะชิ
2:26
17."มิระอิเอะโนะอะชิอะโตะ ('รอยเท้าจากอนาคต')
未来への足跡, Mirai e no Ashiato
Footprints From the Future
"
1:53
18."ฌีมโนเปดีดะอินิบัง ('ฌีมโนเปดี หมายเลข 2')
ジムノペディ 第2番, Jimunopedi Dai Ni-ban
Gymnopédie No. 2
"
เอริก ซาตี
2:55
19."นะงะโตะยุกิโนะโคะโกะโระนิอะรุโมะโนะ ('ในใจของยูกิ นางาโตะ')
長門有希の心にあるもの, Nagato Yuki no Kokoro ni Aru Mono
In the Heart of Yuki Nagato
"
เคโงะ โฮะอะชิ
2:88
20."จิโกะอิชิกิโนะคะกุนิง ('รู้สึกตัวแล้ว')
自己意識の確認, Jikoishiki no Kakunin
Awakening Self-Consciousness
"
2:44
21."เระกิชิโนะเท็งกันเต็ง ('จุดบรรจบแห่งความเป็นไป')
歴史の転換点, Rekishi no Tenkanten
Converging Point of History
"
รีวอิจิ ทากาดะ
3:18
22."ฟุตะตะบิเดะอะเอะตะดังอิงตะชิ ('พบหน้าลูกหน่วยอีกครั้ง')
再び出逢えた団員たち, Futatabi Deaeta Dan'intachi
Meeting Brigade Members Once Again
"
ซาโตรุ โกซะกิ
5:01
23."อิสึโมะโนะฟูเกเดะโอะวะรุโมะโนะงะตะริ ('เรื่องจบด้วยฉากธรรมดานี่ล่ะ')
いつもの風景で終わる物語, Itsumo no Fūkei de Owaru Monogatari
The Story Ends With the Usual Scenery
"
3:16
ความยาวทั้งหมด:54:21

แผ่นสอง แก้

ลำดับชื่อเพลง
ศิลปิน
ยาว
1."ฌีมโนเปดีดะอิอิชิบัง ('ฌีมโนเปดี หมายเลข 1')
ジムノペディ 第1番, Jimunopedi Dai Ichi-ban
Gymnopédie No. 1
"
เอริก ซาตี
3:17
2."ฌีมโนเปดีดะอินิบัง ('ฌีมโนเปดี หมายเลข 2')
ジムノペディ 第2番, Jimunopedi Dai Ni-ban
Gymnopédie No. 2
"
2:50
3."ฌีมโนเปดีดะอิซังบัง ('ฌีมโนเปดี หมายเลข 3')
ジムノペディ 第3番, Jimunopedi Dai San-ban
Gymnopédie No. 3
"
2:27
4."โนเซียนดะอิอิชิบัง (โนเซียน หมายเลข 1')
グノシエンヌ 第1番, Gunoshiennu Dai Ichi-ban
Gnossienne No. 1
"
3:24
5."โนเซียนดะอินิบัง (โนเซียน หมายเลข 2')
グノシエンヌ 第2番, Gunoshiennu Dai Ni-ban
Gnossienne No. 2
"
2:17
6."โนเซียนดะอิซังบัง (โนเซียน หมายเลข 3')
グノシエンヌ 第3番, Gunoshiennu Dai San-ban
Gnossienne No. 3
"
2:56
7."เฌอเตอเวอ ('ผมต้องการคุณนะ')
ジュ・トゥ・ヴー, Ju tou vū
Je te vuex
"
5:15
ความยาวทั้งหมด:21:06

การเผยแพร่และการตอบรับ แก้

ประเทศญี่ปุ่น แก้

หนึ่งสัปดาห์ให้หลังเริ่มฉายเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2553 ณ โรงภาพยนตร์ยี่สิบสี่แห่งในประเทศญี่ปุ่น การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ก็ติดอันดับหนึ่งในสิบภาพยนตร์ทำเงินมากที่สุดในประเทศ[12] โดยสัปดาห์นั้นสร้างรายได้ราวสองร้อยล้านเยน[13]

ต่อมา อนิเมะนี้ได้รับรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในการประกาศผลรางวัลแอนิเมชันโคเบะ (Animation Kobe Awards) ประจำปี 2553[14] และมิโนริ ชิฮาระ ยังได้รับรางวัลขับร้องยอดเยี่ยมสำหรับเพลง "ยะซะชี โบเกียะกุ" ณ การประกาศผลรางวัลเซยู (Seiyu Awards) ครั้งที่ห้า ประจำปีเดียวกันด้วย[15]

อนิเมะเรื่องนี้ทำเป็นบลูเรย์และดีวีดีทั้งแบบปรกติและแบบพิเศษขายในประเทศญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2553[16][17] ในสัปดาห์แรก แบบบลูเรย์ก็ขายได้มากกว่าเจ็ดหมื่นเจ็ดพันแผ่น เป็นอันดับหนึ่งตามผังออริคอน (Oricon) และในเวลาเดียวกัน แบบดีวีดีนั้นขายได้หนึ่งหมื่นเก้าพันหกร้อยหกสิบเจ็ดแผ่น ติดอันดับสี่ตามผังเดียวกัน[18]

ประเทศไทย แก้

โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ซึ่งเป็นตัวแทนผู้ถือลิขสิทธิ์อนิเมะ สึซึมิยะ ฮารุฮิ ในประเทศไทย ได้นำอนิเมะนี้เข้ามาฉายในราชอาณาจักรเพียงวันเดียว คือ วันที่ 6 พฤศจิกายน 2554 สองรอบ คือ รอบสิบสี่นาฬิกา และรอบสิบเจ็ดนาฬิกา ณ โรงภาพยนตร์ลิโด้ สยามสแควร์ กรุงเทพมหานคร แห่งเดียว ท่ามกลางอุทกภัยใหญ่ในปีนั้น โดยไม่พากย์ไทย แต่บรรยายไทยแทน[2][3][19]

มีรายงานว่า แม้สถานการณ์อุทกภัยจะรุนแรง แต่ก็มีผู้เข้าชมเป็นอันมาก สามารถขายตั๋วได้หมดในวันเดียว และในการฉายดังกล่าว โรส มีเดียฯ ยังจัดประมูลสินค้าเกี่ยวกับอนิเมะ เป็นต้นว่า ดีวีดีฉบับพิเศษ สมุดภาพ หมอน ปลอกหมอน และอื่น ๆ เพื่อนำรายได้บริจาคให้มูลนิธิชัยพัฒนาไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยด้วย[19][3][20]

ต่อมา ได้จัดพากย์ไทยและทำเป็นสื่อบันเทิงสำหรับบ้านในรูปแบบวีซีดีและดีวีดีขายตั้งแต่เดือนมกราคม 2555 เฉพาะดีวีดีนั้นมีสองแบบ คือ แบบพิเศษ แถมปลอกหมอน สมุดภาพ และไปรษณียบัตรฮารุฮิ แบบหนึ่ง กับแบบธรรมดา มีเฉพาะตัวดีวีดี อีกแบบหนึ่ง[21]

ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป แก้

บันดะอิเอนเตอร์เทนเมนต์ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่ การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ในทวีปอเมริกาเหนือ โดยบริษัทนี้ร่วมผลิตพากย์ภาษาอังกฤษกับแบ็งซูม! เอนเตอร์เทนเมนต์ (Bang Zoom! Entertainment) แล้วนำออกฉาย ณ นครซานฟรานซิสโกเป็นแห่งแรกตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2553 ครั้นแล้ว จึ่งฉายที่โรงภาพยนตร์เล็มลีส์ซันเซ็ต (Laemmle's Sunset theater) ในย่านฮอลลีวูดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ปีนั้น และท้องที่อื่น ๆ ตามมาโดยลำดับ[22] ในการนี้ ยังได้นำออกฉายที่รัฐฮาวายเป็นส่วนหนึ่งของงานภาพยนตร์โดดเด่นจากเอเชีย (Spotlight Asia Films) เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ด้วย[23] ขณะที่ในทวีปยุโรป อนิเมะนี้เปิดตัวเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2553 ณ เทศกาลสก็อตแลนด์รักอนิเมะ (Scotland Loves Anime) ที่ประเทศสก็อตแลนด์[24]

บลูเรย์และดีวีดีฉบับพากย์อังกฤษดังกล่าว ขายในทวีปอเมริกาเหนือตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2554 ส่วนในสหรัฐราชอาณาจักร มังงะเอนเตอร์เทนเมนต์นำดีวีดีออกขายตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2554 และกำหนดขายบลูเรย์ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2555 สืบไป[25][26][27][28][29][30][31] ขณะที่ในประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ แม็ดแมนเอนเตอร์เทนเมนต์ (Madman Entertainment) ขายบลูเรย์และดีวีดีตั้งแต่วันที่ 16 พฤศจิกายน 2554[32][33]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 "ใบปลิวภาพยนตร์เรื่องการหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ". ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. 2.0 2.1 "จองตั๋วภาพยนตร์เรื่องการหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ". ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 "Disappearance of Suzumiya Haruhi (การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ)". ม.ป.ป. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  4. "Literature: Haruhi Suzumiya". tvtropes.org. 2011. สืบค้นเมื่อ December 20, 2011.
  5. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya (film)". Haruhi Wiki. December 18, 2011. สืบค้นเมื่อ December 19, 2011.
  6. ทานิงาวะ, นางารุ (6 มีนาคม 2555). "1: การหายตัวไปของสึซึมิยะ ฮารุฮิ ~Another Day~". สึซึมิยะ ฮารุฮิ. Vol. 12. Neozero, แปล. กรุงเทพฯ: บงกชคอมิกส์. p. 14-26. ISBN 9789740517481.
  7. "Disappearance of Haruhi Suzumiya Film Announced for 2010". Anime News Network. October 8, 2009. สืบค้นเมื่อ October 12, 2009.
  8. "Gintama, Haruhi Suzumiya Films' Dates Listed in 2010". Anime News Network. November 2, 2009. สืบค้นเมื่อ November 2, 2009.
  9. "Haruhi Suzumiya Film's New Promo Video Streamed". Anime News Network. December 17, 2009. สืบค้นเมื่อ December 18, 2009.
  10. "優しい忘却" [Yasashii Bōkyaku] (ภาษาญี่ปุ่น). Lantis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-28. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
  11. "映画『涼宮ハルヒの消失』オリジナルサウンドトラック" [Film The Disappearance of Haruhi Suzumiya Original Soundtrack] (ภาษาญี่ปุ่น). Lantis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-04. สืบค้นเมื่อ January 13, 2010.
  12. "Japanese Box Office, February 6–7". Anime News Network. February 11, 2010. สืบค้นเมื่อ February 13, 2010.
  13. "Kadokawa: Haruhi Film Earns 200 Million Yen in 1st Week". Anime News Network. February 12, 2010. สืบค้นเมื่อ February 13, 2010.
  14. "Haruhi Film, K-ON!!, Miku Win Anime Kobe Awards". Anime News Network. October 15, 2010. สืบค้นเมื่อ October 15, 2010.
  15. "5th Annual Seiyū Award Winners Announced". Anime News Network. March 5, 2011. สืบค้นเมื่อ August 26, 2011.
  16. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya (Limited Edition) (Blu-ray)". CD Japan. September 3, 2010. สืบค้นเมื่อ September 3, 2010.
  17. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya (Limited Edition)". CD Japan. September 3, 2010. สืบค้นเมื่อ September 3, 2010.
  18. "Haruhi Film BD Sells 77,000+ Copies to Top Weekly Chart". Anime News Network. December 21, 2010. สืบค้นเมื่อ December 21, 2010.
  19. 19.0 19.1 "สาวก ฮารุฮิ ไม่หวั่นน้ำท่วม บุกลิโด้เต็มโรง". SiamDara.com. 16 November 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-22. สืบค้นเมื่อ 18 December 2011.
  20. "สาวก ฮารุฮิ ไม่หวั่นน้ำท่วม บุกลิโด้เต็มโรง". หนังดี.คอม. 15 พฤศจิกายน 2554. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-17. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2554. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "การหายตัวไปของ สึซึมิยะ ฮารุฮิ". โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนท์. 2555. สืบค้นเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "Disappearance of Haruhi to Screen in LA June 24". Anime News Network. June 1, 2010. สืบค้นเมื่อ June 2, 2010.
  23. "Bandai Entertainment Acquires The Disappearance of Haruhi Suzumiya". Anime News Network. April 15, 2010. สืบค้นเมื่อ April 30, 2010.
  24. "Scotland Loves Animation". Scotland Loves Animation. สืบค้นเมื่อ October 20, 2010.
  25. "Bandai Entertainment Adds The Disappearance of Haruhi Suzumiya". Anime News Network. April 15, 2010. สืบค้นเมื่อ April 15, 2010.
  26. "Bandai Makes Solid New York Anime Festival Announcements". Mania. October 9, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-11. สืบค้นเมื่อ October 20, 2010.
  27. "Manga UK Adds Haruhi Film, 2nd TV Season, Haruhi-chan". Anime News Network. October 31, 2010. สืบค้นเมื่อ October 31, 2010.
  28. "New Manga DVD/BR Release Dates Announced". Anime News Network. April 13, 2011. สืบค้นเมื่อ April 13, 2011.
  29. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya Delayed to November". Anime News Network. June 13, 2011. สืบค้นเมื่อ June 15, 2011.
  30. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya (BLU-RAY + DVD COMBO) (AVAIL 09/20/2011, PRE-ORDER NOW)". Bandai Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-19. สืบค้นเมื่อ August 19, 2011.
  31. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya Blu-Ray Delayed to February". Anime News Network. October 12, 2011. สืบค้นเมื่อ October 12, 2011.
  32. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya DVD". Madman Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ November 6, 2011.
  33. "The Disappearance of Haruhi Suzumiya Blu-ray". Madman Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-10. สืบค้นเมื่อ November 6, 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้