การสังหารหมู่ในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2485

การสังหารหมู่ในรัฐยะไข่ พ.ศ. 2485 เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพเข้ายึดครองพม่าซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ช่วงเวลาดังกล่าวในพม่า เป็นช่วงเวลาที่เกิดความรุนแรงขึ้นระหว่างกลุ่มที่จงรักภักดีกับอังกฤษและกลุ่มชาตินิยมพม่า[1] กองทัพอังกฤษมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งระหว่างชาวยะไข่ที่นับถือศาสนาพุทธกับชาวโรฮีนจาที่เป็นมุสลิม กองทัพอังกฤษได้ติดอาวุธให้ชาวโรฮีนจาในภาคเหนือของรัฐยะไข่เพื่อสร้างเขตกันชนหลังจากที่ญี่ปุ่นเข้ายึดครองพม่า[2]

ความรุนแรงระหว่างชุมชน แก้

จากเอกสารของเอ ชาน นักประวัติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยคันดะ กล่าวว่า ฝ่ายโรฮีนจาพยายามที่จะทำลายหมู่บ้านของชาวยะไข่ แทนที่จะสู้รบกับญี่ปุ่น [3] ในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2485 มุสลิมประมาณ 5,000 คนในเมืองมินเบีย ถูกฆ่าโดยชาวยะไข่ชาตินิยมและกะเรนนี ชาวโรฮีนจามุสลิมจากทางเหนือของยะไข่ฆ่าชาวยะไข่ไปประมาณ 20,000 คน[4]

บทบาทของกองทัพญี่ปุ่น แก้

ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในยะไข่ ได้ข่มขืน ฆ่า และทรมานชาวโรฮีนจากว่าพันคน[5] ในช่วงนี้ เชื่อว่าชาวโรฮีนจาประมาณ 22,000 คนข้ามแดนกลับไปยังเบงกอล ที่ยังเป็นส่วนหนึ่งของบริติชอินเดีย เพื่อหนีความรุนแรง [6][7] ชาวโรฮีนจาประมาณ 40,000 คนอพยพไปยังจิตตะกองหลังจากที่รอดจากการสังหารหมู่ของชาวพม่าและทหารญี่ปุ่น[8]

อ้างอิง แก้

  1. Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942–1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
  2. Field-Marshal Viscount William Slim (2009). Defeat Into Victory: Battling Japan in Burma and India, 1942–1945. London: Pan. ISBN 0330509977.
  3. Chan (Kanda University of International Studies), Aye (Autumn 2005). "The Development of a Muslim Enclave in Arakan (Rakhine) State of Burma (Myanmar)" (PDF). SOAS Bulletin of Burma Research. 3 (2): 396–420. ISSN 1479-8484. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-12. สืบค้นเมื่อ 3 July 2013. {{cite journal}}: |ref=harv ไม่ถูกต้อง (help)
  4. Kyaw Zan Tha, MA (July 2008). "Background of Rohingya Problem": 1. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  5. Kurt Jonassohn (1999). Genocide and gross human rights violations: in comparative perspective. Transaction Publishers. p. 263. ISBN 0765804174. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  6. Howard Adelman (2008). Protracted displacement in Asia: no place to call home. Ashgate Publishing, Ltd. p. 86. ISBN 0754672387. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  7. Human Rights Watch (Organization) (2000). Burma/Bangladesh: Burmese refugees in Bangladesh: still no durable solution. Human Rights Watch. p. 6. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.
  8. Asian profile, Volume 21. Asian Research Service. 1993. p. 312. สืบค้นเมื่อ 12 April 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้