การสังหารหมู่ที่ช็องเดอมาร์ส

การสังหารหมู่ที่ช็องเดอมาร์ส เกิดขึ้นในวันที่ 17 กรกฏาคม ค.ศ. 1791 ในปารีส ณ ช็องเดอมาร์ส ต่อฝูงชนผู้ประท้วงฝ่ายสาธารณรัฐนิยมท่ามกลางการปฏิวัติฝรั่งเศส สองวันก่อน สภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติได้ออกประกาศพระราชกฤษฏีกาว่า พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 จะยังคงครองราชบังลังก์ภายใต้ระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ มตินี้ทำให้พระเจ้าหลุย์และพระราชวงศ์ได้พยายามที่จะลี้ภัยออกจากฝรั่งเศสในการเสด็จสู่วาแรนซึ่งประสบความล้มเหลวเมื่อเดือนก่อน ภายหลังจากวันนั้น ผู้นำฝ่ายสาธารณรัฐนิยมในฝรั่งเศสได้รวบรวมฝูงชนออกมาชุมนุมเพื่อต่อต้านมตินี้

ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติฝรั่งเศส
ภาพวาดร่วมสมัยโดยศิลปินนิรนาม คำบรรยายภาพเขียนว่า "ผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กล้วนถูกสังหารหมู่บนแท่นบูชาปิตุภูมิที่สวนสาธารณะแห่งสหพันธ์(Champ de la Fédération)"
วันที่17 กรกฎาคม ค.ศ. 1791
สถานที่ช็องเดอมาร์ส, ปารีส, ฝรั่งเศส
คู่ขัดแย้ง
ผู้นำ
ความเสียหาย
เสียชีวิต12–50

ฌัก ปีแยร์ บรีโซ เป็นบรรณาธิการและนักเขียนหลักของหนังสือพิมพ์ Le Patriote français และเป็นประธานแห่งคณะกรรมการวิจัยแห่งปารีส(Comité des Recherches of Paris) และเขาได้ยื่นฏีกาเรียกร้องให้ถอดถอนพระมหากษัตริย์ ฝูงชนจำนวน 50,000 คน ได้รวมตัวกันที่ช็องเดอมาร์ส เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม เพื่อลงนามในฏีกา[1] และมีผู้ลงนามจำนวนประมาณ 6,000 คน อย่างไรก็ตาม มีผู้ต้องสงสัยสองคนถูกพบตัวในที่ซ่อนอยู่ที่ช็องเดอมาร์สเมื่อวันก่อน "มีความเป็นไปได้ว่าพวกเขามีความตั้งใจที่จะมองเห็นข้อเท้าของผู้หญิงได้ดีขึ้น" พวกเขาจึงถูกจับแขวนคอโดยผู้ที่พบเจอพวกเขา และนายกเทศมนตรีปารีส ฌ็อง ซีลแว็ง บายี ได้ใช้เหตุการณ์นี้ในการประกาศกฎอัยการศึก[2] ลาฟาแย็ตและกองกำลังป้องกันชาติภายใต้คำสั่งบัญชาการของเขาได้เข้าสลายการชุมนุมของฝูงชนเหล่านั้น

ฌอร์ฌ ด็องตง และกามีย์ เดมูแล็ง เป็นผู้นำฝูงชนกลับมารวมตัวกันในจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นในช่วงบ่ายวันนั้น ฝูงชนกลุ่มใหญ่มีความแน่วแน่กว่ากลุ่มแรก นายพลลาฟาแย็ตพยายามเรียกร้องให้ยุติการชุมนุม พวกเขาขว้างปาก้อนหินใส่กองกำลังป้องกันชาติ ลาฟาแย็ตสั่งให้ทหารยิงปืนเตือนแต่ไม่ได้ผล ระหว่างนั้น นายกเทศมนตรีบายีขี่ม้ามาถึงสถานที่ชุมนุม และโบกธงสั่งให้ยิงใส่ฝูงชน กองกำลังป้องกันชาติจึงเปิดฉากยิงใส่ฝูงชนโดยตรง จำนวนผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บไม่อาจทราบที่แน่นอน การประเมินนั้นมีตั้งแต่จำนวนสิบกว่าคนถึงห้าสิบคน[3]

อ้างอิง แก้

  1. Andress, David (2004). The French Revolution and the People. London, UK: Hambledon and London. p. 151. ISBN 978-1-85285-295-5.
  2. Rudé, George Frederick Elliot (1959). The Crowd in the French Revolution. Oxford, UK: Clarendon Press.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ AFR1512