การวิจัยเชิงบุกเบิก

การวิจัยเชิงบุกเบิก (อังกฤษ: exploratory research) คือประเภทของการวิจัยที่ปัญหายังไม่ได้รับการนิยามหรือบ่งชี้โดยชัดเจนมาก่อน การวิจัยเชิงบุกเบิกเอื้อให้ผู้วิจัยทำการออกแบบกระบวนการขั้นตอนการวิจัย การเก็บข้อมูล และการเลือกชื่อเรื่องได้ดีที่สุด ด้วยลักษณะการวิจัยพื้นฐานแบบนี้เองที่ได้ผลการวิจัยออกมาบ่อยครั้งว่าปัญหาที่นึกคาดไว้หรือที่ตั้งเป็นสมมุติฐานไว้ว่าไม่มีอยู่จริง

การวิจัยเชิงบุกเบิก มักพึ่งการวิจัยทุติยภูมิ (secondary research) เช่น การทบทวนวรรณกรรม หรือการเข้าหาปัญหาเชิงปริมาณเช่นการสอบถามหรืออภิปรายอย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริโภค, ลูกจ้าง, ฝ่ายบริหารจัดการหรือคู่แข่ง และเข้าสู่ปัญหาที่ลึกขึ้นโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การเจาะกลุ่ม (focus groups) วิธีถามแบบเลียบเคียง กรณีศึกษา หรือการศึกษานำร่อง อินเทอร์เน็ตช่วยให้วิธีวิจัยมีความเป็นปฏิสัมพันธ์ได้มาก เช่น RSS (รูปแบบหนึ่งของเว็บฟีด) สามารถให้ข้อมูลข่าวสารสำหรับการวิจัยที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยมาก โปรแกรมค้นหาหลักๆ เช่น กูเกิลอเลิร์ต จะส่งข้อมูลที่ทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับชื่อเรื่องวิจัยแก่ผู้วิจัยโดยอัตโนมัติทางอีเมล ส่วนโปรแกรมกูเกิลเทรนด์ สามารถสืบค้นข้อมูลเรื่องวิจัยที่ละเอียดเจาะจงแต่ได้ผลช้ากว่า นอกจากนี้ผู้วิจัยยังสามารถสร้างเว็บไซต์ที่เรียกว่า “บล็อก” เฉพาะของตนขึ้นเพื่อรองรับข้อมูลข่าวสารที่อาจป้อนเข้ามาถึงได้ทุกเนื้อหาวิชา

ผลของการวิจัยเชิงบุกเบิกมักไม่มีประโยชน์สำหรับการตัดสินใจโดยตัวของมันเอง แต่ในบางสถานการณ์ก็เป็นตัวเอื้อช่วยให้การเจาะลงลึกสู่รายละเอียดของการวิจัยแม่นยำขึ้น และแม้ว่าผลการวิจัยที่เป็นเชิงปริมาณอาจช่วยให้บ่งชี้หรือนิยามได้ชัดในระดับ “ทำไม” “อย่างไร” และ “เมื่อใด” ที่สิ่งนั้นเกิดขึ้น แต่ก็ไม่สามารถบอกผู้วิจัยได้ว่า “บ่อยเพียงใด” หรือ “มากน้อยเท่าใด”

การวิจัยเชิงบุกเบิกไม่อาจนำมาใช้ในการเป็นการทั่วไปได้ในด้านประชากรศาสตร์

ด้านสังคมศาสตร์ แก้

ในหลายวงการทางสังคมศาสตร์ การวิจัยเชิงบุกเบิกเป็นการ “มุ่งค้นหาว่ามนุษย์ตกลงเห็นร่วมกันในคำถามได้อย่างไร, มนุษย์ให้ความหมายอะไรในการกระทำของตน, และประเด็นที่มนุษย์ห่วงใยมีอะไรบ้าง เป้าหมายการวิจัยทางสังคมศาสตร์ได้แก่การเรียนรู้ว่า “อะไรกำลังเกิดขึ้นที่นี่” และทำการลืบสวนหาปรากฏการณ์ทางสังคมโดยปราศจากการคาดการณ์ล่วงหน้า (Schutt, 2007) ระเบียบวิธีนี้ปัจจุบันเรียกว่า “ทฤษฎีพื้นฐาน” (grounded theory) ที่ใช้มุ่งสู่ “การวิจัยเชิงคุณภาพ” (qualitative research) หรือ “การวิจัยเชิงตีความ” (interpretive research) และเป็นความพยายามที่จะ “ขุดค้น” ทฤษฎีจากตัวข้อมูลเองมากกว่าจากสมมุติฐานที่ตั้งไว้

ในด้านการตลาด โครงการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

การวิจัยเชิงบุกเบิกด้านการตลาด วัตถุประสงค์ได้แก่การเก็บรวบรวมข้อมูลขั้นต้นพื่อนำมาใช้ในการบ่งชี้ปัญหาและเพื่อชี้แนะสมมุติฐาน (Kotler et al. 2006, p. 122)

การวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์ได้แก่การพรรณาถึงสิ่งต่างๆ เช่นศักยภาพของตลาดของผลิตภัณฑ์ หรือ ประชากรศาสตร์และทัศนคติของผู้บริโภคผู้ซื้ผลิตภัณฑ์ (Kotler et al. 2006, p. 122)

การวิจัยเชิงสาเหตุ วัตถุประสงค์คือการทดสอบสมมัติฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสาเหตุและผล (Kotler et al. 2006, p. 122)

อ้างอิง แก้

  • Kotler, P, Adam, S, Brown, L & Armstrong, G 2006, Principles of Marketing , 3rd edn, Prentice Hall, Frenchs Forest, NSW
  • Russell K. Schutt, 2007, Investigating the Social World, 5th ed, Pine Forge Press