ลัทธิอาณานิคมในทวีปแอฟริกา

อาณานิคมในแอฟริกา (อังกฤษ: Scramble for Africa) หรือ การอาณานิคมในแอฟริกา เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1885 จากประเทศเยอรมนีโดยการนำของ อ็อทโท ฟ็อน บิสมาร์ค ได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา[1]

อาณานิคมที่ประเทศจากยุโรปครอบครองในปี 1913

จักรวรรดินิยมในทวีปแอฟริกา แก้

ทวีปแอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ มีทรัพยากรจำนวนมหาศาล อันเป็นที่ต้องการของชาวยุโรป นอกจากนี้ยังเป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญเชื่อมต่อกับโลกใหม่และทวีปเอเชีย จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีเพียงไม่กี่อาณาจักรในแอฟริกาที่มีระบบการปกครองที่มั่นคง อาณาจักรเหล่านี้ได้แก่ กานา มาลี แต่ก็มีความเจริญเทียบได้กับยุโรปในยุคกลางเท่านั้น เมื่อพวกอาหรับรุกรานมาจากทางตอนเหนือ อาณาจักรเหล่านี้ก็ถูกทำลายไปสิ้น ในเวลานั้นชาวยุโรปยังไม่เคยเข้าไปสำรวจถึงใจกลางทวีป จนกระทั่งในช่วง 30 ปีสุดท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อมีความพยายามจะเผยแผ่ศาสนาไปในหมู่ชาวแอฟริกา โดยพวกมิชชันนารี ทำให้มีการสำรวจดินแดนใจกลางทวีปขึ้น พร้อมกันนั้นก็มีนักวิทยาศาสตร์และนักสำรวจติดตามไปด้วย พวกนี้ได้นำเอาเรื่องราวการค้นพบแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์มาเผยแพร่ ทำให้นักลงทุนโดยการสนับสนุนของรัฐบาลเริ่มเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์มากยิ่งขึ้น ในไม่ช้าก็เกิดการแย่งชิงกรรมสิทธิ์หรือการเข้าครอบครอง

ใน ค.ศ. 1885 เยอรมนีโดยการนำของออตโต ฟอน บิสมาร์ค ได้จัดให้มีการประชุมในกรุงเบอร์ลินว่าด้วยข้อตกลงเกี่ยวกับการเข้าครอบครองดินแดนในทวีปแอฟริกา ที่ประชุมตกลงกันว่าชาติใดที่มีดินแดนอยู่ตามชายฝั่งสามารถยึดครองพื้นที่ที่ลึกเข้าไปได้ โดยการส่งคนไปปกครองดูแลและประกาศการเข้ายึดครองอย่างเป็นทางการ

นับตั้งแต่นั้นมาดินแดนในทวีปแอฟริกาก็ถูกแบ่งแยกออกเป็นส่วน ๆ โดยการเข้าครอบครองของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม และเยอรมนี ส่วนโปรตุเกสนั้นยังคงรักษาสถานีการค้าของตนไว้ได้ที่อังโกลาและโมซัมบิก

สาเหตุการเข้ายึดครอง แก้

การเข้ายึดครองแอฟริกาของชาวยุโรปในครั้งนั้นมีข้ออ้าง 3 ประการ คือ

  1. เพื่อเปิดประตูการค้าให้กว้างขวางตลอดทั่วภาคพื้นทวีป
  2. เพื่อปลดปล่อยชนเผ่าต่าง ๆ ให้เป็นอิสระจากพวกนักค้าทาสชาวอาหรับ
  3. เพื่อเผยแผ่คริสต์ศาสนาไปยังดินแดนที่ชาวยุโรปเรียกว่ากาฬทวีป (Dark Continent)

หลังจากนั้นเพียง 30 ปี ของการเข้าแย่งชิงผลประโยชน์แอฟริกาทั้งทวีป ยกเว้นไลบีเรียกับเอธิโอเปีย ก็ตกเป็นอาณานิคมของชาวยุโรปจนหมดสิ้น

การแบ่งสรรทวีปแอฟริกาโดยชาวยุโรป แก้

เบลเยียม แก้

 
ทหารฝ่ายสาธารณรัฐนิยมในเบลเจียนคองโก ในจุดสูงสุด ฝ่ายสาธารณรัฐนิยมมีกำลังทหารแอฟริกันอยู่ 19,000 นาย นำโดยนายทหารขาว 420 นาย

ฝรั่งเศส แก้

 
การรุกรานเซเนกัล, นำโดยนายพลอัลเฟรด อาเมดี ดอดส์, บุกครองดาโฮเมย์ (ปัจจุบันคือเบนิน) ในปี 1892

เยอรมนี แก้

 
แผนที่แอฟริกาของฝรั่งเศส ค.ศ. 1911 ด้วยการอ้างสิทธิ์ สีเหลืองคืออาณานิคมอังกฤษ; สีชมพูคืออาณานิคมฝรั่งเศส; สีส้มให้เบลเยี่ยม; สีเขียวในเยอรมนี; สีม่วงในโปรตุเกส; สีชมพูเข้มในอิตาลี; สีส้มเข้มในสเปน; สีน้ำตาลในเอธิโอเปีย

อิตาลี แก้

โปรตุเกส แก้

สเปน แก้

สหราชอาณาจักร แก้

 
Opening of the railway in Rhodesia, 1899

รัฐเอกราช แก้

ผลของจักรวรรดินิยมในแอฟริกา แก้

การกำหนดเขตแดนของแอฟริกาโดยชาวยุโรป กระทำไปโดยไม่คำนึงถึงภาษาและเผ่าพันธุ์ของประชากรในพื้นที่นั้น ๆ จะเห็นได้จากอาณาเขตของหลายประเทศที่ปรากฏในแผนที่จะมีการลากเป็นเส้นตรง ด้วยเหตุนี้ภายหลังที่ชาติเหล่านี้ได้เอกราชจึงเกิดปัญหาความเป็นเอกภาพภายในชาติมาจนถึงทุกวันนี้

การเข้าครอบครองของชาติตะวันตกได้ทำให้เกิดความทุกข์ยากแก่ชาวแอฟริกาทั้งมวล เดิมทีชาวพื้นเมืองดำรงชีพด้วยการทำไร่ เลี้ยงสัตว์ตามแบบดั้งเดิมที่เคยทำกันมา ชาวแอฟริกามีภาษาเขียนไม่มากนัก แต่มีงานทางด้านศิลปะ คือ รูปปั้นสำริด การแกะสลักไม้และงาช้าง มีภาพวาดตามแบบพื้นเมืองจำนวนมาก ชาวพื้นเมืองไม่เคยรู้เรื่องของวิทยาการสมัยใหม่ ไม่รู้จักระบบการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ไม่รู้จักระบบการปกครอง กฎหมายและกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ชาวยุโรปได้เข้าเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวพื้นเมือง ด้วยการบังคับแรงงานชาวพื้นเมืองให้สร้างถนน ขุดเหมืองแร่ ขุดดิน ด้วยเวลาการทำงานที่ยาวนานกว่าปกติมีการนำเอาพืชใหม่ ๆ มาปลูก เช่น ยางพารา โกโก้ แทนที่พื้นดินที่เคยใช้เป็นที่เลี้ยงสัตว์ ล่าสัตว์ และที่อยู่อาศัยของชาวพื้นเมือง มีการกวาดต้อนเผ่าชนทั้งเผ่าไปอยู่ในบริเวณที่กำหนดไว้ แยกผู้ชายออกจากครอบครัวแล้วส่งไปทำงานยังที่ห่างไกล ถ้าใครขัดขืนก็จะถูกลงโทษอย่างรุนแรง เช่น ตัดมือ ยิงเป้า เป็นต้น

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศส่วนใหญ่ในแอฟริกาได้เอกราชกลับคืนมาแต่ประเทศที่เกิดใหม่เหล่านี้เกิดขึ้นตามแบบฉบับของชาวตะวันตก คือ มีเมืองเป็นศูนย์กลางของความทันสมัย อิทธิพลทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการศึกษาแผนใหม่ ทำให้วิถีชีวิตของชนเผ่าต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้