การลาออก (อังกฤษ: Resignation) หมายถึง การแสดงให้เห็นว่าออกจากตำแหน่งการงานอย่างเป็นทางการ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลซึ่งกำลังดำรงตำแหน่งจากผลของการเลือกตั้ง หรือได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ได้ละตำแหน่งของตนโดยสมัครใจ ในขณะที่ยังไม่ครบกำหนดวาระที่จะต้องลงจากตำแหน่ง เมื่อลูกจ้างเลือกที่จะละตำแหน่งการงานของตนจะถูกพิจารณาว่าเป็นการลาออก ซึ่งตรงกันข้ามกับ "การไล่ออก" ซึ่งลูกจ้างสูญเสียตำแหน่งการงานอย่างไม่เต็มใจ แต่ระหว่างการลาออกกับการไล่ออก ต่างก็เป็นหัวข้อถกเถียงกันในบางครั้ง เนื่องจากในหลายสถานการณ์ ลูกจ้างที่ถูกไล่ออกก็ควรที่จะได้รับเงินทำขวัญ หรือผลประโยชน์ที่ควรได้รับจากการถูกเลิกจ้าง ส่วนผู้ที่ลาออกด้ยวความสมัครใจไม่ควรที่จะได้รับสิทธิ์ดังกล่าว การสละราชสมบัติเป็นสิ่งที่มีลักษณะคล้ายกับการลาออกจากการครองราชสมบัติ โดยเชื้อพระวงศ์ พระสันตปาปา หรือตำแหน่งที่คล้ายกัน

การลาออกเป็นการตัดสินใจส่วนบุคคลที่จะออกจากตำแหน่ง แต่ก็อาจเกิดจากแรงกดดันภายนอกได้ในหลายกรณี ตัวอย่างเช่น ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1974 เนื่องจากคดีวอเตอร์เกต เมื่อเขาเกือบจะถูกฟ้องโดยรัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกา

การลาออกสามารถใช้ในทางการเมืองได้ ดังที่เคยเกิดขึ้นในฟิลิปปินส์ ระหว่างเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2005 เมื่อรัฐมนตรี 10 คนลาออกจากตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เพื่อกดดันให้ประธานาธิบดีกลอเรีย อาโรโยลาออก จากข้อกล่าวหาในการทุจริตการเลือกตั้ง และอาจเป็นอุบายทางการเมืองได้ เช่น ในปี ค.ศ. 1995 นายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ จอห์น เมเจอร์ ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคอนุรักษนิยม เพื่อที่จะสงบการวิพากษ์วิจารณ์ภายในพรรคและอ้างสิทธิ์ในอำนาจของตนใหม่ โดยหลังจากการลาออก เขาก็ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งอีกสมัยหนึ่ง

ถึงแม้ว่าข้ารัฐการอาจยื่นลาออก แต่ในบางครั้งการลาออกเหล่านั้นก็ไม่ได้ถูกตอบรับเสมอไป ซึ่งการเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจในตำแหน่งการงาน ดังเช่นที่ประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ปฏิเสธการลาออกทั้งสองครั้งของเลขาธิการความมั่นคง โดนัล รัมส์ฟิลด์ อย่างไรก็ตาม การปฏิเสธการลาออกสามารถก่อให้เกิดการตำหนิอย่างรุนแรงเช่นกัน หากเป็นความพยายามที่จะหลบเลี่ยงการถูกไล่ออก

โดยแต่เดิมมาจากนักการเมืองที่ลงจากตำแหน่ง การลาออกจะเป็นโอกาสที่จะส่งการปราศรัยอำลาตำแหน่ง ซึ่งพวกเขาสามารถชี้แจงเหตุการณ์ที่ส่งผลให้เขาลงจากตำแหน่ง และในหลายกรณี คำปราศรัยนี้จะเป็นการปราศรัยที่ทรงพลัง ซึ่งมักจะเป็นที่สนใจ ซึ่งนักการเมืองสามารถใช้เพื่อให้เกิดผลกระทบในทางการเมืองอย่างใหญ่หลวง เมื่อนักการเมืองลงจากตำแหน่งแล้ว รัฐมนตรีเหล่านี้ก็ไม่ถูกผูกมัดโดยความรับผิดชอบร่วมกันและมีเสรีภาพมากขึ้นที่จะแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบันในมากขึ้น

ดูเพิ่ม แก้