การพักรบตางกู (อังกฤษ: Tanggu Truce จีนตัวย่อ: 塘沽协定; จีนตัวเต็ม: 塘沽協定; พินอิน: Tánggū Xiédìng) , (ญี่ปุ่น: 塘沽協定โรมาจิTanku kyōtei) เป็นการพักรบ ระหว่างประเทศจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ที่อำเภอตางกู เทียนจิน เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1933 อย่างเป็นทางการ ภายหลังญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรียเมื่อสองปีที่แล้ว

การเจรจาที่ตางกู

เบื้องหลัง แก้

หลังจาก กรณีมุกเดน เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1931 กองทัพคันโตของจักรวรรดิญี่ปุ่นรุกรานแมนจูเรีย และสามารถยึดครองแมนจูเรียทั้งหมดได้เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1932 จักรพรรดิผู่อี๋ จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง ผู้ซึ่งถูกเนรเทศในสัมปทานนครเทียนจิน กองทัพญี่ปุ่นได้เลือกให้พระองค์ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งแมนจูกัว ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม 1933 เพื่อที่จะรักษาแนวชายแดนด้านทิศใต้ กองทัพผสมญี่ปุ่น-แมนจูกัวได้รุกรานเรอเหอ และภายหลังยึดมณฑลนี้ได้ในเดือนมีนาคม กองทัพญี่ปุ่นยังได้กวาดล้างกองทัพชาตินิยมจีนไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เอาชนะกองทัพจีนได้ที่กำแพงเมืองจีน และเข้าสู่มณฑลเหอเป่ย์

มหาอำนาจตะวันตกได้ประณามการกระทำของญี่ปุ่น แต่ก็ไม่เกิดผลอะไรขึ้น เมื่อสันนิบาตชาติประกาศให้ญี่ปุ่นยอมยุติความเคลื่อนไหวลง หลังจากนั้น ญี่ปุ่นไม่ปฏิบัติตาม และได้ถอนตัวออกจากความเป็นสมาชิกของสันนิบาตชาติ เมื่อปี 1933

ด้านกองทัพญี่ปุ่นยังไม่ได้รับพระบัญชาใหม่จากสมเด็จพระจักรพรรดิโชวะ กองทัพญี่ปุ่นยังไปไม่ถึงกำแพงเมืองจีนในตอนนี้ กองทัพญี่ปุ่นได้หยุดการรุกรานเมื่อเดือนพฤษภาคม 1933

การเจรจา แก้

เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 1933 ผู้แทนชาวจีนและชาวญี่ปุ่นได้เดินทางมาประชุมเพื่อหาทางเจรจายุติความขัดแย้งครั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นต้องการเขตปลอดทหาร ยาวตั้งแต่กำแพงเมืองจีนไปทางใต้กว่า 100 กิโลเมตร และจากปักกิ่งไปยังเทียนจิน รวมไปถึงให้ญี่ปุ่นครอบครองกำแพงเมืองจีนอีกด้วย โดยห้ามมิให้มีทหารของก๊กมินตั๋งแม้แต่นายเดียวอยู่ในเขตปลอดทหารแห่งนี้ และยังต้องอนุญาตให้ฝ่ายญี่ปุ่นมีเครื่องบินตรวจการณ์หรือกองทหารลาดตระเวนเพื่อรักษาข้อตกลงดังนี้ด้วย และประชาชนซึ่งอยู่ในเขตปลอดทหารนี้จะอยู่ภายใต้อำนาจของกองกำลังรักษาเขตปลอดทหาร

จากข้อตกลงดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกองกำลังอาสาสมัครต่อต้านญี่ปุ่นจากกองกำลังรักษาสันติภาพที่ว่านี้ และแย่งอำนาจโดยที่รัฐบาลจีนและรัฐบาลญี่ปุ่นไม่อาจแก้ไขได้ หลังจากที่เจียงไคเช็คได้พ่ายแพ้ในการรบครั้งสำคัญหลายครั้งและสูญเสียเขตอิทธิพลให้แก่พรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งได้ทำให้เจียงไคเช็คมีความวิตกกังวลต่อพรรคคอมมิวนิสต์มากกว่าพวกญี่ปุ่นเสียอีก ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงยอมรับข้อตกลงของญี่ปุ่นโดยไม่มีเงื่อนไข และนอกเหนือจากนั้น เขตปลอดทหารนี้ส่วนใหญ่จะเป็นดินแดนที่เหลืออยู่ของขุนศึกแห่งแมนจูเรีย จางเซวฺเหลียง

ผลที่ตามมา แก้

การพักรบตางกูได้แสดงให้เห็นถึงการยอมรับในดินแดนแมนจูกัวของรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ซึ่งได้รับบทเรียนสำคัญจากเรอเหอ การพักรบครั้งนี้ได้ยุติการสู้รบระหว่างจีนและญี่ปุ่นเป็นเวลาช่วงระยะเวลาหนึ่ง และความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศได้รับการฟื้นฟู เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1935 สถานทูตชั้นสองของญี่ปุ่นในจีนได้เลื่อนสถานะขึ้นเป็นสถานทูต และเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 1935 ข้อตกลงเฮอ-อุเมสุสิ้นสุดลง ช่วงเวลาพักรบนี้ทำให้รัฐบาลของเจียงไคเช็คได้เรียกระดมพล และพยายามแผ่อิทธิพลไปยังพรรคคอมมิวนิสต์จีน แม้ว่าจะต้องแลกกับการเสียดินแดนทางภาคเหนือก็ตาม แต่ทว่า ความคิดเห็นของประชาชนจีนส่วนใหญ่ได้มองว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นการเอื้ออำนวยให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นและได้สร้างความอับอายให้แก่ประเทศชาติ ถึงแม้ว่าข้อตกลงจะเป็นการสร้างเขตปลอดทหารก็ตาม แต่ว่าอิทธิพลของญี่ปุ่นยังคงคุกคามดินแดนจีนอยู่ดี และได้กลายมาเป็นความจริงเมื่อญี่ปุ่นรุกรานจีนในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1937

อ้างอิง แก้

  • Bix, Herbert B (2001). Hirohito and the Making of Modern Japan. Harper Perennial. ISBN 0-06-093130-2.
  • Fenby, Jonathan (2003). Chiang Kai-shek: China's Generalissimo and the Nation He Lost. Carroll & Graf Publishers. ISBN 0786713186.
  • Hane, Mikiso (2001). Modern Japan: A Historical Survey. Westview Press. ISBN 0813337569.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้