การผ่าตัดทำหมันหญิง

(เปลี่ยนทางจาก การผูกท่อรังไข่)

การผ่าตัดทำหมันหญิง หรือ การผูกท่อนำไข่ (อังกฤษ: tubal ligation, tubectomy) เป็นหัตถการทางการแพทย์อย่างหนึ่ง ทำเพื่อให้สตรีเป็นหมัน โดยการทำให้ท่อนำไข่ตัน หรือขาดออกจากกัน ซึ่งจะทำให้ไข่ไม่สามารถจะได้รับการปฏิสนธิได้ ถือเป็นการคุมกำเนิดด้วยการทำหมันถาวรชนิดหนึ่ง หลังการทำหมันนี้ ผู้รับการผ่าตัดจะมีการสร้างฮอร์โมน ความต้องการทางเพศ และรอบเดือนเป็นปกติ

การผูกท่อนำไข่
การผูกท่อนำไข่ด้านซ้าย
ความรู้พื้นฐาน
ประเภทการคุมกำเนิดการทำหมัน
เริ่มใช้ครั้งแรกพ.ศ. 2473
อัตราการล้มเหลว (ในปีแรกของการใช้)
เมื่อใช้อย่างถูกต้อง0.5%%
เมื่อใช้แบบทั่วไป0.5%%
การใช้
ระยะเวลาที่มีผลถาวร
การย้อนกลับบางครั้ง
สิ่งที่ผู้ใช้ควรรู้ไม่มี
ระยะการพบแพทย์ไม่มี
ข้อดีข้อเสีย
ป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ไม่ป้องกัน
ความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนระหว่างและหลังผ่าตัด

ประสิทธิภาพ แก้

การผูกท่อนำไข่ให้ประสิทธิภาพอยู่ที่ประมาณ 99% ในปีแรก ส่วนในปีหลังจากนั้นประสิทธิภาพจะลดลง เนื่องจากมีโอกาสที่ท่อนำไข่ที่ถูกตัดแล้วเกิดเชื่อมต่อกัน ได้เอง หรือท่อนำไข่ที่ตัดเกิดทำตัวเองให้เป็นรูขึ้นมาได้เอง ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่ได้ตั้งใจได้ การตรวจหาว่าท่อนำไข่เกิดเชื่อมกันเองแล้วหรือไม่นั้นทำได้ยาก นอกจากจะเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นมาแล้วเท่านั้นจึงจะทราบ

เมื่อเกิดการตั้งครรภ์ขึ้นแล้วจะมีโอกาส 15-20% ที่จะเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูก[1]

อ้างอิง แก้

  1. Shah JP, Parulekar SV, Hinduja IN (January 1991). "Ectopic pregnancy after tubal sterilization". J Postgrad Med. 37 (1): 17–20. PMID 1941685.