การผัด (อังกฤษ: Stir frying) เป็นวิธีการทำอาหารในน้ำมันและไขมัน ซึ่งเป็นเทคนิกการทำอาหารซึ่งเกิดขึ้นเป็นเวลานานกว่า 2,500 ปีมาแล้ว[1] การผัดในอาหารไทยส่วนใหญ่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีน

การผัด
มันฝรั่งผัดเบคอน และหอมใหญ่
ต็อกโบกี เค้กข้าวแบบเกาหลีผัดกับผักและหมู
การผัดหอมใหญ่และพริกหยวกในกระทะแบน

อาหารไทยที่ปรุงด้วยการผัด แก้

มีหลายชนิด ได้แก่: [2]

  • ผัดไฟแดง เป็นการผัดไฟแรงอย่างเร็วให้ผักสุกและยังคงสีเขียวไว้ได้ ผักที่นิยมนำมาผัดได้แก่ผักบุ้ง คะน้า ผักกูดและยอดฟักแม้ว เป็นต้น
  • ผัดกะเพรา เป็นการผัดเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆกับพริกขี้หนูและกระเทียมโขลกรวมกันแต่งกลิ่นด้วยใบกะเพรา ปรุงรสด้วยน้ำมันหอย ซีอิ๊วขาว และน้ำตาลทรายเป็นหลัก ถ้าเป็นอาหารทะเล นิยมเพิ่มน้ำพริกเผาให้สีสวย
  • ผัดพริกไทยดำ เป็นการผัดที่ใส่พริกไทยดำบุบ รสออกเค็มและเผ็ดร้อน นิยมผัดดับเนื้อสัตว์ที่มีกลิ่นแรง เช่น เนื้อวัว เนื้อนกกระจอกเทศและเนื้อปู
  • ผัดเผ็ด มี 2 แบบคือผัดเผ็ดที่ใช้พริกสดและผัดเผ็ดที่ใช้น้ำพริกแกงเผ็ดถ้าใช้น้ำพริกแกงนิยมใส่กะทิหรือนม ส่วนผัดเผ็ดที่ใช้พริกสดจะคล้ายผัดกะเพรา เพียงแต่จะเพิ่มผักอื่นๆ เช่นมะเขือเปราะ มะเขือพวง กระชาย ใบมะกรูด
  • ฉู่ฉี่ เป็นผัดเผ็ดที่ใช้น้ำพริกแกงเผ็ดที่เพิ่มเครื่องเทศ นิยมใส่ใบกะเพราหรือใบมะกรูด ถ้าใส่น้ำมากจะเรียกแกงฉู่ฉี่[3]
  • คั่วกลิ้ง เป็นอาหารผัดของภาคใต้ ผัดนำ้พริกแกงกับกะทิแล้วจึงใส่เนื้อสัตว์ ผัดให้น้ำแห้ง ใส่พริกไทย ใบมะกรูด กระชาย น้ำพริกแกงประกอบด้วย พริกขี้หนูสดหรือแห้ง เกลือ ข่า ตะไคร้ กระเทียม กระชาย ผิวมะกรูด กะปิ[4]
  • ผัดฉ่า เป็นการผัดที่ใช้ไฟแรง ใช้พริกขี้หนู กระเทียม พริกไทย โขลกรวมกัน นิยมเพิ่มใบกะเพรา พริกไทยอ่อน ใบมะกรูดและกระชายเพื่อเพิ่มความเผ็ดและความหอม
  • ผัดกะปิ ใช้หอมแดงและกะปิเป็นเครื่องปรุงหลัก แต่บางท้องถิ่นจะเพิ่มพริกไทย นิยมผัดกับหมูสามชั้นและหมึก
  • ผัดโป๊ยเซียน เป็นอาหารผัดแบบจีน ใส่เครื่องปรุงทั้งหมด 8 อย่าง เครื่องปรุงที่นิยมใช้ ได้แก่ กุ้ง หมึก หมู วุ้นเส้น เซ่งจี๊ ตับ หมึกแช่ ไข่

อ้างอิง แก้

  1. Tannahill, Reay. Food in History. Three Rivers Press, 1995. p 75
  2. อาหารตามสั่ง จานเด็ดอร่อยทั่วไทย.กทม. แสงแดด.2552. หน้า 12-13
  3. อาหารไทยรสเผ็ด. กทม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2550. หน้า 140
  4. อาหารไทยริมทะเล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กทม. แสงแดด. 2552. หน้า 132

แหล่งข้อมูลอื่น แก้