ที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด

องค์กรระหว่างประเทศ

ที่ประชุมใหญ่ว่าด้วยการชั่งตวงวัด (อังกฤษ: General Conference on Weights and Measures; ฝรั่งเศส: Conférence générale des poids et mesures, ย่อ: CGPM (ซีจีพีเอ็ม))[1] เป็นหนึ่งในสามองค์การซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ (SI) ภายใต้เงื่อนไขของอนุสัญญาสนธิสัญญาเมตริก ค.ศ. 1875 การประชุมจัดขึ้นในแซฟวร์ ชานกรุงปารีส ทุกสี่ถึงหกปี โดยสมาชิกเพิ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1900 เป็น 21 สมาชิก ในปี ค.ศ. 1950 เพิ่มเป็น 32 สมาชิก ในปี ค.ศ. 2001 เพิ่มเป็น 49 สมาชิก ในปี ค.ศ. 2002 ซีจีพีเอ็มมีสมาชิกจำนวน 51 สมาชิกผู้แทนของรัฐและ 10 สมาชิกสบทบอื่น ๆ หลังจากนั้นที่ประชุมดังกล่าวมีผู้แทนจาก 52 รัฐสมาชิกและสมาชิกสมทบอื่นอีก 26 สมาชิก และในปี ค.ศ. 2018 ซีจีพีเอ็มมีสมาชิกทั้งสิ้นรวม 59 รัฐสมาชิกและ 42 สมาชิกสบทบ[2]

ประวัติการประชุม แก้

การประชุมเกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1889[3] จนถึงปี ค.ศ. 2022 ซีจีพีเอ็มมีการประชุมเกิดขึ้นทั้งหมด 27 ครั้ง[4]

  • ครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1889)
  • ครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1897)
  • ครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1901)
  • ครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1907)
  • ครั้งที่ 5 (ค.ศ. 1913)
  • ครั้งที่ 6 (ค.ศ. 1921)
  • ครั้งที่ 7 (ค.ศ. 1927)
  • ครั้งที่ 8 (ค.ศ. 1933)
  • ครั้งที่ 9 (ค.ศ. 1948)
  • ครั้งที่ 10 (ค.ศ. 1954)
  • ครั้งที่ 11 (ค.ศ. 1960)
  • ครั้งที่ 12 (ค.ศ. 1964)
  • ครั้งที่ 13 (ค.ศ. 1967)
  • ครั้งที่ 14 (ค.ศ. 1971)
  • ครั้งที่ 15 (ค.ศ. 1975)
  • ครั้งที่ 16 (ค.ศ. 1979)
  • ครั้งที่ 17 (ค.ศ. 1983)
  • ครั้งที่ 18 (ค.ศ. 1987)
  • ครั้งที่ 19 (ค.ศ. 1991)
  • ครั้งที่ 20 (ค.ศ. 1995)
  • ครั้งที่ 21 (ค.ศ. 1999)
  • ครั้งที่ 22 (ค.ศ. 2003)
  • ครั้งที่ 23 (ค.ศ. 2007)
  • ครั้งที่ 24 (ค.ศ. 2011)
  • ครั้งที่ 25 (ค.ศ. 2014)
  • ครั้งที่ 26 (ค.ศ. 2018)[5]
  • ครั้งที่ 27 (ค.ศ. 2022)

สมาชิก แก้

รัฐสมาชิก แก้

รัฐสมาชิก 59 รัฐ ได้แก่[6]

  อาร์เจนตินา (1877)
  ออสเตรเลีย (1947)
  ออสเตรีย (1875)[n1 1]
  เบลเยียม (1875)
  บราซิล (1921)
  บัลแกเรีย (1911)
  แคนาดา (1907)
  ชิลี (1908)
  จีน (1977)
  โคลอมเบีย (2012)
  โครเอเชีย (2008)
  เช็กเกีย (1922)[n1 2]
  เดนมาร์ก (1875)
  อียิปต์ (1962)
  ฟินแลนด์ (1923)
  ฝรั่งเศส (1875)
  เยอรมนี (1875)
  กรีซ (2001)
  ฮังการี (1925)
  อินเดีย (1997)
  อินโดนีเซีย (1960)
  อิหร่าน (1975)
  อิรัก (2013)
  ไอร์แลนด์ (1925)
  อิสราเอล (1985)
  อิตาลี (1875)
  ญี่ปุ่น (1885)
  คาซัคสถาน (2008)
  เคนยา (2010)
  ลิทัวเนีย (2015)
  มาเลเซีย (2001)
  เม็กซิโก (1890)
  มอนเตเนโกร (2018)
  เนเธอร์แลนด์ (1929)
  นิวซีแลนด์ (1991)
  นอร์เวย์ (1875)[n1 3]
  ปากีสถาน (1973)
  โปแลนด์ (1925)
  โปรตุเกส (1876)
  โรมาเนีย (1884)
  รัสเซีย (1875)[n1 4]
  ซาอุดีอาระเบีย (2011)
  เซอร์เบีย (2001)
  สิงคโปร์ (1994)
  สโลวาเกีย (1922)[n1 2]
  สโลวีเนีย (2016)
  แอฟริกาใต้ (1964)
  เกาหลีใต้ (1959)
  สเปน (1875)
  สวีเดน (1875)[n1 3]
  สวิตเซอร์แลนด์ (1875)
  ไทย (1912)
  ตูนิเซีย (2012)
  ตุรกี (1875)[n1 5]
  ยูเครน (2018)
  สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (2015)
  สหราชอาณาจักร (1884)
  สหรัฐ (1878)
  อุรุกวัย (1908)
  เวเนซุเอลา (1879)

หมายเหตุ แก้
  1. เข้าร่วมเริ่มแรกในฐานะ ออสเตรีย-ฮังการี
  2. 2.0 2.1 เข้าร่วมเริ่มแรกในฐานะส่วนหนึ่งของ สาธารณรัฐเชคโกสโลวาเกีย
  3. 3.0 3.1 เข้าร่วมในฐานะเริ่มแรกเป็นส่วนหนึ่งของ สวีเดนและนอร์เวย์
  4. เข้าร่วมเริ่มแรกในฐานะ จักรวรรดิรัสเซีย
  5. เข้าร่วมเริ่มแรกในฐานะจักรวรรดิออตโตมัน

สมาชิกสมทบ แก้

เมื่อครั้งการประชุมครั้งที่ 21 ของ CGPM เมื่อตุลาคม ค.ศ. 1999,หมวดของ "สมาชิกสมทบ" เริ่มก่อตั้งขึ้นสำหรับประเทศที่ยังมิได้เข้าเป็นสมาชิกรัฐ BIPM members พร้อมด้วย สหภาพเศรษฐกิจs.[7]

ดูเพิ่ม แก้

ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ

อ้างอิง แก้

  1. https://www.britannica.com/topic/General-Conference-on-Weights-and-Measures
  2. https://www.bipm.org/en/about-us/member-states/
  3. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-12-07.
  4. "27th meeting of the CGPM (2022)". BIPM. สืบค้นเมื่อ November 21, 2022.
  5. http://blog.wolfram.com/2018/11/16/as-of-today-the-fundamental-constants-of-physics-c-h-e-k-na-are-finally-constant/
  6. https://www.bipm.org/en/about-us/member-states/
  7. [1] เก็บถาวร 3 กรกฎาคม 2014 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน