การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564

การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2564 (อังกฤษ: 2021 United Nations Climate Change Conference) หรือรู้จักในชื่อย่อ คอป 26 (COP26) เป็นการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 จัดขึ้นที่กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม ถึง 12 พฤศจิกายน 2021 ภายใต้การนำของอาล็อก ชาร์มา[1]

2021 United Nations Climate Change Conference
วันที่31 ตุลาคม – 12 พฤศจิกายน ค.ศ. 2021 (2021-10-31 – 2021-11-12)
ที่ตั้งเอสอีซีเซนเตอร์ กลาสโกว์ ประเทศสกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร
พิกัด55°51′39″N 4°17′17″W / 55.86085°N 4.28812°W / 55.86085; -4.28812
ชื่ออื่นCOP26 (การประชุมกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ)
CMP16 (อนุสัญญาเกียวโต)
CMA3 (สนธิสัญญาปารีส)
สหราชอาณาจักร และอิตาลี
ประธานอาล็อก ชาร์มา
การประชุมก่อนหน้าการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2561
เว็บไซต์ukcop26.org แก้ไขสิ่งนี้ที่วิกิสนเทศ

การประชุมจัดขึ้นที่เอสอีซีเซนเตอร์ในกลาสโกว์ แผนเดิมตั้งใจจะจัดในเดือนพฤศจิกายน 2020 แต่ถูกเลื่อนอีกไปปีเต็มเนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19[2]

การเจรจา แก้

การประชุมของผู้นำโลกมีขึ้นเมื่อวันที่ 1 ถึง 2 พฤศจิกายน[3]

เป้าหมายสำคัญของผู้จัดการประชุมอยู่ที่การคุมไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส[4] รวมถึงมีการพูดคุยเกี่ยวกับการลดและเลิกใช้ถ่านหิน[5] รายงานของบีบีซีระบุตัวบุคคลที่อาจเป็นกุญแจสำคัญในการทำข้อตกลงได้แก่ เซี่ย เจินหัว, อายมาน ชาสลี, เชค ฮาซีนา และเตเรซา ริเบรา[6]

ประเทศจีนระบุว่าจะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สูงสุดก่อนปี 2030 และจะกลายมาเป็นรัฐที่ปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2060[7]

การตัดไม้ทำลายป่า แก้

ผู้นำมากกว่า 100 ประเทศซึ่งเป็นเจ้าของผืนป่ามากกว่า 85% ของโลก ได้บรรลุข้อตกลงหยุดการทำลายป่าภายในปี 2030 ที่น่าสนใจคือบรรดาผู้ลงนามเหล่านี้รวมถึงประเทศที่มีปัญหาการทำลายป่า เช่น บราซิล, แคนาดา, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, สหรัฐ, จีน และอินโดนีเซีย[8]

ถ่านหิน แก้

มีการตั้งข้อตกลงไว้ว่าประเทศแอฟริกาใต้จะได้รับทุนอุดหนุน 8.5 พันล้านดอลลาร์ เพื่อหยุดการพึ่งพาถ่านหินในประเทศ[9][10]

มีเทน แก้

สหรัฐและหลายประเทศบรรลุข้อตกลงที่จะหยุดการปล่อยแก๊สมีเทน[11] มากกว่า 80 ประเทศลงนามในคำปฏิญาณมีเทนโลก ยินยอมที่จะลดการปล่อยมีเทนลง 30% ภายในปี 2030 ผู้นำสหรัฐและรัฐยุโรประบุว่าการลดการปล่อยแก๊สมีเทนซึ่งเป็นแก๊สเรือนกระจกสำคัญนั้นจะมีส่วนสำคัญมากต่อการคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงเกิน 1.5 องศาเซลเซียส[12] ประเทศที่ปฏิเสธข้อตกลงนี้ได้แก่ ออสเตรเลีย, ชิลี, รัสเซีย, อินเดีย, อิหร่าน และจีนเป็นต้น

อ้างอิง แก้

  1. "New dates agreed for COP26 United Nations Climate Change Conference" (Press release). UK Department for Business, Energy and Industrial Strategy; Alok Sharma. 28 May 2020. สืบค้นเมื่อ 21 August 2021.{{cite press release}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. Dennis, Brady; Mooney, Chris (1 April 2020). "Amid pandemic, U.N. cancels global climate conference". The Washington Post. สืบค้นเมื่อ 1 April 2020.
  3. "The World Leaders Summit at COP 26". unfccc.int. สืบค้นเมื่อ 29 October 2021.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "COP26 Goals". UN Climate Change Conference (COP26) at the SEC – Glasgow 2021. สืบค้นเมื่อ 28 October 2021.
  5. "Agenda for CoP26: Why the phasing out of coal won't be decided in a jiffy".{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Climate change: Five dealmakers who will influence the outcome at COP26". BBC News. 2 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  7. "China's new climate plan falls short of Cop26 global heating goal, experts say". The Guardian. 28 October 2021.
  8. "COP26: World leaders promise to end deforestation by 2030". BBC News. 2 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  9. "COP26: South Africa hails deal to end reliance on coal". BBC News. 2 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  10. "COP26 latest: Europe to invest €1bn in clean technologies such as green hydrogen". Financial Times. 2 November 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  11. "Biden to unveil pledge to slash global methane emissions by 30%". The Guardian. 2 November 2021. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.
  12. "COP26: US and EU announce 'game-changing' methane plan". BBC News. สืบค้นเมื่อ 2 November 2021.