การปฏิวัติเยเมน พ.ศ. 2554–2555

การก่อการกำเริบในเยเมน พ.ศ. 2554-2555 หรือเรียกว่า การปฏิวัติเยเมน เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติตูนิเซียขั้นเริ่มต้นและเกิดขึ้นพร้อมกับการปฏิวัติอียิปต์ และการประท้วงใหญ่อื่นในตะวันออกกลางเมื่อต้น พ.ศ. 2554 ในระยะแรกของการก่อการกำเริบ การประท้วงในเยเมนเดิมทีต่อต้านภาวะว่างงาน สภาพทางเศรษฐกิจและการฉ้อราษฎร์บังหลวง[1] เช่นเดียวกับข้อเสนอของรัฐบาลที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญของเยเมน ข้อเรียกร้องของผู้ประท้วงจากนั้นได้บานปลายขึ้นเป็นเรียกร้องให้ประธานาธิบดีเยเมน อะลี อับดุลลอฮ์ ศอเลียะห์ ลาออกจากตำแหน่ง มีการแปรพักตร์หมู่จากกองทัพ เช่นเดียวกับจากรัฐบาลของศอเลียะห์ ซึ่งเป็นผลให้ส่วนมากของประเทศอยู่นอกเหนือการควบคุมของรัฐบาลอย่างชะงัด และผู้ประท้วงสาบานว่าจะขัดขืนอำนาจของรัฐบาล

การปฏิวัติเยเมน พ.ศ. 2554–2555
ส่วนหนึ่งของ อาหรับสปริง, วิกฤตการณ์เยเมน
ผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในศ็อนอา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ.2011
วันที่27 มกราคม ค.ศ. 2011 (2011-01-27)27 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 (2012-02-27)
(1 ปี 1 เดือน)
สถานที่เยเมน
สาเหตุ
วิธีการ
ผลรัฐบาลถูกโค่นล้ม
คู่ขัดแย้ง
ความเสียหาย
เสียชีวิต2,000 (ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ.2012)[16]
บาดเจ็บ22,000[16]
ถูกจับกุม1,000[17]

การเดินขบวนหลักที่มีผู้ประท้วงกว่า 16,000 คน มีขึ้นในกรุงซานา เมืองหลวงของเยเมน เมื่อวันที่ 27 มกราคม วันที่ 2 กุมภาพันธ์ ศอเลียะห์ประกาศว่าเขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกใน พ.ศ. 2556 และเขาจะไม่ส่งต่ออำนาจให้บุตรชาย วันที่ 3 กุมภาพันธ์ มีผู้ประท้วง 20,000 คน ประท้วงต่อต้านรัฐบาลในกรุงซานา[18][19] ขณะที่ยังมีการประท้วงในเอเดน[20] นครเมืองท่าทางใต้ของเยเมน ฝ่ายทหาร สมาชิกติดอาวุธของสภาประชาชนทั่วไป และผู้ประท้วงจำนวนมากจัดการชุมนุมสนับสนุนรัฐบาลในกรุงซานา[21] ในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ชาวเยเมนนับหลายหมื่นคนมีส่วนในการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาลในเทียซ ซานาและเอเดน ในวันที่ 11 มีนาคม ผู้ประท้วงเรียกร้องการถอดศอเลียะห์ออกจากตำแหน่งในกรุงซานา ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 3 ศพ ยังมีการจัดการประท้วงขึ้นอีกในนครอื่น รวมทั้งอัลมุกัลลา ที่ซึ่งมีผู้เสียชีวิต 1 ศพ วันที่ 18 มีนาคม ผู้ประท้วงในกรุงซานาถูกยิงใส่ เป็นผลให้มีผู้เสียชีวิต 52 ศพ และสุดท้ายลงเอยด้วยการแปรพักตร์และลาออกหมู่[22]

เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน ศอเลียะห์ตกลงต่อข้อตกลงที่มีสภาความร่วมมืออ่าว (Gulf Co-operation Council) เป็นนายหน้า แต่กลับหลีกเลี่ยงก่อนการลงนามตามกำหนดถึงสามครั้ง หลังการหลีกเลี่ยงครั้งที่สาม สภาความร่วมมืออ่าวจึงยุติความพยายามในการไกล่เกลี่ยในเยเมน[23] วันที่ 23 พฤษภาคม หนึ่งวันหลังศอเลียะห์ปฏิเสธจะลงนามในความตกลงเปลี่ยนผ่าน ซาเดค อัล-อาห์มาร์ หัวหน้าสหพันธ์ชนเผ่าฮาชิด หนึ่งในชนเผ่าที่ทรงอำนาจที่สุดในประเทศ ประกาศสนับสนุนฝ่ายต่อต้านและผู้สนับสนุนติดอาวุธของเขาเข้าสู่ความขัดแย้งกับกำลังความมั่นคงที่ยังจงรักภักดีต่อรัฐบาลในกรุงซานา ได้เกิดการสู้รบตามท้องถนนอย่างหนักตามมา ซึ่งรวมทั้งการยิงปืนใหญ่และปืนครก[24][25][26][27][28] ศอเลียะห์และอีกหลายคนได้รับบาดเจ็บ และอย่างน้อยห้าคนถูกสังหารในการทิ้งระเบิดทำเนียบประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน เมื่อการระเบิดฉีกผ่านสุเหร่าที่เจ้าหน้าที่รัฐบาลระดับสูงใช้สวดมนต์[29] รายงานขัดแย้งกันว่าการโจมตีเกิดขึ้นจากการระดมยิงหรือระเบิดที่ถูกติดตั้งไว้[30] วันรุ่งขึ้น รองประธานาธิบดี อาบิด อัลรับ มันซูร์ อัลฮาดี รักษาการรัฐการแทนประธานาธิบดี[31] ขณะที่ศอเลียะห์บินไปยังซาอุดิอาระเบียเพื่อรักษาตัว ฝูงชนเฉลิมฉลองการส่งผ่านอำนาจของศอเลียะห์ แต่ทางการเยเมนยืนยันว่า การไม่อยู่ของศอเลียะห์นั้นเป็นเพียงชั่วคราวและอีกไม่นาน เขาจะกลับมาเยเมนเพื่อปฏิบัติตำแหน่งหน้าที่เช่นเดิม[32]

ต้นเดือนกรกฎาคม รัฐบาลปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝ่ายต่อต้าน รวมทั้งการจัดตั้งสภาเปลี่ยนผ่านโดยมีเป้าหมายเปลี่ยนผ่านอำนาจอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลชุดปัจจุบันเป็นรัฐบาลรักษาการซึ่งมีเจตนาเพื่อดูแลการเลือกตั้งอันเป็นประชาธิปไตยครั้งแรกในประวัติศาสตร์เยเมน[33] กลุ่มต่าง ๆ ของฝ่ายต่อต้านสนองโดยประกาศการจัดตั้งสภาเปลี่ยนผ่านซึ่งมีสมาชิก 17 คนของตนเองเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม ผ่านพรรคประชุมร่วม (Joint Meeting Parties) ซึ่งมีพฤติการณ์เสมือนสิ่งคุ้มครองสำหรับกลุ่มต่อต้านของเยเมนจำนวนมากระหว่างการก่อการกำเริบ แถลงว่า สภามิได้เป็นตัวแทนพวกเขา และไม่ลงรอย "แผนการ" สำหรับประเทศของพวกเขา[34]

วันที่ 23 พฤศจิกายน ศอเลียะห์ลงนามในความตกลงเปลี่ยนผ่านอำนาจซึ่งมีสภาความร่วมมืออ่าวเป็นนายหน้าในกรุงริยาด ซึ่งเขาจะเปลี่ยนผ่านอำนาจไปยังรองประธานาธิบดีของเขาภายใน 30 วัน และสละตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 โดยแลกกับการรอดพ้นการถูกดำเนินคดีอาญา[35][36] แม้พรรคประชุมร่วมจะยอมรับกับข้อตกลงของสภาความร่วมมืออ่าวดังกล่าว แต่ผู้ประท้วงจำนวนมากและกลุ่มฮูธิไม่เห็นด้วย[37][38]

มีการจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเยเมนขึ้นเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ด้วยรายงานอ้างว่ามีผู้ออกมาใช้สิทธิ 65% ฮาดีได้รับคะแนนเสียง 99.8% อาบิด รับบูฮฺ มันซูร์ อัลฮาดีได้สาบานตนเข้ารับตำแหน่งในรัฐสภาเยเมนเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555 ศอเลียะห์เดินทางกลับประเทศในวันเดียวกันเพื่อเข้าร่วมการเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของฮาดี[39] หลังการประท้วงนานหลายเดือน ศอเลียะห์ได้ลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและเปลี่ยนผ่านอำนาจให้แก่ผู้สืบทอดของเขาอย่างเป็นทางการ เป็นจุดสิ้นสุดการปกครองนาน 33 ปีของเขา[40]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 Staff (27 January 2011). "Yemen Protests: 'People Are Fed Up with Corruption'". BBC News. สืบค้นเมื่อ 14 May 2011.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ afreuters
  3. Yemen MPs resign over violence เก็บถาวร 23 พฤษภาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Al Jazeera, 23 February 2011.
  4. "Military restructuring in Yemen: Unravelling a tangled web | Comment Middle East". Commentmideast.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 ธันวาคม 2012. สืบค้นเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2012.
  5. Kasinof, Laura (21 มกราคม 2012). "Yemen Legislators Approve Immunity for the President". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2012.
  6. JMP เก็บถาวร 3 กุมภาพันธ์ 2011 ที่ Archive-It. Armiesofliberation.com.
  7. 7.0 7.1 "Yemen's Brotherhood: Early Losses and an Unknown Future". Al-Monitor. 25 กันยายน 2013. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 สิงหาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2017.
  8. South Yemen movement Protests เก็บถาวร 10 ตุลาคม 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Adenyouth.wordpress.com (28 April 2011).
  9. The crucible of Yemen เก็บถาวร 25 ตุลาคม 2011 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Al Jazeera.net.
  10. YEMEN: Student protests gather strength after deaths เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Universityworldnews.com (27 February 2011).
  11. Associates, Menas. (24 May 2011) YEMEN: Hashid tribe clashes with security forces เก็บถาวร 1 กุมภาพันธ์ 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Menasassociates.blogspot.com.
  12. Yemeni tribes form coalition against Saleh. The Straits Times. เก็บถาวร 21 มกราคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. "10,000 Yemeni forces defect from government, join protesters: official". Xinhua News Agency. 13 เมษายน 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 เมษายน 2011. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2011.
  14. Johnston, Cynthia (24 มีนาคม 201). "Yemen Forces Clash over Saleh Before Friday Protest". Reuters. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 มกราคม 2012. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2011.
  15. "The Yemeni National Dialog Committee Issues Vision for National Salvation". Armies of Liberation. 20 มีนาคม 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 กุมภาพันธ์ 2011. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2011.
  16. 16.0 16.1 Yemen says more than 2,000 killed in uprising เก็บถาวร 25 มีนาคม 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Washington Post. (19 March 2012).
  17. report: Over 1,000 missing, possibly tortured[ลิงก์เสีย], 8 November 2011
  18. Daragahi, Borzou; Browning, Noah (3 February 2011). "Tens of Thousands Turn Out for Rival Rallies in Yemen – Anti-Government Protesters in Sana Are Met with a Competing Rally Across Town by the President's Supporters, Who Get Logistical Support from the Army". Los Angeles Times. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.{{cite news}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Staff (29 January 2011). "Yemen Protests: 20,000 Call for President Saleh To Go". BBC News. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  20. Staff (3 February 2011). "Opposing Protesters Rally in Yemen – Anti-Government Demonstrators Reiterate Calls for President To Stand Down While His Supporters Stage a Counter Rally". Al Jazeera English. สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  21. Staff (3 February 2011). "Saleh Partisans Take Over Yemen Protest Site". Agence France-Presse (via oneindia.in). สืบค้นเมื่อ 29 April 2011.
  22. "Yemen president Saleh fights to keep grip on power". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-07-16. สืบค้นเมื่อ 2021-10-12.
  23. "Yemen transition deal collapses". Al Jazeera English. 22 May 2011. สืบค้นเมื่อ 23 May 2011.
  24. "Yemen's president vows to resist 'failed state' as tribes press offensive against regime". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-28. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  25. Tribal fighters occupy government buildings in Yemen
  26. Street battles in Sana'a between Saleh loyalists and tribal guards
  27. "Fighting grips Yemeni capital as Saleh orders arrests". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-18. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  28. Yemen officials: 38 killed in capital fighting
  29. Yemen palace shelled; sheikh, guards killed, president, PM hurt
  30. "40% من جسم صالح مصاب". Al Jazeera Mubasher. 10 June 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-23. สืบค้นเมื่อ 11 June 2011.
  31. "Al-Hadi acting President of Yemen". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-27. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  32. Yemeni crowds celebrate after president transfers power, flies to Saudi Arabia
  33. "Minister Says Yemen Will Not Accept a Transitional Council". NTDTV. 6 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-04. สืบค้นเมื่อ 7 July 2011.
  34. "Yemen protesters set up transitional council". Reuters. 16 July 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-24. สืบค้นเมื่อ 17 July 2011.
  35. Yemen's Saleh signs deal to quit power
  36. Yemen leader signs power-transfer deal
  37. [1]
  38. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-01. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.
  39. http://online.wsj.com/article/SB10001424052970203918304577244581296702946.html?mod=googlenews_wsj
  40. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-05-25. สืบค้นเมื่อ 2012-03-01.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้