การปฏิวัติเม็กซิโก

การปฏิวัติเม็กซิโก (สเปน: Revolución mexicana) เป็นที่รู้จักในนาม สงครามกลางเมืองเม็กซิโก (guerra civil mexicana) เป็นเหตุการณ์ความขัดแย้งครั้งสำคัญ เกิดขึ้นระหว่าง ค.ศ. 1910–1920 นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมเม็กซิโกและรัฐบาลเม็กซิโกอย่างรุนแรง แม้ว่างานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้จะมุ่งเน้นไปที่การปฏิวัติในระดับท้องถิ่นและภูมิภาค แต่ถึงกระนั้นเหตุการณ์นี้เป็นการปฏิวัติในระดับชาติเลยทีเดียว[6] การปฏิวัติปะทุขึ้นใน ค.ศ. 1910 โดยเป็นผลมาจากความล้มเหลวของระบอบที่ปกครองโดยปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ที่ยาวนานกว่า 31 ปี แต่ไม่สามารถหาผู้สืบทอดระบอบในตำแหน่งประธานาธิบดีได้ ส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองครั้งใหญ่ในหมู่ชนชั้นนำซึ่งเปิดโอกาสให้กลุ่มเกษตรกรก่อการจลาจล[7] เจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งที่มีนามว่า ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ท้าทายอำนาจของระบอบดิอัซผ่านการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1910 และจากผลการเลือกตั้ง ทำให้เกิดการก่อกบฏตามแผนซานลุยส์โปโตซี[8] การปะทะกันด้วยอาวุธที่เกิดขึ้นได้ขับไล่ดิอัซออกจากอำนาจ การเลือกตั้งครั้งใหม่จัดขึ้นใน ค.ศ. 1911 ผลักดันให้มาเดโรขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี

การปฏิวัติเม็กซิโก

รวมภาพเหตุการณ์การปฏิวัติเม็กซิโก
วันที่20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910 – 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1920
(9 ปี 6 เดือน 1 วัน)
สถานที่
ผล

ฝ่ายปฏิวัติได้ชัยชนะ

คู่สงคราม

เม็กซิโก ฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ:

ค.ศ. 1910–1911:
กองทัพสหพันธรัฐนำโดยปอร์ฟิริโอ ดิอัซ

เม็กซิโก ฝ่ายปฏิวัติ:

ค.ศ. 1910–1911:
กลุ่มมาเดริสตา
กลุ่มโอโรซกิสตา
กลุ่มมาโกนิสตา
กลุ่มซาปาติสตา
ค.ศ. 1911–1913:
กลุ่มมาเดริสตา
ค.ศ. 1911–1913:
กองทัพนำโดยเบร์นาร์โด เรเยส
กองทัพนำโดยเฟลิกซ์ ดิอัซ
กลุ่มโอโรซกิสตา
กลุ่มมาโกนิสตา
กลุ่มซาปาติสตา
ค.ศ. 1913–1914:
กองทัพนำโดยบิกโตเรียโน อูเอร์ตา
ค.ศ. 1913–1914:
การ์รันซิสตา
กลุ่มบิยิสตา
กลุ่มซาปาติสตา
ค.ศ. 1914–1919:
กลุ่มบิยิสตา
กลุ่มซาปาติสตา
กองทัพนำโดยเฟลิกซ์ ดิอัซ
กองทัพนำโดยเอาเรเลียโน บลังเกต

ค.ศ. 1914–1919:
การ์รันซิสตา


เซดิติโอนิสตา
 เยอรมนี (c.1917)

ค.ศ. 1920:
กองทัพนำโดยอัลบาโร โอเบรกอน
กองทัพที่ยังเหลือของกลุ่มซาปาติสตา

สนับสนุนโดย
 สหรัฐ (ค.ศ. 1910–1913)
 เยอรมนี (ประมาณ ค.ศ. 1913–1919)

ค.ศ. 1920:
การ์รันซิสตา

สนับสนุนโดย
 สหรัฐ (ค.ศ. 1913–1918)
 สหราชอาณาจักร (ค.ศ. 1916–1918)
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ค.ศ. 1910–1911:
ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ
รามอน กอร์รัล
มานูเอล มอนดรากอน
โฆเซ อิบส์ ลิมันตูร์
ค.ศ. 1911–1913:
ปัสกวล โอโรซโก (ก่อการปฏิวัติหลังจากดิอัซถูกโค่นอำนาจ และภายหลังเข้าร่วมกับฝ่ายอูเอร์ตาหลังจากอูเอร์ตาขึ้นสู่อำนาจ)
เบร์นาร์โด เรเยส  (นำการปฏิวัติเองจนกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1913)
เฟลิกซ์ ดิอัซ (อยู่กับฝ่ายเรเยส ต่อมาเข้ากับฝ่ายอูเอร์ตา หลังจากเรเยสเสียชีวิตใน ค.ศ. 1913)
เอมิเลียโน ซาปาตา (อยู่ฝ่ายโอโรซโกจนกระทั่งอูเอร์ตาขึ้นสู่อำนาจ)
ริการ์โด โฟลเรส มากอน (เชลย)
ค.ศ. 1913–1914:
บิกโตเรียโน อูเอร์ตา
เอาเรเลียโน บลังเกต
ปัสกวล โอโรซโก ใน ค.ศ. 1915)
มานูเอล มอนดรากอน (จนถึงมิถุนายน ค.ศ. 1913)
ฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา
ฟรันซิสโก เอเซ. การ์บาฆัล
ค.ศ. 1914–1919:
ปันโช บิยา
เอมิเลียโน ซาปาตา 
เฟลิกซ์ ดิอัซ
เอาเรเลียโน บลังเกต 
ค.ศ. 1920:
อัลบาโร โอเบรกอน
ค.ศ. 1910–1911:
ฟรันซิสโก อี. มาเดโร
ปัสกวล โอโรซโก
เบร์นาร์โด เรเยส
ปันโช บิยา
เอมิเลียโน ซาปาตา
ริการ์โด โฟลเรส มากอน
ค.ศ. 1911–1913:
ฟรันซิสโก อี. มาเดโร 
โฆเซ มาริอา ปิโน ซัวเรซ 
ปันโช บิยา
เบนุสเตียโน การ์รันซา
บิกโตเรียโน อูเอร์ตา (เข้าร่วมฝ่ายเรเยสอย่างลับ ๆ ในการต่อต้านมาเดโร จนกระทั่งเรเยสเสียชีวิตใน ค.ศ. 1913 อูเอร์ตาจึงเข้ามานำการปฏิวัติเอง)
เอาเรเลียโน บลังเกต (เข้าร่วมฝ่ายเรเยสอย่างลับ ๆ เช่นกัน)
ค.ศ. 1913–1914:
เบนุสเตียโน การ์รันซา
ปันโช บิยา
เอมิเลียโน ซาปาตา
อัลบาโร โอเบรกอน
ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส
ค.ศ. 1914–1919:
เบนุสเตียโน การ์รันซา
อัลบาโร โอเบรกอน
ค.ศ. 1920:
เบนุสเตียโน การ์รันซา 
กำลัง
เม็กซิโก ฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติ:
250,000–300,000 นาย
เม็กซิโก ฝ่ายปฏิวัติ:
255,000–290,000 นาย
ความสูญเสีย
จักรวรรดิเยอรมัน ชาวเยอรมันถูกสังหาร 2 คน สหรัฐ ชาวอเมริกันถูกสังหาร 500 คน
เม็กซิโก ชาวเม็กซิโกเสียชีวิต 1.7 คน?[3] ถึง 2.7 ล้านคน[4] (พลเรือนและทหาร)
พลเรือนเสียชีวิต 700,000 คน[5] ถึง 1,117,000 คน[5] (ใช้ตัวเลข 2.7 ล้านคน)

จุดเริ่มต้นของความขัดแย้งมีพื้นฐานมาจากการต่อต้านระบอบของดิอัซในวงกว้าง การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1910 เป็นตัวเร่งให้เกิดการก่อกบฏในทางการเมือง การปฏิวัติเกิดขึ้นจากองค์ประกอบความขัดแย้งของเหล่าชนชั้นนำที่เป็นปฏิปักษ์กับดิอัซ นำโดยมาเดโรและปันโช บิยา และความขัดแย้งขยายไปสู่กลุ่มคนชนชั้นกลาง กลุ่มชาวนาในบางภูมิภาค และองค์กรของแรงงาน[9] ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1911 มาเดโรได้รับการเลือกตั้งด้วยคะแนนเสียงท่วมท้นในการเลือกตั้งที่เป็นอิสระและยุติธรรม ฝ่ายต่อต้านระบอบใหม่ของเขามาจากทั้งฝั่งอนุรักษนิยมที่มองว่าเขาอ่อนแอเกินไปและหัวเสรีนิยมมากเกินไป และฝั่งอดีตนักปฏิวัติด้วยกันและกลุ่มผู้ถูกยึดทรัพย์ที่มองว่าเขานั้นเป็นอนุรักษนิยมมากเกินไป

ประธานาธิบดีมาเดโรและรองประธานาธิบดีโฆเซ มาริอา ปิโน ซัวเรซ ถูกบีบบังคับให้ลาออกในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 และทั้งคู่ก็ถูกลอบสังหาร ระบอบการเมืองฝ่ายต่อต้านการปฏิวัติของบิกโตเรียโน อูเอร์ตา ก้าวขึ้นสู่อำนาจ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจและผู้สนับสนุนเดิมในระบอบเก่า ประธานาธิบดีอูเอร์ตาอยู่ในอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 จนถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 เมื่อเขาถูกขับไล่ออกจากอำนาจโดยกองกำลังผสมของฝ่ายปฏิวัติในระดับภูมิภาค เมื่อฝ่ายปฏิวัติพยายามที่จะบรรลุข้อตกลงทางการเมืองระหว่างกันแต่สุดท้ายล้มเหลว เม็กซิโกจึงตกอยู่ในวังวนของสงครามกลางเมือง (ค.ศ. 1914–1915) ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมที่นำโดยเจ้าของที่ดินผู้มั่งคั่งนามว่า เบนุสเตียโน การ์รันซา ก้าวขึ้นเป็นผู้ชนะใน ค.ศ. 1915 เขาสามารถกำจัดกองทัพปฏิวัติของปันโช บิยา อดีตสมาชิกฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม และผลักไสให้เอมิเลียโน ซาปาตา กลับไปสู้รบในรูปแบบสงครามกองโจร ซาปาตาถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1919 โดยสายลับที่ประธานาธิบดีการ์รันซาส่งไป

การปะทะกันด้วยอาวุธกินเวลาเกือบทศวรรษในคริสต์ทศวรรษ 1920 และเกิดขึ้นหลายระยะ[10] เมื่อเวลาผ่านไปการปฏิวัติเปลี่ยนจากการกบฏเพื่อต่อต้านระบอบของดิอัซไปเป็นสงครามกลางเมืองหลายฝ่ายในบางภูมิภาค โดยมีการเปลี่ยนแปลงทางอำนาจผ่านการต่อสู้ระหว่างฝ่ายต่าง ๆ ในการปฏิวัติ ผลที่สำคัญประการหนึ่งคือมีการยุบเลิกกองทัพสหพันธรัฐใน ค.ศ. 1914 ซึ่งฟรันซิสโก มาดูโร ดำเนินการเมื่อเขาได้รับการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1911 และอูเอร์ตาใช้เหตุนี้ในการโค่นอำนาจมาดูโร กองกำลังปฏิวัติร่วมมือกันต่อต้านระบอบต่อต้านการปฏิวัติของอูเอร์ตาและสามารถกำจัดกองทัพสหพันธรัฐได้[11] แม้ว่าความขัดแย้งส่วนใหญ่จะเป็นสงครามกลางเมือง แต่มหาอำนาจต่างชาติที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์ในเม็กซิโกเป็นผู้กำหนดผลของความขัดแย้งทางอำนาจในเม็กซิโก สหรัฐเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเหตุการณ์นี้[12] จากประชากรของเม็กซิโกจำนวน 15 ล้านคน ความสูญเสียเกิดขึ้นในระดับสูง แต่การประมาณการตัวเลขนั้นแตกต่างกันอย่างมาก อาจมีประชาชนเสียชีวิต 1.5 ล้านคน และมีผู้ลี้ภัยไปต่างประเทศเกือบ 200,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่ลี้ภัยไปยังสหรัฐ[3][13]

นักวิชาการหลายคนเห็นว่าการประกาศใช้รัฐธรรมนูญเม็กซิโก ค.ศ.1917 เป็นจุดยุติการปะทะกันทางอาวุธ "สภาพเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้นตามข้อตกลงของนโยบายฝ่ายปฏิวัติ เพื่อให้สังคมใหม่เกิดขึ้นภายใต้กรอบของสถาบันของฝ่ายปฏิวัติที่เป็นทางการ" โดยมีรัฐธรรมนูญเอื้อให้เกิดกรอบสถาบันดังกล่าว[14] ช่วง ค.ศ. 1920–1940 มักถูกเรียกว่าเป็นระยะแห่งการปฏิวัติ ในฐานะที่เป็นรัฐบาลที่มีความมั่นคงทางอำนาจ ฝ่ายบาทหลวงและสถาบันคาทอลิกถูกโจมตีในคริสต์ทศวรรษ 1920 และรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ของฝ่ายปฏิวัติได้ถูกนำมาใช้[15]

ความขัดแย้งทางอาวุธครั้งนี้มักได้รับการอธิบายว่ามีลักษณะเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ทางสังคมการเมืองที่สำคัญที่สุดของเม็กซิโกและเป็นหนึ่งในเหตุการณ์ความวุ่นวายครั้งใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 20[16] มันทำให้เกิดแผนการสำคัญในการทดลองและปฏิรูปองค์การทางสังคม[17] การปฏิวัติก่อให้เกิดระบอบทางการเมืองที่เกิดขึ้นด้วย "ความยุติธรรมทางสังคม" จนกระทั่งเม็กซิโกได้ผ่านกระบวนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมซึ่งเริ่มขึ้นในคริสต์ทศวรรษ 1980[18]

ปอร์ฟิเรียโต ค.ศ. 1876–1911 แก้

 
นายพลปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ประธานาธิบดีเม็กซิโก

ยุคปอร์ฟิเรียโต เป็นช่วงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 ของประวัติศาสตร์เม็กซิโก ที่ถูกครอบงำโดยนายพลปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ซึ่งกลายเป็นประธานาธิบดีของเม็กซิโกใน ค.ศ. 1876 และปกครองค่อนข้างต่อเนื่องยาวนาน (เว้นช่วง ค.ศ. 1880–1884) จนกระทั่งเขาถูกบีบบังคับให้ลาออกใน ค.ศ. 1911[19] หลังจากการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของมานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส พันธมิตรของเขาในช่วง ค.ศ. 1880–1884 ดิอัซได้ลงแข่งขันเป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง และเป็นประธานาธิบดีจนถึง ค.ศ. 1911 ในช่วงที่เขาดำรงตำแหน่ง มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่ออนุญาตให้ประธานาธิบดีลงเลือกตั้งใหม่ได้โดยไม่จำกัดวาระ ดิอัซได้ท้าทายค่านิยมทางการเมืองของอดีตประธานาธิบดีเบนิโต ฆัวเรซ ที่เสนอให้ประธานาธิบดี "ไม่มีการลงเลือกตั้งเพื่อกลับมาใหม่"[20] ในช่วงยุคปอร์ฟิเรียโต มีการเลือกตั้งแต่ก็ไม่สม่ำเสมอต่อเนื่อง[21] แม้ว่าดิอัซจะประกาศต่อสาธารณะในช่วงที่เขาให้สัมภาษณ์นักข่าว เจมส์ ครีลแมน ว่า เขาจะไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งใน ค.ศ. 1910 เพื่อจะหลุดพ้นจากกิจกรรมทางการเมืองที่วุ่นวาย แต่สุดท้ายเขาก็เปลี่ยนใจและลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งขณะมีอายุ 80 ปี

การเลือกตั้งใน ค.ศ. 1910 เป็นเหตุการณ์การเมืองที่มีความสำคัญต่อการปฏิวัติเม็กซิโก เมื่อประธานาธิบดีชราอย่างดิอัซถูกตั้งคำถามว่าใครจะเป็นผู้สืบทอดทางการเมืองของเขา และคำถามนี้กลายเป็นประเด็นสำคัญมากขึ้น ใน ค.ศ. 1906 มีการรื้อฟื้นตำแหน่งรองประธานาธิบดีอีกครั้ง โดยดิอัซเลือกพันธมิตรคนสนิทของเขาคือ รามอน กอร์รัล จากกลุ่มที่ปรึกษาซิเอนติฟิโกของเขาให้มาดำรงตำแหน่งนี้[22] โดยในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1910 ระบอบของดิอัซได้กลายเป็นเผด็จการอย่างมาก และมีการต่อต้านจากทุกภาคส่วนในสังคมเม็กซิโกมากขึ้น

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดิอัซเคยเป็นวีรบุรุษของชาติ ในช่วงการต่อต้านการแทรกแซงเม็กซิโกของฝรั่งเศสครั้งที่สองในคริสต์ทศวรรษ 1860 และเขาโดดเด่นมากขึ้นในสมรภูมิปวยบลา วันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 1862 (ซิงโกเดมาโย)[23] ดิอัซเข้าสู่วงการเมืองหลังจากขับไล่กองทัพฝรั่งเศสออกไปใน ค.ศ. 1867 เมื่อเบนิโต ฆัวเรซ ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1871 ดิอัซกล่าวหาว่าฆัวเรซโกงการเลือกตั้ง ฆัวเรซถึงแก่อสัญกรรมในตำแหน่ง ค.ศ. 1872 และเซบัสเตียน เลร์โด เด เตเฆดา ขึ้นสืบทอดตำแหน่งต่อจากฆัวเรซ ดิอัซประสบความล้มเหลวในการก่อการกบฏต่อต้านประธานาธิบดีเลร์โดตามแผนลาโนเรีย[24] แต่ในภายหลังมีการตกลงให้นิรโทษกรรมแก่เขา แต่ถึงกระนั้นเมื่อเลร์โดลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีอีกครั้งใน ค.ศ. 1876 ครั้งนี้ดิอัซประสบความสำเร็จในการก่อกบฏภายใต้แผนตุซเตเปก[25][26]

ในช่วงปีแรก ๆ ของการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ดิอัซเป็นนักการเมืองผู้เชี่ยวชาญ เขาเล่นการเมืองเป็นกลุ่มการเมืองในขณะเดียวกันก็สามามารถรักษาและกระชับอำนาจของเขาเองได้ เขาใช้กองกำลังรูราเลส ซึ่งเป็นกองกำลังตำรวจติดอาวุธที่ขึ้นตรงต่อเขาให้เป็นกลุ่มกำลังกึ่งทหารในการรักษาความสงบแถบชนบท เขาระงับการเลือกตั้ง โดยโต้เถียงว่าเขารู้ว่าอะไรดีที่สุดสำหรับประเทศชาติ และเขาก็ขับเคลื่อนความเชื่อนี้ด้วยอำนาจที่แข็งแกร่ง "ระเบียบและความก้าวหน้า" เป็นคำคติพจน์ของระบอบการปกครองของเขา[27] แม้ว่าดิอัซขึ้นสู่อำนาจใน ค.ศ. 1876 ภายใต้คติพจน์ "ไม่มีการลงเลือกตั้งเพื่อกลับมาใหม่" เขาให้มานูเอล กอนซาเลซ โฟลเรส เข้าเป็นประธานาธิบดีในช่วงปี ค.ศ. 1880–1884 แต่ดิอัซก็ยังคงอยู่ในอำนาจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ ค.ศ. 1884 จนถึง ค.ศ. 1911 โดยมีการระงับการเลือกตั้งเป็นระยะและเข้มงวดในการเปิดโอกาสสู่ประชาธิปไตย

สมัยประธานาธิบดีดิอัซนั้นโดดเด่นด้วยการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานโดยการเปิดประเทศรับการลงทุนจากต่างประเทศ เขาเชื่อว่าฝ่ายต่อต้านจำเป็นต้องถูกปราบปรามและต้องฟื้นฟูระเบียบกฎหมายเพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้ประกอบการต่างชาติให้มองว่าการลงทุนของพวกเขาจะปลอดภัย ความทันสมัยและความก้าวหน้าของเมืองนำม่ซึ่งค่าใช้จ่ายของชนชั้นแรงงานและชาวนาที่เพิ่มขึ้น

เกษตรกรชาวไร่ชาวนาต่างถูกกดขี่และเอารัดเอาเปรียบ ระบบเศรษฐกิจได้นำมาซึ่งการก้าวกระโดดครั้งใหญ่ของยุคปอร์ฟิเรียโต ซึ่งเขาสนับสนุนการก่อสร้างโรงงานและอุตสาหกรรม รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่นถนนและเขื่อนกักเก็บน้ำ รวมถึงการพัฒนาด้านเกษตรด้วย การพัฒนาด้านอุตสาหกรรมทำให้ชนกรรมาชีพในเมืองมีมากขึ้นและสามารถดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศทั้งจากสหรัฐและสหราชอาณาจักร

ความมั่งคั่ง อำนาจทางการเมือง และการเข้าถึงระบบการศึกษานั้งกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มครอบครัวชนชั้นสูงจำนวนหนึ่ง ที่เป็นชนเชื้อสายยุโรปและเชื้อสายผสม กลุ่มชนนี้รู้จักในชื่อ อาเซนดาโดส (hacendados) พวกเขาควบคุมพื้นที่บริเวณกว้างใหญ่ของประเทศโดยมีที่ดินในครอบครองขนาดใหญ่ (เช่น ครอบครัวเตร์ราซามีที่ดินแห่งหนึ่งในโซโนรา ซึ่งประกอบด้วยพื้นที่จำนวนหนึ่งล้านเอเคอร์) ประชาชนส่วนใหญ่ในเม็กซิโกเป็นชาวนาที่ไม่มีที่ดินทำกินอาศัยอยู่ในพื้นที่ดินของคนอื่นที่กว้างใหญ่ หรือเป็นแรงงานในอุตสาหกรรมที่ทำงานอย่างหนักเพื่อแลกค่าแรงที่สูงกว่าค่าแรงของทาสเพียงเล็กน้อย กลุ่มบริษัทต่างชาติส่วนใหญ่มาจากสหราชอาณาจักร ฝรั่งเศสและสหรัฐ ก็ยังคงมีอิทธิพลในเม็กซิโกเช่นกัน

ระบบการเมือง แก้

 
หนังสือพิมพ์ต่อต้านระบอบของดิอัซ ชื่อ เรเฆเนราซิออน เป็นหนังสือพิมพ์ที่ตีพิมพ์เป็นทางการของพรรคเสรีนิยมเม็กซิโก

ดิอัซได้สร้างกลไกทางการเมืองที่น่าเกรงขามไว้ โดยครั้งแรกเขาร่วมงานกับผู้มีอิทธิพลในภูมิภาค และนำพาบุคคลเหล่านี้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในระบอบของเขา หลังจากนั้นก็แทนที่พวกเขาด้วยกลุ่ม เฆเฟสโปลิติโกส ("เจ้าพ่อการเมือง") ซึ่งเป็นผู้จงรักภักดีต่อดิอัซ ดิอัซสามารถจัดการความขัดแย้งทางการเมืองได้อย่างชำนาญและสามารถดึงบังเหียนไปสู่การมีอำนาจอย่างอิสระ เขาแต่งตั้งเหล่านายทหารในกองทัพมากมายให้ดำรงตำแหน่งฝ่ายปกครองในรัฐต่าง ๆ เช่น นายพลเบร์นาร์โด เรเยส ผู้ซึ่งกลายเป็นผู้ว่าการรัฐนวยโวเลอองทางภาคเหนือ แต่พอหลายปีผ่านมา เหล่านายทหารถูกแทนที่ด้วยพลเรือนที่ภักดีต่อดิอัซแทน

ด้วยความที่เขาเป็นนายทหารมาก่อนและเป็นผู้ที่เข้าแทรกแซงการเมืองโดยตรงเพื่องชิงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1876 ดิอัซตระหนักดีว่ากองทัพสหพันธรัฐสามารถต่อต้านเขาด้วยเช่นกัน เขาจึงเพิ่มตำแหน่ง รูราเลส ซึ่งเป็นกองกำลังตำรวจที่เคยได้รับการจัดตั้งในสมัยประธานาธิบดีฆัวเรซ และดิอัซทำให้กองตำรวจนี้เป็นกองกำลังติดอาวุธส่วนตัว รูราเลสมีจำนวนเพียง 2,500 นาย เมื่อเทียบกับกองมัพ 30,000 นายของกองทัพสหพันธรัฐ และอีก 30,000 นายจากกองกำลังทหารต่างประเทศที่มาสมทบ ทหารนอกกฎหมายและทหารองครักษ์[28] ทั้ง ๆ ที่กองตำรวจรูราเลสมีจำนวนน้อย แต่พวกเขาก็มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุมดินแดนชนบท โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตตามทางรถไฟกว่า 12,000 ไมล์ พวกเขาเป็นกองกำลังเคลื่อนที่ มักจะขึ้นรถไฟพร้อมกับม้าของพวกเขา ในการจัดการพวกกบฏตามพื้นที่ห่างไกลของเม็กซิโก[29]

 
ธงสัญลักษณ์ ค.ศ. 1903 หน้าสำนักงานนิตยสารฝ่ายค้าน เอลอิโฆอาอุยโซเต เขียนว่า: "รัฐธรรมนูญตายไปแล้ว..." (La Constitución ha muerto...)

การก่อสร้างทางรถไฟได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในเม็กซิโก (เช่นเดียวกับสถานที่อื่น ๆ ในลาตินอเมริกา) โดยทำให้เกิดการเร่งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและเพิ่มพลังอำนาจของรัฐเม็กซิโก เป็นผลให้ความสุขของดินแดนห่างไกลที่ต้องการแยกตัวจากรัฐบาลกลางต้องสิ้นสุดลง มีการสร้างสายโทรเลขถัดจากทางรถไฟซึ่งเป็นการสร้างการสื่อสารทางตรงระหว่างรัฐห่างไกลกับเมืองหลวง[30]

ความเฉียบแหลมและความยืดหยุ่นทางการเมืองของดิอัซได้ฉายแววในช่วงปีแรก ๆ ของระบอบปอร์ฟิเรียโตจนกระทั่งถึงช่วงจุดเสื่อม เขานำพวกเหล่าผู้ว่าการรัฐเข้ามาอยู่ภายใต้การควบคุม และเปลี่ยนตำแหน่งตามที่เขาประสงค์ กองทัพสหพันธรัฐมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ แต่ก็กลายเป็นกองทัพที่ไร้ประสิทธิภาพพร้อม ๆ กับเหล่านายพลที่แก่ชรา และมีทหารที่พร้อมเข้าปราบปรามโดยใช้กำลัง ดิอัซพยายามใช้วิธีการจัดการเดียวกับที่เขาทำกับระบบการเมืองเม็กซิโกซึ่งมีผลประโยชน์ทางธุรกิจ โดยแสดงความเอนเอียงไปยังผลประโยชน์ของยุโรปเพื่อต่อต้านสหรัฐ[31]

การเอนเอียงไปยังผลประโยชน์ของคู่ขัดแย้งโดยเฉพาะพวกอเมริกันและอังกฤษนั้นซับซ้อนยิ่งกว่าระบบการเล่นพรรคเล่นพวกที่ซับซ้อนอยู่แล้ว[32] ด้วยกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นและภาคอุตสาหกรรมที่เจริญรุ่งเรือง สหภาพแรงงานเริ่มมีการจัดเงื่อนไขที่ดีขึ้น ด้วยการขยายตัวของเกษตรกรรมของเม็กซิโก ทำให้ชาวนาที่ไร้ที่ดินต้องถูกบังคับให้ทำงานเพื่อแลกกับค่าจ้างจำนวนที่ต่ำ หรือถูกบีบให้ย้ายเข้าเมือง การเกษตรของชาวนาถูกกดดันภายใต้การขยายตัวของการทำเกษตรกรรม เช่นในรัฐโมเรโลส ทางตอนใต้ของเม็กซิโกซิตี มีการทำไร่อ้อยน้ำตาลที่เจริญเติบโต มีสิ่งหนึ่งที่นักวิชาการเรียกว่า "แรงกดดันชาวนา" ซึ่ง "การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรสวนทางกับจำนวนที่ดินที่สูญเสีย ค่าจ้างงานที่ลดลง และสิทธิในการครอบครองที่ดินที่ไม่มั่นคง นำมาซึ่งความเสื่อมลงของระบบเศรษฐกิจในวงกว้าง" แต่ภูมิภาคที่อยู่ภายใต้ความตึงเครียดนี้ที่สุดกลับไม่ใช่เขตที่เกิดการกบฏ[33]

ฝ่ายต่อต้านดิอัซ แก้

 
ริการ์โด โฟลเรส มากอน (ซ้าย) และเอนริเก โฟลเรส มากอน น้องชาย (ขวา) แกนนำพรรคเสรีนิยมเม็กซิโก ในเรือนจำเทศมณฑลลอสแอนเจลิส รัฐแคลิฟอร์เนีย ค.ศ. 1917

มีชาวเม็กซิโกจำนวนหนึ่งเริ่มจัดตั้งกลุ่มต่อต้านนโยบายของประธานาธิบดีดิอัซ ซึ่งเขาต้อนรับการเข้ามาของกลุ่มทุนและนายทุนต่างประเทศ มีการต่อต้านกลุ่มสหภาพแรงงานที่เพิ่งจัดตั้ง และเกิดการต่อต้านกลุ่มชาวนาอย่างต่อเนื่องในช่วงที่การเกษตรกำลังรุ่งเรือง ใน ค.ศ. 1905 กลุ่มปัญญาชนและผู้ประท้วงชาวเม็กซิโก ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งพรรคเสรีนิยมเม็กซิโก (Partido Liberal de México) ได้ร่างแผนการปฏิรูปที่รุนแรง ซึ่งพวกเขามุ่งแต่เสนอแผนการที่ระบอบของดิอัซตัดสินว่าว่าเป็นสิ่งแย่ที่สุด ผู้นำที่โดดเด่นที่สุดของพรรคเสรีนิยมเม็กซิโกคือ ริการ์โด โฟลเรส มากอน พร้อมกับน้องชายของเขาคือ เอนริเก และพี่ชายคือ เฆซุส สามพี่น้องได้ร่วมมือกับลุยส์ กาเบรรา โลบาโต และอันโตนิโอ ดิอัซ โซโต อี กามา ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านระบอบดิอัซในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ เอลอิโฆเดอาอุยโซเต การ์ตูนล้อเลียนการเมืองถูกวาดโดยโฆเซ กัวดาลูเป โปซาดา ซึ่งได้วาดล้อเลียนนักการเมืองและกลุ่มชนชั้นนำในสังคมด้วยภาพตลกขบขันอันเผ็ดร้อน โดยแสดงภาพว่ากลุ่มพวกเขานั้นเป็นพวกโครงกระดูก พรรคเสรีนิยมเม็กซิโกก่อตั้งหนังสือพิมพ์แนวอนาธิปไตยที่ต่อต้านดิอัซ ชื่อ เรเฆเนราซิออน ซึ่งตีพิมพ์ในภาษาสเปนและอังกฤษ ปรักเซดิส เกร์เรโร นักกวีอนาธิปไตยที่ลี้ภัยอยู่ที่สหรัฐก็ตีพิมพ์หนังสือพิมพ์ต่อต้านดิอัซเช่นกัน ชื่อ อัลบาโรฆา ("รุ่งอรุณสีแดง") ในเมืองซานฟรานซิสโก ถึงแม้ว่ากลุ่มฝ่ายซ้ายจะมีเพียงกลุ่มเล็ก ๆ แต่พวกเขาก็กลายเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูง ผ่านงานตีพิมพ์ของพวกเขาซึ่งช่วยในการต่อต้านระบอบดิอัซได้ดี ฟรันซิสโก บรูเนซ ขนานนามบุคคลเหล่านี้ว่า "นักเขียนที่แท้จริง" ของการปฏิวัติเม็กซิโก ในการปลุกเร้าผู้คน[34] เมื่อการเลือกตั้ง ค.ศ. 1910 มาถึง ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ผู้เป็นนักการเมืองหน้าใหม่ที่มีแนวคิดอุดมคติ และเป็นสมาชิกหนึ่งในตระกูลที่ร่ำรวยที่สุดของเม็กซิโก ได้ให้ทุนสนับสนุนหนังสือพิมพ์ เอลอันตีร์เรเอเลกซิโอนิสตา เพื่อต่อต้านความพยายามของดิอัซที่จะลงเลือกตั้งเข้ามาดำรงตำแหน่งต่อเนื่องอีก

 
การนัดหยุดงานที่เมืองกานาเนอาใน ค.ศ. 1906 หน่วยรักษาความปลอดภัยของบริษัทปราบปรามแรงงาน

องค์กรแรงงานดำเนินการนัดหยุดงานเพื่อให้เพิ่มค่าจ้างและสวัสดิการให้ดีขึ้น พวกเขาต้องการสภาพความเป็นอยู่ของแรงงานที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นประเด็นหลักของโครงการจากพรรคเสรีนิยม ที่ร่างขึ้นใน ค.ศ. 1905 แรงงานเหมืองทองแดนบริเวณภาคเหนือของเม็กซิโกที่โซโนรา ดำเนินการนัดหยุดงานที่เมืองกานาเนอา ค.ศ. 1906 ซึ่งมีการปราบปรามอย่างรุนแรง ท่ามกลางข้อเรียกร้องอื่น ๆ พวกเขาได้รับเงินค่าจ้างน้อยกว่าแรงงานเหมืองสัญชาติสหรัฐเสียอีก[35] ในรัฐเบรากรุซ แรงงานในโรงงานสิ่งทอได้ก่อการจลาจล ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1907 ที่โรงงานใหญ่ริโอบลังโก ซึ่งเป็นโรงงานสิ่งทอที่ใหญ่ที่สุดในโลก ก่อการประท้วงการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งพวกเขาต้องจ่ายเครดิตที่สามารถใช้ได้เฉพาะร้านค้าที่ทำสัญญากับบริษัทเท่านั้น[36]

การนัดหยุดงานเหล่านี้ถูกปราบปรามอย่างไร้ความปรานีโดยเจ้าของโรงงานซึ่งได้รับความช่วยเหลือด้านกองกำลังจากรัฐบาล ในเหตุการณ์ที่กานาเนอา วิลเลียม คอร์แนล กรีนนี เจ้าของเหมืองได้รับการสนับสนุจากกองกำลังรูราเลสของดิอัซในโซโนรา และมีการเรียกแอริโซนาเรนเจอร์ให้ข้ามชายแดนมาจากสหรัฐด้วย[37] ในรัฐเบรากรุซ กองทัพเม็กซิโกเข้าปราบปรามแรงงานสิ่งทอริโอบลังโกด้วยอาวุธปืน จากนั้นนำศพของแรงงานขึ้นรถไฟบรรทุกไปยังเบรากรุซ "ซึ่งศพของพวกเขาถูกโยนทิ้งจากท่าเรือเพื่อเป็นอาหารให้ฉลาม"[38] การปราบปรามการนัดหยุดงานโดยรัฐบาลไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับเม็กซิโก โดยเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นทั้งในสหรัฐและยุโรปตะวันตกด้วย

เนื่องด้วยสื่อถูกปราบปรามในเม็กซิโกภายใต้การปกครองของดิอัซ การจะตีพิมพ์อะไรเพียงเล็กน้อยในเม็กซิโกถูกมองว่ากำลังวิพากษ์วิจารณ์ระบอบการปกครอง หนังสือพิมพ์แทบไม่ได้รายงานเหตุการณ์การยัดหยุดงานที่ริโอบลังโก การนัดหยุดงานที่กานาเนอา หรือการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างโหดร้ายในไร่ที่โออาซากาและยูกาตัง กลุ่มฝ่ายซ้ายที่ต่อต้านดิอัซ เช่น ริการ์โด โฟลเรส มากอน และปรักเซดิส เกร์เรโร หลบหนีลี้ภัยอย่างปลอดภัยที่สหรัฐ แต่ด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับสายลับของดิอัซทำให้พวกเขาถูกจับกุม

การสืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดี ค.ศ. 1910 แก้

 
โฆเซ อิบส์ ลิมันตูร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังของดิอัซ และเป็นผู้นำกลุ่มซิเอนติฟิโก
 
นายพลเบร์นาร์โด เรเยส ผู้ก่อกบฏต่อมาเดโรในภายหลัง

ดิอัซปกครองมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ ค.ศ. 1884 ประเด็นปัญหาเรื่องผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีเริ่มกลายเป็นที่ถกเถียงในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1900 เมื่อดิอัซมีอายุได้ 70 ปี[39] ซึ่งเป็น "เจตนาของเขาที่จะไม่ประกาศว่าจะก้าวลงจากตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1904"[40] ดิอัซดูเหมือนจะพิจารณาให้ โฆเซ อิบส์ ลิมันตูร์ รัฐมนตรีกระทรวงการคลัง เป็นผู้สืบทอดของเขา ลิมันตูร์เป็นบุคคลสำคัญในกลุ่มที่ปรึกษาซิเอนติฟิโก ซึ่งเป็นกลุ่มที่ปรึกษาเทคโนแครตที่มีความเชี่ยวชาญทางรัฐศาสตร์

ผู้สืบทอดที่เป็นไปได้อีกคนหนึ่งคือ นายพลเบร์นาร์โด เรเยส รัฐมนตรีกระทรวงสงครามของดิอัซและยังเป็นผู้ว่าการรัฐนวยโวเลออง นายพลเรเยสนั้นเป็นศัตรูกับกลุ่มซิเอนติฟิโก เขาเป็นนักปฏิรูปสายกลาง ซึ่งมีฐานการสนับสนุนจำนวนมาก[40] ดิอัซเริ่มกังวลว่าเรเยสจะเข้ามาในฐานะคู่แข่ง ดังนั้นจึงบีบบังคับให้เขาลาออกจากคณะรัฐมนตรี ดิอัซพยายามลดความสำคัญของเรเยสโดยส่งเข้าไปปฏิบัติ "ภารกิจทางทหาร" ในยุโรป[41] เพื่อให้เขาห่างจากเม็กซิโกและผู้ที่สนับสนุนเขา

ดิอัซรื้อฟื้นตำแหน่งรองประธานาธิบดีขึ้นอีกครั้งใน ค.ศ. 1906 โดยเลือกรามอน กอร์รัล ให้ดำรงตำแหน่งนี้ แทนที่เขาจะจัดการเรื่องผู้สืบทอด แต่ดิอัซกลับลดความสำคัญของกอร์รัลโดยพยายามกีดกันเขาออกจากการตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ [42]

ใน ค.ศ. 1908 จากการสัมภาษณ์กับเจมส์ ครีลแมน นักข่าวชาวอเมริกัน ดิอัซกล่าวว่าเม็กซิโกพร้อมแล้วกับระบอบประชาธิปไตย และเขาจะก้าวลงจากตำแหน่งเพื่อให้ผู้สมัครคนอื่น ๆ เข้าชิงตำแหน่งประธานาธิบดี[43][44][45] เนื่องจากเหตุนี้ ตำแหน่งประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจึงเปิดโอกาสให้ผู้อื่นใน ค.ศ. 1910 หลังจากนั้นดิอัซจะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีและลงมาทำกิจกรรมร่วมกันกับฝ่ายที่ต่อต้าน เพื่อให้ได้รับการเลือกตั้งกลับมาใหม่

 
ฟรันซิสโก อี. มาเดโรเดินหาเสียงเลือกตั้งที่สถานีรถราง ใน ค.ศ. 1910

"ความท้าทายที่เกิดขึ้นจากเรเยส เป็นหนึ่งในเรื่องที่ทำให้ดิอัซทุกข์ใจตลอดช่วงท้ายของทศวรรษ สิ่งนีทำให้เขาตาบอดจนไม่เห็นอันตรายจากภัยคุกคามของการรณรงค์ต่อต้านการเลือกตั้งกลับมาใหม่ ที่ดำเนินการโดยฟรันซิสโก มาเดโร"[46]

ใน ค.ศ. 1910 ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ชายหนุ่มผู้มาจากตระกูลเจ้าของที่ดินผู้ร่ำรวยของรัฐทางตอนเหนือ รัฐโกอาวีลา ประกาศเจตนาตั้งใจที่จะท้าทายอำนาจดิอัซซึ่งพยายามเข้ามาเป็นประธานาธิบดีอีกครั้งผ่านการเลือกตั้ง มาเดโรชูธงของพรรคต่อต้านการเลือกตั้งกลับมาใหม่ (Anti-Reelectionist Party) มาเดโรเลือกคู่หูของเขามาร่วมด้วยคือ ฟรันซิสโก บัซเกซ โกเมซ เขาเป็นแพทย์ผู้ต่อต้านดิอัซ[47] ดิอัซหวังว่าเขาจะสามารถควบคุมการเลือกตั้งได้เหมือนการเลือกตั้งเจ็ดครั้งก่อนหน้านี้[48] แต่มาเดโรมีการรณรงค์อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ ดิอัซจึงมีคำสั่งจับกุมมาเดโร เพื่อให้แน่ใจว่าเขาจะไม่ชนะการเลือกตั้ง มาเดโรหลบหนีไปหลบซ่อนในช่วงเวลาสั้น ๆ ที่แซนแอนโทนีโอ รัฐเท็กซัส[48] ดิอัซได้รับการประกาศว่าชนะการเลือกตั้งแบบ "ถล่มทลาย" เมื่อมีการเห็นได้ชัดว่าการเลือกตั้งถูกแก้ไข โตริบิโอ ออร์เตกา รามิเรซ ผู้สนับสนุนมาเดโรจึงชูกองกำลังติดอาวุธที่กูชิโยปาราโด เมืองชีวาวา รัฐชีวาวา ในวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910

จุดจบยุคปอร์ฟิเรียโต แก้

 
สมรภูมิสำคัญในการต่อสู้เพื่อขับไล่ดิอัซ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1910 – เดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 ปฏิบัติการที่สำคัญเกิดขึ้นแถบชายแดนทางภาคเหนือ โดยยุทธการที่ซิวดัดฆัวเรซถือเป็นจุดตัดสินชี้ขาด แต่การต่อสู้ในโมเรโลสโดยพวกซาปาติสตาก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในบริเวณรัฐทางตอนใต้ของเมืองหลวงเม็กซิโก

ในวันที่ 5 ตุลาคม ค.ศ. 1910 มาเดโรเขียน "จดหมายจากเรือนจำ" ที่เป็นที่รู้จักในชื่อ แผนซานลุยส์โปโตซี โดยมีคำขวัญหลักว่า สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเสรี ไม่มีการเลือกตั้งให้กลับมาใหม่ (Sufragio efectivo, no reelección) แผนนี้เป็นการประกาศว่าตำแหน่งประธานาธิบดีของดิอัซนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายและมีการเรียกร้องให้ก่อกบฏต่อต้านดิอัซ เริ่มในวันที่ 20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1910 แผนการทางการเมืองของมาเดโรไม่ได้เป็นการร่างเค้าโครงการปฏิวัติทางสังคมเศรษฐกิจ แต่เป็นการเสนอความหวังที่จะเปลี่ยนแปลงความเสียเปรียบที่ชาวเม็กซิโกจำนวนมากต้องเผชิญ[48]

 
เหล่าผู้นำกบฎทางตอนเหนือที่ต่อต้านดิอัซถ่ายรูปร่วมกันหลังสิ้นสุดยุทธการที่ซิวดัดฆัวเรซ ในรูปประกอบด้วยโฆเซ มาริอา ปิโน ซัวเรซ, เบนุสเตียโน การ์รันซา, ฟรันซิสโก อี. มาเดโร (และบิดาของเขา), ปัสกวล โอโรซโก, ปันโช บิยา, กุสตาโบ มาเดโร, ราอุล มาเดโร, อาบราอัม กอนซาเลซ และจูเซปเป การีบัลดี จูเนียร์

แผนของมาเดโรมุ่งเป้าไปที่การปลุกระดมให้ก่อการจลาจลต่อต้านดิอัซ แต่เขาก็เข้าใจว่าการสนับสนุนจากสหรัฐและนักการเงินชาวอเมริกันเป็นสิ่งที่คอยกัดเซาะระบอบการปกครอง ครอบครัวมาเดโรซึ่งร่ำรวยและมีอำนาจได้พยายามดึงทรัพยากรเพื่อเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง โดยน้องชายของเขาคือ กุสตาโบ อา. มาเดโร เป็นผู้จัดการทรัพยากรเหล่านี้ ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1910 และมีการว่าจ้างนักกฎหมายจากวอชิงตัน คือ เชอร์บรูน ฮ็อปกินส์ ซึ่งได้รับการขนานนามว่า "เป็นตัวกระตุ้นการปฏิวัติในลาตินอเมริกาที่ดีที่สุดในโลก" ให้เข้ามาร่วมด้วยเพื่อดึงการสนับสนุนมาจากสหรัฐ[49] กลยุทธ์ที่ทำให้ดิอัซเสียเครดิตกับเหล่านักธุรกิจอเมริกันและรัฐบาลสหรัฐนั้นประสบความสำเร็จ โดยผู้แทนจากสแตนดาร์ดออยล์เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจากับกุสตาโบ มาเดโร ซึ่งทำให้รัฐบาลสหรัฐ "ยอมน้อมต่อกฎการวางตัวเป็นกลางต่อนักปฏิวัติ"[50]

ขบวนการปฏิวัติในช่วงหลังค.ศ. 1910 ได้ออกมาตอบสนองต่อแผนซานลุยส์โปโตซีของมาเดโร มาเดโรมีสัญญาอันคลุมเครือในเรื่องการปฏิรูปที่ดินในเม็กซิโก ซึ่งเรื่องการปฏิรูปที่ดินนี้ดึงดูดใจชาวนาทั่วเม็กซิโกอย่างมาก มีการกบฏเกิดขึ้นไปทั่ว ทั้งแรงงานในฟาร์มทั่วไป คนงานเหมืองและชาวเม็กซิโกชนชั้นแรงงานอื่น ๆ พร้อมกับประชาชนชนพื้นเมืองจำนวนมาก ต่อสู้กับกองกำลังของดิอัซอย่างประสบความสำเร็จ มาเดโรรวมผู้นำกองกำลังกบฏเข้าด้วยกัน เช่น ปัสกวล โอโรซโก, ปันโช บิยา, ริการ์โด โฟลเรส มากอน, เอมิเลียโน ซาปาตา และเบนุสเตียโน การ์รันซา โอโรซโกเป็นชายหนุ่มผู้ฉลาดหลักแหลมและมีศักยภาพในการปฏิวัติ เขาร่วมมือกับผู้ว่าการรัฐชีวาวา อาบราอัม กอนซาเลซ จัดตั้งกองทัพที่ทรงอานุภาพทางตอนเหนือ และแม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้มุ่งมั่นในตัวมาเดโรมากนัก กองทัพกบฏยึดเมืองเมฆิกาลิและชีวาวาซิตี ชัยชนะเหล่านี้ได้กระตุ้นพันธมิตรคนอื่น ๆ เช่น ปันโช บิยา โอโรซโกและบิยาต่อสู้และได้ชัยชนะในยุทธการที่ซิวดัดฆัวเรซที่มีพรมแดนติดกับเอลแพโซ (รัฐเท็กซัส) ทางตอนใต้ของแม่น้ำรีโอแกรนด์ ซึ่งการรบครั้งนี้ขัดต่อเจตนารมณ์ของมาเดโร การเรียกร้องให้ก่อกบฏของมาเดโรได้เกิดผลลัพธ์อย่างไม่คาดคิด เช่น เกิดกบฏมากอนิสตา ค.ศ. 1911 ที่รัฐบาฮากาลิฟอร์เนีย[51] ในช่วงที่กลุ่มมาเดริสตาก่อการทางตอนเหนือของเม็กซิโก มีการต่อต้านชาวจีนขนานใหญ่ โดยเฉพาะในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 เกิดการสังหารหมู่ตอร์เรออน เมืองตอร์เรออน รัฐโกอาวีลา ซึ่งเป็นเมืองชุมทางเส้นทางรถไฟที่สำคัญ มีการสังหารหมู่ผู้ลี้ภัยชาวจีน[52]

รัฐบาลเฉพาะกาล พฤษภาคม–พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 แก้

 
ฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา ประธานาธิบดีเฉพาะกาลแห่งเม็กซิโก ช่วงเดือนพฤษภาคม–พฤศจิกายน ค.ศ. 1911

เมื่อกองทัพสหพันธรัฐพ่ายแพ้ในการสู้รับหลายครั้ง รัฐบาลของดิอัซจึงเริ่มเปิดการเจรจากับฝ่ายปฏิวัติ หนึ่งในผู้แทนการเจรจาของมาเดโรคือผู้ร่วมลงสมัครเลือกตั้งกับเขาในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1910 คือ ฟรันซิสโก บัซเกซ โกเมซ[53] การเจรจาสรุปผลในวันที่ 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1911 ตามสนธิสัญญาซิวดัดฆัวเรซ สนธิสัญญาระบุว่าดิอัซจะลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีพร้อมกับรองประธานาธิบดีรามอน กอร์รัล ภายในสิ้นเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 และแทนที่ด้วยประธานาธิบดีรักษาการฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา จนกว่าจะมีการเลือกตั้ง ดิอัซและครอบครัวพร้อมผู้สนับสนุนระดับสูงเขาเขาได้รับอนุญาตให้ลี้ภัยออกนอกประเทศได้[54] เมื่อดิอัซออกนอกประเทศลี้ภัยไปยังปารีส มีการรายงานว่าเขาพูดว่า "มาเดโรได้ปล่อยเสือออกมาแล้ว เรามาดูสิว่าเขาจะควบคุมได้ไหม"[55]

หลังจากดิอัซลี้ภัยก็มีการจัดการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม โดยที่โครงสร้างอำนาจจากระบบเก่ายังคงอยู่ ฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา เป็นประธานาธิบดีเฉพาะกาล จนกว่าจะมีการเลือกตั้งในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1911 เลออน เด ลา บาร์รา เป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะเขาไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่มซิเอนติฟิโก ไม่ใช่นักการเมือง แต่เป็นทนายความและนักการทูตผู้นับถือคาทอลิก[56] ภาพลักษณ์ของเขาที่ปรากฏคือความเป็นพวกสายกลาง แต่เพาล์ ฟ็อน ฮินท์เซอ เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำเม็กซิโก ซึ่งได้ติดต่อเกี่ยวข้องกับประธานาธิบดี ได้กล่าวถึงเขาว่า "เด ลา บาร์รา ต้องการทำให้ตัวเองได้รับการยอมรับอย่างมีศักดิ์ศรีจากอิทธิพลของอดีตฝ่ายปฏิวัติโดยที่เขาหลีกเลี่ยงไม่ได้ ในขณะที่อีกด้านหนึ่งเขาพยายามเร่งให้เกิดการล่มสลายของพรรคมาเดโรอย่างกว้างขวาง..."[57] แม้ว่ากองทัพสหพันธรัฐจะพ่ายแพ้ต่อฝ่ายปฏิวัติ แต่พวกเขาก็ยังคงเป็นขุมกำลังของรัฐบาลเหมือนเดิม ในขณะที่มาเดโรเรียกร้องให้ฝ่ายปฏิวัติวางอาวุธและสลายกองกำลัง รัฐบาลของเด ลา บาร์รา และรัฐสภาเม็กซิโกนั้นเต็มไปด้วยผู้สนับสนุนระบอบดิอัซ มาเดโรจึงเดินรณรงค์หาเสียงอย่างจริงจังเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในช่วงนี้ แต่เหล่านักปฏิวัติที่เคยสนับสนุนเขาและมีส่วนในการบีบให้ดิอัซลาออก เริ่มรู้สึกท้อใจที่การปฏิรูปแบบกวาดล้างดั่งที่พวกเขาต้องการนั้นไม่เกิดขึ้นอย่างจริงจังในทันที มาเดโรเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบก้าวหน้าหลายประการ เช่น การเพิ่มเงินทุนแก่โรงเรียนชนบท การส่งเสริมการปฏิรูปการเกษตรบางประการเพื่อเพิ่มผลิตภาพผลิตผลในที่ดิน การปฏิรูปแรงงานซึ่งรวมถึงค่าตอบแทนแรงงานและการทำงานวันละแปดชั่วโมง แต่รัฐบาลก็ยังมีสิทธิที่จะเข้าแทรกแซงในการชุมนุมประท้วง ตามมุมมองของปีเตอร์ วี.เอ็น. แฮนเดอร์สัน นักประวัติศาสตร์ มองว่าการกระทำของเลออน เด ลา บาร์รา และรัฐสภาเป็นการ "ชี้ให้เห็นว่ามีพวกระบอบปอร์ฟิเรียโตเพียงไม่กี่คนที่อยากให้กลับไปสู่สภาพเผด็จการดังเดิม แต่สมาชิกหัวก้าวหน้าของปอร์ฟิริอาเรียนก้มีความคิดริเริ่มที่จะยอมรับความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลง"[58]

รัฐบาลเลออน เด ลา บาร์รา ส่งนายพลบิกโตเรียโน อูเอร์ตา ไปต่อสู้กับกลุ่มซาปาติสตาในโมเรโลส เขาได้สั่งการเผาหมู่บ้านและสร้างความหายนะ การกระทำของเขาทำให้เกิดความแตกแยกระหว่างซาปาตากับมาเดโร และความขัดแย้งขยายวงกว้างมากขึ้นในช่วงที่มาเดโรดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี[59] มาเดโรชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายและสาบานตนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1911 แต่ขบวนการเคลื่อนไหวของเขาสูญเสียพลังและผู้สนับสนุนในช่วงรัฐบาลเฉพาะกาลไม่กี่เดือนนี้

รัฐบาลมาเดโร พฤศจิกายน ค.ศ. 1911 – กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 แก้

 
ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโก
 
มาเดโรและขบวนการปฏิวัติภาคเหนือของปัสกวล โอโรซโก ซึ่งภายหลังหันมาก่อกบฏต่อเขาใน ค.ศ. 1912
 
ปันโช บิยาและผู้ติดตามจากกลุ่มดิบิซิออนเดลนอร์เต

มาเดโรเป็นนักการเมืองที่ไม่มีประสบการณ์ เขาไม่เคยดำรงตำแหน่งใด ๆ มาก่อน แต่ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1911 หลังจากการลี้ภัยของปอร์ฟิริโอ ดิอัซในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1911 และหลังจากรัฐบาลเฉพาะกาลของเลออน เด ลา บาร์รา เขาคาดหวังสูงมากที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวก แต่สนธิสัญญาซิวดัดฆัวเรซกลับยังรับรองโครงสร้างที่สำคัญของระบอบดิอัซ รวมถึงกองทัพสหพันธรัฐยังคงดำรงอยู่ดังเดิม[60] มาเดโรแสดงจุดยืนอย่างแรงกล้าว่าเม็กซิโกต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริง ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงระบอบด้วยการเลือกตั้งที่ถูกต้อง เสรีภาพสื่อมวลชน และสิทธิกรรมกรในการจัดตั้งองค์กรและการนัดหยุดงาน

ฝ่ายปฏิวัติที่ช่วยเขาก้าวขึ้นสู่อำนาจกลับถูกปลดออกและประธานาธิบดีมาเดโรเรียกร้องให้คนเหล่านี้กลับไปใช้ชีวิตพลเรือนดังเดิม ตามเรื่องราวที่กล่าวโดยปันโช บิยา (หนึ่งในฝ่ายต่อต้านที่เอาชนะกองทัพของดิอัซและบีบบังคับให้เขาลาออกและลี้ภัย) เขาบอกกับมาเดโรในงานเลี้ยงที่ซิวดัดฆัวเรซใน ค.ศ. 1911 "ด้วยความเคารพ ท่าน [มาเดโร] กำลังทำลายการปฏิวัติ...มันเป็นเรื่องง่ายมาก พวกชายเจ้าสำรวยกลุ่มนี้กำลังทำให้คุณกลายเป็นคนโง่ และในที่สุดมันจะทำให้พวกเราและพวกท่านหัวหลุดออกจากบ่า"[61] มาเดโรไม่สนใจคำเตือน เขาพึ่งพากองทัพสหพันธรัฐมากขึ้นเรื่อย ๆ ในการปราบปรามการก่อกบฏในเม็กซิโกช่วง ค.ศ. 1911–1912 โดยเฉพาะการจลาจลที่นำโดยเอมิเลียโน ซาปาตาในโมเรโลส และปัสกวล โอโรซโก ในภาคเหนือ ทั้งซาปาตาและโอโรซโกก่อกบฏกดดันให้ดิอัซลาออก และพวกเขาก็รู้สึกเหมือนโดนประธานาธิบดีมาเดโรหักหลัง

สื่อมวลชนได้รับเสรีภาพครั้งแรก และมาเดโรก็กลายเป็นเป้าหมายในการวิพากษ์วิจารณ์ทันที องค์กรแรงงานที่ถูกปราบปรามภายใต้ระบอบดิอัซสามารถรวมกันนัดหยุดงานได้ ซึ่งผู้ประกอบการต่างชาติมองว่าสิ่งนี้เป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของพวกเขา แม้ว่าแรงงานก่อความไม่สงบในรัฐบาลของดิอัซ แต่การจัดระเบียบองค์กรแรงงานใหม่ได้ตามมาด้วยกระแสต่อต้านอเมริกัน[62] กาซาเดลโอเบรโรมุนเดียล ("บ้านแห่งกรรมกรโลก") ซึ่งเป็นกลุ่มลัทธิควบคุมอุตสาหกรรม-อนาธิปไตย ได้จัดตั้งในเดือนกันยายน ค.ศ. 1912 โดยอันโตนิโอ ดิอัซ โซโต อี กามา, มานูเอล ซาราเบีย และลาซาโร กูติเอร์เรซ เด ลารา ได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการปลุกปั่นและโฆษณาชวนเชื่อ แต่ไม่ได้เป็นสหภาพแรงงานอย่างเป็นทางการ[63][64]

พรรคการเมืองได้ขยายตัวอย่างมาก ซึ่งหนึ่งในพรรคที่สำคัญที่สุดคือ พรรคคาทอลิกแห่งชาติ (Partido Católico Nacional) ซึ่งมีสมาชิกตามภูมิภาคต่าง ๆ ทำให้มีความแข็งแกร่งเป็นพิเศษ[65] หนังสือพิมพ์คาทอลิกหลายสำนักพิมพ์เฟื่องฟูในช่วงยุคมาเดโร เช่น เอลปาอิส และ ลานาซิออน ซึ่งต่อมาภายหลังจะถูกปราบปรามในยุคระบอบบิกโตเรียโน อูเอร์ตา (ค.ศ. 1913–1914)[66] ตั้งแต่ ค.ศ. 1876–1911 ความสัมพันธ์ของศาสนจักรโรมันคาทอลิกกับรัฐบาลเม็กซิโกยังคงมีความมั่นคง แม้ว่ากฎหมายต่อต้านศาสนาในรัฐธรรมนูญสหรัฐเม็กซิโก ค.ศ. 1857 ยังคงมีอยู่แต่ไม่ได้มีการนำมาบังคับใช้อย่างจริงจัง ดังนั้นจึงไม่มีกระแสความขัดแย้ง[67]

 
ฟรันซิสโก อี. มาเดโร และเอมิเลียโน ซาปาตา ในกูเอร์นาวากา ซาปาตาหันมาก่อกบฏต่อมาเดโรใน ค.ศ. 1911 เนื่องจากไม่พอใจในความเชื่องช้าของมาเดโรในการผลักดันการปฏิรูปที่ดิน

ในช่วงรัฐบาลของมาเดโร ศาสนจักรและรัฐดำเนินไปอย่างสันติ[68] พรรคคาทอลิกแห่งชาติกลายเป็นฝ่ายค้านที่สำคัญในช่วงประธานาธิบดีมาเดโร[69] ในการเลือกตั้งรัฐสภาเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1912 ได้มีรายงานว่า "ในรัฐที่มีความนิ่งเฉยด้านการทหาร...พรรคคาทอลิกแห่งชาติทำได้ดีอย่างเห็นได้ชัด"[70] ในช่วงนั้นสมาคมคาทอลิกแห่งเยาวชนเม็กซิโก (Asociación Católica de la Juventud Mexicana) ได้มีการจัดตั้งขึ้น แม้ว่าพรรคคาทอลิกแห่งชาติจะเป็นพรรคฝ่ายค้านในรัฐบาลมาเดโร แต่ "มาเดโรยินดีอย่างชัดเจนกับการเกิดขึ้นของระบบสองพรรค (คาทอลิกและเสรีนิยม) เขาสนับสนุนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคาทอลิก สะท้อนถึงคำตักเตือนตามหลักธรรมของฝ่ายศาสนาหรือพระราชาคณะ"[71] สิ่งที่เกิดขึ้นในระบอบการปกครองของมาเดโร คือ "นโยบายเก่าของดิอัซคือการผ่อนคลายความตึงเครียดระหว่างศาสนจักรกับรัฐยังคงดำเนินต่อไป บางทีอาจจะดำเนินไปอย่างรวดเร็วและบนรากฐานที่มั่นคงกว่าเดิม"[72] คริสตจักรคาทอลิกกำลังดำเนินการในระบอบประชาธิปไตยใหม่ที่สนับสนุนโดยมาเดโร แต่พวกเขาก็มีผลประโยชน์ของตัวเอง บางส่วนเป็นกองกำลังของฝ่ายอนุรักษนิยมคาทอลิกหัวเก่า ส่วนฝ่ายคริสตจักรก้าวหน้าพยายามสนับสนุนสมณสาสน์เรรูงนอวารูงใน ค.ศ. 1891 ที่เกี่ยวข้องกับระบอบสังคมคาทอลิกตามกระแสปัจจุบัน เมื่อมาเดโรถูกโค่นอำนาจในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 โดยฝ่ายปฏิปักษ์การปฏิวัติซึ่งฝ่ายอนุรักษนิยมของศาสนจักรมีบทบาทในการสนับสนุนการก่อรัฐประหาร[73]

มาเดโรไม่มีประสบการณ์หรือมีอุดมการณ์ที่จะให้รางวัลตอบแทนผู้คนที่ช่วยให้เขาขึ้นสู่อำนาจ ผู้นำปฏิวัติบางคนต้องการรางวัลเป็นการส่วนตัว เช่น ผู้นำกองกำลังวัยหนุ่มอย่างปัสกวล โอโรซโก แห่งชีวาวา ผู้นำคนอื่น ๆ ต้องการการปฏิรูปขนานใหญ่ เช่น เอมิเลียโน ซาปาตา และอันเดรส โมลินา เอนริเกซ ซึ่งต่อสู้มาอย่างยาวนานเพื่อการปฏิรูปที่ดิน[74] ประธานาธิบดีมาเดโรพบปะซาปาตาเป็นการส่วนตัว และได้บอกผู้นำกองกำลังต่อสู้แบบกองโจรว่า ปัญหาด้านการเกษตรจำเป็นต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบเสียก่อน แต่ความหมายของคำพูดนั้นชัดเจน เพราะมาเดโรมาจากครอบครัวกลุ่มอาเซนดาโดที่ร่ำรวยทางตอนเหนือของประเทศ จึงไม่ได้ต้องการปฏิรูปการเกษตรอย่างครอบคลุมเพื่อชาวนาที่ต้องทนทุกข์

 
ประธานาธิบดีมาเดโรพร้อมเหล่านายทหาร ณ วังแห่งชาติเม็กซิโก ใน ค.ศ. 1911 มาเดโรพยายามให้กองทัพสหพันธรัฐเป็นเครื่องมือมากกว่าที่จะใช้กองกำลังปฏิวัติที่ช่วยให้เขาก้าวเข้าสู่อำนาจ

เมื่อไม่มีการดำเนินการอะไร ซาปาตาจึงประกาศแผนอายาลาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1911 เพื่อก่อกบฏต่อมาเดโร เขาดำเนินการสงครามกองโจรครั้งใหม่ในรัฐโมเรโลส มาเดโรจึงส่งกองทัพสหพันธรัฐเข้าปราบปรามซาปาตา แต่ไม่สำเร็จ ซาปาตายังคงเรียกร้องตามแผนอายาลาและก่อกบฏต่อรัฐบาลกลางเสมอมาจนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารโดยสายลับของประธานาธิบดีเบนุสเตียโน การ์รันซา ใน ค.ศ. 1919

กลุ่มนักปฏิวัติภาคเหนือที่นำโดยปัสกวล โอโรซโก ที่ชาญฉลาด ซึ่งเป็นผู้ช่วยเหลือในการยึดเมืองซิวดัดฆัวเรซ คาดหวังอย่างยิ่งว่าเขาจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ว่าการรัฐชีวาวา ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ทรงอำนาจ ใน ค.ศ. 1911 แม้ว่าโอโรซโกจะเป็น "วีรบุรุษแห่งช่วงเวลา" แต่มาเดโรกลับมอบตำแหน่งผู้ว่าการรัฐแก่อาบราอัม กอนซาเลซ แทน กอนซาเลซเป็นหนึ่งในนักปฏิวัติที่มีผู้คนนับหน้าถือตา โดยให้เหตุผลว่าโอโรซโกยังมีอายุไม่ถึงตามกฎหมายที่จะสามารถดำรงเป็นผู้ว่าการรัฐได้ อันเป็นกลวิธีที่ "ใช้ข้อแก้ตัวตามรัฐธรรมนูญเพื่อขัดขวางความทะเยอทะยานของนักปฏิวัติวัยรุ่นซึ่งได้รับความนิยม"[75]

มาเดโรให้โอโรซโกเป็นผู้คุมกองทัพขนาดใหญ่ในชีวาวา แต่สำหรับนักปฏิวัติที่มีพรสวรรค์ผู้ช่วยโค่นล้มระบอบของดิอัซ รางวัลของมาเดโรที่มอบให้เขานั้น เขามองว่ามันเป็นการดูถูกเหยียดหยามอย่างมาก หลังจากมาเดโรไม่เห็นด้วยที่จะปฏิรูปสังคมเพื่อให้เกิดเวลาในการทำงานที่เหมาะสม เรื่องการจ่ายค่าตอบแทน โอโรซโกจึงจัดตั้งกองทัพของตนเองในนาม "โอโรซกิสตา" หรือเรียกว่า "โกโลราโดส" ("กลุ่มธงแดง") และประกาศแผนโอโรซกิสตาในวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ. 1912 โดยระบุถึงเหตุที่ต้องออกมาต่อต้านมาเดโร[76] สิ่งนี้ทำให้เกิดความผิดหวังอย่างยิ่งในกลุ่มนักธุรกิจสหรัฐและนักลงทุนต่างชาติคนอื่น ๆ ในบริเวณภาคเหนือ อันเป็นสัญญาณให้คนจำนวนมากเห็นว่ารัฐบาลมาเดโรไม่สามารถรักษาความสงบเหมือนในช่วงสมัยของปอร์ฟิริโอ ดิอัซ

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1912 มาเดโรส่งนายพลบิกโตเรียโน อูเอร์ตา ไปปราบปรามกบฏโอโรซโก ในฐานะประธานาธิบดี มาเดโรยังคงรักษากองทัพไว้เป็นสถาบันดังเดิมเพื่อใช้ปราบปรามกบฏภายในประเทศที่ต่อต้านการปกครองของเขา อูเอร์ตาเป็นนายทหารวิชาชีพและยังคงรับราชการในกองทัพในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดคนใหม่ แต่เขามีความจงรักภักดีต่อนายพลเบร์นาร์โด เรเยส แทนที่จะเป็นพลเรือนอย่างฟรันซิสโก มาเดโร ใน ค.ศ. 1912 มาเดโรได้รับแรงกดดันจากคณะรัฐมนตรี มาเดโรจึงสั่งการให้อูเอร์ตาไปปราบกบฏโอโรซโก อูเอร์ตาปราบปรามโอโรซโกสำเร็จ เขาจึงกลายเป้นบุคคลที่ทรงอำนาจของฝ่ายอนุรักษนิยมในการต่อต้านประธานาธิบดีมาเดโร[77]

 
กลุ่มซาปาติสตานอกเมืองกูเอร์นาวากา ใน ค.ศ. 1911 ภาพถ่ายโดยฮูโก เบรเมอ[78]

ในช่วงกบฏโอโรซโก ผู้ว่าการรัฐชีวาวาระดมพลเพื่อสนับสนุนกองทัพสหพันธรัฐ และปันโช บิยา ผู้พันในกองทหารอาสาก็ถูกเรียกมาในเหตุการณ์นี้ด้วย ช่วงกลางเดือนเมษายน บิยาเป็นผู้นำของกองกำลังที่ไม่มีระเบียบ 400 นาย ได้เข้าร่วมกองทัพภายใต้การบัญชาการของอูเอร์ตา แต่อูเอร์ตามองบิยาเป็นคู่แข่งทางการเมืองผู้ทะเยอทะยาน ในช่วงที่บิยาเดินทางไปพบปะกับอูเอร์ตาที่ฐานบัญชาการในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1912 หลังจากเหตุการณ์นั้นบิยาปฏิเสธที่จะคืนม้าจำนวนหนึ่งที่ขโมยไป อูเอร์ตาจึงสั่งขังบิยาในข้อหาไม่เชื่อฟังคำสั่งและการขโมย จากนั้นสั่งตัดสินประหารชีวิต[79] ราอุล มาเดโร น้องชายของประธานาธิบดีได้เข้ามาช่วยชีวิตบิยา โดยให้ย้ายมาคุมขังที่เม็กซิโกซิตี จากนั้นเขาได้แหกคุกและหลบหนีไปยังสหรัฐ ซึ่งภายหลังเดินทางกลับมาและมีบทบาทในสงครามกลางเมืองช่วงปี ค.ศ. 1913–1915

มีการก่อกบฏของกลุ่มอื่น ๆ อีก ได้แก่กลุ่มของนายพลเบร์นาร์โด เรเยส และอีกกลุ่มคือ นายพลเฟลิกซ์ ดิอัซ หลานชายของอดีตประธานาธิบดีดิอัซ แต่ก็ถูกปราบปรามอย่างรวดเร็วและจับขังคุก ทั้งสองถูกคุมขังในเม็กซิโกซิตี แต่ก็สามารถนำการกบฏได้อีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 เหตุการณ์ช่วงนี้ถูกเรียกว่า "สิบวันวิปโยค" (ลาเดเซนาตราฆิกา) อันนำมาซึ่งการลาออกของมาเดโรและการถูกลอบสังหาร และอูเอร์ตาขึ้นสู่อำนาจในฐานะประธานาธิบดี แม้ว่ามาเดโรมีเหตุผลที่จะไม่ไว้วางใจบิกโตเรียโน อูเอร์ตา แต่มาเดโรก็แต่งตั้งให้เขาเป็นผู้ปราบปรามกบฏในเม็กซิโกซิตีในฐานะผู้บัญชาการชั่วคราว มาเดโรไม่รู้ว่าอูเอร์ตาเป็นผู้สมรู้ร่วมคิด แต่เขาก็ระงับใจเอาไว้ก่อน[80] ในช่วงการต่อสู้ที่เกิดการสู้รบในเมืองหลวง ประชาชนพลเรือนต้องยอมถอยให้เหล่าทหารปืนใหญ่ เกิดการต่อสู้บนท้องถนน และภาวะชะงักงันทางเศรษฐกิจ ประชาชนพลเรือนหันไปหาฝ่ายกบฏแสดงให้เห็นว่ามาเดโรไม่สามารถควบคุมให้เกิดความสงบได้[81]

สิบวันวิปโยค 9–19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 แก้

 
ประธานาธิบดีฟรันซิสโก อี. มาเดโร เดินทางมาถึงในช่วงวันแรกของสิบวันวิปโยคเพื่อปลุกระดมผู้สนับสนุนในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ภาพถ่ายโดยเกโรนิโม เอร์นานเดซ[82]

ตำแหน่งประธานาธิบดีของมาเดโรกำลังสั่นคลอน ไม่มีใครแปลกใจเลยแม้กระทั่งตัวมาเดโรเองที่รู้ว่าเขายังคงเสื่อมความนิยมในหมู่ผู้สนับสนุนและพันธมิตรทางการเมือง ผู้สนับสนุนมาเดโรในรัฐสภาก่อนการรัฐประหารนั้นถูกเรียกว่า "เรโนบาโดเรส" (Renovadores; ผู้เริ่มใหม่) กลุ่มนี้วิพากษ์วิจารณ์เขาโดยกล่าวว่า "การปฏิวัติกำลังมุ่งไปสู่หายนะและมันจะดึงทั้งรัฐบาลลงเหวไปด้วย ดังนั้นทางง่าย ๆ คือต้องไม่มีการปกครองด้วยพวกฝ่ายปฏิวัติ การประนีประนอมและการให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้สนับสนุนระบอบเก่า (คณะของดิอัซ) เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดสถานการณ์ที่ง่อนแง่นนี้ รัฐบาลที่มาจากการปฏิวัตินี้ก็คงรู้ได้ด้วยตนเอง ...ระบอบนี้กำลังฆ่าตัวตายอย่างไม่มีวันหยุดยั้ง"[83]

อูเอร์ตาซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเป็นทางการในการปกป้องรัฐบาลมาเดโร กลับอนุญาตให้กลุ่มกบฏยึดคลังอาวุธในเม็กซิโกซิตีที่ซิวดาเดลา ในช่วงที่เขากำลังกระชับอำนาจทางการเมือง เขาเปลี่ยนความจงรักภักดีจากมาเดโร มาเป็นจงรักภักดีต่อฝ่ายกบฏภายใต้นายพลเฟลิกซ์ ดิอัซ (นายพลเบร์นาร์โด เรเยส ถูกสังหารไปแล้วในช่วงการจลาจลวันแรก ๆ) เฮนรี เลน วิลสัน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ผู้ซึ่งพยายามทุกวิถีทางในการบั่นทอนความเชื่อมั่นของชาวอเมริกันที่มีต่อประธานาธิบดีมาเดโร เขาได้สร้างพันธมิตรกับเฟลิกซ์ ดิอัซ และอูเอร์ตา โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ[84]

 
ศพผู้เสียชีวิตหน้าวังแห่งชาติในช่วงสิบวันวิปโยค ภาพถ่ายโดยมานูเอล รามอส[85]

อูเอร์ตาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีรักษาการณ์หลังจากฟรันซิสโก มาเดโรลาออกจากตำแหน่งประธานาธิบดีพร้อมโฆเซ มาริอา ปิโน ซัวเรซ รองประธานาธิบดี แต่แทนที่จะส่งคนทั้งสองลี้ภัยออกจากประเทศกับครอบครัว อดีตประธานาธิบดีมาเดโรและรองประธานาธิบดีปิโนถูกสังหารขณะคุมตัวไปยังเรือนจำ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่น่าตกตะลึง แต่สิ่งนี้ก็ไม่ได้ขัดขวางระบอบของอูเอร์ตาได้ ระบอบของเขาได้รับการรับรองจากประชาคมโลกส่วนใหญ่

ฟรีดริช คัทซ์ นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรียมองว่าการที่มาเดโรพยายามคงกองทัพสหพันธรัฐไว้ ซึ่งเป็นกองทัพที่พ่ายแพ้ต่อขบวนการปฏิวัติและเป็นผลให้ดิอัซต้องลาออก สิ่งนี้เป็น "สาเหตุพื้นฐานนำมาสู่หายนะของเขา" ความล้มเหลวของเขายังมีผลมาจาก "ความล้มเหลวทางชนชั้นทางสังคมที่เขาเป็นอยู่และเขายังคงต้องการผลประโยชน์ในเม็กซิโก ด้วยความเป็นอาเซนดาโดสหัวเสรีนิยม [ผู้ครองอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่]"[86] มาเดโรไม่ได้สร้างองค์กรทางการเมืองใด ๆ ที่สามารถช่วยชีวิตเขาได้ และเขากลับปลีกตัวห่างจากกองกำลังปฏิวัติและยุบสลายเพื่อนร่วมอุดมการณ์เหล่านั้นซึ่งเป็นกลุ่มที่ช่วยให้เขาก้าวขึ้นสู่อำนาจ ผลที่ตามมาหลังจากเกิดการลอบสังหารเขาคือการรัฐประหารโดยอูเอร์ตา อดีตนักปฏิวัติไม่มีองค์กรที่เป็นทางการที่จะสามารถลุกฮือต่อต้านนายพลอูเอร์ตาได้[87]

ระบอบอูเอร์ตา กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 – กรกฎาคม ค.ศ. 1914 และสงครามกลางเมือง แก้

 
บิกโตเรียโน อูเอร์ตา เป็นผู้บัญชาการทหารกองทัพสหพันธรัฐภายใต้ประธานาธิบดีฟรันซิสโก อี. มาเดโร (1911–1913) แต่ได้เข้าร่วมกลุ่มสมคบคิดบ่อนทำลายมาเดโร อันนำไปสู่การยึดอำนาจมาเดโร
 
ประธานาธิบดีบิกโตเรียโน อูเอร์ตา (ซ้าย) สวมกอดปัสกวล โอโรซโก (ขวา)

บิกโตเรียโน อูเอร์ตาขึ้นครองตำแหน่งประธานาธิบดีต่อจากเปโดร ลัสกูไรน์ ซึ่งเป็นประธานาธิบดีได้ราว 45 นาทีก็ลาออกให้อูเอร์ตา รัฐบาลของอูเอร์ตามีลักษณะการปกครองแบบเผด็จการ จากมุมมองของนักปฏิวัติในช่วงเวลานั้น การประกอบสร้างความทรงจำทางประวัติศาสตร์ต่อการปฏิวัตินั้นไม่มีแง่มุมที่เป็นบวกเลย "แม้ว่าจะมีความพยายามแสดงภาพลักษณ์ของบิกโตเรียโน อูเอร์ตา ในฐานะนักปฏิรูป แต่ก็มีคำถามเล็ก ๆ ว่า เขาเป็นเผด็จการที่รับใช้ตนเองเท่านั้น"[88] มีนักเขียนชีวประวัติของอูเอร์ตาเพียงไม่กี่คน แต่มีคนหนึ่งยืนยันชัดเจนว่า อูเอร์ตาไม่ควรถูกมองว่าเป็นเพียงผู้ต่อต้านการปฏิวัติ[89] และโต้เถียงว่าระบอบการปกครองของเขาแบ่งเป็นสองช่วงเวลา คือ ตั้งแต่การรัฐประหารเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1913 ถึงเดือนตุลาคม ค.ศ. 1913 ในช่วงเวลานั้นเขาพยายามทำให้ระบอบการปกครองของเขาชอบธรรมตามกฎหมายและพยายามผลักดันนโยบายการปฏิรูป และอีกช่วงหนึ่งคือหลังเดือนตุลาคม ค.ศ. 1913 ซึ่งเขาพยายามละทิ้งการปกครองตามระบบกฎหมาย และเริ่มไล่ล่าสังหารศัตรูทางการเมืองในขณะที่ขบวนการปฏิวัติรวบรวมกองกำลังเพื่อต่อต้านระบอบของเขา[90]

กลุ่มที่สนับสนุนระบอบของอูเอร์ตาเริ่มแรกคือ กลุ่มผลประโยชน์ทางธุรกิจในเม็กซิโกทั้งฝ่ายต่างประเทศและภายในประเทศ พวกชนชั้นนำเจ้าที่ดิน ศาสนจักรโรมันคาทอลิก รวมถึงรัฐบาลเยอรมันและอังกฤษด้วย วูดโรว์ วิลสัน ประธานาธิบดีสหรัฐไม่ได้ให้การรับรองรัฐบาลของอูเอร์ตา[91] อูเอร์ตาและเบนุสเตียโน การ์รันซา ได้ติดต่อกันทันทีในสองสัปดาห์หลังการรัฐประหาร แต่ก็ไม่ได้มีข้อตกลงกัน ต่อมาการ์รันซาประกาศตนลุกฮือต่อต้านอูเอร์ตาและเป็นผู้นำกองกำลังฝ่ายต่อต้านอูเอร์ตาในภาคเหนือ[92] อูเอร์ตานั้นได้กำลังสนับสนุนจากนายพลของฝ่ายปฏิวัติคือ ปัสกวล โอโรซโก ซึ่งเป็นผู้ร่วมทำลายระบอบดิอัซ จากนั้นก็ไม่แยแสต่อมาเดโร คณะรัฐมนตรีชุดแรกของอูเอร์ตาประกอบด้วยกลุ่มคนที่สนับสนุนแผนของสถานทูตสหรัฐเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 ซึ่งบางคนเคยเป็นฝ่ายสนับสนุนมาเดโร เช่น เฆซุส โฟลเรส มากอน และฝ่ายผู้สนับสนุนนายพลเบร์นาร์โด เรเยส ฝ่ายผู้สนับสนุนนายพลเฟลิกซ์ ดิอัซ และฟรันซิสโก เลออน เด ลา บาร์รา อดีตประธานาธิบดีรักษาการณ์[93]

ในช่วงระบอบปฏิปักษ์การปฏิวัติของอูเอร์ตา (ค.ศ. 1913–1914) ศาสนจักรโรมันคาทอลิกสนับสนุนเขาในช่วงแรก "ศาสนจักรเป็นตัวสะท้อนอำนาจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท"[94] แต่เมื่ออูเอร์ตากวาดล้างพรรคการเมืองและฝ่ายอนุรักษนิยมที่ต่อต้าน เขาได้สั่งจับกุม "กาบริเอล โซเมเยรา ประธานพรรคคาทอลิก [แห่งชาติ] หนังสือพิมพ์ ลานาซิออน รวมถึงสำนักพิมพ์อื่น ๆ ก็ถูกปิด หลังจากที่ออกมาต่อต้านการยุบสภาและการเลือกตั้งสกปรก [เดือนตุลาคม ค.ศ. 1913] ยึดกระบอกเสียงสื่อมวลชนอย่างเป็นทางการและสุดท้ายสำนักข่าวเหล่านั้นต้องปิดตัวลง เอลปาอิส หนังสือพิมพ์หลักของฝ่ายคาทอลิกรอดมาจากช่วงเวลานั้นได้"[95]

ในช่วงต้นอูเอร์ตาสามารถรวบรวมการสนับสนุนจากอันเดรส โมลินา เอนริเกซ ผู้เขียนหนังสือ โลสกรันเดสโปรเบลมัสนาซิโอนาเลส ("ปัญหาใหญ่ของชาติ") งานเขียนชิ้นสำคัญของการปฏิรูปที่ดินในเม็กซิโก[96] อูเอร์ตากังวลอย่างมากกับประเด็นการปฏิรูปที่ดิน เนื่องจากเป็นปัญหาความไม่สงบของชาวนาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เขาจึงขับเคลื่อนเพื่อฟื้นฟู "ที่ดินเอฆิโด (ejido; พื้นที่ส่วนกลางสำหรับการทำเกษตรในชุมชน) แก่ชาวยากีและมาโยสในรัฐโซโนรา และ[ผลักดัน]ข้อเสนอสำหรับการกระจายที่ดินของรัฐบาลให้แก่เกษตรกรรายย่อย"[97][98] แต่เมื่ออูเอร์ตาปฏิเสธที่จะเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินให้เร็วขึ้น โมลินา เอนริเกซจึงละทิ้งระบอบของอูเอร์ตาในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1913[99] ภายหลังเขาก็ไปเป็นที่ปรึกษาในกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ในเรื่องการปฏิรูปที่ดิน

 
เบนุสเตียโน การ์รันซา ผู้ว่าการรัฐโกอาวีลา จัดตั้งกองกำลังภาคเหนือในชื่อว่า กองทัพรัฐธรรมนูญนิยม พร้อมนายทหารที่ชาญฉลาดอย่างโอเบรกอนและบิยา
 
นายพลของฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม โอเบรกอน (ซ้าย) และปันโช บิยา (กลาง) พร้อมนายพลของสหรัฐ เพอร์ชิง ถ่ายรูปหลังจากพบปะกันใน ค.ศ. 1914 ฟอร์ตบลิสส์ รัฐเท็กซัส หลังจากขับไล่อูเอร์ตาออกไปได้ บิยาแตกคอกับการ์รันซา และสุดท้ายเขาก็พ่ายแพ้ต่อโอเบรกอนใน ค.ศ. 1915 ใน ค.ศ. 1916 บิยาโจมตีสหรัฐและเพอร์ชิงถูกส่งตัวไปเพื่อจับกุมเขาแต่ก็ไม่สำเร็จ

ในช่วงหนึ่งเดือนที่เกิดรัฐประหาร การก่อกบฏกระจายไปทั่วเม็กซิโกส่วนใหญ่แกนนำคือผู้ว่าการรัฐโกอาวีลา ที่ชื่อว่า เบนุสเตียโน การ์รันซา ร่วมกับปาโบล กอนซาเลซ การ์ซา และอดีตขบวนการปฏิวัติที่เคยถูกมาเดโรยุบสลายไปแล้ว เช่น ปันโช บิยา การ์รันซาออกแถลงการณ์ทางการเมืองอย่างรวดเร็วในชื่อ แผนกัวดาลูเป เมื่ออูเอร์ตาก้าวขึ้นสู่อำนาจเขาได้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในการกระชับอำนาจในภาคเหนือ การ์รันซานั้นพึ่งพาอาบราอัม กอนซาเลซ ผู้ว่าการรัฐชีวาวา แต่อูเอร์ตาได้สั่งจับกุมกอนซาเลซและสังหารเนื่องจากกลัวว่าจะร่วมกับฝ่ายปฏิวัติ[87] ขบวนการปฏิวัติทางภาคเหนือต่อสู้ภายใต้นามว่า กองทัพรัฐธรรมนูญนิยม โดยมีการ์รันซาเป็น "หัวหน้าคนที่หนึ่ง" (พรีเมร์ เจเฟ; primer jefe) เมื่อนายพลปันโช บิยาได้เป็นผู้ว่าการรัฐชีวาวาใน ค.ศ. 1914 หลังจากอูเอร์ตาถูกขับออกจากอำนาจแล้ว เขาได้นำกระดูกของอดีตผู้ว่าการรัฐกอนซาเลซมาประกอบพิธีฝังศพอย่างสมเกียรติ

ในรัฐโมเรโลส เอมิเลียโน ซาปาตา ยังคงก่อกบฏภายใต้แผนอายาลา (โดยลบชื่อของปัสกวล โอโรซโก ที่กลายเป็นฝ่ายปฏิปักษ์การปฏิวัติออกไป) ซาปาตาเรียกร้องให้มีการเวนคืนที่ดินและแจกจ่ายให้แก่ชาวนา ประธานาธิบดีอูเอร์ตาพยายามทำสันติภาพกับซาปาตา แตาเขาปฏิเสธข้อเสนอของรัฐบาล[100] รัฐบาลอูเอร์ตาจึงถูกท้าทายโดยขบวนการปฏิวัติทางภาคเหนือของเม็กซิโกและในรัฐยุทธศาสตร์อย่างโมเรโลสซึ่งอยู่ทางภาคใต้ของเมืองหลวงเท่านั้น

วิลเลียม ฮาวเวิร์ด แทฟต์ ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐนั้นเป็นเป็ดง่อย (บุคคลที่ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งใด ๆ และกำลังจะหมดวาระดำรงตำแหน่งนั้นแล้ว) ซึ่งจะหมดวาระในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1913 ได้ทิ้งปัญหาการตัดสินใจในการยอมรับรัฐบาลใหม่เม็กซิโกแก่ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน แม้ว่ามีแรงกระตุ้นจากเฮนรี เลน วิลสัน เอกอัครราชทูตสหรัฐประจำเม็กซิโก ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการรัฐประหาร แต่ประธานาธิบดีวิลสันนั่นไม่เพียงแต่ปฏิเสธที่จะรับรองรัฐบาลของอูเอร์ตา แต่เขาพยายามที่จะยึดตำแหน่งเอกอัครราชทูตเม็กซิโก โดยส่ง "ผู้แทนส่วนตัว" คือ จอห์น ลินด์ นักการเมืองชาวอเมริกันเชื้อสายสวีเดน อดีตผู้ว่าการรัฐมินนิโซตาที่มีแนวคิดก้าวหน้าและเห็นใจต่อฝ่ายปฏิวัติเม็กซิโกมายังเม็กซิโก และในฤดูร้อน ค.ศ. 1913 ประธานาธิบดีได้เรียกตัวทูตวิลสันกลับสหรัฐ นอกจากนี้ประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสันได้ยกเลิกมาตรการค้าอาวุธที่ประกาศมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีแทฟต์ ซึ่งเป็นข้อตกลงห้ามจัดหาส่งอาวุธให้กลุ่มกบฏผ่านเส้นทางที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ในขณะเดียวกันได้ประกาศคว่ำบาตรรัฐบาลของอูเอร์ตาแต่ก้ยังอนุญาตให้รับสินค้าจากอังกฤษได้[101] อีกทั้งสหรัฐได้กระตุ้นให้ชาติมหาอำนาจอื่น ๆ ในยุโรปให้ไม่รับรองรัฐบาลของอูเอร์ตา ประธานาธิบดีวิลสันยังเรียกร้องให้ประธานาธิบดีอูเอร์ตาจัดการเลือกตั้งในทันที "โดยตัวเขาเองต้องไม่ลงสมัครรับเลือกตั้ง"[102] สหรัฐเสนอที่จะปล่อยเงินกู้ให้เม็กซิโกภายใต้เงื่อนไขว่าอูเอร์ตาต้องยอมรับข้อเสนอนี้ ประธานาธิบดีอูเอร์ตาปฏิเสธ ลินด์ซึ่งเป็นผู้แทนสหรัฐ "ได้ข่มขู่ที่จะเข้าแทรกแซงทางทหารอย่างชัดเจนถ้าไม่ยอมรับตามข้อเสนอนี้"[103]

ในฤดูร้อน ค.ศ. 1913 ฝ่ายอนุรักษนิยมเม็กซิโกที่สนับสนุนอูเอร์ตาพยายามเสนอรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญให้แก่อูเอร์ตา โดยการรวมตัวจัดตั้งคณะทหารเพื่อเอกภาพของชาติ[104] พรรคการเมืองเริ่มมีบทบาทในช่วงนี้ โดยมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาในวันที่ 26 ตุลาคม ในมุมมองของอูเอร์ตามองว่าการที่ฝ่ายการเมืองอนุรักษนิยมแตกแยกกันจะทำให้ตำแหน่งของเขามั่นคงมากขึ้น ส่วนในมุมมองของชนชั้นนำอนุรักษนิยมของประเทศ "มีความท้อแท้ต่ออูเอร์ตามากขึ้น และรังเกียจวิถีอำนาจจากความรุนแรงของเขา"[105] ประธานาธิบดีอูเอร์ตาสั่งระงับสภาในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1913 โดยให้กองทัพล้อมรอบอาคารรัฐสภาและจับกุมสมาชิกรัฐสภาที่เขาเห็นว่าเป็นศัตรูต่อระบอบ มีการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาครั้งต่อไป แต่เนื่องจากสภาถูกยุบ สมาชิกสภาบางคนยังอยู่ในคุก ดังนั้นจึงไม่มีผู้สมัครชิงตำแหน่งจากฝ่ายค้าน การเลือกตั้งที่หลอกลวงนี้ "ได้ถูกนำเข้ามาสู่การประชุมรัฐบาลของ[วูดโรว์] วิลสันเพื่อให้เห็นถึงความเหนื่อยยากที่ต้องพึ่งพาการเลือกตั้งเพื่อแสดงให้เห็นถึงประชาธิปไตยที่แท้จริง"[106] ในการเลือกตั้งเดือนตุลาคม ค.ศ. 1913 เป็นจุดสิ้นสุดการการปกครองด้วยการอ้างสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญในเม็กซิโก โดยพลเรือนถูกสั่งห้ามทำกิจกรรมทางการเมือง[107] ฝ่ายคาทอลิกที่มีชื่อเสียงถูกจับกุมและหนังสือพิมพ์คาทอลิกถูกปราบปราม[108]

ประธานาธิบดีอูเอร์ตาขยายกองทัพมากขึ้นกว่าเดิม ใน ค.ศ. 1913 ในช่วงที่อูเอร์ตายึดอำนาจ กองทัพมีทหารประจำการประมาณ 50,000 นาย แต่อูเอร์ตาได้มีคำสั่งให้เพิ่มจำนวนทหารมากขึ้นเป็น 150,000 นาย จากนั้นเพิ่มอีกเป็น 200,000 นาย และสุดท้ายในฤดูใบไม้ผลิ ค.ศ. 1914 มีทหารจำนวน 250,000 นาย[109] การเพิ่มจำนวนทหารในระยะเวลาอันสั้นนี้ไม่ได้มาจากความสมัครใจ กองทัพบังคับใช้กฎหมาย เลบา (leva) หรือการบังคับเกณฑ์ทหาร ส่วนฝ่ายขบวนการปฏิวัตินั้นไม่มีปัญหาเพราะเป็นการสมัครทหารโดยสมัครใจ[110] ชายชาวเม็กซิโกพยายามหลีกเลี่ยงการเกณฑ์ทหารของรัฐบาลโดยจ่ายเป็นเงินทั้งหมด ส่วนคนที่ถูกลากเข้าเกณฑ์ทหารจะถูกส่งไปยังพื้นที่ห่างไกลบ้านเกิดและไม่เต็มใจที่จะต่อสู้ มีการหนีทัพ การก่อกำเริบและโจมตีสังหารผู้บังคับบัญชาของพวกเขา[111]

 
กองทัพสหรัฐเข้าเมืองเบรากรุซ เดือนเมษายน ค.ศ. 1914

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1914 สหรัฐต่อต้านระบอบของอูเอร์ตาโดยการส่งกองทัพเข้ายึดเบรากรุซนำโดยนาวิกโยธินและลูกเรือสหรัฐ ในตอนแรกมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันไม่ให้พ่อค้าเยอรมันทางเรือส่งอาวุธไปให้ระบอบของอูเอร์ตา ปฏิบัติการทางทหารที่วุ่นวายนี้นำไปสู่การยันกันถึงเจ็ดเดือนโดยมีทหารเม็กซิโกเสียชีวิต 193 นาย ทหารสหรัฐ 19 นายและไม่ทราบจำนวนพลเรือนที่เสียชีวิต เรือสัญชาติเยอรมันเข้าเทียบท่าส่งสินค้า ส่วนใหญ่เป็นปืนไรเฟิลที่สหรัฐผลิต โดยมาจากนายหน้าธุรกิจชาวอเมริกัน (จากท่าเรืออื่น ๆ ) สุดท้ายกองทัพสหรัฐ ต้องออกจากเบรากรุซโดยปล่อยฝ่ายการ์รันซิสตาเข้ายึดครอง แต่เหตุการณ์นี้ทำลายความสัมพันธ์สหรัฐ-เม็กซิโกอย่างมาก[112][113][114]

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม ซาปาตายึดเมืองชิลปันซิงโก ตามมาด้วยการยึดเมืองอากาปุลโก, อิกัวลา, ตัซโก และบูเอนาบิสตาเดกูเอยาร์ จากนั้นเขาเผชิญหน้ากับฐานทัพของกองทัพสหพันธรัฐในโมเรโลส ทหารส่วนใหญ่แปรพักตร์มาร่วมกับเขาพร้อมมอบอาวุธ จากนั้นเขาก็มุ่งหน้าสู่เมืองหลวงโดยส่งผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าไปยังรัฐต่าง ๆ ของเม็กซิโก[115]

ในขณะที่ช่วงต้น ค.ศ. 1914 ปันโช บิยาโจมตีกองทัพของอูเอร์ตาที่ประจำอยู่ที่เมืองโอฆินากา ทำให้กองทัพสหพันธรัฐต้องหลบหนีข้ามพรมแดนไปยังฟอร์ตบลิสส์ในสหรัฐ ช่วงกลางเดือนมีนาคม เขาเคลื่อนทัพโจมตีเมืองตอร์เรออน ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการรถไฟที่ได้รับการปกป้องอย่างดี หลังจากการสู้รบที่ขมขื่นรอบเมืองตอร์เรออน และมีการทิ้งระเบิดอย่างต่อเนื่อง สุดท้ายในวันที่ 3 เมษายน กองทัพบิยาเข้าสู่เมืองที่เป็นซากปรักหักพัง กองทัพของประธานาธิบดีอูเอร์ตายืนหยัดครั้งสุดท้ายในเมืองซานเปโดรเดลัสโกโลเนียส ที่ตามมาด้วยการวิวาทกันของผู้บัญชาการทหารระหว่างนายพลเบลัสโกกับนายพลมาอัส ซึ่งมียศสูงกว่า ในช่วงกลางเดือนเมษายน เม็กซิโกซิตีก็ไม่ได้รับการป้องกันก่อนที่ตกอยู่ในเงื้อมมือของกองทัพบิยา[115]

ในช่วงที่บิยากำลังปฏิบัติการ อัลบาโร โอเบรกอนได้เคลื่อนทัพจากโซโนราไปยังชายฝั่งแปซิฟิกทางใต้ เส้นทางเดินทัพของเขาถูกปิดกั้นด้วยเรือปืนของรัฐบาล โอเบรกอนโจมตีกองเรือเหล่านั้นด้วยเครื่องบินฝ่ายกบฏ นับเป็นการใช้เครื่องบินสำหรับปฏิบัติการทหารยุคแรก ๆ ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม เขาสามารถทำลายกองทัพสหพันธรัฐที่เมืองโอเรนไดน์ รัฐฮาลิสโก ทหารสหพันธรัฐเสียชีวิตกว่า 8,000 นาย และยึดอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เป็นจำนวนมาก เขาจึงอยู่ในตำแหน่งที่จะถึงเม็กซิโกซิตีได้ก่อนบิยา ซึ่งบิยากำลังหันไปโจมตีเมืองซัลติโยตามคำสั่งของการ์รันซา[115]

การพ่ายแพ้หลายครั้งทำให้ตำแหน่งของอูเอร์ตาสั่นคลอนอย่างมากและในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 เขาก้าวลงจากอำนาจให้ฟรันซิสโก เซ. การ์บาฆัล เป็นประธานาธิบดีแทน ส่วนเขาหลบหนีไปยังเมืองปูเอร์โตเมฆิโก เขาพยายามให้ตัวเขาและครอบครัวลี้ภัยออกจากเม็กซิโกด้วยการหันไปหาความช่วยเหลือจากรัฐบาลเยอรมัน ที่เคยสนับสนุนรัฐบาลของเขา ชาวเยอรมันก็ไม่อยากให้เขาลี้ภัยลงเรือลำใดลำหนึ่งแต่สุดท้ายก็ต้องยอม อูเอร์ตาได้ขน "ทองคำประมาณครึ่งล้านเหรียญสหรัฐติดตัวไปด้วย" รวมทั้งธนบัตรและเช็คเงินสดจำนวนมาก[116] ในช่วงลี้ภัย อูเอร์ตาพยายามกลับไปยังเม็กซิโกผ่านทางสหรัฐ แต่ทางการสหรัฐ กลับจับกุมตัวเขาและคุมขังที่ฟอร์ตบลิสส์ รัฐเท็กซัส จนกระทั่งเขาเสียชีวิตในเดือนมกราคม ค.ศ. 1916 ซึ่งเป็นเวลาหกเดือนหลังลี้ภัย[117]

การลาออกของบิกโตเรียโน อูเอร์ตานำมาซึ่งจุดจบของยุคสมัยกองทัพสหพันธรัฐ ซึ่งเป็นกองกำลังที่ไร้ประสิทธิภาพในการต่อสู้กับขบวนการปฏิวัติ สุดท้ายก็ถูกยุบเลิกลง[118] ฝ่ายปฏิวัติที่รวมตัวกันเพื่อต่อต้านระบอบการปกครองของอูเอร์ตาได้เผชิญหน้ากับภูมิทัศน์ทางการเมืองใหม่โดยฝ่ายปฏิปักษ์การปฏิวัติพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาด กองทัพของฝ่ายปฏิวัติได้ก้าวเข้ามามีอำนาจและเกิดสงครามกลางเมืองครั้งใหม่ หลังจากมีความพยายามทำข้อตกลงระหว่างผู้ชนะในการประชุมที่อากวัสกาเลียนเตส

การประชุมของผู้ชนะและสงครามกลางเมืองตามมา ค.ศ. 1914–1915 แก้

 
ทหารเคลื่อนพลด้วยรถไฟในช่วงการปฏิวัติเม็กซิโก

ด้วยการจากไปของอูเอร์ตาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 ฝ่ายปฏิวัติตัดสินใจที่จะมีการพบปะประชุมกันและสร้าง "ความพยายามครั้งสุดท้ายที่จะหลีกเลี่ยงสงครามอันรุนแรงมากกว่าการจัดการกับอูเอร์ตา"[119] จึงได้มีการเรียกพบปะกันที่เม็กซิโกซิตีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 แต่นักปฏิวัติคนอื่น ๆ พยายามต่อต้านอิทธิพลของการ์รันซาจึงสามารถกดดันให้เปลี่ยนสถานที่ประชุมมาเป็นอากวัสกาเลียนเตสได้สำเร็จ การประชุมที่อากวัสกาเลียนเตสไม่ได้ทำให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่ได้รับชัยชนะในการปฏิวัติเม็กซิโกคืนดีกัน การแตกหักระหว่างการ์รันซากับบิยาเกิดขึ้นอย่างจริงจังระหว่างการประชุม "การ์รันซาปฏิเสธการประชุมอย่างดูถูก และบิยาก็แย่งชิงการประชุมนี้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ" เหล่าเกาดิโย (caudillos) ที่มีอำนาจน้อยกว่าจำต้องเลือกว่าจะอยู่ข้างกองกำลังฝ่ายใด[120] เป็นความรุนแรงในชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนที่จะเกิดสงครามกลางเมืองอีกครั้ง

 
ปันโช บิยา และเอมิเลียโน ซาปาตา เคลื่อนพลเข้าสู่เม็กซิโกซิตี วันที่ 6 ธันวาคม ค.ศ. 1914

การ์รันซาคาดหวังว่าเขาจะได้รับการยอมรับเป็นหัวหน้าคนที่หนึ่งของขบวนการปฏิวัติ แต่ผู้สนับสนุนของเขา "ไม่สามารถควบคุมให้เป็นไปตามระเบียบได้"[121] ฝ่ายต่อต้านการ์รันซานั้นมีความเข้มแข็งในพื้นที่ที่นิยมการปฏิรูปและมีความต้องการที่ดุเดือด โดยเฉพาะในรัฐชีวาวา ซึ่งบิยามีอำนาจมาก และซาปาตาก็มีอำนาจในรัฐโมเรโลส[122] การประชุมที่อากวัสกาเลียนเตสได้ทำให้การต่อต้านแสดงออกมาในเวทีเปิด

เหล่านายพลฝ่ายปฏิวัติในการประชุมเรียกร้องให้การ์รันซาลาออกจากการบริหาร แม้ว่าเขาตกลงที่จะทำตามเช่นนั้น แต่เขาก็เสนอเงื่อนไขด้วย เขาจะลาออกก็ต่อเมื่อปันโช บิยา และเอมิเลียโน ซาปาตา ศัตรูของเขาลาออกเช่นกันและลี้ภัยออกไปด้วย และเสนอว่าควรมีรัฐบาลก็ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม "ที่จะดำเนินการปฏิรูปสังคมและการเมืองตามที่ประเทศต้องการก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลตามรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์อีกครั้ง"[123]

 
ปันโช บิยา (ซ้าย) ผู้บัญชาการ ดิบิซิออนเดลนอร์เต (División del Norte; กองกำลังภาคเหนือ) และเอมิเลียโน ซาปาตา ผู้บัญชาการ เอเฆร์ซิโตลิเบร์ตาดอร์เดลซูร์ (Ejército Libertador del Sur; กองกำลังปลดปล่อยภาคใต้) ร่วมกันในฐานะกองทัพแห่งกติกาสัญญา ต่อสู้กองทัพฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมของ เบนุสเตียโน การ์รันซา ในทางปฏิบัติระยะยาว บิยาและซาปาตาต่อสู้ในพื้นที่ที่ต่างกัน และฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมภายใต้อัลบาโร โอเบรกอนได้ชัยชนะเหนือบิยาใน ค.ศ. 1915
 
นายพลอัลบาโร โอเบรกอน ผู้ได้ชัยชนะเหนือบิยาหลายครั้ง

แทนที่ที่ประชุมจะเลือกการ์รันซาซึ่งเป็นหัวหน้าคนที่หนึ่งให้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเม็กซิโก แต่ที่ประชุมกลับเลือกนายพลเอวลาลิโอ กูติเอร์เรซ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 20 วัน ที่ประชุมกลับประกาศให้การ์รันซาเป็นกบฏ ทำให้สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นในหมู่ขบวนการปฏิวัติที่ร่วมมือกันขับไล่อูเอร์ตาใน ค.ศ. 1913–1914 แม้ว่าในระหว่างการประชุมนายพลของฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมคือ อัลบาโร โอเบรกอน พยายามที่จะไกล่เกลี่ยประนีประนอม และพยายามผลักดันข้อเสนอหนึ่งที่ให้การ์รันซาลาออก แต่เมื่อที่ประชุมประกาศว่าการ์รันซาเป็นกบฏ โอเบรกอนกลับสนับสนุนการ์รันซา แทนที่จะเป็นบิยาและซาปาตา

บิยาเป็นพันธมิตรหลวม ๆ กับผู้นำทางภาคใต้อย่างซาปาตาโดยการจัดตั้งกองทัพแห่งกติกาสัญญา กองทัพของพวกเขาแยกตัวกันเข้ายึดเม็กซิโกซิตี ซึ่งกองทัพของการ์รันซาได้ละทิ้งเมืองหลวงไป ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1914 ภาพถ่ายทางการเมืองที่มีชื่อเสียงของซาปาตาและบิยา คือ บิยานั่งบนเก้าอี้ประจำตำแหน่งประธานาธิบดีในวังแห่งชาติ เป็นภาพคลาสสิกของการปฏิวัติ บิยาได้กล่าวกับซาปาตาว่า เก้าอี้ประธานาธิบดี "ใหญ่เกินไปสำหรับพวกเรา"[124]

ในทางปฏิบัติความเป็นพันธมิตรระหว่างบิยากับซาปาตาในฐานะกองทัพแห่งกติกาสัญญาไม่ได้เกิดขึ้นหลังจากได้ชัยชนะครั้งแรกเหนือกองทัพฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม บิยาและซาปาตาออกจากเมืองหลวง โดยซาปาตากลับไปยังภาคใต้ในโมเรโลส และยังคงทำสงครามภายใต้แผนอายาลา[125] การขาดศูนย์กลางอำนาจและผู้นำทำให้รัฐบาลจากกติกาสัญญานั้นไม่มีเสถียรภาพ บิยามีอำนาจที่แท้จริงในการประชุมตามกติกาสัญญานี้ และเขาสร้างความมั่นคงในตำแหน่งด้วยการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม

บิยามีชื่อเสียงและเป็นที่ยอมรับในฐานะนายพลผู้ดุร้ายและประสบความสำเร็จ และการรวมกำลังกันต่อต้านการ์รันซาโดยบิยา ผู้นำกองทัพภาคเหนือร่วมมือกับซาปาตา นั้นมีจำนวนกองทัพมากกว่าฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม ดังนั้นจึงไม่มีความชัดเจนเลยว่าการ์รันซาจะเอาชนะได้ การ์รันซามีความได้เปรียบคือเขาได้รับความจงรักภักดีจากนายพลอัลบาโร โอเบรกอน ทั้ง ๆ ที่โอเบรกอนประกาศเป็นกลางในการประชุมที่อากวัสกาเลียนเตส และพยายามเกลี้ยกล่อมให้การ์รันซาลาออกจากตำแหน่ง แต่สุดท้ายเขาก็เข้าข้างการ์รันซา[126]

ข้อได้เปรียบในตำแหน่งของการ์รันซาคือ กองทัพฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมสามารถยึดครองเมืองเบรากรุซ แม้ว่าสหรัฐจะยังคงตั้งมั่นอยู่ก็ตาม สหรัฐมองว่าทั้งบิยาและซาปาตาเป็นพวกหัวรุนแรงและคุกคามผลประโยชน์ของอเมริกา ดังนั้นจึงเข้าข้างการต่อสู้ร่วมกับฝ่ายการ์รันซาที่มีความเป็นสายกลางมากกว่า[127] สหรัฐถึงเวลาที่จะถอนทหารออกจากเบรากรุซตามการประชุมสันติภาพที่น้ำตกไนแอการา ที่ให้ประโยชน์แก่การ์รันซาและอนุญาตให้ส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ไปให้ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม สหรัฐรับรองรัฐบาลของการ์รันซาในทางการทูต เดือนตุลาคม ค.ศ. 1915

กองทัพบิยาและกองทัพโอเบรกอนปะทะกันในเดือนเมษายน ค.ศ. 1915 ในยุทธการที่เซลายา กินเวลาตั้งแต่วันที่ 6 ถึงวันที่ 15 กองทัพหน้าทหารม้าของบิยาติดกับยุทธวิธีอันฉลาดหลักแหลมของนักยุทธศาสตร์การทหารสมัยใหม่อย่างโอเบรกอน ชัยชนะของฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมถือเป็นเด็ดขาด และการ์รันซาปรากฏตัวในฐานะผู้นำทางการเมืองของเม็กซิโกโดยชัยชนะทางทหารได้สร้างความมั่นคงในตำแหน่งของเขา บิยาหลบหนีไปยังภาคเหนือ การ์รันซาและฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมได้กลายเป็นฝ่ายที่ได้รับชัยชนะ โดยซาปาตายังเป็นภัยคุกคามจนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1919 บิยายังคงเป็นภัยคุกคามของฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม ซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ของเขาและสหรัฐมีความซับซ้อนมากขึ้น เมื่อฝ่ายของบิยาเข้าปล้นเมืองโคลัมบัส รัฐนิวเม็กซิโก ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1916 เป็นแรงกระตุ้นให้สหรัฐไล่ล่าตัวปันโช บิยาโดยรุกเข้าไปในเม็กซิโกซึ่งพยายามจับตัวเขาแต่ไม่สำเร็จ

ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมก้าวขึ้นสู่อำนาจภายใต้การ์รันซา ค.ศ. 1915–1920 แก้

 
เม็กซิโกสิ้น ค.ศ. 1915 ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมยึดครองพื้นที่ได้มากที่สุด
 
ผู้ว่าการรัฐโกอาวีลา เบนุสเตียโน การ์รันซา (กลาง) ชายตัวสูงและดูโดดเด่น หนวดเครายาวสวมแว่น ฉลาดและดื้อรั้น เป็น "หัวหน้าคนที่หนึ่ง" ของฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมในเม็กซิโกที่ต่อต้านระบอบอูเอร์ตา นายพลอัลบาโร โอเบรกอน (ซ้าย) ถือซิการ์ที่แขนซ้าย ส่วนแขนขวาขาดไปในสมรภูมิเลออน ใน ค.ศ. 1915

เบนุสเตียโน การ์รันซาประกาศใช้แผนกัวดาลูเปในช่วงหลังจากบิกโตเรียโน อูเอร์ตา ยึดอำนาจได้หนึ่งเดือนในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 การ์รันซารวมกองกำลังภาคเหนือเพื่อขับไล่อูเอร์ตา โดยมีนายพลคนสำคัญคือ อัลบาโร โอเบรกอนและปันโช บิยา อูเอร์ตาลี้ภัยในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 และฝ่ายปฏิวัติตัดสินใจใช้การประชุมที่อากวัสกาเลียนเตสเพื่อกำหนดทิศทางการเมืองเม็กซิโก บิยาแตกหักกับการ์รันซาและหันไปเป็นพันธมิตรกับเอมิเลียโน ซาปาตา นายพลโอเบรกอนยังจงรักภักดีต่อการ์รันซาและนำกองทัพฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมได้ชัยชนะเหนือบิยาในยุทธการที่เซลายา เดือนเมษายน ค.ศ. 1915

ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมภายใต้อัลบาโร โอเบรกอนได้ชัยชนะเหนือบิยาในการสู้รบหลายครั้งใน ค.ศ. 1915 ทำให้หยุดภัยคุกคามที่ร้ายแรงจากภาคเหนือได้ สหรัฐให้การรับรองรัฐบาลของการ์รันซาในฐานะผู้มีอำนาจโดยพฤตินัยเดือนตุลาคม ค.ศ. 1915 ตามมาด้วยชัยชนะทางการทหาร สิ่งนี้ทำให้ฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมของการ์รันซามีความชอบธรรมในสายตาสากลโลกและได้รับการสนับสนุนด้านอาวุธจากสหรัฐ รัฐบาลการ์รันซายังคงมีภัยคุกคามคือ บิยาที่ยังหลบหนีอยู่ในภาคเหนือ[128] และซาปาตาที่ยังคงมีอำนาจอยู่ทางตอนใต้ แม้ว่าซาปาตาจะสูญเสียการสนับสนุน แต่เขายังคงเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อระบอบการ์รันซา จนกระทั่งเขาถูกลอบสังหารโดยสายลับของการ์รันซาในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1919[129]

กองทัพฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมเปลี่ยนชื่อเป็น "กองทัพแห่งชาติเม็กซิโก" (Mexican National Army) และการ์รันซาได้ส่งนายพลที่มีความสามารถในการกำจัดภัยคุกคาม ในรัฐโมเลโลส เขาส่งนายพลปาโบล กอนซาเลซ การ์ซาเข้าต่อสู้กับกองกำลังปลดปล่อยภาคใต้ของซาปาตา[130] แม้ว่าชาวนาในโมเรโลสภายใต้ซาปาตาจะไม่ได้เคลื่อนพลออกจากรัฐและส่วนหนึ่งของรัฐปวยบลา แต่การ์รันซาก็พยายามหาทางกำจัดซาปาตา รัฐโมเรโลสนั้นใกล้เม็กซิโกซิตี และไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมของการ์รันซาซึ่วทำให้เป็นช่องโหว่สำหรับรัฐบาลของเขา สายลับของการ์รันซาจึงลอบสังหารซาปาตาใน ค.ศ. 1919 การ์รันซาได้ส่งนายพลฟรันซิสโก มูร์กิอา และนายพลมานูเอล เอเม. ดิเอเกซ เพื่อตามแกะรอยและกำจัดบิยา ซึ่งไม่สำเร็จแต่สามารถจับกุมและประหารชีวิตเฟลิเป อังเฆเลส นายทหารคนสำคัญของบิยาได้[131]

 
โซลดาเดรัสเป็นผู้ร่วมการปฏิวัติในฐานะผู้ต่อสู้และฝ่ายสนับสนุนผู้ต่อสู้

การ์รันซาผลักดันสิทธิสตรีจึงได้รับแรงสนับสนุนจากสตรีจำนวนมาก ในช่วงที่เขาได้เป็นประธานาธิบดี เขาพึ่งพาเลขานุการส่วนตัวและเป็นผู้ช่วยใกล้ชิด คือ เอร์มิลา กาลินโด ที่สนับสนุนเขา ด้วยความพยายามของเธอทำให้การ์รันซาได้รับการสนับสนุนจากผู้หญิง แรงงาน และชาวนา การ์รันซาตอบแทนความพยายามของเธอด้วยการวิ่งเต้นเพื่อให้เกิดกฎหมายความเสมอภาคของผู้หญิง เขาช่วยเปลี่ยนแปลงและปฏิรูปสถานะทางกฎหมายของผู้หญิงในเม็กซิโก[132]

 
นายพลซัลบาดอร์ อัลบาราโด

เบนุสเตียโน การ์รันซา ไม่ได้เคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูปที่ดินแม้ว่าจะมีบทบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ก็ตาม แต่เขากลับคืนที่ดินที่ถูกยึดไปแก่เจ้าที่ดินดังเดิม[133] เขาไม่เพียงแต่ต่อต้านการปฏิรูปที่ดินขนานใหญ่เท่านั้น แต่เขายังคัดค้านกฎหมายที่เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรโดยการให้ชาวนาเข้าถึงที่ดินชั่วคราวในช่วงที่ไม่ได้อยู่ระหว่างเพาะปลูก[134] ในบริเวณที่ชาวนาต่อสู้เพื่อการปฏิรูปที่ดิน การ์รันซันกลับมานโยบายปราบปรามพวกเขาและเพิกเฉยต่อข้อเรียกร้อง ในทางตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งเจ้าที่ดินอาซิเอนดามีอำนาจมาก การ์รันซาส่งผู้สนับสนุนเขาที่หัวรุนแรงคือ ฟรันซิสโก มูฆิกา ไปยังรัฐตาบัสโกและส่งซัลบาดอร์ อัลบาราโด ในรัฐยูกาตัง เพื่อระดมชาวนาและถ่วงอำนาจเจ้าของที่ดินอาซิเอนดา[135] หลังจากซัลบาดอร์ อัลบาราโดยึดรัฐยูกาตังใน ค.ศ. 1915 ได้จัดตั้งพรรคสังคมนิยมขนาดใหญ่และดำเนินการปฏิรูปที่ดินอย่างกว้างขวาง เขายึดที่ดินผืนใหญ่และแจกจ่ายออกเป็นแปลงเล็ก ๆ ให้กับชาวนาที่ได้รับการปลดปล่อยจากเจ้าที่ดิน[136] มักซิโม กัสติโย นายพลจัตวาของฝ่ายปฏิวัติจากรัฐชีวาวาซึ่งรู้สึกรำคาญการปฏิรูปที่ดินที่เชื่องช้าภายใต้ประธานาธิบดีมาเดโร เขาจึงสั่งให้แบ่งที่ดินออกเป็น 6 อาซิเอนดาให้เป็นของลุยส์ เตร์ราซัส ซึ่งเขาจะนำไปแบ่งให้กับผู้เช่านาและผู้ครอบครองอีกทีหนึ่ง[137]

 
ภาพการ์ตูนล้อเลียนลุงแซมกระโดดเข้าเม็กซิโกใน ค.ศ. 1916 เพื่อลงโทษปันโช บิยา

ความสัมพันธ์ในตอนแรกของการ์รันซากับสหรัฐเป็นการได้รับประโยชน์จากการรับรองรัฐบาล โดยกองทัพรัฐธรรมนูญนิยมได้ซื้ออาวุธด้วย ในปึ.ศ. 1915 และต้น ค.ศ. 1916 มีหลักฐานว่าการ์รันซากำลังหาทางกู้เงินจากสหรัฐโดยได้รับการสนับสนุนจากนายธนาคารสหรัฐ และเป็นพันธมิตรทางการกับกลุ่มชาตินิยมสหรัฐเม็กซิโกในเม็กซิโกซึ่งยืนหยัดต่อต้านยักษ์ใหญ่ทางตอนเหนือ การเก็บภาษีจากการถือครองของต่างชาติและการจำกัดอิทธิพลของพวกเขา ด้วยบิยาเข้าปล้นเมืองโคลัมบัส รัฐนิวเม็กซิโก ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1916 เป็นการยุติความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐ[138] ภายใต้แรงกดดันอย่างหนักจากสาธารณชนอเมริกันให้ลงโทษกองกำลังที่เข้าโจมตี (ส่วนใหญ่เอกสารเขียนโดยนักเขียนที่อนุรักษนิยมสุดขั้วอย่างวิลเลียม แรนดอล์ฟ ฮีสท์ ซึ่งถือครองที่ดินขนาดใหญ่ในเม็กซิโก) ประธานาธิบดีสหรัฐ วูดโรว์ วิลสัน จึงส่งนายพลจอห์น เจ. เพอร์ชิง และกองทัพ 5,000 นายบุกเข้ามาในเม็กซิโกเพื่อตามล่าและจับกุมบิยา[139] การแทรกแซงของสหรัฐถูกเรียกว่า การไล่ล่าลงโทษ จำกัดอยู่ในเขตเทือกเขาซิเอร์รัสในรัฐชีวาวา และเป็นครั้งแรกที่กองทัพสหรัฐใช้เครื่องบินออกปฏิบัติการ บิยามีความคุ้นเคยต่อภูมิประเทศที่ไม่เอื้ออำนวยนี้และมีปัญหาเพียงเล็กน้อยในการหลบหนีผู้ไล่ล่า บิยาตั้งมั่นในภูเขาลึกทางตอนเหนือของเม็กซิโกและรู้จักภูมิประเทศดีกว่าจะถูกจับได้ เพอร์ชิงไม่สามารถทำภารกิจต่อไปได้และถูกบังคับให้ถอนทัพกลับ เหตุการณ์นี้ไม่เพียงทำลายความสัมพันธ์ระหว่างประเทศสหรัฐ-เม็กซิโก แต่ยังสร้างให้เกิดแนวคิดการต่อต้านอเมริกาในหมู่ประชาชนชาวเม็กซิโก[140] หลังจากตามไล่ล่าเกือบหนึ่งปี กองกำลังของเพอร์ชิงก็เดินทางกลับสหรัฐ การ์รันซายืนยันอำนาจอธิปไตยของเม็กซิโกและบังคับให้สหรัฐต้องถอนทัพใน ค.ศ. 1917

ด้วยการเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในยุโรป ใน ค.ศ. 1914 ประเทศมหาอำนาจที่มีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและยุทธศาสตร์สำคัญในเม็กซิโก โดยเฉพาะสหรัฐ สหราชอาณาจักร และจักรวรรดิเยอรมัน พยายามโน้มน้าวให้เม็กซิโกอยู่ฝ่ายเดียวกับพวกเขา แต่เม็กซิโกยืนยันนโยบายประกาศความเป็นกลาง ในโทรเลขซิมเมอร์มัน เป็นรหัสโทรเลขที่รัฐบาลเยอรมันตกลงกับรัฐบาลประธานาธิบดีการ์รันซา เยอรมนีพยายามดึงเม็กซิโกเข้าสู่สงครามกับสหรัฐ ซึ่งตอนนั้นยังประกาศเป็นกลาง การ์รันซาไม่ดำเนินตามนโยบายนี้ แต่การรั่วไหลของโทรเลขทำให้สหรัฐประกาศสงครามต่อเยอรมนีใน ค.ศ. 1917

รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 และการรัฐประหารครั้งสุดท้าย แก้

 
เบนุสเตียโน การ์รันซา ขณะดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี
 
รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้รับการรับรองในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1917 ภาพนี้แสดงเหล่าสมาชิกรัฐสภาให้สัตยาบันใน ค.ศ. 1917 ในการรับรองรัฐธรรมนูญ

แผนกัวดาลูเปของการ์รันซาใน ค.ศ. 1913 เป็นแผนการทางการเมืองในวงแคบ แต่เขาพยายามที่จะกระชับอำนาจตำแหน่งของเขาด้วยการสนับสนุนจากมวลชนด้วยนโยบายปฏิรูปสังคมและปฏิรูปการเกษตร ความรุนแรงจากการปฏิวัติลดลงใน ค.ศ. 1916 เหล่าผู้นำพบปะกันเพื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงเป็นการทำให้หลักการของนักปฏิวัติที่หลายคนร่วมต่อสู้ให้ปรากฏเป็นกฎหมาย รัฐธรรมนูญเม็กซิโก ค.ศ. 1917 เป็นรัฐธรรมนูญที่มีความเป็นชาตินิยมอย่างมาก รัฐบาลมีอำนาจในการเวนคืนการถือครองทรัพยากรของต่างชาติและทำให้เกิดการปฏิรูปที่ดิน (มาตรา 27) และยังมีกฎหมายปกป้ององค์กรแรงงาน (มาตรา 123) และขยายอำนาจรัฐเหนือคริสตจักรนิกายโรมันคาทอลิกในเม็กซิโก ในบทบาทด้านการศึกษา (มาตรา 3)

แม้ว่าพวกนิยมบิยาและพวกนิยมซาปาตาจะถูกกีดกันจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ แต่แรงท้าทายทางการเมืองของพวกเขาได้กดดันให้มีการผลักดันรัฐธรรมนูญที่มีลักษณะสุดโต่ง ซึ่งมีความสุดโต่งมากกว่าตัวการ์รันซาเสียอีก[18] ในขณะที่เขาได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีตามรัฐธรรมนูญใน ค.ศ. 1917 แต่เขาก็ไม่ได้มีนโยบายที่รุนแรง เขาไม่ได้อยู่ในสถานะที่กระทำได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ เนื่องจากมีภัยคุกคามต่อระบอบการปกครองของเขาในภูมิภาค แม้ว่าความรุนแรงจะลดลงก็ตาม

ประธานาธิบดีการ์รันซามีอำนาจเพียงพอในการผลักดันร่างรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 การ์รันซาเป็นประธานาธิบดีรักษาการและให้รัฐสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่บนหลักการเสรีนิยมและการปฏิวัติ แรงงานสนับสนุนฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมและกองพันแดงต่อสู้กับกลุ่มซาปาติสตา การปฏิรูปแบบหัวรุนแรงฝังลึกในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะเรื่องสิทธิแรงงาน การปฏิรูปการเกษตร การต่อต้านศาสนจักรและระบบเศรษฐกิจแบบชาตินิยม รัฐบาลเม็กซิโกยืนยันอำนาจเหนือดินแดนและทรัพยากรของประเทศ (มาตรา 27) ซึ่งทำให้การปฏิรูปที่ดินและการเวนคืนแรงงานเป็นหลักการสำคัญในสาระของรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ที่มีการปกป้องสิทธิแรงงาน (มาตรา 123) หลังจากมีการให้สัตยาบันต่อรัฐธรรมนูญ การ์รันซาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีเม็กซิโก[141]

หลังจากการปฏิวัติที่นองเลือดซึ่งทั้งหมดเริ่มมาจากการ "ห้ามกลับเข้ามาเลือกตั้งใหม่" ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่ประธานาธิบดีการ์รันซาจะลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้งในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1920 เขาเลือกที่จะสนับสนุนอิกนาซิโอ โบนิยัส ซึ่งเป็นพลเรือนและเบื้องหลังทางการเมืองไม่มีใครทราบ ส่วนนายพลทางภาคเหนืออย่าง อัลบาโร โอเบรกอน, ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยสและอาโดลโฟ เด ลา อูเอร์ตา ผู้เคยต่อสู้เคียงข้างและปฏิวัติสำเร็จ มองว่าผู้สมัครรับเลือกตั้งที่เป็นพลเรือนนั้นต้องเป็นหุ่นเชิดของการ์รันซาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เหล่านายพลจึงก่อกบฏต่อประธานาธิบดีการ์รันซาตามแผนอากัวปริเอตา ประธานาธิบดีการ์รันซาพยายามหลบหนีออกจากประเทศและเขาถูกสังหารขณะกำลังหนีไปยังชายฝั่งอ่าวเม็กซิโก

 
อิกนาซิโอ โบนิยัส นักการทูตเม็กซิโก

ก่อนการเลือกตั้งนายพลโอเบรกอนได้กลับไปยังรัฐโซโนราและกลายเป็นภัยคุกคามของประธานาธิบดีการ์รันซา สมาพันธ์แรงงานเม็กซิโกระดับภูมิภาค (Confederación Regional Obrera Mexicana) สนับสนุนโอเบรกอน ประธานาธิบดีการ์รันซาความนิยมตกต่ำ เนื่องจากเขาดำเนินนโยบายปฏิรูปที่ดินเพียงเล็กน้อยและเขาทำให้พวกอาซิเอนดากลับมามีอำนาจในภาคเหนือและเบียดขับชาวนาให้ไปหาที่ดินเอง เขาปราบปรามการนัดหยุดงานของแรงงานในเม็กซิโกซิตี แม้ว่าอำนาจทางการเมืองของเขาจะลดลง แต่ประธานาธิบดีการ์รันซาพยายามที่จะกำหนดผู้สืบทอดทางการเมืองคือ อิกนาซิโอ โบนิยัส เอกอัครราชทูตเม็กซิโกประจำสหรัฐ ที่ไม่มีภูมิหลังทางการเมือง ภายใต้แผนอากัวปริเอตา กลุ่มคณะทหารทั้งสามจากรัฐโซโนราคือ โอเบรกอน กาเยส และเด ลา อูเอร์ตา ด้วยการสนับสนุนจากกองทัพและขบวนการแรงงานจากสมาพันธ์ฯ สามารถก่อการจลาจลต่อการ์รันซาได้สำเร็จ และเป็นการรัฐประหารครั้งสุดท้ายของการปฏิวัติ[142] ประธานาธิบดีการ์รันซาหนีไปรัฐเกร์เรโรแต่คาดว่าเขาถูกสังหารไม่ก็ก่ออัตวินิบาตกรรมระหว่างหนีจากเม็กซิโกซิตีไปตั้งหลักที่เบรากรุซ[143] ประธานาธิบดีการ์รันซาพยายามกำหนดหนทางอำนาจของเขาเอง และถูกพิจารณาว่าทรยศต่อการปฏิวัติ[144] และศพของเขาไม่ได้ถูกฝังที่โมนูเมนโตอาลาเรโบลูซิออนจนกระท้งได้ฝังใน ค.ศ. 1942[145]

"โอเบรกอนและพวกโซโนรัน เป็นผู้สร้างจุดรุ่งเรืองและล่มสลายของการ์รันซา ได้แบ่งปันการฉกฉวยโอกาสกันอย่างหนักหน่วง แต่พวกเขาก็แสดงให้เห็นถึงกลไกที่เป็นที่นิยม ด้วยการปฏิรูปสังคมบนรากฐานของระบอบการปฏิวัติหลัง ค.ศ. 1920"[146] รัฐบาลเฉพาะกาลของอาโดลโฟ เด ลา อูเอร์ตา เจรจาให้ปันโช บิยา ยอมจำนนใน ค.ศ. 1920 โดยให้รางวัลแก่เขาเป็นที่ดินอาซิเอนดาที่เขาจะได้อยู่อย่างปกติสุข จนกระทั่งเขาเริ่มหันมาสนใจการเมืองในการเลือกตั้ง ค.ศ. 1924 บิยาถูกลอบสังหารในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1923[147] อัลบาโร โอเบรกอนได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1920 เหล่านายพลคนแรก ๆ ของการปฏิวัติ เช่น ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส, อาเบลาร์โด เอเล. โรดริเกซ, ลาซาโร การ์เดนัส และมานูเอล อาบิลา กามาโช ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีจนกระทั่ง ค.ศ. 1946 เมื่อมิเกล อาเลมัน บัลเดส ลูกชายของนายพลฝ่ายปฏิวัติได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

เอมิเลียโน ซาปาตา กับการปฏิวัติในโมเรโลส แก้

 
เอมิเลียโน ซาปาตา
 
ภาพถ่ายศพของซาปาตา ที่เมืองเกวา-ตลา ในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1919[148]

ตั้งแต่หลังยุคปอร์ฟิเรียโตจนกระทั่งถูกลอบสังหารโดยสายลับของประธานาธิบดีการ์รันซาใน ค.ศ. 1919 เอมิเลียโน ซาปาตามีบทบาทสำคัญในการปฏิวัติเม็กซิโก นับตั้งแต่บ้านเกิดของเขาในรัฐโมเรโลสนั้นเป็นจุดยุทธศาสตร์สำคัญ ในบรรดาฝักฝ่ายในการปฏิวัติทั้งหมด ฝ่ายของซาปาตามีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันมากที่สุด ส่วนใหญ่จะเป็นชาวนาอิสระและมีคนรับใช้อาซิเอนดาอยู่เล็กน้อย โมเรโลสไม่ใช่รัฐอุตสาหกรรม จึงไม่มีการเคลื่อนไหวของแรงงานภาคอุตสาหกรรมและไม่มีชนชั้นกลางเข้าร่วมด้วย ปัญญาชนบางคนสนับสนุนกลุ่มซาปาติสตา ขบวนการต่อต้านด้วยอาวุธของเขาเคลื่อนไหวเพียงทางตอนใต้ของเมืองหลวงและไม่ได้รับการเหลียวแล ไม่เหมือนกับทางภาคเหนือของเม็กซิโกที่ติดกับชายแดนสหรัฐ โดยพื้นที่ของซาปาติสตาในโมเรโลสไม่สามารถเข้าถึงอาวุธยุทโธปกรณ์ และไม่ได้มีบทบาททางการเมืองระหว่างประเทศ กลุ่มซาปาติสตานั้นเป็นขบวนการสู้รบแบบกองโจรหลายกลุ่มที่มารวมตัวกันต่อสู้ในสมรภูมิสำคัญก่อนที่จะแยกย้ายกลับพื้นที่ของตน ซาปาตาเองก็ไม่ใช่ชาวนา แต่ได้กลายมาเป็นผู้นำชาวนาในรัฐบ้านเกิดอย่างโมเรโลส เขาทำสงครามในระดับภูมิภาคอย่างเข้มข้นเพื่อยึดที่ดินของหมู่บ้านคืนและกลับไปทำการเกษตรแบบยังชีพ โมเรโลสเป็นพื้นที่เดียวที่มีการออกกฎหมายการปฏิรูปที่ดินในช่วงการต่อสู้ในระยะเวลาหลายปี[149] ในตอนแรกเขาสนับสนุนมาเดโร แต่ในช่วงรัฐบาลเฉพาะกาลของประธานาธิบดีเด ลา บาร์รา ทางรัฐบาลเข้าโจมตีพวกเขา ทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างมาเดโรกับซาปาตา ประธานาธิบดีมาเดโรล้มเหลวในการปฏิรูปที่ดินในช่วง ค.ศ. 1911–1913 กลายเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ซาปาตาลุกขึ้นมาก่อกบฏตามแผนอายาลา (ค.ศ. 1911)[150][151] หลังจากการโค่นอำนาจประธานาธิบดีมาเดโรในเหตุการณ์สิบวันวิปโยค ซาปาตาได้ปฏิเสธความชื่นชมที่เคยมีต่อนายพลฝ่ายปฏิวัติอย่างปัสกวล โอโรซโก และนำไปซึ่งการทำสงครามต่อประธานาธิบดีอูเอร์ตา การพ่ายแพ้ของอูเอร์ตาในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 ทำให้ซาปาตากลายเป็นพันธมิตรอย่างหลวม ๆ กับปันโช บิยา ที่เคยเป็นพันธมิตรกับเบนุสเตียโน การ์รันซาและกองทัพฝ่ายนิยมรัฐธรรรมนูญ เช่น นายพลอัลบาโร โอเบรกอน พันธมิตรซาปาตา-บิยาได้ต่อสู้กับโอเบรกอนและพ่ายแพ้อย่างเด็ดขาดในการต่อสู้หลายครั้ง โดยเฉพาะสมรภูมิเซลายา ซาปาตายังคงต่อต้านฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมอยู่เสมอ แต่เขาสูญเสียแรงสนับสนุนในพื้นที่ของเขาและมีความพยายามล่อลวงให้สมาชิกของเขาแปรพักตร์ นั่นเป็นข้อผิดพลาดที่ร้ายแรง เขาถูกซุ่มโจมตีและสังหาร เมื่อวันที่ 10 เมษายน ค.ศ. 1919 โดยสายลับของประธานาธิบดีเบนุสเตียโน การ์รันซา นายพล ปาโบล กอนซาเลซ การ์ซา และผู้ช่วยของเขาคือ พันเอก เฆซุส กัวฆาร์โด ที่ล่อเขามาติดกับดักในชินาเมกา (รัฐโมเรโลส) กัวฆาร์โดจัดการพบปะกันโดยอ้างว่าเขาต้องการทรยศการ์รันซาเพื่อมาเข้าร่วมกับซาปาตา พอการประชุมเกิดขึ้น คนของกอนซาเลซได้บุกเข้ามาสังหารซาปาตา มีรูปถ่ายศพของเขาเป็นการแสดงให้เห็นว่าเขาถูกสังหาร[152]

แม้ว่าซาปาตาจะถูกลอบสังหาร แต่การปฏิรูปการเกษตรในรัฐโมเรโลสไม่มีทางถูกยกเลิกกฎหมายได้ รัฐบาลกลางยอมรับในสภาพการณ์นั้น ซาปาตาต่อสู้อย่างหนักเพื่อที่ดินสำหรับชาวนาในโมเรโลสและประสบความสำเร็จ ความสำเร็จของเขาสำหรับการเป็นนักปฏิวัติที่แน่วแน่ในอุดมการณ์ทำให้เขาเป็นวีรบุรุษของการปฏิวัติ ชื่อและภาพลักษณ์ของเขาถูกปลุกขึ้นมาใหม่ใน ค.ศ. 1994 เป็นการลุกฮือในรัฐเชียปัสในนามกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา (Ejército Zapatista de Liberación Nacional)

การกระชับอำนาจการปฏิวัติ ค.ศ. 1920–1940 แก้

 
นายพลฝ่ายปฏิวัติและประธานาธิบดีเม็กซิโก อัลบาโร โอเบรกอน ดำรงตำแหน่งในช่วงปี ค.ศ. 1920–1924 เขาพยายามลงเลือกตั้งอีกครั้งใน ค.ศ. 1928 แต่ถูกลอบสังหารเสียก่อนที่จะได้ตำแหน่ง ก่อให้เกิดวิกฤตการสรรหาคนที่จะมาสืบทอดตำแหน่ง

หนึ่งในปัญหาหลักที่รัฐบาลยุคหลังการปฏิวัติของประธานาธิบดีอัลบาโร โอเบรกอน คือการสร้างเสถียรภาพแก่เม็กซิโก กลุ่ม กาซิเก (ผู้นำ) ในระดับภูมิภาคยังคงต่อสู้กันอย่างประปราย ประชาชนเรียกร้องให้มีการปฏิรูปตามรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ปัญหาหลายประการได้ประดาเข้ามาสู่คนงานที่ยากจน เช่น ปัญหาหนี้ท่วมหัวและการจ่ายเงินค่าจ้างตามประเภทงาน กองทัพมีเหล่านายพลที่พยายามล้มล้างอำนาจการปกครองและยึดอำนาจเพื่อตนเอง นอกจากนี้ยังมีปัญหารัฐบาลต่างประเทศ ส่วนใหญ่คือสหรัฐซึ่งกลัวว่าเม็กซิโกจะพลิกผันเป็นคอมมิวนิสต์เหมือนรัสเซียใน ค.ศ. 1918 ประธานาธิบดีโอเบรกอนอยู่ในตำแหน่งที่ยากลำบาก เขาต้องเดินสายของร้องทั้งกลุ่มฝ่ายซ้ายและฝ่ายขวาเพื่อให้แน่ใจว่าเม็กซิโกจะไม่กลับไปสู่สงครามกลางเมือง ประธานาธิบดีโอเบรกอนเป็นพวกอนุรักษนิยม แต่สำหรับมวลชนเขาเป็นนักปฏิรูปที่เริ่มรับฟังข้อเรียกร้องเพื่อเอาใจประชาชน โอเบรกอนดำเนินการครั้งแรกใน ค.ศ. 1920 คือ การปฏิรูปที่ดิน เขาและผู้ว่าการรัฐหลายรัฐผลักดันการปฏิรูปตามที่สัญญาไว้ในรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 แต่ก็เป็นเพียงในวงจำกัด อดีตกลุ่มซาปาติสตายังคงมีอิทธิพลอย่างมากต่อรัฐบาลยุคหลังการปฏิวัติ ดังนั้นการปฏิรูปส่วนใหญ่จึงเริ่มที่รัฐโมเรโลส จุดกำเนิดของขบวนการซาปาติสตา[153]

แม้ได้รับแรงกดดันจากสหรัฐ ประธานาธิบดีโอเบรกอนยังเข้าหาสหภาพโซเวียตที่เพิ่งก่อตั้ง เพื่อดึงดูดปัญญาชนและชาวนาฝ่ายซ้าย กลายเป็นโฆษณาชวนเชื่อของเม็กซิโกอย่างเป็นทางการในการปั่นกระแสนิยมลัทธิมากซ์ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่มีรูปวลาดีมีร์ เลนิน และเลออน ทรอตสกี ปรากฏตามอาคารสถานที่ราชการ รัฐบาลยังปลุกระดมความเป็นชาตินิยมในหมู่ชาวนา ด้วยการสร้างการระลึกถึงบุคคลสำคัญในการปฏิวัติและสร้างภาพต่อต้านวัฒนธรรมตะวันตก มีการจ้างเหล่าจิตรกร เช่น ดิเอโก ริเบรา ซึ่งเป็นนักชาตินิยมเม็กซิโกและนิยมในลัทธิมากซ์ จ้างมาเพื่อวาดภาพจิตรกรรมให้รัฐบาล แม้ว่ามีการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านตะวันตกและความนิยมในลัทธิสังคมนิยม แต่ประธานาธิบดีโอเบรกอนก็ไม่ได้แยกเศรษฐกิจเม็กซิโกออกจากนายทุนต่างชาติ โดยยังคงอนุญาตให้มีการค้าเสรีด้วยข้อจำกัดบางประการ

ในส่วนของกองทัพ ซึ่งเป็นหน่วยแรกที่เขาใช้ในการต่อสู้เพื่อการปฏิวัติ เขาพยายามทำให้อำนาจของนายทหารที่เป็นอนุรักษนิยมสุดขั้วอ่อนแอลง ซึ่งเขามองว่าคนเหล่านี้ไม่ได้เป็นมิตรต่อระบอบการปกครอง การปฏิรูปบางส่วนของเขาเริ่มสร้างความไม่พอใจต่อคณะนายทหารซึ่งนำไปสู่ความพยายามก่อรัฐประหารใน ค.ศ. 1924 ซึ่งประธานาธิบดีโอเบรกอนสามารถบดขยี้ลงอย่างง่ายได้

 
นายพลฝ่ายปฏิวัติและประธานาธิบดีเม็กซิโก ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส (ค.ศ. 1924–1928) ผู้ก่อตั้ง ปาร์ติโดนาซิโอนัลเรโบลูซิโอนาริโอ และก้าวขึ้นสู่อำนาจเบื้องหลังบัลลังก์ประธานาธิบดีในฐานะ เฆเฟมักซิโม (jefe máximo) (ค.ศ. 1928 – 1934)

เพียงเวลาไม่นานหลังความพยายามรัฐประหารที่ล้มเหลว วาระการดำรงตำแหน่งของโอเบรกอนกำลังหมดลง และนายพลนักปฏิวัติจากโซโนราอย่าง ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส ได้ขึ้นมามีอำนาจเป็นประธานาธิบดีสืบต่อ เขาพยายามวางกลไกเพื่อไม่ให้เกิดความพยายามก่อรัฐประหารอีก กาเยสเริ่มให้ชาวนาและกรรมกรโรงงานสามารถมีอาวุธครอบครองได้เพื่อสนับสนุนเขา เขายังคงดำเนินการปฏิรูปสืบต่อจากประธานาธิบดีหลายคนก่อนหน้าเขา เช่น การปฏิรูปที่ดิน และกฎหมายต่อต้านศาสนจักร เพื่อป้องกันไม่ให้ศาสนจักรโรมันคาทอลิกมีอำนาจเหนือรัฐ การดำเนินการอย่างหนึ่งในการปฏิรูปที่ดิน คือการทำให้พื้นที่การเกษตรส่วนใหญ่เป็นของรัฐและแจกจ่ายให้ชาวนาทั่วเม็กซิโก นอกจากนี้เขายังบังคับใช้ระบบโรงเรียนแห่งชาติที่ส่วนใหญ่เป็นโรงเรียนที่แยกจากศาสนาเพื่อต่อสู้กับอิทธิพลของคริสตจักรใน ค.ศ. 1924 หลังจากนั้นสองปีคริสตจักรประท้วงต่อการเคลื่อนไหวนี้โดยปฏิเสธที่จะให้ศีลแก่ประชาชน ชาวนาบางคนยังเข้าร่วมการประท้วง เพื่อเรียกร้องให้ปฏิรูปที่ดินให้มากขึ้น โดยร่วมกับเหล่าบาทหลวงที่ก่อกบฏ การกบฏนี้ได้รับการสนับสนุนจากคริสตจักรคาทอลิกและได้รับเงินทุนด้วย เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามกริสเตโร[154]

ในขณะเดียวกัน ใน ค.ศ. 1927 มีความพยายามก่อรัฐประหารอีกครั้ง โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าที่ดิน ประธานาธิบดีกาเยสบดขยี้ฝ่ายกบฏอย่างรวดเร็วด้วยการช่วยเหลือจากกองทัพชาวนาติดอาวุธ ซึ่งถูกระดมพลมาเพื่อต่อต้านศาสนจักร ท่ามกลางการระดมพลของกองกำลังชาวนา การปฏิรูปที่ดินและการต่อต้านคริสตจักร รัฐบาลสหรัฐได้ออกมาประกาศว่าเม็กซิโกเป็นระบอบบอลเชวิค หลังจากฟื้นตัวจากวิกฤต ประธานาธิบดีกาเยสเริ่มปราศรัยลดทอนความรุนแรงลงและทำให้นโยบายปฏิรูปที่ดินช้าลงใน ค.ศ. 1928 หนึ่งปีถัดมามีการประกาศหยุดยิงเพื่อยุติความขัดแย้ง

หลังสงครามสิ้นสุดใน ค.ศ. 1929 ผู้สนับสนุนกาเยสและโอเบรกอนรวมตัวกันจัดตั้งพรรคปฏิวัติแห่งชาติ (Partido Nacional Revolucionario) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มฝักฝ่ายจากการปฏิวัติเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกบฏกริสเตโรและสร้างเสถียรภาพ

 
ลาซาโร การ์เดนัส (ค.ศ. 1934–1940) นายพลฝ่ายปฏิวัติและประธานาธิบดีเม็กซิโกผู้ฟื้นฟูหลักการปฏิวัติ

หลังจากนั้นประธานาธิบดีเม็กซิโกก็ผูกขาดโดยพรรคนี้ ลาซาโร การ์เดนัส ก้าวขึ้นสู่อำนาจใน ค.ศ. 1934 ประธานาธิบดีการ์เดนัสเป็นนักสังคมนิยมและเริ่มวางนโยบายเกี่ยวกับการต่อสู้ทางชนชั้นและเพิ่มอำนาจให้กับมวลชน แต่การปฏิรูปทั้งหมดของเขาไม่ใช่สังคมนิยมอย่างสมบูรณ์ แม้ว่าการปกครองของเขาเป็นสมัยที่รุนแรงที่สุดในการปฏิรูปสังคมนับตั้งแต่การปฏิวัติ

การปฏิรูปครั้งแรกของเขาคือใน ค.ศ. 1935 มุ่งเป้าไปที่ชาวนา อดีตผู้นำที่เข้มแข็งในชุมชนของเจ้าที่ดินกำลังสูญเสียอำนาจทางการเมือง ดังนั้นประธานาธิบดีการ์เดนัสจึงเข้าข้างชาวนามากขึ้นเรื่อย ๆ เขาพยายามรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางรัฐบาล โดยการกำจัดกาซิเกตามภูมิภาค ทำให้เขาผลักดันการปฏิรูปได้ง่ายขึ้น เพื่อเติมเต็มสูญญากาศทางการเมือง การ์เดนัสช่วยให้การก่อรูปพรรคพีเอ็นอาร์เข้าสู่กลุ่มชาวนา โดยเพิ่มอำนาจชาวนาและรัฐบาล การปฏิรูปอื่น ๆ คือ การโอนให้มาเป็นของรัฐในส่วนภาคอุตสาหกรรมเช่นปิโตรเลียม ที่ดิน และทางรถไฟ การ์เดนัสได้เพิ่มบทบัญญัติเพื่อเอาใจแรงงาน เช่น การยุติหนี้ท่วมหัวและการจ่ายเงินค่าจ้างตามประเภทงาน ซึ่งกรณีเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกกำจัดหมดสิ้นในรัฐบาลของเขา ยกเว้นบริเวณที่ไม่มีการต่อต้านอะไรมากในเม็กซิโก เพื่อป้องกันฝ่ายอนุรักษนิยมในกองทัพวางแผนและพยายามให้ทหารไม่ต้องว่างงาน ประธานาธิบดีการ์เดนัสจึงระดมกองทัพเข้าทำงานก่อสร้างโครงการสาธารณะ ในปีเดียวกันก็เกิดการจลาจลกริสเตโรอีกครั้ง สาเหตุบางส่วนมาจากการที่การ์เดนัสออกกฤษฎีกาแยกศาสนาออกจากการศึกษาในช่วงดำรงตำแหน่งแรก ๆ ใน ค.ศ. 1934 การกบฏถูกปราบปรามอย่างรวดเร็วเนื่องจากขาดการสนับสนุนจากคริสตจักรคาทอลิก ซึ่งบอกให้ฝ่ายกบฏยอมจำนนต่อรัฐบาล[155]

ปีถัดมาคือ ค.ศ. 1936 มีความพยายามเพื่อสร้างเสถียรภาพทางการปกครอง ประธานาธิบดีการ์เดนัสได้ให้กองกำลังชาวนาและกรรมกรติดอาวุธจัดตั้งเป็นกองกำลังทางการ สิ่งพิสูจน์แล้วว่าเป็นกองกำลังที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของเขาและช่วยเขาต่อต้านความพยายามก่อการรัฐประหารครั้งสุดท้ายในเม็กซิโก ค.ศ. 1938 เมื่อไร้การต่อต้านจากชนชั้นกระฎุมพี เหล่านายพล หรือ เจ้าที่ดินอนุรักษนิยม ใน ค.ศ. 1936 การ์เดนัสได้สร้างระบบนารวมที่เรียกว่า เอฆิโด เพื่อช่วยเหลือชาวนา โดยเฉพาะทางตอนใต้ของเม็กซิโกสิ่งเหล่านี้ทำให้ชาวนาพอใจและสร้างความมั่นคงระยะยาว อย่างไรก็ตามก็เลี้ยงดูประชากรจำนวนมากได้ไม่ดีนัก นำไปสู่การเกิดวิกฤตอาหารในเมือง เพื่อบรรเทาปัญหานี้ การ์เดนัสจึงเลือกที่จะสนับสนุนเหล่านายทุนในการสร้างฟาร์มเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่เพื่อหล่อเลี้ยงประชากรในเขตเมือง สิ่งนี้เป็นตะปูปิดฝาโลงต่อระบบศักดินาอาซิเอนดา ทำให้เม็กซิโกกลายเป็นเศรษฐกิจแบบผสม ผสมผสานระหว่างสังคมนิยมเกษตรกรรมกับทุนนิยมอุตสาหกรรมใน ค.ศ. 1940 การ์เดนัสหมดวาระใน ค.ศ. 1940 นำมาซึ่งจุดจบของการปฏิวัติทางสังคมและนำไปสู่เสถียรภาพกว่าครี่งศตวรรษ[156]

แง่มุมทางวัฒนธรรมของการปฏิวัติเม็กซิโก แก้

มีผลผลิตทางวัฒนธรรมจำนวนมากในช่วงการปฏิวัติ รวมถึงภาพพิมพ์ เพลง และภาพถ่าย ส่วนในยุคหลังการปฏิวัติ จะเป็นจิตรกรรมและวรรณกรรมในอิทธิพลของการปฏิวัติที่ทำให้เกิดความทรงจำทางประวัติศาสตร์และความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิวัติ

จิตรกรรม แก้

 
ภาพ เดอะเทร็นช์ (The Trench) ของโฆเซ เกลเมนเต โอโรซโก เป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิทยาลัยซานอิลเดฟอนโซ เม็กซิโกซิตี

รัฐบาลของอัลบาโร โอเบรกอน (ค.ศ. 1920–1924) และโฆเซ บัสกอนเซโลส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ให้จิตรกรมาตกแต่งสถานที่ราชการที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบอาณานิคมด้วยภาพวาดที่แสดงถึงประวัติศาสตร์เม็กซิโก ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่แง่มุมของการปฏิวัติ "ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งสาม"แห่งวงการภาพจิตรกรรมฝาผนังเม็กซิโก คือ ดิเอโก ริเบรา, โฆเซ เกลเมนเต โอโรซโก และดาบิด อัลฟาโร ซิเกย์โรส ผลิตผลงานเกี่ยวกับการปฏิวัติเพื่อสร้างความทรงจำและการตีความทางประวัติศาสตร์[157][158]

ภาพพิมพ์และการ์ตูน แก้

 
ภาพการ์ตูน กาลาเบรามาเดริสตา ของโฆเซ กัวดาลูเป โปซาดา

ในช่วงปลายยุคปอร์ฟิเรียโต ภาพพิมพ์และการ์ตูนทางการเมืองได้พัฒนาเป็นรูปแบบศิลปะที่ยอดนิยม ผู้ผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดในยุคนั้นคือ โฆเซ กัวดาลูเป โปซาดา ซึ่งพิมพ์ภาพเสียดสีเกี่ยวกับโครงกระดูกให้แพร่หลายไปทั่ว[159] โปซาดาเสียชีวิตในช่วงต้นปี ค.ศ. 1913 ดังนั้นภาพล้อเลียนของเขาเป็นการปฏิวัติในช่วงต้นเท่านั้น ภาพหนึ่งที่ตีพิมพ์ใน เอลบาเลปันชิโต ในชื่อ "วาทศิลป์และดนตรี" แสดงภาพมาเดโรอยู่บนกองเอกสารและแผนซานลุยส์โปโตซี กำลังยกย่องชาวเม็กซิโกผิวดำซึ่งสวมหมวกปีกกว้างใบใหญ่ที่เขียนว่า ปูเอโบล ("ประชาชน") มาเดโรอยู่ในชุทสูทที่กระชับตัว มีคำบรรยาใต้ภาพว่า "การเสนอให้ประชาชนขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดี"[160] ภาพการ์ตูนการเมืองโดยชาวเม็กซิโกและชาวอเมริกันเสนอภาพล้อเสียนสถานการณ์ในเม็กซิโกสู่สายตาผู้อ่านจำนวนมาก[161] กระดาษพิมพ์การเมืองรวมด้วยบทเพลงในช่วงการปฏิวัติเป็นรูปแบบหนึ่งของทัศนศิลป์ที่เป็นที่นิยม หลัง ค.ศ. 1920 ภาพจิตรกรรมฝาผนังและภาพพิมพ์แบบเม็กซิโกเป็นศิลปะแบบปฏิวัติที่สำคัญสองรูปแบบ ภาพพิมพ์สามารถทำซ้ำได้ง่ายและเผยแพร่ในวงกว้าง ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังจะเป็นการว่าจ้างโดยรัฐบาลเม็กซิโกซึ่งการจะรับชมต้องเดินทางไปสถานที่นั้น ภาพพิมพ์ "กลายเป็นสื่อที่ได้รับความนิยมควบคู่กับภาพจิตรกรรมฝาผนังที่สนับสนุนโดยรัฐบาล เหล่าจิตรกรต่อสู้กันเพื่อสร้างสรรค์งานใหม่ เช้นเดียวกับระเบียบทางการเมืองใหม่"[162] ดิเอโก ริเบราเป็นที่รู้จักในการวาดภาพมากกว่าภาพพิมพ์ เขาจำลองภาพของซาปาตาบนจิตรกรรมฝาผนังใน ค.ศ. 1932 ที่วังกอร์เตซในเมืองกูเอร์นาวากา[163]

ภาพถ่ายและภาพเคลื่อนไหว แก้

 
ยุวชนทหาร[164]
 
ภาพที่เป็นเอกลักษณ์ของบิยาในเมืองโอฆินากาเป็นภาพนิ่งประชาสัมพันธ์ของมูชัวฟิล์มคอร์ปอเรชันโดยช่างภาพ จอห์น เดวิดสัน วีแลน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1914[165]

การปฏิวัติเม็กซิโกได้รับการถ่ายภาพอย่างกว้างขวางรวมถึงการถ่ายภาพเคลื่อนไหว ที่มีขนาดใหญ่และร่วมสมัย "การปฏิวัติเม็กซิโกและการถ่ายภาพมีความเกี่ยวพันกัน"[166] มีชาวต่างชาติจำนวนมากรับชมภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวของการปฏิวัติ การบันทึกถ่ายภาพในขณะนั้นไม่สมบูรณ์เนื่องจากมีความรุนแรงเป็นส่วนใหญ่และเกิดขึ้นในสถานที่ที่ห่างไกล แต่ก็เป็นเหตุการณ์ที่ถ่ายจากสื่อโดยช่างภาพ นักถ่ายภาพเหตุการณ์และช่างภาพมืออาชีพ ช่างภาพต้องแบกกล้องขนาดใหญ่และหนักเพื่อจับภาพปฏิบัติการ โดยไม่เป็นเพียงข้อความอีกต่อไป เพราะจะมีภาพถ่ายยืนยันพร้อมคำบรรยายที่ผ่านการตรวจสอบ

การปฏิวัติ "ขึ้นอยู่กับจุดเริ่มต้นอย่างมากเริ่มตั้งแต่การแสดงภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาพถ่าย"[167] ช่างภาพชาวเม็กซิโกและชาวต่างชาติจำนวนมากติดตามปฏิบัติการเหล่านั้นและกระตุ้นความสนใจของสาธารณชน มีช่างภาพชาวต่างชาติได้แก่ จิมมี แฮร์, โอทิส เอ. อัลต์แมน, โฮเมอร์ สกอต และวอลเตอร์ ฮอร์น ภาพถ่ายปรากฏตามหนังสือพิมพ์ นิตยสารและโปสการ์ด[168] ฮอร์นมีความเกี่ยวข้องกับบริษัทโปสการ์ดสงครามเม็กซิโก[169]

ผู้ผลิตภาพยนตร์สารคดีที่โดดเด่นที่สุดคือ ซัลบาดอร์ โตสกาโน และเฆซุส อาเช. อาบิติอา และตากล้องราว 80 คนจากสหรัฐเข้ามาถ่ายทำโดยเป็นทั้งฟรีแลนซ์หรือเป็นลูกจ้างในบริษัทภาพยนตร์ ภาพดังกล่าวได้รับการตัดต่อและสร้างขึ้นใหม่เป็นภาพยนตร์สารคดี ชื่อ เมโมเรียสเดอุนเมฆิกาโน (โดยการ์เมน โตสกาโน เด โมเรโน ค.ศ. 1950) และ เอโปเปยัสเดลาเรโบลูซิออน (โดยกุสตาโบ การ์เรรา)[170] ผู้นำหลัก ๆ ของการปฏิวัติตระหนักดีถึงองค์ประกอบสำคัญของการโฆษณาชวนเชื่อในการสร้างภาพยนตร์ และปันโช บิยาติดต่อบริษัทภาพยนตร์อเมริกันเพื่อถ่ายทอดให้ผู้ชมชาวอเมริกันเห็นถึงความเป็นผู้นำในสนามรบของเขา ภาพยนตร์เรื่องนี้สูญหายไปแล้ว แต่เรื่องราวการสร้างภาพยนตร์ได้ถูกตีความโดยเอชบีโอในเรื่อง แอนด์สตาร์ริงปันโชบิยาแอสฮิมเซลฟ์[171] ชุดภาพนิ่งที่มีตำนวนมากที่สุดของการปฏิวัติคือ เอกสารกาซาโซลา ที่ตั้งชื่อตามช่างภาพ อากุสติน กาซาโซลา (ค.ศ. 1874–1938) ที่มีภาพถ่ายกว่า 500,000 ภาพ เก็บอยู่ที่โฟโตเตกานาซิโอนัลในเมืองปาชูกา

เพลง แก้

 
บทเพลงกอร์ริโดเฉลิมฉลองการที่ฟรันซิสโก อี. มาเดโร เข้าสู่เม็กซิโกซิตีใน ค.ศ. 1911

เพลงพื้นเมืองเม็กซิโกหรือกอร์ริโดจำนวนมากถูกเขียนขึ้นช่วงนี้เพื่อเป็นการสร้างความทรงจำเกี่ยวกับการปฏิวัติ[172][173] คำว่า โซลดาเดรัส เป็นที่รู้จักในนาม อาเดลิตา มาจากเพลงกอร์ริโดที่มีชื่อเดียวกัน เพลง "ลากูการาชา" ที่มีหลายบทก็ได้รับความนิยมในช่วงการปฏิวัติและเวลาต่อมา เพลงกอร์ริโดที่เผยแพร่มักแสดงภาพของวีรบุรุษนักปฏิวัติตามเนื้อเพลงบทต่าง ๆ และเพลงที่ได้รับความนิยมจนทุกวันนี้คือ ลากูการาชา

วรรณกรรม แก้

มีนวนิยายเกี่ยวกับการปฏิวัติเม็กซิโกไม่กี่เรื่องที่เขียนในช่วงนั้น เช่น โลสเดอาบาโฆ ("คนเบี้ยล่าง") ที่เขียนโดยมาเรียโน อาซูเอลา เป็นนวนิยายที่โดดเด่น ตีพิมพ์ครั้งแรกเป็นตอนต่อเนื่องในหนังสือพิมพ์ วรรณกรรมเป็นภาพสะท้อนสำคัญต่อการปฏิวัติ[174] เนลิ กัมโปเบโย เป็นนักเขียนสตรีเพียงไม่กี่คนที่เขียนเกี่ยวกับการปฏิวัติ เธอได้ตีพิมพ์เรื่อง การ์ตูโช (ค.ศ. 1931) เป็นเรื่องราวการปฏิวัติทางตอนเหนือของเม็กซิโก โดยมุ่งเน้นบทบาทของกลุ่มบิยิสตา เนื่องจากวาทกรรมของทางการพยายามลบภาพความทรงจำต่อบิยาและพยายามเน้นแนวคิดชาตินิยมและการทำให้รวมศูนย์แนวคิดการปฏิวัติ[175] งานเขียน เอลอากิลาอีเอลเซร์ปิเอนเต (ค.ศ. 1928) และ ลาซอมบราเดลเกาดิโย (ค.ศ. 1929) ของมาร์ติน ลุยส์ กุซมัน ได้เขียนถึงประสบการณ์ของเขาตอนอยู่ในกองทัพฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม[176][177] ในนิยายของการ์โลส ฟูเอนเตส โดยเฉพาะเรื่อง ลามูเอร์เตเดอาร์เตมิโอกรุซ ที่มองว่าการปฏิวัติและการทรยศต่อการรับรู้เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเรื่องราว

ความทรงจำทางประวัติศาสตร์ แก้

 
สัญลักษณ์เฉลิมฉลองครบรอบหนึ่งร้อยปีการปฏิวัติและการประกาศอิสรภาพครบรอบสองร้อยปี

การครบรอบวาระหนึ่งร้อยปีการปฏิวัติเม็กซิโกเป็นโอกาสหนึ่งในการสร้างประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์และผู้นำ ใน ค.ศ. 2010 ครบรอบหนึ่งร้อยปีการปฏิวัติและการประกาศอิสรภาพครบรอบสองร้อยปี เป็นวาระสำคัญของประวัติศาสตร์เม็กซิโก การประกาศอิสรภาพครบรอบหนึ่งร้อยปีนั้นจัดขึ้นใน ค.ศ. 1910 เป็นงานชิ้นสุดท้ายของยุคปอร์ฟิเรียโต ประธานาธิบดีเม็กซิโก เฟลิเป กัลเดรอน (ค.ศ. 2006–2012) ฝ่ายอนุรักษนิยมจากพรรคกิจแห่งชาติ (Partido Acción Nacional) พยายามให้ความสำคัญต่อการประกาศเอกราชสองร้อยปีมากกว่าการปฏิวัติหนึ่งร้อยปี

 
โมนูเมนโตอาลาเรโบลูซิออน ในเม็กซิโกซิตี แต่เดิมจะเป็นสถานที่ก่อสร้างรัฐสภาของระบอบดิอัซ แต่ต้องหยุดชะงักไปเพราะการปฏิวัติ

ภาพแสดงทางประวัติศาสตร์ที่คงอยู่ถาวรที่สุดคือภูมิทัศน์ที่สร้างขึ้น โดยเฉพาะ โมนูเมนโตอาลาเรโบลูซิออน ในเม็กซิโกซิตี รวมถึงรูปปั้นและอนุสาวรีย์ของผู้นำ โมนูเมนโตอาลาเรโบลูซิออนหรืออนุสาวรีย์แห่งการปฏิวัติถูกสร้างขึ้นในส่วน ปาลาซิโอเลฆิสลาติโบ (Palacio Legislativo) โครงการก่อสร้างหลักในสมัยประธานาธิบดีดิอัซ แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเมื่อมีการปฏิวัติใน ค.ศ. 1910 ใน ค.ศ. 1933 ยุคมักซิมาโต ในอำนาจหลังบัลลังก์ประธานาธิบดีของปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส มีการสร้างกรอบโครงขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงการปฏิวัติ เสาทั้งสี่เสาได้ฝังร่างของ ฟรันซิสโก อี. มาเดโร, เบนุสเตียโน การ์รันซา, ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส, ลาซาโร การ์เดนัส และฟรันซิสโก [ปันโช] บิยา[178] เมื่อยามมีชีวิตอยู่ปานโซต่อสู้กับการ์รันซาและกาเยส แต่ศพของเขาถูกย้ายมาฝังที่อนุสาวรีย์ใน ค.ศ. 1979 สมัยประธานาธิบดีโฆเซ โลเปซ ปอร์ติโย[179] ก่อนที่จะมีการสร้างอนุสาวรีย์ มีการสร้างจุดหนึ่งใน ค.ศ. 1935 เพื่อบรรจุแขนที่ขาดของนายพลอัลบาโร โอเบรกอน ซึ่งขาดไปในสมรภูมิเซลายา ค.ศ. 1915 ซึ่งได้รับชัยชนะ อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ตรงจุดภัตตาคารลาบอมบิยา อันเป็นจุดที่เขาถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1928 แขนของเขาได้ถูกนำมาเผาใน ค.ศ. 1989 แต่อนุสาวรีย์ยังคงอยู่[180][181]

ร่างของเอมิเลียโน ซาปาตา ได้รับการฝังที่เมืองเกวา-ตลา รัฐโมเรโลส ใกล้บริเวณที่เขาถูกลอบสังหารใน ค.ศ. 1919 นับตั้งแต่ ค.ศ. 1920 มีการจัดพิธีรำลึกบริเวณสถานที่ฝังศพของเขา ใน ค.ศ. 1923 อัลบาโร โอเบรกอน ในฐานะประธานาธิบดีเม็กซิโกได้ส่งตัวแทนไปร่วมพิธีที่เมืองเกวา-ตลาและจ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่จากเมืองหลวงให้เป็นค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม[182]

ชื่อเมือง ชื่อย่านชุมชน รวมถึงธนบัตรเม็กซิโกยังมีนามให้ระลึกถึงนักปฏิวัติเม็กซิโก ส่วนใหญ่ที่เด่นชัดคือ ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส นายพลนักปฏิวัติและประธานาธิบดี ผู้ก่อตั้งพรรคการเมืองที่ครอบงำการเมืองเม็กซิโกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ค.ศ. 1919 ลาซาโร การ์เดนัส นายพลนักปฏิวัติและประธานาธิบดี ผู้ฟื้นฟูหลักการการปฏิวัติ ก็ได้รับการยกย่องในธนบัตร ใน ค.ศ. 1996 ธนบัตรเปโซเม็กซิโกที่มีมูลค่าน้อยก็ได้ปรากฏภาพนักปฏิวัติชาวนาอย่างเอมิเลียโน ซาปาตา แต่ธนบัตรนี้ถูกเลิกใช้ใน ค.ศ. 1997[183] ด้านหน้าของธนบัตรที่ถูกยกเลิกแสดงภาพรูปปั้นของซาปาตาในเมืองเกวา-ตลาซึ่งจัดสร้างโดยโอลิเบริโอ มาร์ติเนซ ใน ค.ศ. 1932 เป็นซาปาตาในขี่ม้าแบบ ชาร์โร เต็มยศวางมืออยู่บนไหล่ของชาวนาที่กำลังถือมีดมาเชเต[184]

 
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินซาปาตา ในเม็กซิโกซิตี เป็นภาพแสดงใบหน้าของซาปาตาแต่ไม่มีดวงตา
 
อนุสาวรีย์บิยาขี่ม้าที่เมืองชีวาวา รัฐชีวาวา

ในรถไฟใต้ดินเม็กซิโกซิตีมีสถานีที่รำลึกถึงการปฏิวัติและยุคสมัยปฏิวัติ รถไฟฟ้าใต้ดินเปิดอย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1969 โดยสายรถไฟ "1" ("สายสีชมพู") มีสองสถานีที่เกี่ยวกับการปฏิวัติ และที่เกี่ยวข้องกับการปฏิวัติโดยตรงมากที่สุดก็คือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินปิโน ซัวเรซ ตั้งตามชื่อรองประธานาธิบดีในสมัยฟรันซิสโก อี. มาเดโร ผู้ถูกสังหารพร้อมกันในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1913 และอีกสถานีหนึ่งคือ สถานีรถไฟบัลเดรัส ซึ่งมีภาพเป็นปืนใหญ่เกี่ยวข้องกับคลังอาวุธซิวดาเดลาที่ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการรัฐประหารประธานาธิบดีมาเดโร ใน ค.ศ. 1970 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินเรโบลูซิออนเปิดให้บริการ ซึ่งเป็นสถานีที่นำไปสู่โมนูเมนโตอาลาเรโบลูซิออน เมื่อสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินขยายเส้นทางบริการ ชื่อสถานีจากนักปฏิวัติก็มีเพิ่มมากขึ้น ใน ค.ศ. 1980 ผู้นำการปฏิวัติที่โด่งดังสองคนได้รับการยกย่องมีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินซาปาตา เป้นการรำลึกถึงนักปฏิวัติชาวนาจากโมเรโลส อีกสถานีหนึ่งคือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินดิบิซิออนเดลนอร์เต ตั้งชื่อตามกองทัพของปันโช บิยา ซึ่งปฏิบัติหน้าที่จนสลายกองทัพหลังพ่ายแพ้ในยุทธการที่เซลายา ค.ศ. 1915

 
ลาอาเดลิตาในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติเม็กซิโก

ใน ค.ศ. 1997 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินลาซาโร การ์เดนัสเปิดให้บริการ ใน ค.ศ. 1988 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินอากิเลส เซร์ดันตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่อากิเลส เซร์ดัน ผู้สละชีพแก่การปฏิวัติคนแรก ใน ค.ศ. 1994 สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 เปิดให้บริการพร้อมกับสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินการีบัลดี ตั้งตามชื่อหลานชายของผู้ต่อสู้เพื่ออิสรภาพอิตาลี จูเซปเป การีบัลดี หลานชายของเขาร่วมรบในการปฏิวัติเม็กซิโก ใน ค.ศ. 1999 นักอนาธิปไตยหัวรุนแรงอย่างริการ์โด โฟลเรส มากอน ได้รับการยกย่องในสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินริการ์โด โฟลเรส มากอน และที่เปิดให้บริการใน ค.ศ. 1999 คือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินโรเมโร รูบิโอ ตั้งชื่อตามมานูเอล โรเมโร รูบิโอ ผู้นำกลุ่มซิเอนติฟิโกของประธานาธิบดีปอร์ฟิริโอ ดิอัซ ผู้ซึ่งมีลูกสาวคือการ์เมน โรเมโร รูบิโอ เป็นภริยาคนที่สองของดิอัซ[185] ใน ค.ศ. 2012 มีการเปิดรถไฟใต้ดินสายใหม่คือ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินโรงพยาบาล 20 พฤศจิกายน ตั้งตามวันที่ที่ฟรันซิสโก อี. มาเดโร ประกาศแผนซานลุยส์โปโตซีใน ค.ศ. 1910 ซึ่งประกาศก่อกบฏต่อดิอัซ ไม่มีสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินที่มีชือมาเดโร หรือการ์รันซา, โอเบรกอน หรือกาเยส ส่วนของบิยามีเพียงที่กล่าวถึงกองทัพดิบิซิออนเดลนอร์เต

ในเม็กซิโกซิตี มีเขตเดเลกาซิโอเนส (delegaciones; เมือง) ตั้งชื่อตามอัลบาโร โอเบรกอน, เบนุสเตียโน การ์รันซา และกุสตาโบ อา. มาเดโร น้องชายของประธานาธิบดีฟรันซิสโก มาเดโร มีส่วนของถนนยุคอาณานิคมชื่อ กาเยเดโลสปลาเตโรส ที่มุ่งหน้าสู่จัตุรัสโซกาโลตั้งชื่อตามฟรันซิสโก อี. มาเดโร

วีรบุรุษหัวรุนแรงของการปฏิวัติเม็กซิโกสองคนที่เสียชีวิตไป คือ เอมิเลียโน ซาปาตา และปันโช บิยา[18] อนุสาวรีย์ขี่ม้าที่ดูคล่องแคล่วของนักปฏิวัติทั้งบิยาและซาปาตาถูกสร้างขึ้นและยังคงอยู่โดยได้รับความเคารพ ซาปาตาถูกนำไปตั้งชื่อการจลาจลในรัฐเชียปัสในนามกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา ในขณะที่ผู้ที่กำลังกุมอำนาจการเมืองก็ยังระลึกถึงประวัติศาสตร์ เบนุสเตียโน การ์รันซานำฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยมได้รับชัยชนะ แต่ความพยายามของเขาในการกำหนดผู้สืบทอดทางการเมืองทำให้ไม่เป็นที่ยอมรับของนายพลฝ่ายปฏิวัติ การ์รันซาหลบหนีจากเม็กซิโกซิตีใน ค.ศ. 1920 และถูกสังหาร ปัจจุบันศพของการ์รันซาถูกฝังที่อนุสาวรีย์การปฏิวัติและมีพิพิธภัณฑ์เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา ในพิพิธภัณฑ์มีการจัดแสดง "กระสุนที่ดึงมาจากร่างของฟรันซิสโก อี. มาเดโรหลังจากเขาถูกสังหาร การ์รันซาเก็บกระสุนเหล่านั้นไว้ที่บ้านของเขา อาจเป็นเพราะกระสุนเหล่านั้นเป็นสัญลักษณ์ของชะตากรรมและเป็นฉากสุดท้ายที่เขาพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เจอจุดจบแบบเดียวกันมาตลอด"[186]

บทบาทของสตรีในการปฏิวัติเม็กซิโกเป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ ในพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์การปฏิวัติเม็กซิโกมีรูปปั้นของลาอาเดลิตา เป็นภาพแทนของสตรีนักต่อสู้หรือโซลดาเดรัส เป็นภาพลักษณ์ทั่วไปของโซลดาเดรัส คือ ผู้หญิงผมเปีย สวมชุดคลุมสตรี และมีเข็มขัดกระสุนพาดผ่านหน้าอก มีผู้หญิงฝ่ายปฏิวัติเพียงไม่กี่คนที่ถูกเรียกว่า "โกโรเนลัส" (coronelas) เป็นผู้บัญชาการกองทหาร บางคนแต่งตัวเหมือนบุรุษ ซึ่งถูกมองว่าไม่เหมาะสมต่อภาพลักษณ์ค่านิยมของโซลดาเดรัส จึงไม่ได้รับการยกย่องให้เป็นความทรงจำทางประวัติศาสตร์ในปัจจุบัน[187]

มรดกสืบทอด แก้

รัฐบาลกลางที่เข้มแข็ง แก้

 
หนังสือพิมพ์ฝรั่งเศสลงว่า เลซอมดูว์ฌูร์ ("บุคคลสำคัญแห่งยุค") ยกย่องเบนุสเตียโน การ์รันซา ใน ค.ศ. 1916
 
สถานที่ฝังศพของนักปฏิวัติกลุ่มแรกที่ลุกฮือต่อสู้ด้วยอาวุธ ที่สุสานเก่าโกเมซ ปาลาซิโอ รัฐดูรังโก

แม้ว่าเบนุสเตียโน การ์รันซา จะพบจุดจบอย่างน่าอนาถในตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1920 แต่ก็ฉายเงามรดกในการปฏิวัติของเขา บางครั้งเขาถูกมองว่าเป็นนักปฏิวัติหัวอนุรักษนิยม แต่เขาและพันธมิตรทางภาคเหนือของเขาได้วาง "รากฐานรัฐบาลที่มีอำนาจรวมศูนย์และความทะเยอทะยานอย่างมากในความพยายามรวมความเป็นชาติและความทระนงในชาติของตนเอง"[120] จากการประเมินของแอลัน ไนต์ นักประวัติศาสตร์มองว่า "ชัยชนะของบิยาและซาปาตาอาจจะทำให้เกิดสภาวะรัฐที่อ่อนแอและแตกกระจัดกระจาย เป็นภาพของนักปฏิวัติที่มีเฉดสีทางการเมืองที่หลากหลายซึ่งควบคุมเหนือรัฐบาลที่อ่อนแอ"[120] ปอร์ฟิริโอ ดิอัซ รวมศูนย์อำนาจได้สำเร็จในช่วงการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีที่ยาวนาน การ์รันซาเป็นนักการเมืองรุ่นเก่าของระบอบดิอัซที่ถูกมองว่าเป็นสะพานเชื่อมระหว่างระเบียบเก่าของยุคปอร์ฟิเรียโตกับกลุ่มนักปฏิวัติรุ่นใหม่[188] เหล่านายพลภาคเหนือยึดอำนาจใน ค.ศ. 1920 ด้วย "การถือครองความเป็นเจ้าของพวกโซโนราพิสูจน์ได้ว่าพวกเขาประสบความสำเร็จและยั่งยืน"[189] พวกโซโนรันอย่างอัลบาโร โอเบรกอน เป็นผู้นำที่ผ่านการทดสอบจากการสู้รบและเป็นนักการเมืองเชิงปฏิบัติที่สามารถรวบอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางได้ทันทีหลังสิ้นสุดยุคทหาร การปฏิวัติได้สร้างระบอบการปกครองใหม่ที่ฝ่ายภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือของเม็กซิโกมีความเต็มใจที่จะทำข้อตกลงกับภูมิภาคและฝักฝ่ายอื่น ตามการวิเคราะห์ของจอห์น โวแม็ก นักประวัติศาสตร์มองว่า "รัฐใหม่จะทำหน้าที่เป็นพรรคชนชั้นกระฎุมพีของประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการตามแผนการ การปฏิรูปที่ยาวเหยียดจากเบื้องบน...[จาก] ภัยคุกคามด้านอำนาจอธิปไตยของชาวเม็กซิโกและทุนนิยมจากต่างประเทศลงสู่เบื้องล่าง"[190] รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 ทำให้รัฐบาลมีอำนาจอย่างมากในการแก้ไขประเด็นปัญหาที่ผู้คนจำนวนมากนำเข้ามาเป็นประเด็นการปฏิวัติ จุดสำคัญคือการสร้างพรรคการเมืองของปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส ใน ค.ศ. 1929 ซึ่งเป็นวิธีการจัดการข้อเรียกร้องของกลุ่มผลประโยชน์และรวมอำนาจศูนย์กลางมาไว้ที่ "ครอบครัวการปฏิวัติ" มันจึง "เป็นไปไม่ได้ที่จะแยก...การสร้างพรรคปฏิวัติแห่งชาติ (PNR) ออกจากการก่อตัวของรัฐที่ทรงอำนาจ"[191]

รัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917 แก้

 
สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917

มรดกที่สำคัญของการปฏิวัติเม็กซิโกคือ รัฐธรรมนูญฉบับ ค.ศ. 1917 ซึ่งถูกผลักดันโดยเหล่านายพลที่มีแนวคิดประชานิยมในรัฐบาลของประธานาธิบดีการ์รันซาเพื่อต้องการบ่อนทำลายความนิยมในตัวปันโช บิยาและเอมิเลียโน ซาปาตา[18] รัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้ร่างโดยชนชั้นนำเสรีนิยมหรือฝ่ายกองทัพ แต่ร่างโดยเหล่านักวิชาการหนุ่มหัวรุนแรง ที่พยายามเสนอเอกสารที่น่าเชื่อถือของชาวนา เอกสารดังกล่าวนำมาซึ่งการปฏิรูปมากมายที่เสนอโดยฝ่ายประชานิยม ด้วยมาตรา 27 ที่ให้อำนาจรัฐในการเวนคืนทรัพยากรที่มีความสำคัญต่อประเทศชาติ สิ่งนี้รวมถึงการเวนคืนที่ดินอาซิเอนดาและแจกจ่ายให้แก่ชาวนา มาตรา 27 ยังให้อำนาจรัฐบาลในการเวนคืนการถือหุ้นของบริษัทต่างประเทศ ที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดคือ การเวนคืนทรัพยากรน้ำมันใน ค.ศ. 1938 ในมาตรา 123 รัฐธรรมนูญได้มีการกำหนดให้ปฏิรูปแรงงานครั้งใหญ่ ซึ่งรวมทั้ง การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน สิทธิที่จะนัดหยุดงาน กฎหมายค่าจ้างแรงงานทีเท่าเทียมสำหรับผู้หญิงและยุติการแสวงหาผลประโยชน์จากการใช้แรงงานเด็กและการจ่ายเงินค่าจ้างตามประเภทงาน รัฐธรรมนูญได้เพิ่มข้อจำกัดแก่ศาสนจักรนิกายโรมันคาทอลิกในเม็กซิโก อย่างไรก็ตามในคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลได้เสนอการปฏิรูปรัฐธรรมนูญเพื่อย้อนอำนาจของรัฐบาลในการเวนคืนทรัพย์สินและข้อจำกัดทางสถาบันศาสนา[192] เช่นเดียวกับที่รัฐบาลของการ์โลส ซาลินัส เด กอร์ตาริ ดำเนินการแก้ไขบทบัญญัติสำคัญของรัฐธรรมนูญ ก็มีการเปิดบริการสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1917

พรรคปฏิวัติสถาบัน แก้

 
สัญลักษณ์พรรคปฏิวัติสถาบัน ซึ่งประดับด้วยสีธงชาติเม็กซิโก

พรรคปฏิวัติสถาบัน (Partido Revolucionario Institucional; เดิมคือพรรคปฏิวัติแห่งชาติ) เป็นหนึ่งในมรดกที่ยั่งยืนของการปฏิวัติเม็กซิโก พรรคปฏิวัติแห่งชาติก่อตั้งใน ค.ศ. 1929 ภายใต้อดีตนายพลนักปฏิวัติและประธานาธิบดีเม็กซิโก (ค.ศ. 1924–1928) ปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส หลังจากเกิดการลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีอัลบาโร โอเบรกอน ใน ค.ศ. 1928 ที่เพิ่งผ่านการเลือกตั้งและจะได้เป็นประธานาธิบดีอีกครั้ง การจัดตั้งพรรคไม่เพียงแต่เป็นโครงสร้างที่ยั่งยืนในการจัดแจงผู้สืบทอดตำแหน่งประธานาธิบดีเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงกลุ่มผลประโยชน์ที่แข่งขันกันอีกด้วย ในช่วงแรกกาเยสยังคงมีอำนาจอยู่เบื้องหลังตำแหน่งประธานาธิบดี ยุคนี้ถูกเรียกว่า มักซิมาโต แต่ผู้ที่ได้รับการเลือกสรรให้ลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่าง ลาซาโร การ์เดนัส ได้รับชัยชนะในการต่อสู้กับอดีตประธานาธิบดีกาเยส และสามารถขับไล่เขาออกจากประเทศ ประธานาธิบดีการ์เดนัสจัดระเบียบพรรคของกาเยสเสียใหม่ โดยสร้างภาคส่วนที่เป็นทางการของกลุ่มผลประโยชน์ซึ่งหนึ่งในนั้นคือกองทัพเม็กซิโก การจัดระเบียบพรรคใหม่ได้เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น "พรรคปฏิวัติเม็กซิโก" (Partido de la Revolución Mexicana) ใน ค.ศ. 1946 พรรคได้เปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น "พรรคปฏิวัติสถาบัน" พรรคการเมืองนี้มีประธานาธิบดีหลายชื่อหลายนามดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอย่างไม่ขาดสายตั้งแต่ ค.ศ. 1929 ถึง ค.ศ. 2000 และอีกครั้งใน ค.ศ. 2012 ถึง ค.ศ. 2018 ภายใต้ประธานาธิบดีเอนริเก เปญญา นิเอโต

พรรคปฏิวัติสถาบันถูกสร้างขึ้นมาเป็นพรรคบรรษัทนิยมขนาดใหญ่ เพื่อนำฝักฝ่ายทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์หลายกลุ่ม (ชาวนา, กรรมกร, นักวิชาการในเมือง) มารวมเข้าไว้ด้วยกัน แต่ก็ไม่ร่วมฝ่ายอนุรักษนิยมและฝ่ายคาทอลิก ซึ่งคนกลุ่มหลังหันไปรวมตัวจัดตั้งพรรคฝ่ายค้านคือ พรรคกิจแห่งชาติ

เพื่อเพิ่มช่องทางให้ประชาชนเข้าสู่พรรคมากขึ้น กาเยสและผู้สนับสนุนของเขาได้สร้างคณะผู้แทนระดับต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม ประกอบด้วยเกษตรกร กรรมกร และกลุ่มกองทัพ (กองทัพถูกขับออกจากพรรคเมื่อมีการจัดระเบียบพรรคใหม่เป็นพรรคปฏิวัติสถาบันใน ค.ศ. 1946) ซึ่งมีการใช้ทั้งระบบอุปถัมภ์ทางการเมืองและทำให้ทางเลือกทางการเมืองมีอยู่ในวงจำกัด โครงสร้างนี้ทำให้อำนาจพรรคปฏิวัติสถาบันและรัฐบาลมีความเข้มแข็งขึ้น ผู้นำสหภาพแรงงานและชาวนาเองก็ได้รับอำนาจจากการอุปถัมภ์ และก็มีความไม่พอใจที่ความเป็นสมาชิกพรรคต้องถูกยึดโยงไปตามกลุ่ม หากผู้นำองค์กรไม่สามารถแก้ไขสถานการณ์หรือหาผลประโยชน์ให้แก่สมาชิกได้ พวกเขาก็จะถูกตำหนิว่าเป็นตัวแทนที่ไม่มีประสิทธิภาพ แม้ว่าอำนาจของสหภาพแรงงานและชาวนาจะมีมากขึ้นแต่อำนาจที่มีประสิทธิภาพตกอยู่ในมือพรรคปฏิวัติสถาบันภายใต้การครองอำนาจของพรรคปฏิวัติสถาบันก่อนการเลือกตั้งในปี 2000 ซึ่งฝ่ายอนุรักษนิยมอย่างพรรคกิจแห่งชาติได้รับอำนาจส่วนใหญ่มาจากคณะกรรมาการการบริหารส่วนการ ซึ่งจัดทำงบประมาณโครงการทั้งหมดของรัฐบาล สิ่งนี้ทำให้สภานิติบัญญัติกลายเป็นตรายางให้กับผู้นำพรรคปฏิวัติสถาบัน

ชื่อพรรคนี้แสดงออกถึงการรวมตัวของแนวคิดการปฏิวัติของรัฐเม็กซิโก และโดยเฉพาะการรวมตัวเรื่องความต่อเนื่อง ชาตินิยม การต่อต้านจักรวรรดินิยม การปฏิวัติเม็กซิโก มาสู่วาทกรรมทางการเมืองและสร้างความชอบธรรมให้แก่พรรคปฏิวัติที่ได้รับตวามนิยม[17] การปฏิวัติเป็นความทรงจำที่ทรงพลังมีการใช้คำขวัญและคำมั่นสัญญาเพื่อหนุนฐานอำนาจของพรรค ในเวลาต่อมานักประวัติศาสตร์เขียนถึง "ตำนาน" ของการปฏิวัติ กล่าวคือ ความทรงจำของการปฏิวัติถูกพรรคนำไปใช้เพื่อสร้างความชอบธรรมในการปกครองด้วยการเขียนของนักประวัติศาสตร์เม็กซิโกอย่างมาการิโอ เชติโน ที่ว่า "คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นของเม็กซิโก ศตวรรษแห่งการปฏิวัติเม็กซิโก แต่แนวคิดนี้ไม่ใช่ข้อเท็จจริง การปฏิวัติที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20...ไม่เคยเกิดขึ้น การปฏิวัติเม็กซิโกก่อให้เกิดระบอบการเมืองซึ่งปกครองตั้งแต่ ค.ศ. 1928 และเป็นเวลากว่า 70 ปี ถือเป็นการสร้างวัฒนธรรม"[193] ใน ค.ศ. 1975 ราฟาเอล เซโกเบีย นักรัฐศาสตร์ได้เขียนว่า "ตำนานของการปฏิวัติเม็กซิโกปรากฏเป็นความจริงไปทั่วทุกหนทุกแห่งและไม่อาจโต้แย้งได้"ในวิถีชีวิตของชาวเม็กซิโก โดยความทรงจำการปฏิวัติตามคำพูดของนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษอย่างแอลัน ไนต์ ที่มองว่า "การแยกการเมืองออกจากศาสนา" เป็นสาเหตุที่สามารถสร้างความชอบธรรมในการปกครองของพรรค[194] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความทรงจำในการปฏิวัติถูกใช้ในการสร้างนโยบายของพรรคในเรื่องลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ นโยบายการศึกษา นโยบายแรงงาน แนวคิด อินดิเฆนิสโม และการปฏิรูปที่ดิน[195]

 
ตราสัญลักษณ์พรรคปฏิวัติเม็กซิโกแท้ซึ่งเป็นรูปอนุสาวรีย์การปฏิวัติ

พรรคนี้มีความเป็นเผด็จการและมีลำดับชั้นอำนาจ และเปิดพื้นที่ให้ฝ่ายต่อต้านน้อยมาก แต่พรรคก็ไม่ได้ใช้การกดขี่เพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง เป้าหมายหลักของพรรค คือ การรักษาความสงบเรียบร้อย โดยเลือกปฏิบัตินิยมมากกว่าอุดมการณ์ ตลอดการปกครองของเม็กซิโกหลังการปฏิวัติ พรรคนี้ได้หลีกเลี่ยงที่จะให้อำนาจแก่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไป โดยสร้างกลุ่มคณะการปกครองของตนเองมากกว่าที่จะย้ายไปอยู่ฝั่งอื่น พรรคมีแนวโน้มที่จะถือหางทั้งสองฝ่ายทางการเมือง ทั้งฝ่ายประชานิยมและฝ่ายชนชั้นกลางกำเนิดใหม่

ประเพณีการปกครองของผู้นำที่เข้มแข็งไม่ได้ถูกละทิ้งไปเสียทีเดียว ลัทธินิยมประธานาธิบดี (เปรซิเดนเซียลิสโม) เป็นการจัดการการเมืองของฝ่ายบริหารที่มีอำนาจซึ่งมีศูนย์กลางคือประธานาธิบดี ได้กลายมาเป็นรูปแบบทางการเมืองที่นิยมหลังการปฏิวัติ[196]

 
สัญลักษณ์พรรคฝ่ายซ้ายพรรคปฏิวัติประชาธิปไตย

ใน ค.ศ. 1988 เกวาเตมอก การ์เดนัส บุตรชายอดีตประธานาธิบดีลาซาโร การ์เดนัส ได้แตกหักกับพรรคปฏิวัติสถาบัน และจัดตั้งพรรคฝ่ายซ้ายอิสระ ชื่อ พรรคปฏิวัติประชาธิปไตย (Partido de la Revolución Democrática) ไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่พรรคใช้คำว่า "ปฏิวัติ" แต่เป็นความพยายามท้าทายการยึดครองการปฏิวัติเม็กซิโกของพรรคปฏิวัติสถาบัน ก่อนหน้านี้มีพรรคฝ่ายซ้ายที่ชื่อว่า พรรคปฏิวัติเม็กซิโกแท้ (Partido Auténtico de la Revolución Mexicana) แต่ก็ไม่เคยทำหน้าที่เป็นพรรคการเมืองเต็มรูปแบบในการลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดี แต่พรรคก็ยืนยันความชอบธรรมในฐานะพรรคแห่งการปฏิวัติในเม็กซิโกจนกระทั่งยุบพรรคไป

การปฏิวัติเม็กซิโกนี้ไม่ได้เป็นเพียงแค่การปฏิวัติ แต่ยังเป็นการสร้างให้กลไกของอำนาจเผด็จการน้อยลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้นในการบรรลุผลประโยชน์ ออกตาบิโอ ปัซ เขียนว่าการปฏิวัติทำให้รัฐเม็กซิโกเข้มแข็งมากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เม็กซิโกเป็นสังคมที่มีรัฐเป็นศูนย์กลางและเป็นรัฐสำหรับผู้ถือครองอำนาจ ในพัฒนาการดังกล่าว ขบวนการปฏิวัติได้ทรยศต่อบรรพบุรุษที่ต่อสู้เพื่อเสรีนิยมของระบอบสาธารณรัฐที่ฟื้นฟูใน ค.ศ. 1867–1876 ซึ่งสมัยนั้นมองว่าสิ่งสำคัญที่สุดคือ การทำให้ประวัติศาสตร์เม็กซิโกแยกตัวออกจากการเมืองแบบเผด็จการ[197]

มรดกยุคใหม่คือการก่อความไม่สงบที่เกิดขึ้นอีกครั้งในคริสต์ทศวรรษ 1990 โดยมีการใช้ชื่อ เอมิเลียโน ซาปาตา ของกองทัพปลดปล่อยแห่งชาติซาปาติสตา เป็นการก่อจลาจลของนีโอซาปาติสโมในรัฐเชียปัส ที่ซึ่งพึ่งพิงและสนับสนุนการปฏิรูปของฝ่ายปฏิวัติ โดยเฉพาะระบบเอฆิโด ซึ่งมีการบุกเบิกไว้ก่อนที่การ์เดนัสจะก้าวขึ้นสู่อำนาจ การปฏิรูปต่าง ๆ ของนักปฏิวัติถูกย้อนคืนในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ประธานาธิบดีซาลีนาสพยายามถอยห่างจากนโยบายสังคมนิยมเกษตรกรรมในช่วงยุคหลังการปฏิวัติและเปลี่ยนมาเป็นทุนนิยมสมัยใหม่ สิ่งนี้ทำให้มีการยกเลิกระบบเอฆิโกในเชียปัส การทำลายนโยบายสำหรับชาวนาผู้อดอยากยากไร้ทำให้พวกเขาลุกฮือจลาจล มีการเรียกร้องมรดกการปฏิวัติ ขบวนการซาปาติสตาพยายามดึงวาทกรรมและสำนวนของการปฏิวัติยุคแรก ๆ มาใช้ โดยได้แรงบันดาลใจมาจากนโยบายหลายประการของซาปาตา รวมถึงการเรียกร้องให้มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม แก้

 
เอฆิโดในเมืองเกวาเตมอก

การปฏิวัติเม็กซิโกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่าง ๆ ประการแรก คือ ผู้นำของระบอบปอร์ฟิเรียโตสูญเสียอำนาจทางการเมือง (แต่ยังคงรักษาอำนาจทางเศรษฐกิจไว้ได้) และชนชั้นกลางเริ่มก้าวเข้าสู่การบริหารราชการแผ่นดิน "ในเวลานี้ข้าราชการ เจ้าหน้าที่รัฐบาล ผู้นำได้ถือกำเนิดขึ้น [...]"[198] กองทัพเปิดระบบสังคมการเมืองและผู้นำในฝ่ายรัฐธรรมนูญนิยม เช่น อัลบาโร โอเบรกอน และปลูตาร์โก เอลิอัส กาเยส เข้าควบคุมรัฐบาลกลางมากว่าทศวรรษ หลังจากระบบของกองทัพสิ้นสุดลงใน ค.ศ. 1920 การสร้างพรรคปฏิวัติแห่งชาติใน ค.ศ. 1929 เป็นการนำเหล่านายพลเข้าสู่ระบบการเมือง แต่ในฐานะสถาบัน อำนาจของกองทัพถูกลดทอนและแทรกแซงอย่างมากในสมัยลาซาโร การ์เดนัส ซึ่งใน ค.ศ. 1936 ได้รวมกองทัพเข้ากับพรรคในชื่อพรรคใหม่ว่า "พรรคปฏิวัติเม็กซิโก" กองทัพสหพันธรัฐเก่าถูกทำลายจากการปฏิวัติ และกลุ่มนักปฏิวัติรุ่นใหม่ถูกนำมาอยู่ใต้การควบคุมของรัฐ[199]

ในทางกลับกัน แม้สัดส่วนระหว่างประชาชนในชนบทกับในเมืองและจำนวนคนงานกับชนชั้นกลางยังคงมีจำนวนเท่าเดิม แต่การปฏิวัติเม็กซิโกได้นำการเปลี่ยนแปลงเชิงคุณภาพมายังเมืองต่าง ๆ เจ้าที่ดินในชนบทรายใหญ่ย้ายเข้ามาในเขตเมืองเพื่อหลบหนีความวุ่นวายในชนบท เกษตรกรที่ยากจนบางคนย้ายไปอยู่เขตเมืองและพวกเขาก็ตั้งถิ่นฐานใกล้บริเวณที่ชนชั้นนำยุคปอริฟิอาโตเคยอยู่ มาตรฐานการครองชีพในเมืองต่าง ๆ มากขึ้น ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 42 เป็นร้อยละ 60 ใน ค.ศ. 1940 แต่ความเหลื่อมล้ำทางสังคมยังคงมีอยู่[200]

การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่เกิดขึ้นกับประชาชนชนบท การปฏิรูปเกษตรกรรมทำให้นักปฏิวัติบางคนสามารถเข้าถึงที่ดินได้ (เอฆิโด) ซึ่งยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล แต่โครงสร้างการถือครองที่ดินของ เอฆิเดตาริโอส ไม่ได้ส่งเสริมการพัฒนาในชนบทแต่อย่างใด และยิ่งทำให้ประชากรในชนบทยากจนมากยิ่งขึ้น[201][202] "ตั้งแต่ ค.ศ. 1934 ถึง ค.ศ. 1940 ค่าจ้างงานในชนบทลดลงร้อยละ 25 ในขณะที่ค่าจ้างแรงงานในเมืองเพิ่มขึ้นร้อยละ 20"[203] "อาหารขาดแคลน ไม่มีทั้งของซื้อของขาย [...] การดำรงชีวิตการนอนบนพื้นบ้านยังคงอยู่ [...] อาหารจำกัดอยู่ที่ถั่ว แป้งตอร์ติยา และพริก เสื้อผ้าก็ไม่ค่อยดี"[204] ชาวนาอพยพไปยังภูมิภาคอื่นชั่วคราวเพื่อหางานทำในไร่พืชบางชนิด ซึ่งพวกเขาถูกเอารัดเอาเปรียบอย่างทารุณและเจ็บป่วยด้วยโรคภัยอย่างทรมาน ชาวนาคนอื่น ๆ ตัดสินใจอพยพไปยังสหรัฐ[205]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Obregón Salido Álvaro". Bicentenario de México. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-30. สืบค้นเมื่อ May 2, 2013.
  2. "Elías Calles Campuzano Plutarco". Bicentenario de México. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-05-30. สืบค้นเมื่อ May 2, 2013.
  3. 3.0 3.1 Robert McCaa, "Missing millions: the human cost of the Mexican Revolution." Mexican Studies 19#2 (2001). online
  4. Rummel, Rudolph. "Tavle 11.1 The Mexican Democide Line 39". Statistics Of Mexican Democide.
  5. 5.0 5.1 Rummel, Rudolph. "Tavle 11.1 The Mexican Democide Line 46". Statistics Of Mexican Democide.
  6. Alan Knight, "Mexican Revolution: Interpretations" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, p. 873. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  7. John Tutino, From Insurrection to Revolution: Social Bases of Agrarian Violence, 1750–1940. Princeton: Princeton University Press 1986, p. 327.
  8. Friedrich Katz, The Secret War in Mexico: Europe, the United States, and the Mexican Revolution. Chicago: University of Chicago Press 1981, p. 35.
  9. Katz, The Secret War in Mexico p. 35.
  10. "Mexican Revolution 1910–1920".
  11. Christon Archer, "Military, 1821–1914" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, p. 910. Chicago: Fitzroy and Dearborn 1997.
  12. Friedrich Katz, The Secret War in Mexico: Europe, the United States, and the Mexican Revolution. Chicago: University of Chicago Press 1981.
  13. Michael LaRosa and German R. Mejia (2007). An Atlas and Survey of Latin American History. M.E. Sharpe. p. 150. ISBN 978-0-7656-2933-3.
  14. John Womack, Jr. “The Mexican Revolution” in Mexico Since Independence, ed. Leslie Bethell. Cambridge: Cambridge University Press 1991, p. 125
  15. Knight,"Mexican Revolution: Interpretations", pp. 869–873.
  16. Knight, Alan (1 May 1980). "The Mexican Revolution". History Today. 30 (5): 28. สืบค้นเมื่อ 5 November 2011.
  17. 17.0 17.1 Cockcroft, James (1992). Mexico: Class Formation, Capital Accumulation, & the State. Monthly Review Press.
  18. 18.0 18.1 18.2 18.3 Centeno, Ramón I. (2018-02-01). "Zapata reactivado: una visión žižekiana del Centenario de la Constitución". Mexican Studies/Estudios Mexicanos (ภาษาอังกฤษ). 34 (1): 36–62. doi:10.1525/msem.2018.34.1.36. ISSN 0742-9797.
  19. James A. Garza, "Porfirio Díaz", in Encyclopedia of Mexico, vol. 1, p. 406. Chicago: Fitzroy Dearborn, 1997
  20. Paul Garner, Porfirio Díaz. New York: Pearson 2001, p. 98.
  21. Garner, Porfirio Díaz, p. 98.
  22. Garner, Porfirio Díaz, p. 253.
  23. Garner, Porfirio Díaz, p. 242.
  24. Garner, Porfirio Díaz, p. 245
  25. Garner, Porfirio Díaz, p. 246.
  26. William Weber Johnson, Heroic Mexico: The Violent Emergence of a Modern Nation, Doubleday, 1968, p. 69.
  27. Emily Edmonds-Poli and David A. Shirk (2012). Contemporary Mexican Politics. Rowman & Littlefield. p. 28. ISBN 9781442207561.
  28. John Womack, Jr. “The Mexican Revolution”, in ‘’Mexico Since Independence’’, Leslie Bethell, ed. Cambridge: Cambridge University Press 1991, p. 130.
  29. Paul Vanderwood, Disorder and Progress: Bandits, Police, and Mexican Development. Wilmington, DE: SR Books, rev. ed. 1992.
  30. Paul Vanderwood, Disorder and Progress: Bandits, Police, and Mexican Development. Wilmington, DE: SR Books, rev. ed. 1992.
  31. Deborah J. Baldwin, Protestants and the Mexican Revolution. Urbana: University of Illinois Press, 1990, p. 68.
  32. Friedrich Katz, The Secret War in Mexico. Chicago: University of Chicago Press, 1991.
  33. John Tutino, From Insurrection to Revolution: Social Bases of Agrarian Violence in Mexico, 1750–1940. Princeton: Princeton University Press 1986.
  34. Claudio Lomnitz citing Francisco Bulnes, ‘’El verdadero Díaz y la revolución’’ in Claudio Lomnitz, The Return of Ricardo Flores Magón. New York: Zone Books, 2014, p. 55 and fn. 6, p. 533.
  35. John Kenneth Turner, Barbarous Mexico, Austin: University of Texas Press, 1969, reprint of the 1910 edition, pp. 181–186.
  36. Turner, Barbarous Mexico, pp. 167–173.
  37. Turner, Barbarous Mexico, pp. 181–186.
  38. Turner, Barbarous Mexico, p. 173, emphasis in the original quotation from Turner’s informant.
  39. Garner, Paul. Porfirio Díaz. New York: Pearson, 2001, p. 209.
  40. 40.0 40.1 Garner, Porfirio Díaz, p. 209.
  41. Garner, Porfirio Díaz p. 210.
  42. Garner, Porfirio Díaz p. 210
  43. McLynn, Frank. Villa and Zapata, p. 24.
  44. Womack, John. Zapata and the Mexican Revolution, p. 10.
  45. Johnson, William. Heroic Mexico, p41.
  46. Garner, Porfirio Díaz, p. 210.
  47. Mark Wasserman, "Francisco Vázquez Gómez", in Encyclopedia of Mexico, vol 2, p. 151. Chicago: Fitzroy Dearborn, 1997.
  48. 48.0 48.1 48.2 Clayton, Lawrence A.; Conniff, Michael L. (2005). A History of Modern Latin America. United States: Wadsworth Publishing. pp. 285–286. ISBN 0-534-62158-9.
  49. Womack, John, Jr. "The Mexican Revolution" in Mexico Since Independence Leslie Bethell, ed. Cambridge: Cambridge University Press, 1991, p. 130.
  50. Womack, "The Mexican Revolution", p. 131.
  51. Taylor, Laurence D. "The Magonista Revolt in Baja California". The Journal of San Diego History 45(1)1999.
  52. Jacques, Leo M. Dambourges. Autumn 1974 "The Chinese Massacre in Torreon (Coahuila) in 1911". Arizona and the West, University of Arizona Press, volume 16, no. 3 1974, pp. 233–246
  53. Wasserman, "Francisco Vázquez Gómez", p. 1522.
  54. Cumberland, Charles C. Mexican Revolution: Genesis Under Madero. Austin: University of Texas Press 1952, p. 150.
  55. quoted in Cumberland, Mexican Revolution, p. 151.
  56. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, p. 203.
  57. คำพูดใน Friedrich Katz, The Secret War in Mexico. Chicago: University of Chicago Press 1981, pp. 40-41.
  58. Henderson, Peter V.N. "Francisco de la Barra" in Encyclopedia of Mexico, Chicago: Fitzroy Dearborn 1997, p. 397.
  59. Ross, Stanley R. Francisco I. Madero: Apostle of Democracy, pp. 188-202.
  60. Katz, Friedrich. The Life and Times of Pancho Villa. Stanford: Stanford University Press 1998, pp. 114–118.
  61. quoted in Katz, The Life and Times of Pancho Villa, p. 117.
  62. Katz, Friedrich. The Secret War in Mexico, Chicago: University of Chicago Press 1981, 48.
  63. Cumberland, Charles C. Mexican Revolution: The Constitutionalist Years. Austin: University of Texas Press 1972, pp. 252–53.
  64. Lear, John. "Casa del Obrero Mundial" in Encyclopedia of Mexico, vol. 1, pp. 206–07. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  65. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, pp. 397–404.
  66. Knight, Alan. The Mexican Revolution, vol. 2, p. 77.
  67. Alan Knight, Mexican Revolution, vol. 2. Counter-revolution and Reconstruction. Lincoln: University of Nebraska Press 1986, 503.
  68. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, pp. 397–404.
  69. Alan Knight, The Mexican Revolution, vol. 1. Porfirians, Liberals, and Peasants. Lincoln: University of Nebraska Press 1986, p. 402.
  70. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, p. 400.
  71. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, p. 403.
  72. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, p. 402.
  73. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, p. 404.
  74. Shadle, Stanley F. Andrés Molina Enríquez: Mexican Land Reformer of the Revolutionary Era. Tucson: University of Arizona Press 1994.
  75. Knight, The Mexican Revolution, vol. 1, pp. 289–90, 554, fn. 259.
  76. Meyer, Michael C. Mexican Rebel: Pascual Orozco and the Mexican Revolution, 1910-1915 . Lincoln: University of Nebraska Press 1967, pp. 138-147
  77. Richmond, Douglas W. "Victoriano Huerta" in Encyclopedia of Mexico, vol. 1, p. 656. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  78. Southern Methodist University, Central University Libraries, DeGolyer Library. See:digitalcollections.smu.edu/cdm/ref/collection/mex/id/508
  79. Katz, Katz. The Life and Times of Pancho Villa 1998, p. 165.
  80. Richmond, "Victoriano Huerta", p. 656.
  81. Tuñon Pablos, Esperanza. "Mexican Revolution: February 1913 – October 1915," in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, 855–56.Chicago: Fitzroy Dearborn 1997. p. 855.
  82. Fondo Cassasola, Inv. 37276. SINAFO-Fototeca Nacional del INAH. Reproduced in Mraz, Photographing the Revolution, p. 124, image 6-1.
  83. quoted in Katz, The Life and Times of Pancho Villa, pp. 196–97.
  84. Tuñon Pablos, Esperanza. "Mexican Revolution: February 1913 – October 1915," in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, 855–56.Chicago: Fitzroy Dearborn 1997. p. 855.
  85. Album, Mexican Revolution
  86. Katz, The Secret War in Mexico, p. 114.
  87. 87.0 87.1 Katz, The Life and Times of Pancho Villa, p. 196.
  88. Richmond, Douglas W., "Victoriano Huerta" in Encyclopedia of Mexico, vol. 1. p. 655. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  89. Michael C. Meyer, Huerta: A Political Portrait. Lincoln: University of Nebraska Press 1972.
  90. Tuñon Pablos, Esperanza. "Mexican Revolution: February 1913 – October 1915" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, p. 656. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  91. Katz, The Secret War in Mexico pp. 92-118.
  92. Knight, Alan. "Venustiano Carranza" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 1, p. 573. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
  93. Knight, The Mexican Revolution, Volume 2, pp. 63–64.
  94. Knight, The Mexican Revolution, Volume 2, pp. 503.
  95. Knight, Mexican Revolution, vol. 2, p. 77.
  96. Shadle, Andrés Molina Enríquez: Mexican Land Reformer of the Revolutionary Era. pp. 62–64.
  97. Shadle, Andrés Molina Enríquez, pp. 62–63.
  98. Meyer, Huerta, p. 165.
  99. Shadle, Molina Enríquez, p. 63.
  100. Richmond, Douglas W., "Victoriano Huerta" in Encyclopedia of Mexico, vol. 1, p. 657. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  101. Homa, Gabriel. Actions Behind the Rhetoric: The Foreign Policy Practices of Woodrow Wilson. Issuu (Undergraduate) (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-03-18.[ลิงก์เสีย]
  102. Katz, The Secret War in Mexico, p. 167
  103. Katz, The Secret War in Mexico, p. 167.
  104. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, pp. 73–74.
  105. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, p. 74.
  106. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, p. 75.
  107. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, pp. 76–77.
  108. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, p. 77.
  109. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, p. 77
  110. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, pp. 77–78.
  111. Knight, The Mexican Revolution, vol. 2, p. 79.
  112. Krauze, Enrique;"The April Invasion of Veracruz",The New York Times, 20 April 2014.
  113. Alan McPherson (2013) Encyclopedia of U.S. Military Interventions in Latin America, p. 393, ABC-CLIO, USA.
  114. Susan Vollmer (2007) Legends, Leaders, Legacies, p. 79, Biography & Autobiography, USA.
  115. 115.0 115.1 115.2 McLynn, Frank (2001). "The End of Huerta". Villa and Zapata: A History of the Mexican Revolution. United States: Carroll & Graf Publishers. ISBN 0-7867-1088-8.
  116. Katz, The Secret War in Mexico, pp. 247–48
  117. Richmond, Douglas W., "Victoriano Huerta," in Encyclopedia of Mexico, vol. 1, p. 658. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  118. Archer, Christon I. "Military, 1821–1914" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, p. 910. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  119. Hart, Revolutionary Mexico, p. 276.
  120. 120.0 120.1 120.2 Knight, "Venustiano Carranza", p. 573.
  121. Tuñon Pablos, Esperanza. "Mexican Revolution: February 1913 – October 1915" in Encyclopedia of Mexico, p. 858. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  122. Katz, Friedrich. The Secret War in Mexico: Europe, the United States, and the Mexican Revolution. Chicago: University of Chicago Press 1981, p. 258.
  123. Carranza quoted in Enrique Krauze, Mexico: Biography of Power, p. 349.
  124. Tuñon Pablos, "Mexican Revolution: February 1913 – October 1915" p. 858.
  125. Tuñon Pablos, "Mexican Revolution," p. 858.
  126. Cumberland, Mexican Revolution: Constitutionalist Years, p. 180.
  127. Cumberland, Mexican Revolution: Constitutionalist Years, p. 181.
  128. Knight, Alan. "Venustiano Carranza" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 1, pp. 573-75
  129. Brunk, Samuel. "Emiliano Zapata" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 5, p. 494. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
  130. Alvaro Matute, "Mexican Revolution: May 1917 – December 1920" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, p. 862. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  131. Matute, "Mexican Revolution: May 1917 – December 1920", p. 863.
  132. Mirande, Alfredo; Enriquez, Evangelina. (1981). La Chicana: The Mexican-American Woman. United States: University of Chicago Press. pp. 217–219. ISBN 978-0-226-53160-1.
  133. Knight, "Venustiano Carranza" p. 574.
  134. Markiewicz, Dana. The Mexican Revolution and the Limits of Agrarian Reform, 1915-1946. Boulder: Lynne Rienner Publisher 1993, p. 31.
  135. Katz, The Secret War in Mexico, p. 296.
  136. Busky, Donald F. Democratic Socialism: A Global Survey
  137. Castillo, Máximo (2016). Valdés, Jesús Vargas (บ.ก.). Máximo Castillo and the Mexican Revolution. แปลโดย Aliaga-Buchenau, Ana-Isabel. Baton Rouge, Louisiana: Louisiana State University Press. pp. 51–58. ISBN 978-0807163887.
  138. Katz, The Secret War, p. 297.
  139. Katz, The Life and Times of Pancho Villa 1998, p. 569.
  140. John Whiteclay Chambers; Fred Anderson (1999). The Oxford Companion to American Military History. Oxford University Press. p. 432.
  141. Knight,"Venustiano Carranza" vol. 1, pp. 574-75
  142. Knight, "Venustiano Carranza" vol. 1, pp. 574-75
  143. Philip Russell (2011). The History of Mexico: From Pre-Conquest to Present. Routledge. pp. 334–38. ISBN 9781136968280.
  144. Benjamin, La Revolución, p. 91.
  145. Benjamin, La Revolución, p. 91.
  146. Knight, "Venustiano Carranza, vol. 1. pp. 574.
  147. Wasserman, Mark. "Francisco "Pancho" Villa" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 5, p. 416.
  148. Archivo General de la Nación, Mexico City, Archivo Fotográfico, Delgado y García)
  149. Katz, The Secret War in Mexico, pp. 123-24.
  150. Womack, John Jr., Zapata and the Mexican Revolution (1968)
  151. McNeely, John H. "Origins of the Zapata revolt in Morelos." Hispanic American Historical Review (1966): 153–169.
  152. Brunk, Samuel. "Emiliano Zapata" vol. 5, p. 494.
  153. Russell (2011). The History of Mexico: From Pre-Conquest to Present. pp. 338–41. ISBN 9781136968280.
  154. Russell (2011). The History of Mexico: From Pre-Conquest to Present. pp. 341–44. ISBN 9781136968280.
  155. Russell (2011). The History of Mexico: From Pre-Conquest to Present. pp. 347–48. ISBN 9781136968280.
  156. Russell (2011). The History of Mexico: From Pre-Conquest to Present. pp. 348–53. ISBN 9781136968280.
  157. Coffey, Mary. How a Revolutionary Art Became Official Culture: Murals, Museums, and the Mexican State. Durham: Duke University Press 2012.
  158. *Folgarait, Leonard. Mural Painting and Social Revolution in Mexico, 1920–1940. Cambridge: Cambridge University Press 1998.
  159. Barajas, Rafael. Myth and Mitote: The Political Caricature of José Guadalupe Posada and Manuel Alfonso Manila. Mexico City: Fondo de Cultura Económica 2009
  160. Ades, Dawn and Alison McClean, Revolution on Paper: Mexican Prints 1910-1960. Austin: University of Texas Press 2009, p. 18.
  161. Britton, John A. Revolution and Ideology Images of the Mexican Revolution in the United States. Louisville: The University Press of Kentucky, 1995.
  162. Ades, Dawn. "The Mexican Printmaking Tradition, c. 1900-1930" in Revolution on Paper, p. 11.
  163. Ades, Revolution on Paper, catalogue 22, pp. 76-77
  164. Photograph by Antonio Gómes Delgado El Negro, Casasola Archive, Mexico
  165. John Mraz, Photographing the Mexican Revolution, Austin: University of Texas Press 2012, pp. 246–47. Inv. #287647. Casasola Archive. SINAFO-Fototeca Nacional de INAH.
  166. Chilcote, Ronald H. "Introduction" Mexico at the Hour of Combatp. 9.
  167. Debroise, Olivier. Mexican Suite, p. 177.
  168. Vanderwood, Paul J. and Frank N. Samponaro. Border Fury: A Picture Postcard Record of Mexico's Revolution and U.S. War Preparedness, 1910-1917. Albuquerque: University of New Mexico Press 1988.
  169. Debroise, Mexican Suite, p. 178.
  170. Pick, Constructing the Image of the Mexican Revolution, p. 2
  171. Pick, Constructing the Image of the Revolution, pp.41-54
  172. Herrera Sobek, María, The Mexican Corrido: A Feminist Analysis. Bloomington: Indiana University Press 1990
  173. Simmons, Merle. The Mexican corrido as a source of interpretive study of modern Mexico, 1900–1970. Bloomington: Indiana University Press 1957
  174. Rutherford, John D. Mexican society during the Revolution: a literary approach. Oxford: Oxford University Pres 1971.
  175. Klahn, Norma. "Nellie Campobello" in Encyclopedia of Mexico. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997, p. 187.
  176. Camp, Roderic Ai. "Martín Luis Guzmán" in Encyclopedia of Latin American History and Culture, vol. 3, p. 157. New York: Charles Scribner's Sons 1996.
  177. Perea, Héctor. "Martín Luis Guzmán Franco" in Encyclopedia of Mexico. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997, pp. 622-23.
  178. The Green Guide: Mexico, Guatemala and Belize. London: Michelin 2011,149.
  179. Rubén Osorio Zúñiga, "Francisco (Pancho) Villa" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2. p. 1532. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  180. Jürgen Buchenau, "The Arm and Body of the Revolution: Remembering Mexico's Last Caudillo, Álvaro Obregón" in Lyman L. Johnson, ed. Body Politics: Death, Dismemberment, and Memory in Latin America. Albuquerque: University of New Mexico Press 2004, pp. 179–207.
  181. Fabrizio Mejía Madrid, "Insurgentes" in The Mexico City Reader, ed. Rubén Gallo. Madison: University of Wisconsin Press 2004, p. 63.
  182. Samuel Brunk, The Posthumous Career of Emiliano Zapata. Austin: University of Texas Press 2008, pp. 67–69.
  183. Image of the Zapata banknote that was previously on Wiki Commons has been deleted.
  184. image of the statue in Thomas Benjamin, La Revolución, p. 86.
  185. บางทีเวลาผ่านไปพอสมควรแล้วนับตั้งแต่การปฏิวัติและโรเมโร รูบิโอเป็นเพียงชื่อที่ไม่มีความสลักสำคัญทางประวัติศาสตร์ในความคิดของชาวเม็กซิโกทั่วไป ใน ค.ศ. 2000 พรรคปฏิวัติสถาบันพ่ายแพ้การเลือกตั้งต่อพรรคกิจแห่งชาติ
  186. Enrique Krauze, Mexico: Biography of Power. New York: HarperCollins 1997, p. 373.
  187. Gabriela Cano, "Soldaderas and Coronelas" in Encyclopedia of Mexico, vol. 1, pp. 1357–1360. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  188. Krauze, Enrique. Mexico: Biography of Power, p. 373.
  189. Meyer, Jean. "Revolution and Reconstruction in the 1920s" in Mexico since Independence, Leslie Bethell, ed. New York: Cambridge University Press 1991, p. 201
  190. Womack John. "The Mexican Revolution, 1910-1920" in Mexico since Independence, Leslie Bethell, ed. New York: Cambridge University Press 1991, p.200.
  191. Meyer, "Revolution and Reconstruction in the 1920s", p. 202.
  192. Roberto Blancarte, "Recent Changes in Church-State Relations in Mexico: An Historical Approach." Journal of Church & State, Autumn 1993, vol. 35. No. 4.
  193. Knight, Alan "The Myth of the Mexican Revolution" pages 223–273 from Past & Present, No. 209, November 2010 page 224.
  194. Knight, Alan "The Myth of the Mexican Revolution" pages 223–273 from Past & Present, No. 209, November 2010 pages 226–227.
  195. Knight, Alan "The Myth of the Mexican Revolution" pages 223–273 from Past & Present, No. 209, November 2010 page 228.
  196. "Mexico and Russia: Mirror Images?" (PDF). George Washington University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-10-19. สืบค้นเมื่อ 8 June 2013.
  197. The Philanthropic Ogre, 1979.
  198. Meyer, Jean (2004). La Revolución mexicana. Mexico: Tusquets. p. 294. ISBN 978-607-421-141-2.
  199. Lieuwen, Edward. Mexican Militarism: The Political Rise and fall of the Revolutionary Army, 1919–1940. Albuquerque: University of New Mexico Press, 1968.
  200. Meyer, Jean (2004). La Revolucion mexicana. Mexico: Tusquets. pp. 297–298. ISBN 978-607-421-141-2.
  201. Appendini, Kirsten. "Ejido" in The Encyclopedia of Mexico. p. 450. Chicago: Fitzroy and Dearborn 1997.
  202. Meyer, Jean (2004). La Revolucion mexicana. Mexico: Tusquets. p. 299. ISBN 978-607-421-141-2.
  203. Meyer, Jean (2004). La Revolucion mexicana. Mexico: Tusquets. p. 303. ISBN 978-607-421-141-2.
  204. Meyer, Jean (2004). La Revolucion mexicana. Mexico: Tusquets. p. 205. ISBN 978-607-421-141-2.
  205. Meyer, Jean (2004). La Revolucion mexicana. Mexico: Tusquets. p. 304. ISBN 978-607-421-141-2.

ดูเพิ่ม แก้

การปฏิวัติเม็กซิโก – ประวัติศาสตร์กระแสหลัก แก้

  • Brenner, Anita. The Wind that Swept Mexico. New Edition. Austin: University of Texas Press 1984.
  • Brewster, Keith. "Mexican Revolution: October 1910 – February 1913" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, pp. 850–855. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  • Crossen, John F. "Mexican Revolution: October 1915 – May 1917" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, pp. 859–862. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  • Cumberland, Charles C. Mexican Revolution: Genesis under Madero. Austin: University of Texas Press 1952.
  • Cumberland, Charles C. Mexican Revolution: The Constitutionalist Years. Austin: University of Texas Press 1972.
  • Gilly, A. The Mexican Revolution. London 1983.
  • Gonzales, Michael J. The Mexican Revolution: 1910–1940. Albuquerque: University of New Mexico Press, 2002.
  • Hart, John Mason. Revolutionary Mexico: The Coming and Process of the Mexican Revolution. Berkeley and Los Angeles: University of California Press 1987.
  • Katz, Friedrich. The Secret War in Mexico: Europe, the United States, and the Mexican Revolution. Chicago: University of Chicago Press 1981.
  • Knight, Alan. The Mexican Revolution, Volume 1: Porfirians, Liberals, and Peasants (1986); The Mexican Revolution, Volume 2: Counter-revolution and Reconstruction. University of Nebraska Press 1986.
  • Krauze, Enrique. Mexico: Biography of Power. New York: HarperCollins 1997.
  • Matute, Alvaro. "Mexican Revolution: May 1917 – December 1920" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, pp. 862–864. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  • Niemeyer, Victor E. Revolution at Querétaro: The Mexican Constitutional Convention of 1916–1917. Austin: University of Texas Press 1974.
  • Quirk, Robert E. The Mexican Revolution, 1914–1915: The Convention of Aguascalientes. New York: The Citadel Press 1981.
  • Quirk, Robert E. The Mexican Revolution and the Catholic Church 1910–1919. Bloomington: Indiana University Press, 1973
  • Ruiz, Ramón Eduardo. The Great Rebellion: Mexico, 1905–1924. New York: Norton 1980.
  • Tuñon Pablos, Esperanza. "Mexican Revolution: February 1913 – October 1915," in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, pp. 855–859 . Chicago: Fitzroy Dearborn 1997
  • Tutino, John. From Insurrection to Revolution. Princeton: Princeton University Press 1985.
  • Wasserman, Mark. The Mexican Revolution: A Brief History with Documents. (Bedford Cultural Editions Series) First Edition, 2012.
  • Wilkie, James. The Mexican Revolution: Federal Expenditure and Social Change since 1910. Berkeley and Los Angeles: University of California Press 1967.
  • Womack, John, Jr. "The Mexican Revolution" in The Cambridge History of Latin America, vol. 5 ed. Leslie Bethell. Cambridge: Cambridge University Press 1986.

ชีวประวัติและประวัติศาสตร์สังคม แก้

  • Baldwin, Deborah J. Protestants and the Mexican Revolution: Missionaries, Ministers, and Social Change. Urbana: University of Illinois Press 1990.
  • Beezley, William H. Insurgent Governor: Abraham González and the Mexican Revolution in Chihuahua. Lincoln: University of Nebraska Press 1973.
  • Brunk, Samuel. Emiliano Zapata: Revolution and Betrayal in Mexico. Albuquerque: University of New Mexico Press 1995.
  • Buchenau, Jürgen, Plutarco Elías Calles and the Mexican Revolution. Lanham MD: Rowman and Littlefied 2007.
  • Buchenau, Jürgen. The Last Caudillo: Alvaro Obregón and the Mexican Revolution. Malden MA: Wiley-Blackwell 2011.
  • Caballero, Raymond (2015). Lynching Pascual Orozco, Mexican Revolutionary Hero and Paradox. Create Space. ISBN 978-1514382509.
  • Cockcroft, James D. Intellectual Precursors of the Mexican Revolution. Austin: University of Texas Press 1968.
  • Fisher, Lillian Estelle. "The Influence of the Present Mexican Revolution upon the Status of Mexican Women," Hispanic American Historical Review, Vol. 22, No. 1 (Feb. 1942), pp. 211–228.
  • Garner, Paul. Porfirio Díaz. New York: Pearson 2001.
  • Guzmán, Martín Luis. Memoirs of Pancho Villa. Translated by Virginia H. Taylor. Austin: University of Texas Press 1966.
  • Hall, Linda. Alvaro Obregón, Power, and Revolution in Mexico, 1911–1920. College Station: Texas A&M Press 1981.
  • Henderson, Peter V.N. In the Absence of Don Porfirio: Francisco León de la Barra and the Mexican Revolution. Wilmington, Del.: Scholarly Resources 2000
  • Katz, Friedrich. The Life and Times of Pancho Villa. Stanford: Stanford University Press 1998.
  • Lomnitz, Claudio. The Return of Comrade Ricardo Flores Magón. Brooklyn NY: Zone Books 2014.
  • Lucas, Jeffrey Kent. The Rightward Drift of Mexico's Former Revolutionaries: The Case of Antonio Díaz Soto y Gama. Lewiston, New York: Edwin Mellen Press, 2010.
  • Macias, Anna. "Women and the Mexican Revolution, 1910–1920." The Americas, 37:1 (Jul. 1980), 53–82.
  • Meyer, Michael. Huerta: A Political Portrait. Lincoln: University of Nebraska Press 1972.
  • Meyer, Michael. Mexican Rebel: Pascual Orozco and the Mexican Revolution, 1910–1915. Lincoln: University of Nebraska Press 1967.
  • Poniatowska, Elena. Las Soldaderas: Women of the Mexican Revolution. Texas: Cinco Puntos Press; First Edition, November 2006
  • Reséndez, Andrés. "Battleground Women: Soldaderas and Female Soldiers in the Mexican Revolution." The Americas 51, 4 (April 1995).
  • Ross, Stanley R. Francisco I. Madero: Apostle of Democracy. New York: Columbia University Press 1955.
  • Richmond, Douglas W. Venustiano Carranza's Nationalist Struggle: 1893–1920. Lincoln: University of Nebraska Press 1983.
  • Shadle, Stanley F. Andrés Molina Enríquez: Mexican Land Reformer of the Revolutionary Era. Tucson: University of Arizona Press 1994.
  • Smith, Stephanie J. Gender and the Mexican Revolution: Yucatán Women and the Realities of Patriarchy. North Carolina: University of North Carolina Press, 2009
  • Womack, John, Jr. Zapata and the Mexican Revolution. New York: Vintage Press 1970.

ประวัติศาสตร์ภูมิภาค แก้

  • Benjamin, Thomas and Mark Wasserman, eds. Provinces of the Revolution. Albuquerque: University of New Mexico Press 1990.
  • Blaisdell, Lowell. The Desert Revolution, Baja California 1911. Madison: University of Wisconsin Press 1962.
  • Brading, D.A., ed. Caudillo and Peasant in the Mexican Revolution. Cambridge: Cambridge University Press 1980.
  • Joseph, Gilbert. Revolution from Without: Yucatán, Mexico, and the United States, 1880–1924. Cambridge: Cambridge University Press 1982.
  • Harris, Charles H. III. The Secret War in El Paso: Mexican Revolutionary Intrigue, 1906–1920. Albuquerque: University of New Mexico Press 2009.
  • Jacobs, Ian. Ranchero Revolt: The Mexican Revolution in Guerrero. Austin: University of Texas Press 1983.
  • LaFrance, David G. The Mexican Revolution in Puebla, 1908–1913: The Maderista Movement and Failure of Liberal Reform. Wilmington, DL: Scholarly Resources 1989.
  • Snodgrass, Michael. Deference and Defiance in Monterrey: Workers, Paternalism, and Revolution in Mexico, 1890–1950. Cambridge University Press. 2003.
  • Wasserman, Robert. Capitalists, Caciques, and Revolution: The Native Elites and Foreign Enterprise in Chihuahua, Mexico, 1854–1911. Chapel Hill: University of North Carolina Press 1984.

มิติระหว่างประเทศ แก้

  • Buchenau, Jürgen, "Mexican Revolution: Foreign Intervention" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, pp. 865–869. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  • Clendenin, Clarence C. The United States and Pancho Villa: A study in unconventional diplomacy. Ithaca: Cornell University Press 1981.
  • Cline, Howard F. The United States and Mexico. 2nd edition. Cambridge: Harvard University Press 1961.
  • Gilderhus, M.T. Diplomacy and Revolution: U.S.-Mexican Relations under Wilson and Carranza. Tucson: University of Arizona Press 1977.
  • Grieb, K.J. The United States and Huerta. Lincoln: University of Nebraska Press 1969.
  • Haley, P. E. Revolution and Intervention: The diplomacy of Taft and Wilson with Mexico, 1910–1917. Cambridge, 1970.
  • Hart, John Mason. Empire and Revolution: The Americans in Mexico since the Civil War. Berkeley and Los Angeles: University of California Press 2002.
  • Katz, Friedrich. The Secret War in Mexico: Europe, the United States, and the Mexican Revolution. Chicago: University of Chicago Press 1981.
  • Meyer, Lorenzo. The Mexican Revolution and the Anglo-Saxon Powers. LaJolla: Center for U.S.-Mexico Studies. University of California San Diego, 1985.
  • Quirk, Robert E. An Affair of Honor: Woodrow Wilson and the Occupation of Veracruz. Louisville: University of Kentucky Press 1962.
  • Stefan Rinke, Michael Wildt (eds.): Revolutions and Counter-Revolutions. 1917 and its Aftermath from a Global Perspective. Campus 2017.
  • Smith, Robert Freeman. The United States and Revolutionary Nationalism in Mexico 1916–1932. Chicago: University of Chicago Press, 1972.
  • Teitelbaum, Louis M. Woodrow Wilson and the Mexican Revolution. New York: Exposition Press 1967.

มิติด้านความทรงจำและวัฒนธรรม แก้

  • Benjamin, Thomas. La Revolución: Mexico's Great Revolution as Memory, Myth, and History. Austin: University of Texas Press 2000.
  • Brunk, Samuel. The Posthumous Career of Emiliano Zapata: Myth, Memory, and Mexico's Twentieth Century. Austin: University of Texas Press 2008.
  • Buchenau, Jürgen. "The Arm and Body of a Revolution: Remembering Mexico's Last Caudillo, Álvaro Obregón" in Lyman L. Johnson, ed. Body Politics: Death, Dismemberment, and Memory in Latin America. Albuquerque: University of New Mexico Press 2004, pp. 179–207
  • Foster, David, W., ed. Mexican Literature: A History. Austin: University of Texas Press, 1994.
  • Hoy, Terry. "Octavio Paz: The Search for Mexican Identity." The Review of Politics 44:3 (July 1982), 370–385.
  • Gonzales, Michael J. "Imagining Mexico in 1921: Visions of the Revolutionary State and Society in the Centennial Celebration in Mexico City," Mexican Studies/Estudios Mexicanos vol. 25. No 2, Summer 2009, pp. 247–270.
  • Herrera Sobek, María, The Mexican Corrido: A Feminist Analysis. Bloomington: Indiana University Press 1990.
  • Oles, James, ed. South of the Border, Mexico in the American Imagination, 1914–1947. New Haven: Yale University Art Gallery 1993.
  • O'Malley, Ilene V. 1986. The Myth of the Revolution: Hero Cults and the Institutionalization of the Mexican State, 1920–1940. Westport: Greenwood Press
  • Ross, Stanley, ed. Is the Mexican Revolution Dead?. Philadelphia: Temple University Press 1975.
  • Rutherford, John D. Mexican society during the Revolution: a literary approach. Oxford: Oxford University Pres 1971.
  • Simmons, Merle. The Mexican corrido as a source of interpretive study of modern Mexico, 1900–1970. Bloomington: Indiana University Press 1957.
  • Vaughn, Mary K. Negotiating Revolutionary Culture: Mexico, 1930–1940. Tucson: University of Arizona Press 1997.
  • Weinstock, Herbert. "Carlos Chavez." The Musical Quarterly 22:4 (Oct. 1936), 435–445.

ทัศนวัฒนธรรม ภาพพิมพ์ จิตรกรรม ภาพยนตร์ และภาพถ่าย แก้

  • Barajas, Rafael. Myth and Mitote: The Political Caricature of José Guadalupe Posada and Manuel Alfonso Manila. Mexico City: Fondo de Cultura Económica 2009
  • Britton, John A. Revolution and Ideology Images of the Mexican Revolution in the United States. Louisville: The University Press of Kentucky, 1995.
  • Coffey, Mary. How a Revolutionary Art Became Official Culture: Murals, Museums, and the Mexican State. Durham: Duke University Press 2012.
  • Doremus, Anne T. Culture, Politics, and National Identity in Mexican Literature and Film, 1929–1952. New York: Peter Lang Publishing Inc., 2001.
  • Elliott, Ingrid. "Visual Arts: 1910–37, The Revolutionary Tradition." Encyclopedia of Mexico. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997, pp. 1576–1584.
  • Flores, Tatiana. Mexico's Revolutionary Avant-Gardes: From Estridentismo to ¡30–30!. New Haven: Yale University Press 2013.
  • Folgarait, Leonard. Mural Painting and Social Revolution in Mexico, 1920–1940. Cambridge: Cambridge University Press 1998.
  • Ittman, John, ed. Mexico and Modern Printmaking, A Revolution in the Graphic Arts, 1920 to 1950. Philadelphia: Philadelphia Museum of Art 2006.
  • McCard, Victoria L. Soldaderas of the Mexican revolution (The Evolution of War and Its Representation in Literature and Film), an article from West Virginia University Philological Papers 51 (2006), pgs. 43–51.
  • Mora, Carl J., Mexican Cinema: Reflections of a Society 1896–2004. Berkeley: University of California Press, 3rd edition, 2005
  • Myers, Bernard S. Mexican Painting in Our Time. New York: Oxford University Press, 1956.
  • Mraz, John. Photographing the Mexican Revolution: Commitments, Testimonies, Icons. Austin: University of Texas Press 2012.
  • Noble, Andrea, Photography and Memory in Mexico: Icons of Revolution. Manchester: Manchester University Press, 2010.
  • Noble, Andrea, Mexican National Cinema, London: Routledge, 2005.
  • Orellana, Margarita de, Filming Pancho Villa: How Hollywood Shaped the Mexican Revolution: North American Cinema and Mexico, 1911–1917. New York: Verso, 2007.
  • Ortiz Monasterio, Pablo. Mexico: The Revolution and Beyond: Photographs by Agustín Victor Casasola, 1900–1940. New York: Aperture 2003.
  • Paranagua, Paula Antonio. Mexican Cinema. London: British Film Institute, 1995.
  • Pick, Zuzana M. Constructing the Image of the Mexican Revolution: Cinema and the Archive. Austin: University of Texas Press 2010.
  • ¡Tierra y Libertad! Photographs of Mexico 1900–1935 from the Casasola Archive. Oxford: Museum of Modern Art 1985.ISBN 978-84-934426-51

ประวัติศาสตร์นิพนธ์ แก้

  • Bailey, D. M. "Revisionism and the recent historiography of the Mexican Revolution." Hispanic American Historical Review 58#1 (1978), 62–79.
  • Brunk, Samuel. The Posthumous Career of Emiliano Zapata. (University of Texas Press 2008)
  • Golland, David Hamilton. "Recent Works on the Mexican Revolution." Estudios Interdisciplinarios de América Latina y el Caribe 16.1 (2014). online
  • Knight, Alan. "Mexican Revolution: Interpretations" in Encyclopedia of Mexico, vol. 2, pp. 869–873. Chicago: Fitzroy Dearborn 1997.
  • Knight, Alan. "The Mexican Revolution: Bourgeois? Nationalist? Or Just a 'Great Rebellion'?" Bulletin of Latin American Research (1985) 4#2 pp. 1–37 in JSTOR
  • Knight, Alan. "Viewpoint: Revisionism and Revolution", Past and Present 134 (1992).
  • McNamara, Patrick J. "Rewriting Zapata: Generational Conflict on the Eve of the Mexican Revolution." Mexican Studies-Estudios Mexicanos 30.1 (2014): 122–149.
  • Tannenbaum, Frank. "Land Reform in Mexico". Annals of the American Academy of Political and Social Science, Vol. 150, Economics of World Peace (July 1930), 238–247. in JSTOR
  • Van Young, Eric. "Making Leviathan Sneeze: Recent Works on Mexico and the Mexican Revolution," Latin American Research Review (1999) 34#2 pp. 143–165 in JSTOR
  • Wasserman, Mark. "You Can Teach An Old Revolutionary Historiography New Tricks Regions, Popular Movements, Culture, and Gender in Mexico, 1820–1940," Latin American Research Review (2008) 43#2 260–271 in Project MUSE
  • Womack, John Jr. "Mexican Revolution: Bibliographical Essay" in Mexico Since Independence, Leslie Bethell, ed. Cambridge: Cambridge University Press 1991, pp. 405–414.

แหล่งข้อมูลชั้นต้น แก้

  • Angelini, Erin. "The Bigger Truth About Mexico"
  • Bulnes, Francisco. The Whole Truth About Mexico: The Mexican Revolution and President Wilson's Part Therein, as seen by a Cientifico. New York: M. Bulnes Book Company 1916.
  • O'Shaunessy, Edith. A Diplomat's Wife in Mexico. New York: Harper 1916.
  • Reed, John. Insurgent México. New York: International Publishers, 1969.
  • Turner, John Kenneth. Barbarous Mexico. Austin: University of Texas Press 1984.
  • Wasserman, Mark. The Mexican Revolution: A Brief History with Documents. (Bedford Cultural Editions Series) First Edition, 2012.

ออนไลน์ แก้