การบ้าน หรือ งานมอบหมาย หมายถึงงานที่ครูหรืออาจารย์มอบหมายให้นักเรียนหรือนักศึกษาทำให้สำเร็จนอกห้องเรียน การบ้านทั่วไปอาจประกอบด้วย ระยะเวลาให้นักเรียนได้อ่านเพิ่มเติม และแสดงออกผ่านการเขียนหรือการพิมพ์, การแสดงออกถึงทักษะในการแก้ปัญหา, การเขียนโครงงาน หรือการฝึกฝนทักษะอื่น ๆ

นักศึกษากำลังทำการบ้าน

เป้าหมายและวัตถุประสงค์ แก้

เป้าหมายพื้นฐานของการสั่งการบ้านเป็นเช่นเดียวกับการเรียนการสอนในห้องคือ เพื่อเพิ่มพูนทักษะ พัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะของผู้เรียน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ต่อต้านการสั่งการบ้านกลับมองว่า การบ้านนั้นเป็นแค่การยัดเยียดความรู้ให้ผู้เรียน โดยไม่ทำให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในเนื้อหา เป็นงานหยาบ ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อขโมยเวลามาจากเด็กโดยไม่ก่อประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม[1] การบ้านอาจจะถูกออกแบบมา เพื่อเพิ่มเติมในสิ่งที่นักเรียนได้เรียนไปแล้ว[2] และเตรียมตัวให้ผู้เรียนพร้อมต่อบทเรียนถัดไปที่ยากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้น, เพิ่มเติมความรู้ให้ผู้เรียน โดยการประยุกต์ใช้ความรู้ต่อสถานการณ์ต่าง ๆ หรือ การสนธิความรู้ในหลาย ๆ แขนงในการแก้ปัญหาเพียงปัญหาเดียว การบ้านยังคงสร้างโอกาสให้ ผู้ปกครองได้ติดตามดูแลการเรียนของลูกได้อีกด้วย

จำนวนที่ต้องการ แก้

จากการศึกษาผ่านงานวิจัยมากกว่า 60 ฉบับ พบว่า จำนวนของการบ้าน และสิ่งที่ผู้เรียนได้รับนั้นมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ผลลัพธ์จากการวิจัยพบว่า การให้การบ้านมากเกินไป กลับส่งผลลบต่อความสามารถของผู้เรียนอย่างรุนแรง การสั่งการบ้านมากเกินไปจะทำให้เด็กหยุดคิด งานวิจัยนี้สนับสนุน "กฎ 10 นาที" โดยการให้การบ้านเด็ก 10 นาทีต่อคืนต่อระดับการศึกษาของเด็ก โดย เด็ก ป.1 ควรได้รับการบ้าน 10 นาทีต่อคืน ในขณะที่เด็ก ป.5 ควรได้รับงาน 50 นาที ต่อคืน หรือ เด็ก ม.3 90 นาทีต่อคืน อีกแนวคิดหนึ่งเสนอเข้ามา คือไม่ต้องมีการบ้าน เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาและนักเรียนได้มีเวลาพักผ่อนอย่างเต็มที่ เวลาเรียนควรให้งานทำให้เสร็จภายในชั่วโมงเรียน หรือถ้างานไม่เสร็จควรให้ต่อในชั่วโมงหน้าเพื่อนักเรียนจะได้มีเวลาสอบถามอาจารย์ได้ แนวคิดนี้ได้มาจากความคิดของนักเรียนที่เครียดกับการบ้านจนจบการศึกษาและถึงเวลาเป็นพ่อแม่[3]

กลยุทธ์ แก้

เป็นธรรมดาที่การมีทักษะการเรียนที่มีประสิทธิภาพ ย่อมทำให้ทำการบ้านได้เร็วขึ้น และทำให้นักเรียนมีเวลาว่างมากขึ้น นักเรียนอาจหาทางออกโดยการลอกการบ้านเพื่อนส่งอาจารย์

กรณีที่ครูอาจารย์สั่งงานปากเปล่า หรือเขียนไว้บนกระดาน นักเรียนอาจลืมหรือจำผิดได้ ปัญหานี้แก้ได้โดยการจดบันทึกอย่างเป็นระเบียบแบบแผน ในสมุดบันทึก, สมุดวางแผน มีการแนะนำวิธีนี้แก่นักเรียนเพื่อป้องกันโอกาสลืมทำการบ้าน[4]

ถ้านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการบ้าน จะทำการบ้านด้วยความสนุกสนาน และโดยมากทำการบ้านเสร็จได้เร็วกว่านักเรียนที่มองการบ้านในแง่ลบ ความเกียจคร้านและการต่อต้านจะทำให้การทำการบ้านใช้เวลานานขึ้น การลดการรบกวน[5] โดยการทำการบ้านในห้องที่เงียบ, ปิดโทรทัศน์ ฯลฯ ซึ่งจะทำให้ใช้สมาธิในการทำการบ้านได้เต็มที่ ทำได้เร็วและมีคุณภาพ อย่างไรก็ตาม ไม่มีหลักฐานว่าวิทยุลดสมาธิในการทำการบ้านลง ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากการที่วิทยุมีแต่เสียง ไม่มีภาพมาดึงความสนใจไป[5]

อีกหนึ่งวิธีก็คือ การทำการบ้านให้ได้มากที่สุดตั้งแต่ยังอยู่ที่โรงเรียน โดยอาศัยเวลาว่างช่วงเช้า, พักกลางวัน หรือช่วงระหว่างเปลี่ยนคาบ ซึ่งจะช่วยลดเวลาทำการบ้านที่บ้านลง แต่อย่างไรก็ตาม วิธีนี้มีผลเสียคือเด็กอาจจะไม่ได้กินอาหารกลางวัน หรืออาจจะไม่ตั้งใจเรียนเนื่องจากทำการบ้านวิชาอื่นในชั้นเรียน[ต้องการอ้างอิง]

กลยุทธ์สำหรับผู้ปกครอง แก้

การเข้ามาดูแลช่วยเหลือเด็กทำการบ้านของผู้ปกครอง จะช่วยส่งผลดีต่อกระบวนการทำการบ้าน แต่การเข้ามาวุ่นวายมากเกินไป กลับส่งผลร้ายต่อตัวเด็กเอง[6]

ผู้ปกครองยังสามารถช่วยจัดตารางเวลา และจัดเตรียมสถานที่ทำการบ้านให้ได้ โดยสถานที่ที่เหมาะสมควรจะต้องเงียบ ทำให้สามารถรวมสมาธิทำการบ้านได้อย่างเต็มที่ ห้องที่มีพื้นเรียบ, ไฟสว่างเพียงพอ, มีอุปกรณ์เครื่องเขียนครบครัน และมีพจนานุกรม เป็นสิ่งสำคัญมาก

ครูต้องการจะรู้ถึงความเข้าใจของเด็ก และความสามารถที่จะทำงานได้อย่างเป็นอิสระ ปราศจากความช่วยเหลือ, มักจะแนะนำผู้ปกครองไม่ให้ทำการบ้านให้เด็ก, ไม่ให้แก้การบ้านให้เด็ก และไม่ให้เขียนให้เด็กลอกตาม เกรดหรือคะแนนจากครู ควรจะเป็นสิ่งชี้บ่งถึงความสามารถของตัวเด็กเอง ไม่ใช่ความสามารถของผู้ปกครอง หรือการทำงานร่วมกันของเด็กและผู้ปกครอง

อย่างไรก็ตาม บางครั้งครูอาจจะให้การบ้านที่เกินความสามารถของเด็กที่จะทำได้ด้วยตัวเอง เพื่อที่จะให้ผู้ปกครองเข้ามาช่วยเหลือเด็กนักเรียนเช่นกัน

การเรียนรู้ด้วยตัวเอง สมควรจะได้รับการปฏิบัติใช้และพัฒนาโดยการแนะนำเด็ก เช่น แนะนำวิธีการหาข้อมูลคำตอบ หรือวิธีการใช้พจนานุกรม มากกว่าการบอกคำตอบให้เด็ก

การให้เด็กอ่านออกเสียง สามารถช่วยให้ผู้ปกครองช่วยแก้ไขข้อผิดพลาดให้เด็กและทำให้ทักษะการอ่านดียิ่งขึ้น

การที่ผู้ปกครองทำการบ้านไปพร้อม ๆ กับเด็ก นอกจากจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เด็กแล้ว ยังช่วยให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อการทำการบ้านอีกด้วย

หนึ่งในกุญแจที่ผู้ปกครองสามารถทำได้คือ การเจรจากับครูถ้าการบ้านนั้นเยอะเกินไป หรือไม่เหมาะสมต่ออายุของนักเรียน การเจรจาต่อรองนี้ อาจจะกระทำได้โดยการคุยกับครูตัวต่อตัว หรือผ่านเจ้าหน้าที่ของโรงเรียน หรือร่วมมือกับผู้ปกครองท่านอื่น หรือ สมาคมผู้ปกครองและครู เพื่อลดปริมาณการบ้านที่เกินไปให้กับเด็กทั้งห้องหรือโรงเรียน[7]

ประสิทธิภาพของการสอนและการบ้าน แก้

การบ้านจะช่วยพัฒนาความสามารถ เมื่อการบ้านนั้นมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน อีกทั้งพ้องต่อความสามารถของเด็กแต่ละคน และเนื้อหาที่สอนในบทเรียนนั้น ๆ การให้ข้อเสนอแนะ/ความเห็นต่อการบ้าน จะเพิ่มประสิทธิภาพของการบ้านได้ โดยเฉพาะเมื่อตอบสนองอย่างเหมาะสม (ภายใน 24 ชั่วโมง) การตอบสนองต่อการบ้าน ช่วยแก้ไขข้อเข้าใจผิด, ทำให้กระบวนการสอนดำเนินต่อไป และชี้จุดผิดพลาดในกระบวนการคิด การเขียนข้อแนะนำ จะช่วยให้ผลตอบรับส่งผลได้ดียิ่งขึ้นกว่าเพียงการให้คะแนน การบ้านควรจะทำให้มีประสิทธิภาพอย่างจริงจัง การทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาได้ 50% จะมาจากการทำการบ้านเพียง 4 ครั้ง แต่การทำให้เด็กเข้าใจในเนื้อหาได้ 80% อาจจะต้องให้ฝึกฝนถึง 28 ครั้ง[8]

นอกจากนี้ ครูอาจจะกระตุ้นผู้ปกครองให้เห็นความสำคัญของการบ้านอีกโสตหนึ่ง เพื่อให้การสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้โอกาสผู้ปกครองได้คุ้นเคยกับแบบเรียน และพัฒนาการของเด็ก อีกทั้งอาจจะกระตุ้นให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการบ้านของเด็กอีกด้วย[9] ข้อความ ไม่ว่าจะด้วยคำพูดหรือโน้ตข้อความ มีแนวโน้มว่าจะหายระหว่างทาง หรือถูกบิดเบือน เมื่อครูใช้นักเรียนเป็นผู้นำสารไปมอบให้ผู้ปกครอง การสื่อสารกับผู้ปกครองโดยตรงย่อมจะมีประสิทธิภาพมากกว่า อีกทั้งยังป้องกันการเกิดความเข้าใจผิดได้ในทุกกรณีอีกด้วย วิธีการที่สามารถสื่อผลตอบสนองไปถึงผู้ปกครองได้ คือการรายงานผ่านการบ้าน (ถึงทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง) รวมทั้งผ่าน โทรศัพท์, จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือกระทู้บนอินเทอร์เน็ต

วิพากษ์ แก้

จำนวนครู นักเรียน และผู้ปกครองที่ต่อต้านการทำการบ้าน หรืออย่างน้อยจำกัดปริมาณการทำการบ้านนั้น กำลังเพิ่มมากขึ้น เหตุผลหลักคือความเชื่อที่ว่า นักเรียนเองก็เรียนได้จากกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ที่นอกเหนือไปจากตำราเรียนในห้อง การใช้เวลาทั้งวันในห้องเรียน และเกือบทั้งคืนเพื่อการเรียน จะทำให้นักเรียนขาดการปฏิสัมพันธ์ ขาดเวลาว่าง ขาดการออกกำลังกาย และไม่มีโอกาสได้สัมผัสประสบการณ์พิเศษนอกเหนือจากตำรา ความสามารถพิเศษและความสนใจเฉพาะของนักเรียน ไม่สามารถสร้างได้ในห้องเรียน โดยการเจาะจงเฉพาะไปที่วิชาบางวิชา

ยิ่งไปกว่านั้น จากการวิจัยพบว่า การบ้านนั้นมีคุณค่าทางการศึกษาน้อยนิด และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเด็กเล็ก อายุต่ำกว่า 14 ปี ว่าการบ้านกลับส่งผลลบต่อการเรียนรู้[10][11]

ประวัติศาสตร์ของการบ้าน แก้

ในสหรัฐอเมริกา แก้

โดยประวัติศาสตร์ การบ้านเป็นผลพวงจากวัฒนธรรมอเมริกัน ด้วยจำนวนนักเรียนเพียงไม่กี่คนที่สนใจในการศึกษาระดับที่สูงกว่า และเพื่อที่จะทำงานประจำวัน การบ้านถูกลดความสำคัญลง ไม่เพียงแค่โดยผู้ปกครอง แต่ยังรวมไปถึงศึกษาธิการเขต ในปี พ.ศ. 2444, รัฐสภาแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย ผ่านกฎหมายไม่ให้มีการให้การบ้านแก่นักเรียน ตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลไปจนถึงระดับ 8 แต่ในคริสต์ทศวรรษ 1950 (ระหว่าง พ.ศ. 2493-2503) อิทธิพลจากการแข่งขันในสงครามเย็นกดดันให้อเมริกาให้ความสำคัญแก่การบ้านอีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้เยาวชนอเมริกันมีความสามารถมากกว่าหรือเทียบเท่ากับรัสเซียคู่แข่ง แต่หลังสิ้นสุดสงครามเย็นใน พ.ศ. 2534 ยังมีการสั่งการบ้านให้นักเรียนทำอย่างมากในการศึกษาทุกระดับชั้น[12]

จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยมิชิแกน ในปี พ.ศ. 2550 สรุปได้ว่าปริมาณการบ้านเพิ่มขึ้นตามเวลา ในกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มขึ้นมาในเด็กอายุระหว่าง 6 ถึง 9 ปี แสดงให้เห็นว่า เด็กใช้เวลาทำการบ้านมากกว่า 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ในขณะที่ในปี พ.ศ. 2524 เด็กใช้เวลาทำการบ้านเพียง 44 นาที[13]

อ้างอิง แก้

  1. "After years of teachers piling it on, there's a new movement to ... Abolish homework". Retrieved on 2007-12-09. “Vigorous scrutiny of the research, they argue, fails to demonstrate tangible benefits of homework, particularly for elementary students. What it does instead, they contend, is rob children of childhood, play havoc with family life and asphyxiate their natural curiosity. Learning becomes a mind-numbing grind rather than an engaging adventure.
  2. Needlmen, Robert (2001-05-08). "Homework: The Rules of the Game". เก็บถาวร 2009-02-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน The Dr. Spock Company. Retrieved on 2007-03-25.
  3. "Duke Study: Homework Helps Students Succeed in School, As Long as There Isn't Too Much". เก็บถาวร 2011-03-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2007-03-25.
  4. Fleming, Grace. "Top 5 Tips for Remembering Homework Assignments". About, Inc.. Retrieved on 2007-03-25.
  5. 5.0 5.1 "Tips For Helping Kids and Teens With Homework and Study Habits". เก็บถาวร 2008-07-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Child Development Institute, LLC. Retrieved on 2007-03-25.
  6. General Homework Tips For Parents, White House Initiative on Educational Excellence for Hispanic Americans, <http://www.yic.gov/publications/homework/general.html เก็บถาวร 2007-02-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน>. Retrieved on 25 March 2007
  7. Bennett, Sara & Kalish, Nancy, The Case Against Homework: how homework is hurting our children and what we can do about it, ISBN 0307340171
  8. "Focus on effectiveness: Research-based Strategies; Northwest Regional Educational Laboratory.". เก็บถาวร 2014-05-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2007-03-25.
  9. Wood, Chip. "Strategies to overcome the struggles and help all students succeed". เก็บถาวร 2007-01-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Responsive Classroom. Retrieved on 2007-03-25.
  10. Kohn, Alfie, The Homework Myth: why our kids get too much of a bad thing, ISBN 0738210854
  11. Bennett, Sara & Kalish, Nancy, The Case Against Homework: how homework is hurting our children and what we can do about it, ISBN 0307340171
  12. "History of Homework". เก็บถาวร 2000-04-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Retrieved on 2007-03-24.
  13. Seligman, Katherine (1999-12-19). "Parents: Too much homework". เก็บถาวร 2000-04-14 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Hearst Communications Inc.. Retrieved on 2007-03-25.

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

หนังสือ แก้

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้ปกครอง แก้

แหล่งข้อมูลสำหรับผู้เรียน แก้

แหล่งข้อมูลสำหรับครู/อาจารย์ แก้