การวิจัยดำเนินการ

(เปลี่ยนทางจาก การบริหารการจัดการ)

การวิจัยดำเนินงาน บ้างเรียก การวิจัยปฏิบัติการหรือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรียกย่อ ๆว่า โออาร์ (อังกฤษ: Operations research) เป็นการใช้แบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ สถิติ และขั้นตอนวิธีช่วยในการตัดสินใจ โดยปกติจะใช้การวิจัยดำเนินงานในการวิเคราะห์ระบบที่มีอยู่ในโลกจริงที่มีความซับซ้อน โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่เหมาะสมที่สุด การวิจัยดำเนินงานถือเป็นสาขาย่อยของคณิตศาสตร์ประยุกต์

คำว่าการวิจัยดำเนินงานและวิทยาการบริหารจัดการ นั้นปกติจะใช้ในความหมายใกล้เคียงกัน โดยวิทยาการบริหารจัดการนั้นปกติจะมีเฉพาะเจาะจงกับปัญหาทางด้านการบริหาธุรกิจมากกว่า ส่วนการวิจัยดำเนินงานจะเกี่ยวกับวิศวกรรมอุตสาหการซึ่งมองปัญหาเชิงวิศวกรรม โดยใช้เทคนิคโออาร์เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาเหล่านั้น

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดำเนินงานคือ สถิติ (statistics) การหาค่าเหมาะที่สุด (optimization) การสโทแคสติก (stochastic) ทฤษฎีแถวคอย (queuing) ทฤษฎีเกม (Game's theory) และ การจำลอง(simulation) และเนื่องจาก OR มีการใช้การคำนวณเชิงคอมพิวเตอร์จึงมีความเกี่ยวเนื่องกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ นักวิจัยดำเนินงานปกติจะต้องพัฒนาหรือปรับปรุงซอฟต์แวร์เอง

การวิจัยดำเนินงานมีจุดเด่นตรงที่ความสามารถในการพัฒนาระบบทั้งระบบ ไม่เฉพาะเจาะจงกับการแก้ไขปัญหาย่อยเพียงอย่างเดียว โดยนักวิจัยดำเนินงานจะแก้ปัญหาโดยพิจารณาว่า วิธีหรือเทคนิคใดที่เหมาะสมกับธรรมชาติของระบบนั้น ๆ พิจารณาเป้าหมายของการปรับปรุง และ เงื่อนไขประสิทธิภาพเชิงเวลา และโดยมากแล้วปัญหาทางเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเองมักไม่สามารถแก้ได้ด้วยเทคนิคของการวิจัยดำเนินงานเท่านั้น ต้องอาศัยเทคนิคอื่นมาร่วมแก้ไขปัญหาด้วย

วิทยาการบริหารจัดการ แก้

วิทยาการบริหารจัดการ (Management science) หรือเรียกย่อว่า เอ็มเอส เป็นศาสตร์ว่าด้วยการใช้คณิตศาสตร์ และแบบจำลองเชิงวิเคราะห์อื่น ๆ ช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ มีความคล้ายกับการวิจัยดำเนินงานหรือโออาร์ แต่เอ็มเอสจะเน้นเชิงประยุกต์มากกว่าทฤษฎี

สาขาภายใต้วิทยาการบริหารจัดการคือ การวิเคราะห์การตัดสินใจ การหาค่าเหมาะที่สุด การจำลอง การทำนาย ทฤษฎีเกม แบบจำลองเครือข่ายและการจราจร การสร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ การทำเหมืองข้อมูล สถิติและความน่าจะเป็น การวิเคราะห์เชิงการแปรสัณฐาน การจัดการทรัพยากร การบริหารโครงการ และ อื่น ๆ

นักวิทยาการบริหารจัดการจะใช้เทคนิคเชิงตรรก ที่เป็นระบบ และเป็นเชิงวิทยาศาสตร์ ในการตัดดำเนินการและพัฒนาการตัดสินใจทุกรูปแบบ โดยเทคนิคเหล่านี้ไม่ได้ใช้เฉพาะด้านการประยุกต์เชิงธุรกิจแต่ใช้ได้กับ การทหาร การแพทย์ การบริหารจัดการสาธารณะ กลุ่มส่วนแบ่ง กลุ่มการเมือง และ กลุ่มชุมชน

เอ็มเอสยังเกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงดำเนินงานแบบซอฟต์ ซึ่งเกี่ยวกับวิธีในการวางแผนกลยุทธ์ การสนับสนุนการตัดสินใจ และ วิธีการวางโครงสร้างปัญหา (พีเอสเอ็ม) โดยทำในระดับร่างแนวคิด โดยไม่มีการสร้างแบบจำลองเชิงคณิตศาสตร์ และ การจำลอง แต่อย่างใด