การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อังกฤษ: Tourism Authority of Thailand, ชื่อย่อ: ททท., TAT) เป็นรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยภายใต้กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีหน้าที่ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยและปกป้องสิ่งแวดล้อม[2] ปัจจุบันผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย คือ ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ซึ่งดำรงตำแหน่งต่อจาก ยุทธศักดิ์ สุภสร โดยมติเห็นชอบของคณะกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2566[3]

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
Tourism Authority of Thailand
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522; 44 ปีก่อน (2522-05-05)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • สำนักงานส่งเสริมการท่องเที่ยว กรมโฆษณาการ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • องค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
สำนักงานใหญ่1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี6,774.5022 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
เว็บไซต์www.tat.or.th

ประวัติ แก้

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดตั้งขึ้นตาม พระราชบัญญัติการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๒ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 โดยวัตถุประสงค์ของการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้คือ

เพื่อจัดตั้งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยแทนองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว และให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ในการส่งเสริมและดำเนินกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

โดยได้ยกเลิก พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยว พ.ศ. ๒๕๐๒ และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม

ที่ตั้งและสำนักงานสาขา แก้

สำนักงานใหญ่ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยตั้งอยู่เลขที่ 1600 ถนนเพชรบุรี แขวงมักกะสัน เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยยังมีสำนักงานสาขาตามจังหวัดต่าง ๆ และสำนักงานสาขาในต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันสาขาในประเทศไทยแบ่งหน่วยงานรับผิดชอบดังนี้

ภาคเหนือ แก้

  • สำนักงานแม่ฮ่องสอน (แม่ฮ่องสอน)
  • สำนักงานเชียงใหม่ (เชียงใหม่)
  • สำนักงานลำปาง (ลำปาง ลำพูน)
  • สำนักงานเชียงราย (เชียงราย พะเยา)
  • สำนักงานแพร่ (แพร่ อุตรดิตถ์)
  • สำนักงานสุโขทัย (สุโขทัย กำแพงเพชร)
  • สำนักงานตาก (ตาก)
  • สำนักงานพิษณุโลก (พิษณุโลก เพชรบูรณ์)
  • สำนักงานอุทัยธานี (อุทัยธานี)
  • สำนักงานนครสวรรค์ (นครสวรรค์ พิจิตร)
  • สำนักงานน่าน (น่าน)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แก้

  • สำนักงานเลย (เลย)
  • สำนักงานอุดรธานี (อุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ)
  • สำนักงานนครพนม (นครพนม มุกดาหาร และสกลนคร)
  • สำนักงานขอนแก่น (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด)
  • สำนักงานอุบลราชธานี (อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ยโสธร ศรีสะเกษ)
  • สำนักงานบุรีรัมย์
  • สำนักงานสุรินทร์ (สุรินทร์)
  • สำนักงานนครราชสีมา (นครราชสีมาและชัยภูมิ)

ภาคตะวันออก แก้

  • สำนักงานนครนายก (นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว)
  • สำนักงานระยอง (ระยอง)
  • สำนักงานตราด (ตราด)
  • สำนักงานชลบุรี พัทยา (ชลบุรี)
  • สำนักงานฉะเชิงเทรา (ฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ)
  • สำนักงานจันทบุรี (จันทบุรี)

ภาคกลาง แก้

  • สำนักงานกรุงเทพมหานคร (กรุงเทพมหานคร)
  • สำนักงานพระนครศรีอยุธยา (พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี และสระบุรี)
  • สำนักงานลพบุรี (ลพบุรี อ่างทอง สิงห์บุรี และชัยนาท)
  • สำนักงานสุพรรณบุรี (สุพรรณบุรี สมุทรสาคร นครปฐม)
  • สำนักงานสมุทรสงคราม (สมุทรสงคราม)
  • สำนักงานราชบุรี (ราชบุรี)
  • สำนักงานกาญจนบุรี (กาญจนบุรี)
  • สำนักงานเพชรบุรี (เพชรบุรี)
  • สำนักงานประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์)

ภาคใต้ แก้

  • สำนักงานชุมพร (ชุมพรและระนอง)
  • สำนักงานพังงา (พังงา)
  • สำนักงานภูเก็ต (ภูเก็ต)
  • สำนักงานกระบี่ (กระบี่)
  • สำนักงานสุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี ยกเว้นเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า)
  • สำนักงานเกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี เฉพาะเกาะสมุย เกาะพะงัน และเกาะเต่า)
  • สำนักงานนครศรีธรรมราช (นครศรีธรรมราช)
  • สำนักงานตรัง (ตรังและพัทลุง)
  • สำนักงานหาดใหญ่ (สงขลา)
  • สำนักงานนราธิวาส (นราธิวาส ปัตตานี และยะลา)
  • สำนักงานสตูล

สำนักงานในต่างประเทศ แก้

ทวีปเอเชีย แก้

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แก้

ทวีปยุโรป แก้

ทวีปอเมริกาเหนือ แก้

ทวีปออสเตรเลีย แก้

อนุสาร อ.ส.ท. แก้

อนุสาร อ.ส.ท. เป็นนิตยสารท่องเที่ยวขององค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท.) (ปัจจุบันเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) ออกวางตลาดเป็นปฐมฤกษ์ ในฉบับเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2503 โดยคำว่าอนุสาร หมายถึงสารฉบับเล็ก มียอดพิมพ์ครั้งแรก 50,000 ฉบับ เนื้อหานำเสนอเรื่องราวของแหล่งท่องเที่ยวในประเทศไทย ทั้งในด้านธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต และแม้ว่าองค์การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ท.ท.ท.) ในปี พ.ศ. 2522 อนุสาร อ.ส.ท.ก็ยังใช้ชื่อเดิมมาจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2551 มียอดพิมพ์สูงถึง 100,000 ฉบับต่อเดือนนับเป็นนิตยสารท่องเที่ยวที่อายุยืนนานที่สุด และมียอดจำหน่ายสูงสุดของประเทศไทย[4]

รางวัล แก้

ปี รางวัล สาขา ผล
2566 Thailand Social Awards 2023[5] Best Brand Performance on Social Media กลุ่มหน่วยงานรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจ ชนะ

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. Five ways Thailand is taking responsible tourism seriously
  3. "การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ไฟเขียวแต่งตั้ง ฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ เป็นผู้ว่าฯ ททท. คนใหม่". www.thairath.co.th. 2023-05-26.
  4. "อนุสาร อ.ส.ท.", gaming.youtube.com, april 8, 2017
  5. "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้