การตรวจไขกระดูก

การตรวจไขกระดูกหมายถึงการวิเคราะห์ทางพยาธิสภาพของไขกระดูกที่ได้จากการตัดเนื้อออกตรวจ (biopsy) และการดูดออกจากไขกระดูก (aspiration) การตรวจไขกระดูกใช้สำหรับตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาวและโลหิตจาง เป็นต้น ไขกระดูกผลิตองค์ประกอบระดับเซลล์ของเลือด เช่น เกล็ดเลือด เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว เป็นต้น แม้ว่าเราสามารถเก็บข้อมูลได้จากการทดสอบเลือดโดยตรง (ดึงจากเส้นเลือดดำโดยการผ่าหลอดเลือดดำ (Phlebotomy)) แต่บางครั้งก็จำเป็จต้องตรวจจากแหล่งกำเนิดเลือดในไขกระดูกเพื่อได้ข้อมูลมากขึ้นในการสร้างเม็ดเลือด (Haematopoiesis) และนี่คือบทบาทสำคัญของการตรวจไขกระดูก

การตรวจไขกระดูก
ภาพเสมียร์ไขกระดูกย้อมสีไรท์ของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
MeSHD001856

กระบวนการและองค์ประกอบ แก้

 
การเก็บเกี่ยวไขกระดูก
 
อาสาสมัครกำลังบริจาคไขกระดูกเพื่อการวิจัย

การเก็บตัวอย่างไขกระดูกสามารถทำได้โดยการดูดออกและการตัดเนื้อออกตรวจ หรือบางครั้งรวมก็รวมทั้งสองวิธี การดูดออกได้ไขกระดูกในลักษณ์กึ่งของเหลวที่สามารถตรวจโดยพยาธิแพทย์จะวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ เครื่องนับเซลล์ (flow cytometry) หรือ วิเคราะห์โดยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรส (polymerase chain reaction; PCR) การตัดเนื้อออกตรวจโดยทั่วไปจะใช้ชิ้นไขกระดูกขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2 มิลลิเมตร และยาว 2 เซนติเมตร (ปริมาตร 80 ไมโครลิตร) แล้วจึงตรวจในระดับจุลภาคทั้งลักษณะเซลล์ (cellularity) และการซึมทะลุ (Infiltration) การดูดออกจะได้ไขกระดูก 300 ไมโครลิตรจากหลอดฉีดยาขนาด 20 มิลลิลิตร[1] ไม่แนะนำให้ดูดไขกระดูกมากกว่า 300 ไมโครลิตรเพราะตัวอย่างอาจถูกเจือจางด้วยเลือด[1]

ตารางเปรียบเทียบระหว่างการดูดออกและการตัดเนื้อออกตรวจ

การดูดออก การตัดเนื้อออกตรวจ
ข้อดี
  • ให้ข้อมูลภาวะเซลล์และสตอมา
  • แสดงให้เห็นเซลล์ทั้งหมด
  • อธิบายสาเหตุของ dry tap ได้
ข้อเสีย
  • ไม่แสดงเซลล์ทุกชนิด
  • ใช้เวลานาน

ตำแหน่งการตรวจ แก้

ทั้งการดูดและการตัดเนื้อไขกระดูกโดยทั่วไปจะกระทำบริเวณหลังกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกรานชิ้น Iliac crest (posterior) การดูดไขกระดูกยังสามารถทำได้ที่กระดูกสันอกบริเวณ intercostals space ช่อง 2 ชิดกับ manubrium แต่ไม่ควรใช้วิธีการตัดเนื้อไขกระดูกเพราะเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บที่หลอดเลือด ปอด และหัวใจได้

วิธีการตรวจ แก้

 
เข็มสำหรับการดูดไขกระดูกพร้อมใส้เข็มถอดได้

หลังจากการตรวจ แก้

ข้อห้ามใช้ แก้

ภาวะแทรกซอน แก้

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้