การก่อตั้งพรีเมียร์ลีก

การก่อตั้งพรีเมียร์ลีก เกิดขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1990 ข้อเสนอสำหรับการก่อตั้งลีกใหม่ได้จัดทำขึ้นเมื่อจบฤดูกาล 1990–91 โดยได้รับการสนับสนุนจาก 18 สโมสรในดิวิชัน 1 รวมถึงสมาคมฟุตบอล (เอฟเอ) ผ่าน "Blueprint for the Future of Football"[1] พรีเมียร์ลีกเกิดขึ้นจริงตามลำดับ ได้แก่ การลงนามในข้อตกลงสมาชิกผู้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1991 ภายหลังทั้ง 18 สโมสรได้จัดการแจ้งการลาออกจากฟุตบอลลีกร่วมกันและเดินหน้าครั้งสุดท้ายในการยื่นหนังสือลาออกจากเอฟเอ ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการฟุตบอลลีก[2]

พรีเมียร์ลีกถูกสร้างขึ้น "เพื่อป้องกันไม่ให้สโมสรชั้นนำสูญเสียรายได้ให้กับลีกล่าง" แต่ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มรายได้ของสโมสรเมื่อมีการต่ออายุสัญญาถ่ายทอดสดทางโทรทัศน์[3] ไอทีวีได้รับสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลลีก โดยจ่ายเงิน 44 ล้านปอนด์ตลอดระยะเวลา 4 ปี (1988–1992)[4] ข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากการถอนการเสนอราคาร่วมกันของบีบีซี และบริติชแซทเทลไลท์บรอดแคสติง (บีเอสบี)[5] ต่อมา สถานีโทรทัศน์ทั้ง 2 แห่งได้รับสิทธิ์ในการถ่ายทอดสดฟุตบอลเอฟเอคัพ[6]

พรีเมียร์ลีกตั้งขึ้นโดยมีคณะกรรมการ 2 คน ซึ่งแตกต่างจากฟุตบอลลีกคือ ริก แพร์รี ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และเซอร์ จอห์น ควินตัน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานของลีกในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991[2][7] การตัดสินใจจะกระทำโดยสมาชิกสโมสรทั้งหมด ผ่านการโหวต 1 สโมสรต่อ 1 เสียง เสียงข้างมากเป็นเอกฉันท์ต้องการ 2 ใน 3[8]

บิ๊ก 5 แก้

ก้าวแรกที่สำคัญในการก่อตั้งพรีเมียร์ลีกเกิดขึ้นในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1990 เมื่อ เกร็ก ไดค์ กรรมการผู้จัดการของลอนดอนวีคเอนด์เทเลวิชัน ได้พบกับตัวแทนของสโมสรระดับ "บิ๊ก 5" ของดิวิชัน 1 ได้แก่ เดวิด ดีน ของอาร์เซนอล, ฟิลิป คาร์เตอร์ ของเอฟเวอร์ตัน, โนเอล ไวท์ ของลิเวอร์พูล, มาร์ติน เอ็ดเวิดส์ ของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด และเออร์วิง สกอลาร์ ของทอตนัมฮอตสเปอร์[9] การประชุมครั้งนั้นเป็นการปูทางไปสู่การแยกตัวออกจากฟุตบอลลีก

สื่อพูดถึงซูเปอร์ลีกของสโมสรชั้นนำในอังกฤษบ่อยครั้งตั้งแต่ช่วงกลางคริสต์ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมา[10] ความแตกต่างขั้นพื้นฐานระหว่างฟุตบอลลีกแบบเก่ากับฟุตบอลลีกแบบใหม่ (ซึ่งกลายมาเป็นพรีเมียร์ลีก) คือเงินในลีกใหม่จะถูกแบ่งให้กับสโมสรเฉพาะในลีกนั้น ในขณะที่ในฟุตบอลลีกจะแบ่งให้กับทุกสโมสรใน 3 ลีก แผนดังกล่าวออกแบบให้พรีเมียร์ลีกมี 18 สโมสรในฤดูกาล 1992-93 แม้ว่าเพิ่งประกาศเพิ่มสโมสรในดิวิชั่น 1 จาก 20 เป็น 22 สโมสรในฤดูกาล 1991-92 อย่างไรก็ตาม 14 จาก 22 สโมสรที่จะแข่งขันในดิวิชัน 1 ของฤดูกาลนั้นตกลงที่จะก่อตั้งลีกของตนเองหากสมาคมฟุตบอลไม่อนุมัติให้ก่อตั้งลีก

สโมสรทั้ง 5 ตัดสินใจว่าเป็นความคิดที่ดีและตัดสินใจดำเนินการต่อไป อย่างไรก็ตาม ลีกจะไม่มีความน่าเชื่อถือหากไม่ได้รับการสนับสนุนจากสมาคมฟุตบอล ดังนั้น เดวิด ดีน ของอาร์เซนอล จึงจัดการเจรจาเพื่อดูว่าเอฟเอจะยอมรับแนวคิดนี้หรือไม่

อ้างอิง แก้

  1. Conn, David (14 November 2004). "How the FA betrayed their own game". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 24 September 2013.
  2. 2.0 2.1 Bose, p. 73.
  3. King, p. 110.
  4. Ball, Peter (1 October 1991). "ITV's monopoly threatened by Premier League". The Times. p. 37.
  5. Ball, Peter (3 August 1988). "Clubs are left with an option of one". The Times. p. 40.
    Ball, Peter (9 August 1988). "Angry bargaining as clubs agree to ITV's £11m offer". The Times. p. 37.
  6. Ball, Peter (24 November 1988). "Live FA Cup ties on TV late show". The Times. p. 44.
  7. Lovejoy, Joe (9 December 1991). "Bank chairman is Premier figurehead". The Independent. London. p. 32.
  8. Morrow, p. 53.
  9. Evans, Anthony; Conolly, Thomas; Lai, Stephen; Whitfield, Matthew; Bainbridge, James; Mellor, Andrew (27 December 2005). "Kerry Packer (1937-2005)". The Filter^.
  10. "UEFA survived Super League breakaway, but here's how they could fix what's broken in European soccer". ESPN.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-10-14.

บรรณานุกรม แก้

  • Bose, Mihir (2012). Game Changer: How the English Premier League Came to Dominate the World. London: Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. ISBN 981-4328-18-9.
  • King, Anthony (2002). End of the Terraces: The Transformation of English Football. London: Continuum. ISBN 0-7185-0259-0.
  • Morrow, Stephen (2011). "History, Longevity, and Change: Football in England and Scotland". ใน Gammelsæter, Hallgeir; Senaux, Benoit (บ.ก.). The Organisation and Governance of Top Football Across Europe. London: Continuum. pp. 46–62. ISBN 0-415-88378-4.
  • Robinson, Joshua; Clegg, Jonathan (2018). The Club: How the Premier League Became the Richest, Most Disruptive Business in Sport. London: John Murray. ISBN 9781473699519.

ดูเพิ่ม แก้