กะโหลกไขว้ (อังกฤษ: Skull and crossbones) เป็นสัญลักษณ์ที่ประกอบด้วยภาพหัวกะโหลกมนุษย์ และกระดูกยาวสองชิ้นไขว้กันอยู่ด้านล่าง เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้เพื่อสื่อถึงความตายมาตั้งแต่ยุคกลาง และพบได้ทั่วไปบนป้ายหลุมศพในสมัยนั้น

สัญลักษณ์กะโหลกไขว้บนป้ายเตือนไฟฟ้าแรงสูง ในนครมุมไบ ประเทศอินเดีย
สัญลักษณ์วัตถุมีพิษ ตามมาตรฐานของ สหภาพยุโรป

ในปัจจุบัน สัญลักษณ์กะโหลกไขว้จะถูกใช้ในป้ายเตือนสถานที่หรือวัตถุที่มีอันตรายถึงตาย โดยเฉพาะบนฉลากของสารพิษ

ตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 18 สัญลักษณ์กะโหลกไขว้ถูกใช้โดยเป็นทางการในกองทัพยุโรป เอกรัฐหนึ่งในกองทัพหนึ่งในปี 1741 คือ ฮุซาร์ฟริเดอริเซียน ซึ่งเรียกว่า "ฮุซาร์กะโหลก" แล้วจากต้นกำเนิดนี้กะโหลกก็กลายเป็นสัญลักษณ์สำคัญในกองทัพเยอรมัน มันถูกใช้ในกองทัพปรัสเซียหลังจาก สงครามโลกครั้งแรก โดยฟรายคอร์ปส์ และในเยอรมนาเนชันอัลเร็คทูงเดยชะโรงโดยเเละชุทซ์ชตัฟเฟิล[1]

สัญลักษณ์นี้ ปรากฎเป็นอักขระยูนิโค้ด ลำดับที่ U+2620 (☠) SKULL AND CROSSBONES

  1. Ruda, Adrian (2023). Der Totenkopf als Motiv. Eine historisch-kulturanthropologische Analyse zwischen Militär und Moden (ภาษาเยอรมัน). Köln: Böhlau/Brill. ISBN 9783412528904.