กะละแม เป็นขนมไทยลักษณะเป็นแป้งเหนียวสีดำ เป็นขนมหนึ่งในสามชนิดที่นิยมทำขึ้นในวันปีใหม่ของคนไทยในสมัยก่อน ซึ่งจะต้องทำให้เสร็จก่อนวันสงกรานต์ คือ ข้าวเหนียวแก้ว ข้าวเหนียวแดง และกะละแม [1] ยังไม่ทราบว่ากะละแมมีที่มาจากขนมหวานของชาติใด บางท่านกล่าวว่ามาจากขนมกาลาเม็กของฝรั่งเศส หรือคาราเมลของอังกฤษ หรือเกละไมของชาวมลายู พุทธทาสภิกขุตั้งข้อเสนอว่าน่าจะมาจากขนมฮูละวะของอินเดียที่มีส่วนผสมเป็นนม แป้ง และน้ำตาล[2] ส่วนราชบัณฑิตยสถานกล่าวว่า ขนมชนิดนี้ได้มาจากมอญและพม่า เรียกว่า กฺวายฺนกลาแม (อ่านว่า กฺวาน-กะ-ลา-แม)[3]

กะละแมมี 2 ชนิด แบ่งตามวิธีการกวนคือ [2]

ลักษณะที่เห็นตามที่ไทย
  • กะละแมเม็ด (ดั้งเดิม) กะละแมแบบนี้สีเข้ม ขนมอาจจะมีลักษณะเป็นจุดๆแทรกอยู่
  • กะละแมแป้ง แต่ใส่แป้งข้าวเหนียวแทนเม็ดข้าวเหนียว กะละแมที่กวนขายในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นกะละแมแป้งเพราะทำง่ายกว่า

ขนมโดดอล แก้

ทางภาคใต้จะมีขนมที่มีลักษณะคล้ายกะละแมเรียกขนมโดดอล ขนมดอดอยหรือยาหนม (จ.นครศรีธรรมราช) ซึ่งใช้ในพิธีการต่างๆ เช่น กินสมางัต แบ่งเป็น 2 ชนิดคือโดดอลข้าวเจ้ากับโดดอลข้าวเหนียว โดดอลข้าวเหนียว ประกอบด้วยแป้งข้าวเหนียว น้ำกะทิ น้ำตาลทรายกวนในกระทะจนร้อน เหนียว แป้งเป็นสีน้ำตาล ขึ้นเงา โดดอลข้าวเจ้า ใช้แป้งข้าวเจ้า กะทิและน้ำตาลโตนด โดยมีวิธีปรุงเช่นเดียวกัน[4]

 
ลักษณะขนมดอดอล

อ้างอิง แก้

  1. กาละแม จากเว็บข่าวเดลินิวส์
  2. 2.0 2.1 เส้นทางขนมไทย. กทม. แสงแดด. 2553. หน้า 171-174
  3. http://www.royin.go.th/?knowledges=กะละแม-๑๐-พฤศจิกายน-๒๕๕๕
  4. ส.พลายน้อย. กระยานิยาย.กทม. มติชน. 2541

ดูเพิ่ม แก้