กอร์ดอน บราวน์

อดีตนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร

เจมส์ กอร์ดอน บราวน์ (อังกฤษ: James Gordon Brown; 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494) เป็นชาวสกอตแลนด์ผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรและควบตำแหน่งลอร์ดแห่งสภาการคลัง, รัฐมนตรีการสวัสดิการสังคม และหัวหน้าพรรคแรงงาน ซึ่งเข้ารับตำแหน่งในฐานะหัวหน้าพรรคแรงงานเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2550 โดยก่อนหน้านั้นเขาดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงการคลังในรัฐบาลของนายโทนี แบลร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - พ.ศ. 2550 และดำรงตำแหน่งสมาชิกรัฐสภาแห่งเขตเคิร์คแคลดีและเขตคาวเดินบีธมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527[1]

กอร์ดอน บราวน์
นายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร
ดำรงตำแหน่ง
27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
(2 ปี 318 วัน)
กษัตริย์เอลิซาเบทที่ 2
ก่อนหน้าโทนี แบลร์
ถัดไปเดวิด คาเมรอน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ดำรงตำแหน่ง
2 พฤษภาคม พ.ศ. 2540 – 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550
ก่อนหน้าเคนเนท คลาร์ก
ถัดไปอลิสแตร์ ดาร์ลิง
หัวหน้าพรรคแรงงาน
ดำรงตำแหน่ง
24 มิถุนายน พ.ศ. 2550 – 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ก่อนหน้าโทนี แบลร์
ถัดไปแฮเรียต ฮาร์แมน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2494 (73 ปี)
เรนฟริวเชอร์, สกอตแลนด์
ศาสนาคริสตจักรแห่งสกอตแลนด์
พรรคการเมืองพรรคแรงงาน
คู่สมรสซาราห์ บราวน์

ชีวิตในช่วงต้น แก้

นายบราวน์เกิดที่เขตกิฟฟ์นอค, เรนฟริวเชอร์, สกอตแลนด์ โดยบิดาชื่อนายจอห์น อีเบเนเซอร์ บราวน์ ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาคริสต์นิกายเชิร์ชออฟสกอตแลนด์ เป็นผู้มีอิทธิพลอย่างมากต่อนายบราวน์ ในปี พ.ศ. 2541 บิดาของนายบราวน์เสียชีวิตลงด้วยวัย 84 ปี ส่วนมารดาของเขาน์มีชื่อว่าเจสซี อลิซาเบธ ซูเตอร์ เสียชีวิตเมื่อปี พ.ศ. 2547 ด้วยวัย 86 ปี บราวน์ได้รับการเลี้ยงดูร่วมกับพี่น้องคือจอห์น บราวน์ และแอนดรูว์ บราวน์ โดยอาศัยอยู่ในบ้านสำหรับพระสอนศาสนาในเมืองเคิร์กคาลดี ซึ่งบ่อยครั้งทำให้เขาถูกกล่าวถึงในฐานะ "บุตรชายแห่งเคหาสน์พระ" (son of the manse) บราวน์เริ่มต้นรับการศึกษาที่โรงเรียนประถมเคิร์คแคลดีดีตะวันตก ที่ซึ่งเขาได้รับการคัดเลือกเข้าเรียนหลักสูตรเรียนเร่งรัดแบบทดลอง นั่นทำให้เขาสามารถเข้าศึกษาที่โรงเรียนมัธยมเคิร์คแคลดีได้เร็วกว่ากำหนด 2 ปี เมื่อมีอายุได้ 16 ปี เขาเขียนไว้ว่าเขารังเกียจและขุ่นเคืองการทดลองอัน "น่าหัวเราะ" ต่อเยาวชนเช่นนี้

ช่วงอายุ 16 ปี มหาวิทยาลัยเอดินบะระรับเขาเข้าศึกษาด้านประวัติศาสตร์ แต่เขาต้องทรมานจากอาการจอประสาทตาลอก (Retinal Detachment) หลังจากถูกเตะที่ศีรษะระหว่างแข่งขันรักบี้ปลายเทอมนัดหนึ่งเมื่อครั้งศึกษาที่โรงเรียนเก่า ถึงแม้จะรับการรักษาตั้งแต่การผ่าตัดหลายครั้งไปจนถึงการนอนในห้องมืดเป็นเวลาหลายสัปดาห์ แต่ท้ายที่สุดตาซ้ายของเขาก็บอดในเวลาต่อมา ส่งผลให้ตั้งแต่นั้นมาเขาจึงต้องใส่ลูกตาเทียมแทน เมื่อเข้าศึกษาที่เอดินบะระ ขณะกำลังเล่นเทนนิสเขาสังเกตถึงอาการลักษณะเดียวกันกับตาข้างขวา เขาจึงเข้ารับการศัลยกรรมที่โรงพยายาลหลวงแห่งเอดินบะระ (Edinburgh Royal Infirmary) ซึ่งทำให้สามารถรักษาตาข้างขวาไว้ได้ทัน

บราวน์สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิตศิลปศาสตร์เกียรตินิยมอันดับหนึ่งจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระเมื่อปี พ.ศ. 2506 และอยู่ศึกษาต่อจนได้รับปริญญาเอกในปี พ.ศ. 2515 จากวิทยานิพนธ์หัวข้อ พรรคแรงงานและการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสก็อตแลนด์ปี พ.ศ. 2461-2472 (The Labour Party and Political Change in Scotland 1918-1929) เดิมทีบราวน์ตั้งใจให้วิทยานิพนธ์ครอบคลุมตั้งแต่พัฒนาการของคณะแรงงานตั้งแต่ครสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นไป แต่ต่อมาได้ลดลงเหลือเพียงการอธิบายถึง "การดิ้นรนของพรรคแรงงานเพื่อตั้งมั่นตนเองเป็นตัวเลือกแทนพรรคอนุรักษนิยมในตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20"

ในปี พ.ศ. 2515 ถึงแม้จะยังเป็นเพียงนักศึกษา บราวน์ก็ได้รับการเลือกให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการแห่งมหาวิทยาลัยเอดินบะระเป็นผู้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยและดำรงตำแหน่งนี้จนถึงปี พ.ศ. 2518 ในช่วงนั้นเขายังเป็นบรรณาธิการหนังสือ เดอะเรดเพเพอร์ออนสกอตแลนด์ (The Red Paper on Scotland) เขาทำหน้าที่เป็นผู้บรรยายวิชาชั่วคราวที่เอดินบะระ แต่ถูกปฏิเสธที่จะให้ทำหน้าที่เป็นการถาวรเนื่องจากความเป็นนักกิจกรรมทางการเมือง เขาได้รับการว่าจ้างให้เป็นผู้บรรยายวิชาสาขารัฐศาสตร์ที่วิทยาลัยเทคโนโลยีแห่งกลาสโกลว์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2523 หลังจากนั้นเขาก็เข้าทำงานเป็นนักข่าวประจำสถานีโทรทัศน์แห่งสกอตแลนด์ และได้เป็นบรรณาธิการข่าวสังคมและการเมืองจวบจนได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภาในปี พ.ศ. 2526

ในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2522 นายบราวน์เป็นตัวแทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเอดินบะระใต้ แต่พ่ายแพ้ผู้ลงสมัครจากพรรคอนุรักษนิยม นายไมเคิล แอนแครม

รัฐสภาและตำแหน่งในฝ่ายค้าน แก้

นายบราวน์ได้รับการเลือกตั้งเข้ารัฐสภาในการลงสมัครครั้งที่ 2 ในฐานะตัวแทนลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของพรรคแรงงานเขตดันเฟิร์มไลน์ตะวันออก ในการเลือกตั้งทั่วไปในสหราชอาณาจักร พ.ศ. 2526 และรับตำแหน่งโฆษกฝ่ายค้านด้านการพาณิชย์และอุตสาหกรรมในปี พ.ศ. 2528 ถัดมาหนึ่งปีในปี พ.ศ. 2529 นายบราวน์ตีพิมพ์ชีวประวัติของนักการเมืองพรรคแรงงานอิสระ นายเจมส์ แม็กซ์ตัน ซึ่งเป็นหัวข้อวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเขา และดำรงตำแหน่งเลขาธิการเงาเอกสภาการคลังตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 - พ.ศ. 2532 ซึ่งต่อมาได้เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงพาณิชย์และอุตสาหกรรมก่อนจะได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีเงากระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2535

หลังจากการเสียชีวิตอย่างกะทันหันของนายจอห์น สมิธ ผู้นำพรรคแรงงานในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2537 บราวน์ถูกคาดหมายว่าจะเป็นผู้นำพรรคคนต่อไป แต่ในท้ายที่สุดเขาไม่ได้ลงสมัครเป็นหัวหน้าจนกระทั่งนายโทนี แบลร์ กลายมาเป็นที่ชื่นชอบของสมาชิกพรรค นอกจากนี้ยังมีข่าวลือมานานแล้วว่านายแบลร์และนายบราวน์ได้มีการทำข้อตกลงกันที่ภัตตาคารแกรนิตาในเขตอิสลิงตัน, ลอนดอน โดยตกลงกันว่าจะให้นายบราวน์ได้ควบคุมนโยบายเศรษฐกิจเป็นการตอบแทนที่บราวน์ไม่ลงสมัครแข่งขันกับนายแบลร์ในการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค ไม่ว่าเรื่องนี้จะเป็นความจริงหรือไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคนถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของความรุ่งโรจน์ของ พรรคแรงงานโฉมใหม่ และส่วนใหญ่แล้วทั้งสองยังคงดูมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันต่อหน้าสาธารณชน แม้จะมีข่าวลือถึงความขัดแย้งส่วนตัวที่รุนแรงก็ตาม

ในฐานะรัฐมนตรีเงา นายบราวน์ทำงานเพื่อนำเสนอตนเองในฐานะผู้มีความสามารถพอจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในอนาคต เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ภาคธุรกิจและชนชั้นกลางว่าพรรคแรงงานเป็นที่ไว้วางใจได้ในการบริหารเศรษฐกิจโดยไม่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงเกินไป, อัตราการว่างงานสูงขึ้น หรือการใช้จ่ายเกินตัวของภาครัฐ อย่างที่เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษที่ 1970 (พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2522) เขาให้คำมั่นสัญญาอย่างเปิดเผยว่าจะดำเนินตามแผนการใช้จ่ายของพรรคอนุรักษนิยมในช่วง 2 ปีแรกของการเข้ารับตำแหน่ง ต่อมาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการแบ่งเขตเลือกตั้งในสกอตแลนด์ เขาก็ได้เป็นสมาชิกรัฐสภาเขตเคิร์คแคลดีและเขตคาวเดินบีธในปี พ.ศ. 2548

บทบาทในฐานะรัฐมนตรี แก้

ช่วงเวลา 10 ปี 2 เดือน ของเขาในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้สร้างสถิติใหม่ ๆ ขึ้นหลายอย่างเช่น เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่มาจากพรรคแรงงานซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นเวลายาวนานที่สุดและเป็นผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานที่สุดนับแต่นิโคลัส แวนซิตทาร์ต ซึ่งเป็นรัฐมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2355 - พ.ศ. 2366 อย่างไรก็ตามวิลเลียม แกลดสโตน คือรัฐมนตรีที่มีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งรวมนานที่สุดคือ 12 ปี 4 เดือน จากการดำรงตำแหน่ง 4 วาระระหว่างปี พ.ศ. 2395 - พ.ศ. 2425

เว็บไซต์ของสำนักนายกรัฐมนตรียกย่องความสำเร็จ 3 อย่างเป็นพิเศษในช่วงเวลา 10 ปีของการดำรงตำแหน่งของนายบราวน์คือ

อ้างอิง แก้