กองบังคับการตำรวจทางหลวง

กองบังคับการตำรวจในประเทศไทย

กองบังคับการตำรวจทางหลวง (อังกฤษ: Highway Police Division) เป็นหน่วยงานในสังกัดของกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง มีหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยบนทางหลวงแผ่นดินนอกเขตกรุงเทพมหานครที่มีหมายเลข 1-3 ตัว และทางหลวงพิเศษ

กองบังคับการตำรวจทางหลวง
Highway Police Division
อาร์มของตำรวจทางหลวง
อักษรย่อบก.ทล.
คำขวัญห่วงใยทุกชีวิต เป็นมิตรทุกเส้นทาง
ข้อมูลองค์กร
ก่อตั้ง30 สิงหาคม, พ.ศ. 2503[1]
โครงสร้างเขตอำนาจ
หน่วยงานแห่งชาติประเทศไทย
เขตอำนาจในการปฏิบัติการประเทศไทย
ลักษณะทั่วไป
สำนักงานใหญ่2/486 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400

ผู้บริหารหน่วยงาน
  • พลตำรวจตรี จรูญเกียรติ ปานแก้ว[2], รักษาราชการแทนผู้บังคับการ
หน่วยงานปกครอง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
 • กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง
กองกำกับการ • 8 กองกำกับการ
เว็บไซต์
www.highway.police.go.th

ประวัติ แก้

กองบังคับการตำรวจทางหลวง ก่อตั้งขึ้นจากความต้องการของกระทรวงคมนาคม ได้เสนอให้จัดตั้งกองตำรวจทางหลวงขึ้นในกรมทางหลวงแผ่นดิน เพื่อจัดการดูแลและอำนวยความสะดวกในการจราจรที่ในยุคนั้นเริ่มมีความเจริญก้าวหน้าในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ทำให้เกิดอาชญากรรมและการกระทำผิดบนถนนหลวง[3]

ทำให้ในปี พ.ศ. 2503 กรมตำรวจจึงได้จัดตั้ง กองบังคับการตำรวจทางหลวงขึ้น ในพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ กรมตำรวจ พ.ศ. 2503 เป็นหน่วยงานในระดับกองบังคับการ สังกัดกองบัชญาการตำรวจสอบสวนกลาง

ภารกิจ แก้

ส่วนใหญ่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี ตรวจตรารักษาความสงบเรียบร้อยป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับความผิดทางอาญาและจราจร บริการประชาชนผู้ใช้ทางให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยในเขตทางหลวงและทางพิเศษที่อยู่ในอำนาจรับผิดชอบ และควบคุมดูแลการใช้ทางหลวงให้เป็นไปตามกฎหมาย

โครงสร้าง แก้

ฝ่ายอำนวยการ แก้

  • งานธุรการและกำลังพล
  • งานยุทธศาสตร์
  • งานการเงินและงบประมาณ
  • งานส่งกำลังบำรุงและพลาธิการ
  • งานคดีและกฎหมาย
  • งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • งานศูนย์รวมข่าว

กองกำกับการ 1 (สระบุรี) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 พระนครศรีอยุธยา (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นนทบุรี และปทุมธานี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 สระบุรี (จังหวัดสระบุรี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 ลพบุรี (จังหวัดลพบุรี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 นครสวรรค์ (จังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 เพชรบูรณ์ (จังหวัดเพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และพิจิตร)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 6 สิงห์บุรี (จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง และชัยนาท)

กองกำกับการ 2 (นครปฐม) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 นครปฐม (จังหวัดนครปฐมและสมุทรสาคร)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 เพชรบุรี (จังหวัดเพชรบุรี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 ประจวบคีรีขันธ์ (จังหวัดประจวบคีรีขันธ์)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 ชุมพร (จังหวัดชุมพรและระนอง)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 สุราษฎร์ธานี (จังหวัดสุราษฎร์ธานี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 6 กาญจนบุรี (จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม และสุพรรณบุรี)

กองกำกับการ 3 (ชลบุรี) แก้

  •  
    รถยนต์ราชการของตำรวจทางหลวง
    สถานีตำรวจทางหลวง 1 ฉะเชิงเทรา (จังหวัดฉะเชิงเทราและสมุทรปราการ)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 ชลบุรี (จังหวัดชลบุรี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 ระยอง (จังหวัดระยอง)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 จันทบุรี (จังหวัดจันทบุรีและตราด)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 ปราจีนบุรี (จังหวัดปราจีนบุรี นครนายก และสระแก้ว)

กองกำกับการ 4 (ขอนแก่น) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 ร้อยเอ็ด (จังหวัดร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ และมหาสารคาม)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 ขอนแก่น (จังหวัดขอนแก่น)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 อุดรธานี (จังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู หนองคาย และบึงกาฬ)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 เลย (จังหวัดเลย)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 สกลนคร (จังหวัดสกลนคร มุกดาหาร และนครพนม)

กองกำกับการ 5 (ลำปาง) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 ตาก (จังหวัดตาก)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 ลำปาง (จังหวัดลำปาง)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 พิษณุโลก (จังหวัดพิษณุโลก อุตรดิตถ์ และสุโขทัย)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 เชียงใหม่ (จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 พะเยา (จังหวัดเชียงราย)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 6 แพร่ (จังหวัดแพร่ พะเยา และน่าน)

กองกำกับการ 6 (อุบลราชธานี) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 นครราชสีมา (จังหวัดนครราชสีมา)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 บุรีรัมย์ (จังหวัดบุรีรัมย์)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 สุรินทร์ (จังหวัดสุรินทร์)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 อุบลราชธานี (จังหวัดอุบลราชธานีและศรีสะเกษ)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 อำนาจเจริญ (จังหวัดอำนาจเจริญและยโสธร)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 6 ชัยภูมิ (จังหวัดชัยภูมิ)

กองกำกับการ 7 (สงขลา) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 พังงา (จังหวัดพังงา ภูเก็ต และกระบี่)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 ตรัง (จังหวัดตรัง และพัทลุง)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 3 สงขลา (จังหวัดสงขลาและสตูล)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 4 นครศรีธรรมราช (จังหวัดนครศรีธรรมราช)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 5 ปัตตานี (จังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)

กองกำกับการ 8 (รามอินทรา) แก้

  • สถานีตำรวจทางหลวง 1 อ่อนนุช (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 0 แขวงพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ถึงกิโลเมตรที่ 78 ตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี)
  • สถานีตำรวจทางหลวง 2 รามอินทรา (ทางหลวงพิเศษหมายเลข 9)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้

อ้างอิง แก้

  1. ครบรอบ 61 ปี วันสถาปนา กองบังคับการตำรวจทางหลวง
  2. เด้งฟ้าผ่า! 'ผู้การทางหลวง' ย้ายเข้ากรุ ปมส่วยสติกเกอร์รถบรรทุก
  3. 21 (2021-08-30). "ครบรอบ 61 ปี วันสถาปนากองบังคับการตำรวจทางหลวง เดินหน้ายึดแนวทางปฏิบัติ". ข่าวสด.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)