กองทัพกู้ชาติ (ลิเบีย)

กองทัพกู้ชาติ (อาหรับ: جيش التحرير الوطني الليبي; อังกฤษ: National Liberation Army) หรือเดิมเรียก กองทัพปลดแอกลิเบีย (อังกฤษ: Free Libya Armed Forces) เป็นองค์การทางทหารลิเบียซึ่งเข้าร่วมกับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ที่สถาปนาขึ้นระหว่างสงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 โดยประกอบด้วยสมาชิกอาสาสมัครทหารและพลเรือนที่แปรพักตร์มารบต่อต้านกองทัพลิเบียและกองกำลังกึ่งทหารที่ยังภักดีต่อมูอัมมาร์ กัดดาฟี กองทัพกู้ชาติเตรียมพร้อมรบอยู่แล้ว โดยฝึกซ้อมกันในภาคส่วนลิเบียตะวันออก ภายใต้การควบคุมของกำลังต่อต้านกัดดาฟี เพื่อประจัญบานเต็มรูปแบบต่อฝ่ายนิยมกัดดาฟีในลิเบียตะวันตก[1][2] กองทัพกู้ชาติได้หักเข้าเบงกาซี มิสราตา เบรกา อัจดาบิยาห์ อัลเซวียาห์ และราสลานุฟ ได้เป็นผลสำเร็จ เช่นเดียวกับอีกหลายเมืองในเทือกเขานาฟูซา จนสุดท้ายเริ่มต้นยุทธการทริโปลีในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2554 เช่นเดียวกับการปลุกระดมการก่อการกำเริบภายในประเทศเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม

มีรายงานว่า ทหาร 8,000 คนในเบงกาซีติดอาวุธที่ยึดได้จากคลังสรรพาวุธที่กองทัพลิเบียละทิ้งไว้ รวมทั้งอาวุธ เอเค-47 และไรเฟิล FN FAL, อาร์พีจี (อาวุธ), เอสพีจี ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และรถถังอีกหลายคัน[3]

ชื่อ "กองทัพปลดแอกลิเบีย" นั้น เปลี่ยนมาเป็นชื่อปัจจุบันเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2554 เพื่อ "ช่วยนิยามความบากบั่นทำการรบอย่างมืออาชีพและเป็นระบบระเบียบ เพื่อจะเอาชัยเหนือระบอบกัดดาฟี" ตามแถลงการณ์ของสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ[4] กองทัพกู้ชาติใช้ธงสามสี ซึ่งเริ่มใช้ในลิเบียเมื่อ พ.ศ. 2494 และต่อมา กลายเป็นสัญลักษณ์ของสาธารณรัฐลิเบียและการกบฏต่อกัดดาฟี โดยถือว่า ธงดังกล่าวเป็นสัญลักษณ์เดียวกับเอกราชของลิเบียและเสรีภาพจากการยึดครองของอิตาลี

กำลัง แก้

ไม่มีประเมินตัวเลขกำลังทั้งหมดของกองทัพอันน่าเชื่อถือ ค่ายฝึกซึ่งถูกจัดตั้งขึ้นในเบงกาซีนั้น มี "ชายหลายพันคน" เข้าร่วมตามรายงานระหว่างวันที่ 3 ถึง 6 มีนาคม[5] ช่วงที่ฝ่ายต่อต้านยึดมาร์ซาเบรกา และราสลานุฟระหว่างการรุกวันที่ 2-4 มีนาคม ประเมินว่าฝ่ายกบฏมีกำลังระหว่าง 500 ถึง 1,000 คน[6] ในเทือกเขานาฟูซาเพียงแห่งเดียวมีนักสู้ฝ่ายกบฏมากถึง 2,000 คน[7]

กองทัพกู้ชาติใช้เวลานับแต่ปลายเดือนมีนาคมผลักดันฝ่ายรัฐบาลจากเบงกาซีมาจนถึงกรุงทริโปลีในเดือนสิงหาคม ทหารแต่ละนายจะได้รับบัตรประจำตัวพร้อมรูปถ่าย ชื่อ ชื่อกองพัน และหมู่เลือด บัตรประจำตัวเหล่านี้อยู่ในรูปของกระดาษในซองพลาสติกหรือบัตรพลาสติก[8][9]

ผู้จัดหายุทโธปกรณ์ แก้

  •   - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีรายงานว่าจัดหาไรเฟิลเบลเยียม FN-FAL ให้แก่ฝ่ายกบฏ[10]
  •   - อียิปต์มีรายงานว่า จัดหาอาวุธเบาส่วนใหญ่ อาทิ ปืนไรเฟิลจู่โจมและเครื่องกระสุนแก่ฝ่ายกบฏ[11]
  •   - ฝรั่งเศสได้ยอมรับว่าส่งอาวุธแก่ฝ่ายกบฏในเทือกเขานาฟูซา ซึ่งมีทั้งเครื่องยิงจรวด ขีปนาวุธต่อสู้รถถังมิลาน ตลอดจนปืนและเครื่องกระสุน[12][13][10]
  •   - กาตาร์มีรายงานว่าจัดหาอาวุธหลายชนิดให้แก่ฝ่ายกบฏ รวมทั้งระบบต่อสู้รถถังมิลาน และไรเฟิลเอ-เค 47 ซึ่งมีมากถึง 400 กระบอกตามการประเมินของฝ่ายกบฏ กาตาร์ยังได้ให้การสนับสนุนฝ่ายกบฏด้วยชุดเกราะและชุดอำพราง[8][14]
  •   - สหรัฐอเมริกากำลังเดินหน้าจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ วิทยุและความช่วยเหลืออื่นมูลค่า 25 ล้านดอลอล่าร์สหรัฐ ซึ่งจะไม่รวมไปถึงอาวุธตามคำกล่าวของรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ฮิลลารี คลินตัน[15]
  •   - สหราชอาณาจักรสนับสนุนเครื่องมือสื่อสารและชุดเกราะให้แก่ฝ่ายกบฏ เพื่อให้กำลังมีระเบียบมากขึ้นและกำหนดโครงสร้างบัญชาการกลาง

อาวุธร้ายแรงส่วนใหญ่ของกองทัพกู้ชาติมาจากคลังสรรพาวุธของกองทัพที่ถูกทิ้ง ทหารลิเบียแปรพักตร์ กองทัพอียิปต์ ฝรั่งเศสและกาตาร์[16][17]

อ้างอิง แก้

  1. "Libya rebel army says training before Tripoli push". Reuters. Feb 28, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-03-03. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  2. Nancy A. Youssef (Feb 28, 2011). "Libyan rebels admit their military is lacking". Miami Herald.
  3. David D. Kirkpatrick and Karim Faheem (February 28, 2011). "Libya rebels gain arms, defectors". Boston.com.
  4. "Libyan rebels rename themselves National Liberation Army". Times of India. 31 May 2011. สืบค้นเมื่อ 1 June 2011.
  5. Libya Rebel Recruits Head for Training as Insurgents Build Army by Ola Galal, Bloomberg Businessweek, 6 March 2011. Libyan rebel volunteers pour in by David Zucchino, Los Angeles Times, 3 March 2011.
  6. Libyan rebels make efforts to rearm as fighting intensifies, msnbc.com, 7 March 2011.
  7. http://www.nytimes.com/2011/06/26/world/africa/26libya.html?_r=2&pagewanted=1&ref=Western
  8. 8.0 8.1 http://english.aljazeera.net/indepth/features/2011/04/201141942947854663.html
  9. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-27. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  10. 10.0 10.1 http://www.nytimes.com/2011/06/30/world/europe/30france.html
  11. http://online.wsj.com/article/SB10001424052748704360404576206992835270906.html
  12. http://www.europe1.fr/International/Libye-la-France-a-arme-les-rebelles-607917/
  13. http://www.20minutes.fr/article/750061/libye-france-parachute-armes-legeres-rebelles-libyens
  14. Chivers, C. J. (20 April 2011). "Inferior Arms Hobble Rebels in Libya War". The New York Times.
  15. "Clinton recommends $25 million U.S. aid to Libyan rebels". Reuters. 20 April 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-24. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
  16. Chivers, C. J. (20 April 2011). "Inferior Arms Hobble Rebels in Libya War". The New York Times.
  17. Levinson, Charles (17 March 2011). "Egypt Said to Arm Libya Rebels". The Wall Street Journal.