กองกำลังป้องกันชาติ (ฝรั่งเศส)

กองกําลังป้องกันชาติฝรั่งเศส (ฝรั่งเศส: Garde nationale) เป็นกองกำลังสำรองของตำรวจ ฌ็องดาร์เมอรี (gendarmerie แปลว่า ตำรวจกึ่งทหาร) และกองทัพฝรั่งเศส ประจำการในรูปแบบปัจจุบันตั้งแต่ ค.ศ. 2016 แต่เดิมถูกก่อตั้งใน ค.ศ. 1789 ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศส

กองกําลังป้องกันชาติ
Garde nationale
ตราสัญลักษณ์ของกองกําลังป้องกันชาติฝรั่งเศส (ตั้งแต่ ค.ศ. 2016)
ประจำการค.ศ. 1789–1827
ค.ศ. 1831–1872
ค.ศ. 2016–ปัจจุบัน
ประเทศฝรั่งเศส
รูปแบบกองกำลังสำรอง
ฌ็องดาร์เมอรี
กำลังรบมากกว่า 77,000 นาย[1]
ขึ้นกับกองทัพบกฝรั่งเศส
ตำรวจแห่งชาติ
คำขวัญHonneur et Patrie
('เกียรติยศและปิตุภูมิ')
ปฏิบัติการสำคัญ (รายชื่อของสงครามที่เกี่ยวข้องกับฝรั่งเศส)
เว็บไซต์garde-nationale.gouv.fr (ในภาษาฝรั่งเศส)
ผู้บังคับบัญชา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมSébastien Lecornu
เลขาธิการแห่งกองกำลังป้องกันชาติGeneral Louis-Mathieu Gaspari
ผบ. สำคัญ ฌีลแบร์ ดูว์ มอตีเย, มาร์กี เดอ ลา ฟาแย็ต

ในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ กองกำลังป้องกันชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่นายทหารนั้น ถูกมองอย่างกว้างขวางว่า เป็นพวกที่ภักดีต่อผลประโยชน์ของชนชั้นกลาง ถูกก่อตั้งขึ้นโดยแยกตัวออกจากกองทัพบกฝรั่งเศสและการมีอยู่สำหรับทั้งการตรวจตรารักษาความสงบ และกองกำลังสำรองทหาร อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นตั้งแต่ ค.ศ. 1792 ถึง ค.ศ. 1795 กองกำลังป้องกันชาติได้ถูกมองว่าเป็นพวกฝ่ายปฏิวัติและระดับชั้นล่างถูกระบุโดยซ็อง-กูว์ล็อต ประสบกับช่วงเวลาแห่งการถูกยุบเลิกอย่างเป็นทางการ ตั้งแต่ ค.ศ. 1827 ถึง ค.ศ. 1830 แต่ก็ได้รับการก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ไม่นานภายหลังจากสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซียใน ค.ศ. 1870-71 กองกำลังป้องกันชาติในปารีสถูกมองอีกครั้งว่าเป็นพวกฝ่ายปฏิวัติที่เป็นภัยอันตราย ซึ่งส่งผลทำให้กองกำลังหน่วยนี้ต้องถูกยุบเลิกไปใน ค.ศ. 1871[2]

ใน ค.ศ. 2016 ฝรั่งเศสได้ประกาศก่อตั้งกองกำลังป้องกันชาติอีกครั้งเป็นครั้งที่สอง เพื่อเป็นการตอบโต้การโจมตีในประเทศหลายครั้งของเหล่าผู้ก่อการร้าย[3][4][5]

การก่อตั้ง แก้

การก่อตั้งของ "กองกำลังพิทักษ์กระฎุมพี"("garde bourgeoise") สำหรับปารีสได้ถูกพิจารณาโดยสมัชชาแห่งชาติ เมื่อวันที่ 11 กรกฏาคม ค.ศ. 1789 เพื่อตอบสนองต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 สั่งปลดฌัก แนแกร์ออกจากตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐฝรั่งเศสและขุนคลังเอก[6] แล้วให้บารอนแห่งเบรอเตยเข้ามาทำหน้าที่แทนอย่างรวดเร็วและน่าตกใจในวันนั้น การสับเปลี่ยนบุคคลครั้งนี้สร้างความโกรธแค้นและความรุนแรงลุกลามไปทั่วปารีสอย่างรวดเร็ว สมัชชาแห่งชาติได้ประกาศจัดตั้ง "กองทหารอาสาสมัครกระฎุมพี" ("milice bourgeoise") เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม[7][8] ในช่วงเช้าตรู่ของวันรุ่งขึ้น การค้นหาอาวุธสำหรับกองทหารอาสาสมัครหน่วยใหม่นี้นำไปสู่การบุกทลายศาลากลาง ออแตลเดแซ็งวาลีด และจากนั้นจึงบุกทลายคุกบัสตีย์

ลาฟาแย็ตได้รับเลือกให้เข้ารับตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทหารอาสาสมัครกระฎุมพี เมื่อวันที่ 14 กรกฏาคม และเปลี่ยนชื่อเป็น "กองกำลังป้องกันชาติแห่งปารีส" เมื่อกองกำลังพิทักษ์ฝรั่งเศส (French Guards) ได้ลุกฮือก่อกบฎ และถูกยุบเลิกในเดือนเดียวกัน ยศตำแหน่งและแฟ้มข้อมูลส่วนใหญ่ของอดีตกรมทหารหลวงหน่วยนี้กลายเป็นกลุ่มคนที่ได้รับการฝึกแบบเต็มเวลาของกองกำลังป้องกันชาติแห่งปารีส หน่วยทหารที่มีความคล้ายคลึงกันของกองกำลังป้องกันชาติถูกสร้างขึ้นด้วยตนเองในเมืองและเขตชนบทของฝรั่งเศสเพื่อตอบสนองต่อความหวาดกลัวอย่างกว้างขวางต่อความวุ่นวายโกลาหลหรือการต่อต้านการปฏิวัติ กองทหารอาสาสมัครกระฎุมพีได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นกองกำลังป้องกันชาติ เช่นเดียวในลีมอฌ ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1789 ซึ่งไม่อนุญาตให้มีหน่วยทหารหน่วยอื่น[9]

ในช่วงแรก เมืองใหญ่ เมืองเล็ก และหมู่บ้านแต่ละแห่งจะคอยกำกับดูแลกองกำลังป้องกันชาติที่ถูกดำเนินโดยรัฐบาลท้องถิ่นของตนในตำบลเป็นเวลาไม่เกินหนึ่งปี พวกเขารวมตัวกันเป็นหนึ่งเดียวในวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1790 ภายใต้การนำของลาฟาแย็ต ผู้ได้รับการแต่งตั้งเป็น "นายพลผู้บัญชาการกองกำลังป้องกันชาติทั้งปวงแห่งราชอาณาจักร" และรับผิดชอบต่อพระมหากษัตริย์ในฐานะผู้บัญชาการทหารสูงสุดแห่งกองทัพ

อ้างอิง แก้

  1. "La Garde nationale | garde-nationale.fr".
  2. "France to create new National Guard 'to protect its citizens'". Local.fr. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  3. "France to create new National Guard 'to protect its citizens'". Local.fr. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  4. "France to form National Guard to counter terrorist threat, Hollande says". France 24. 28 July 2016. สืบค้นเมื่อ 28 July 2016.
  5. France creates National Guard to battle terrorism
  6. Unknown (1788–1790). "Mr Necker". Archives départementales de la Seine-Saint-Denis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-05-25. สืบค้นเมื่อ 12 March 2020.
  7. A Self-Defining Bourgeoisie in the Early French Revolution: The Milice bourgeoise, the Bastille Days of 1789, and their Aftermath by Micah Alpaugh. In: Journal of Social History, 2014
  8. The Making of the Sans-culottes: Democratic Ideas and Institutions in Paris ... By Robert Barrie Rose, p. 49
  9. Almanach de la Garde nationale du Limousin, 1 janvier 1790, p. 48, 53