กว๊านพะเยา (ไทยถิ่นเหนือ: ) อยู่ในเขตอำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ คำว่า "กว๊าน" ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง "บึง" เกิดขึ้นจากกรมประมงได้ทำประตูกั้นน้ำไว้เพื่อให้ราษฎรมีน้ำใช้ในฤดูแล้ง และในฤดูฝนก็กั้นไม่ให้น้ำไหลแรงไปท่วมเรือกสวนไร่นาที่อยู่ปลายน้ำ ตั้งอยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากหลัง เกิดจากน้ำที่ไหลมาจากห้วยต่างๆ 18 สาย มีปริมาณน้ำเฉลี่ยปีละ 29.40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพันธุ์ปลาน้ำจืดถึง 45 ชนิด ใน 17 วงศ์[1] มีเนื้อที่ 12,831 ไร่ หรือ (20.529 ตารางกิโลเมตร) เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาต่างๆ ทัศนียภาพโดยรอบกว๊านพะเยา ทำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงามประทับใจผู้พบเห็น จนอาจจะกล่าวได้ว่าหัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่กว๊านพะเยา และด้วยความสมบูรณ์ของพันธุ์ปลาที่กว๊านพะเยา ทำให้เป็นแหล่งที่ผลิตปลาส้มรายใหญ่และขึ้นชื่อ จนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดพะเยา[1]

กว๊านพะเยา
พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าที่กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยาตั้งอยู่ในประเทศไทย
กว๊านพะเยา
กว๊านพะเยา
ที่ตั้งจังหวัดพะเยา, ประเทศไทย
ชนิดทะเลสาบนํ้าจืด
ประเทศในลุ่มน้ำประเทศไทย
พื้นที่พื้นน้ำ19.8 ตารางกิโลเมตร (7.6 ตารางไมล์)
ความลึกโดยเฉลี่ย1.5 เมตร (4.9 ฟุต)
ความลึกสูงสุด4 เมตร (13 ฟุต)
ความสูงของพื้นที่393 เมตร (1,289 ฟุต)
เมืองจังหวัดพะเยา
กว๊านพะเยา โดยมีทิวเขาผีปันน้ำอยู่เป็นฉากหลัง

ริมกว๊านพะเยาเป็นร้านอาหารและสวนสาธารณะให้ประชาชนพักผ่อนหย่อนใจ กว๊านพะเยาในอดีตแต่เดิมเคยเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำมีสายน้ำอิงไหลพาดผ่านคดเคี้ยวทอดเป็นแนวยาวไปตลอด จากทิศเหนือจรดขอบกว๊านฯ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประกอบกับมีหนองน้ำน้อยใหญ่หลายแห่งและร่องน้ำหลายสายที่ไหลลงมาจากขุนเขาดอยหลวงแล้วเชื่อมติดต่อถึงกัน ทำให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำแห่งนี้จึงมีความอุดมสมบูรณ์ยิ่งนักและมีผู้คนเข้ามาตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่เป็นชุมชนนานนับตั้งแต่โบราณ

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 หน้า 10 ทัศนะวิจารณ์, ปลาจ๋าอย่าหยุดร้องเพลงที่กว๊านพะเยา. "ร้อยแปดวิถีทัศน์" โดย สุกัญญา หาญตระกูล. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10101: วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

19°10′N 99°52′E / 19.167°N 99.867°E / 19.167; 99.867