กลุ่มภาษาปามีร์

กลุ่มภาษาปามีร์ (Pamir languages) เป็นกลุ่มย่อยของกลุ่มภาษาอิหร่าน พูดโดยชาวปามีร์บนเทือกเขาปามีร์ ตามแนวแม่น้ำปันช์ รวมบริเวณทางใต้ของจังหวัดโกร์โน-บาดักชาน ของทาจิกิสถาน และบริเวณบาดักซานทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน มีกลุ่มของผู้พูดภาษาเหล่านี้ส่วนหนึ่งในปากีสถาน ภาษาซาริโกลีซึ่งเป็นกลุ่มภาษาปามีร์ ใช้พูดตามแนวชายแดนปากีสถาน-จีน และถือว่าเป็นภาษาที่อยู่ทางตะวันออกสุดของกลุ่มภาษาอิหร่าน

สมาชิกของกลุ่มภาษาปามีร์รวมทั้งภาษาซุกนี ภาษาซาริโกลี ภาษายัซกุลยัม ภาษามุนจี ภาษาซังเลชิ-อิสกาซมี ภาษาวาคีและภาษายิดคา ทั้งหมดนี้เป็นกลุ่มภาษาอิหร่านใต้ และเรียงประโยคแบบประธาน-กรรม-กริยา

ภาษาบุลการ์ที่เป็นภาษาของบรรพบุรุษของชาวบัลแกเรีย เชื่อว่าเป็นกลุ่มภาษาปามีร์ แม้ว่าส่วนใหญ่จะจัดเป็นกลุ่มภาษาเตอร์กิก ชาวบุลการ์อพยพไปยังคาบสมุทรบอลข่านในพุทธศตวรรษที่ 12 รวมเข้ากับกลุ่มชนที่พูดภาษาสลาฟ และพัฒนาภาษาใหม่ที่เป็นกลุ่มภาษาสลาฟใต้ ซึ่งคือภาษาบัลแกเรียในปัจจุบัน

กลุ่มซุกนี-ยัซกุลามี แก้

ภาษาซุกนี ภาษาซาริโกลี และภาษายัซกุลยามจัดเป็นสาขาย่อยซุกนี-ยัซกุลามี มีผู้พูด 75,000 ในอัฟกานิสถาน และทาจิกิสถาน ใน พ.ศ. 2525 มีผู้พูดภาษาซาริโกลีอีกราว 20,000 คน ในหุบเขาซาริโกล มณฑลซินเจียง ประเทศจีน ภาษาซุกนีและภาษาซาริโกลีไม่สามารถเข้าใจกันได้ ใน พ.ศ. 2537 มีผู้พูดภาษายัซกุลยาม 4000 คนตามแนวแม่น้ำยัซกุลยามในทาจิกิสถาน ภาษานี้ไม่มีระบบการเขียน

ภาษามุนจี แก้

ภาษามุนจีใกล้เคียงกับภาษายิดคา ใน พ.ศ. 2535 มีผู้พูดราว 2500 คน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอัฟกานิสถาน

กลุ่มซังเลชิ-อิสการ์มี แก้

มีผู้พูดกลุ่มภาษานี้ราว 2500 คน ในอัฟกานิสถานและทาจิกิสถาน ไม่มีระบบการเขียน

ภาษาวาคี แก้

มีผู้พูดราว 29,000 คน ในอัฟกานิสถาน ทาจิกิสถาน ปากีสถานและจีน

ภาษายิดคา แก้

มีผู้พูดราว 6000 คนในปากีสถาน ใกล้เคียงกับภาษามุนจีในอัฟกานิสถานมาก

ภาษาวันจี แก้

มีผู้พูดตามแนวแม่น้ำวันจีในเขตปกครองตนเองโกร์โน-บาดักซานในทาจิกิสถาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 24 ดินแดนนี้ถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของเอมิเรตส์บูคาราน และมีการต่อต้านอย่างรุนแรง ในที่สุดภาษาวันจีได้สูญหายไป

อ้างอิง แก้

  • Payne, John, "Pamir languages" in Compendium Linguarum Iranicarum, ed. Schmitt (1989), 417-444.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้