กลุ่มภาษาทรานส์-นิวกินี

กลุ่มภาษาทรานส์นิวกินี (Trans–New Guinea; TNG) เป็นกลุ่มอย่างกว้างของภาษาในตระกูลภาษาปาปัว ที่ใช้พูดบนเกาะนิวกินีและเกาะใกล้เคียง แม้ว่าจะรู้จุดศูนย์กลางของภาษาได้อย่างแน่นอน แต่ขอบเขตและจำนวนภาษาที่เป็นสมาชิกยังเป็นที่โต้แย้ง มีข้อเสนอเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มภาษานี้ต่างกันถึง 3 แบบ

ภาษาในกลุ่มภาษาทรานส์นิวกินีตามแการแบ่งของ Ross สีขาว คือบริเวณที่ไม่มี, สีน้ำตาล คือภาษาออสโตรนีเซียน, และ สีเทาเข้ม ภาษาที่อยู่นอกกลุ่มทรานส์นิวกินี(After Ross 2005.)

ประวัติ แก้

แม้ว่าตระกูลภาษาปาปัวเป็นกลุ่มของภาษาที่มีเอกสารกล่าวถึงน้อยที่สุด แต่ภาษากลุ่มนี้กลับเป็นที่รู้จักกันดี กลุ่มภาษาเอเลมันถูกเสนอขึ้นเป็นครั้งแรกโดย S. Ray เมื่อ พ.ศ. 2450 และกลุ่มภาษาอ่าวไรใน พ.ศ. 2462 แต่จุดเริ่มต้นของกลุ่มภาษาทรานส์นิวกินีคือข้อเสนอของ Stephen Wurm ใน พ.ศ. 2503 ในนามของกลุ่มภาษาพื่นที่สูงของนิวกินีตะวันออก ซึ่งต่อมา Malcolm Ross ได้แตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆใน พ.ศ. 2548 ข้อเสนอนี้เป็นการเชื่อมโยงภาษากลุ่มต่างๆ คือ ชิมบู-วะห์กี โกโรกา และไกนันตูเข้าด้วยกัน ต่อมา ใน พ.ศ. 2513 Clemens Voorhoeve และ Kenneth McElhanon ได้แสดงรากศัพท์ที่มีความคล้ายคลึงกัน 91 คำ ระหว่างภาษานิวกินีตอนกลางและตอนใต้ กับภาษากลุ่มฟินิสเตอเร-ฮวน แต่ไม่ได้ศึกษาว่าความสัมพันธ์นี้เกิดจากสภาพทางภูมิศาสตร์ การยืมคำหรือการเปลี่ยนแปลงตามโอกาส พวกเขาเลือกใช้คำว่าทรานส์นิวกินีเพราะแนวโน้มของภาษากลุ่มนี้ได้แพร่กระจายไปตลอดเกาะนิวกินี จากคาบสมุทรบอมเบอไรในอิเรียนจายาตะวันตกและไปจนถึงคาบสมุทรฮวนทางตะวันออกในปาปัวนิวกินี

ใน พ.ศ. 2518 Wurm ยอมรับข้อเสนอของ Voorhoeve และ McElhanon และพยายามเชื่อมโยงภาษาในเกาะติมอร์เข้าในกลุ่มภาษาทรานส์-นิวกินีตะวันตก ซึ่งเป็นการขยายขอบเขตของภาษานี้ ให้ครอบคลุมเกาะนิวกินี เกาะติมอร์ และเกาะใกล้เคียง รวมภาษาไว้ 500 ภาษา มีผู้พูดมากกว่า 2,300,000 คน แต่หลักฐานที่ใช้เชื่อมโยงยังมีจุดให้โต้แย้งได้ เนื่องจากลักษณะทางไวยากรณ์เป็นสิ่งที่หยิบยืมกันได้ ภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนหลายภาษาบนเกาะนิวกินีมีโครงสร้างทางไวยากรณ์คล้ายกับภาษาในตระกูลภาษาปาปัว ในขณะที่ภาษาในตระกูลภาษาปาปัวหลายภาษาก็รับเอาลักษณะของภาษาในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียนเข้ามา ทำให้นักภาษาศาสตร์เช่น William Foley ปฏิเสธข้อเสนอของ Wurm หันไปยอมรับข้อเสนอของ Voorhoeve บางส่วน ไม่ยอมรับกลุ่มภาษาทรานส์นิวกินี และแตกเป็นกลุ่มภาษาย่อยๆมากมาย

ใน พ.ศ. 2548 Malcolm Ross ได้เสนอข้อเสนอเกี่ยวกับกลุ่มภาษาทรานส์-นิวกินีขึ้นใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากรากศัพท์เพียงอย่างเดียว ทำให้มีความคล้ายคลึงกับสมมติฐานของ Wurm ถึง 85%

ภาษา แก้

ภาษาในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มีผู้พูดไม่กี่พันคน มีเพียงสี่ภาษาเท่านั้น คือภาษาเมลปา ภาษาเองา ภาษาดานีตะวันตก และภาษาเอการี ที่มีผู้พูดมากกว่า 100,000 คน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดที่อยู่นอกเกาะนิวกินีคือภาษามากาแซ บนเกาะติมอร์ มีผู้พูด 70,000 คน ความหลากหลายทางด้านสัทศาสตร์ของภาษาในกลุ่มนี้พบมากในบริเวณที่สูงภายในเกาะนิวกินี ซึ่งเป็นบริเวณตอนกลางและด้านตะวันออกของเกาะนิวกินี บริเวณอิเรียนจายาที่อยู่ในประเทศอินโดนีเซีย มีความหลากหลายของภาษาน้อยกว่า Ross อธิบายปรากฏการณ์นี้ว่า เดิมผู้พูดภาษาเหล่านี้อยู่ที่บริเวณที่สูงของเกาะแล้วค่อยๆแพร่กระจายลงมา และเคลื่อนย้ายไปทางตะวันตกสุดเพียงเกาะติมอร์ เนื่องจากการขยายตัวเข้ามาของผู้พูดภาษากลุ่มออสโตรนีเซียน

อ้างอิง แก้

  • Pawley, Andrew (1998). "The Trans New Guinea Phylum hypothesis: A reassessment". ใน Jelle Miedema, Cecilia Odé, Rien A.C. Dam, eds. (บ.ก.). Perspectives on the Bird's Head of Irian Jaya, Indonesia. Amsterdam: Rodopi. pp. 655–90. ISBN 978-90-420-0644-7. OCLC 41025250. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  • Pawley, Andrew (2005). "The chequered career of the Trans New Guinea hypothesis: recent research and its implications". ใน Andrew Pawley, Robert Attenborough, Robin Hide, Jack Golson, eds. (บ.ก.). Papuan pasts: cultural, linguistic and biological histories of Papuan-speaking peoples. Canberra: Pacific Linguistics. pp. 67–107. ISBN 0-85883-562-2. OCLC 67292782. {{cite book}}: |editor= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)

แม่แบบ:Malcolm Ross Pronouns

แหล่งข้อมูลอื่น แก้