กระแตไต่ไม้ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Drynaria quercifolia, อังกฤษ: oak-leaf fern, pakpak lawin, gurar, koi hin, ashvakatri, หรือ uphatkarul) เป็นเฟิร์นอิงอาศัยในสกุลกระแตไต่ไม้ (Drynaria) กระจายพันธุ์ในเขตร้อน ตั้งแต่ประเทศศรีลังกา อินเดีย จีน เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฟิจิ และออสเตรเลีย พบเกาะอยู่ตามต้นไม้ใหญ่ หรือโขดหินที่ชุ่มชื้น ในป่าดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ป่าชายเลน

กระแตไต่ไม้
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: พืช
เคลด: พืชมีท่อลำเลียง
หมวด: Polypodiophyta
ชั้น: Polypodiopsida
อันดับ: Polypodiales
อันดับย่อย: Polypodiineae
วงศ์: Polypodiaceae
สกุล: Aglaomorpha
(L.) Hovenkamp & S. Linds.
สปีชีส์: Aglaomorpha quercifolia
ชื่อทวินาม
Aglaomorpha quercifolia
(L.) Hovenkamp & S. Linds.
ชื่อพ้อง[1]
  • Drynaria brancifolia (C. Presl) Moore
  • Drynaria morbillosa (C. Presl) Moore
  • Drynaria quercifolia (L.) J. Sm.
  • Drynariopsis morbillosa (C. Presl) Copel.
  • Phymatodes brancifolia (C. Presl) C. Presl
  • Phymatodes morbillosa C. Presl
  • Phymatodes quercifolia (L.) C. Presl
  • Phymatodes sylvatica (Schkuhr) C. Presl
  • Polypodium brancifolium C. Presl
  • Polypodium conjugatum Poir.
  • Polypodium morbillosum C. Presl
  • Polypodium quercifolium L.
  • Polypodium quercioides Desv.
  • Polypodium schkuhrii Bory
  • Polypodium siifolium Goldm.
  • Polypodium sylvaticum Schkuhr

ในประเทศไทยมีชื่อพื้นเมืองอื่นดังนี้ กระปรอกว่าว (ชลบุรี,ปราจีนบุรี) กูดขาฮอก (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เช้าวะนะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) เดาน์กาโละ (มลายู ปัตตานี) ใบหูช้าง (กาญจนบุรี) พุดองแคะ (กะเหรี่ยง แม่ฮ่องสอน) สะไบนาง (กาญจนบุรี) สะโมง (นราธิวาส,ส่วย สุรินทร์) และหัวว่าว (ใต้,ประจวบคีรีขันธ์)[2]

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ แก้

กระแตไต่ไม้มีเหง้าอ้วนทอดเลื้อย เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-4 ซ.ม. และยาวได้มากกว่า 1 เมตร ปกคลุมด้วยเกล็ดแคบหรือขนสีน้ำตาลแดง ขนยาวราว 1-1.8 ซ.ม. ใต้เหง้ามีรากสีน้ำตาล ทำหน้าที่ยึดเกาะและหาอาหาร ใบกาบ ไม่มีก้าน รูปไข่ ปลายแหลม โคนมน ขอบใบหยัก ตื้น ปลายมน ใบกาบจะผลิออกมาในช่วงฤดูฝน เป็นสีเขียวอ่อน เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูแล้ง จะแห้งเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลติดอยู่กับเหง้า ใบสปอร์ เป็นใบประกอบแบบขนนก เส้นใบเป็นร่างแห อับสปอร์ เกิดบนเส้นใบย่อยของใบสปอร์ อับสปอร์รูปกลม เรียงตัวเป็นระเบียบ 2 ข้างของเส้นกลางใบ[3][4]

อ้างอิง แก้

  1. Hassler, Michael & Schmitt, Bernd (June 2019). "Aglaomorpha quercifolia". Checklist of Ferns and Lycophytes of the World. Vol. 8. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-02. สืบค้นเมื่อ 2019-08-15.
  2. เต็ม สมิตินันทน์ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เก็บถาวร 2010-05-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พ.ศ. 2549
  3. กระแตไต่ไม้ fernsiam.com
  4. กระแตไต่ไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี