กระเพาะปัสสาวะ

อวัยวะในร่างกายของสิ่งมีชีวิต

กระเพาะปัสสาวะ (อังกฤษ: urinary bladder) เป็นอวัยวะซึ่งเก็บปัสสาวะที่ไตขับถ่ายออกมาก่อนกำจัดออกจากร่างกายโดยการถ่ายปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยะยืดหยุ่นและเป็นกล้ามเนื้อแอ่ง อยู่ ณ ฐานเชิงกราน ปัสสาวะเข้าสู่กระเพาะปัสสาวะทางท่อไตและออกทางท่อปัสสาวะ ปริมาตรของกระเพาะปัสสาวะระบุไว้ระหว่าง 500 ถึง 1000 มิลลิลิตร[1]

กระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะในหญิง (มองเห็นได้เพราะไม่มีต่อมลูกหมาก) แสดงเนื้อเยื่อบุผิวชนิดแปรเปลี่ยนและผนังในภาพขยายมิญชวิทยา
รายละเอียด
คัพภกรรมโพรงอวัยวะเพศและทางเดินปัสสาวะ (urogenital sinus)
ระบบระบบปัสสาวะ
หลอดเลือดแดงหลอดเลือดแดงกระเพาะปัสสาวะบน (superior vesical artery)
หลอดเลือดแดงกระเพาะปัสสาวะล่าง (inferior vesical artery)
หลอดเลือดแดงสะดือ (umbilical artery)
หลอดเลือดแดงช่องคลอด (vaginal artery)
หลอดเลือดดำข่ายหลอดเลือดดำกระเพาะปัสสาวะ (vesical venous plexus)
ประสาทข่ายประสาทกระเพาะปัสสาวะ (vesical nervous plexus)
ตัวระบุ
ภาษาละตินvesica urinaria
MeSHD001743
TA98A08.3.01.001
TA23401
FMA15900
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

เป็นอวัยวะที่มีผนังเป็นกล้ามเนื้อเรียบ อยู่หลังหัวหน่าว เมื่อไม่มีน้ำปัสสาวะรูปร่างคล้ายหัวเรือบดตัด แต่ส่วนมาก กระเพาะปัสสาวะมีน้ำปัสสาวะอยู่เสมอ ดังนั้นในขณะมีชีวิต จึงมีรูปร่างค่อนข้างกลม กระเพาะปัสสาวะมีความจุประมาณ 550 มิลลิลิตร แต่ โดยทั่วไปเมื่อมีปัสสาวะ 160 - 300 มิลลิลิตร ก็จะรู้สึกปวดปัสสาวะ และ ถ่ายปัสสาวะออก เมื่อมีน้ำปัสสาวะ 550 มิลลิเมตร มันจะสูงขึ้นมาอยู่หลังผนังหน้าท้อง ประมาณ 7 - 8 เซนติเมตร เหนือหัวหน่าว การถ่ายปัสสาวะจะต้องประกอบไปด้วย

  1. จำนวนปัสสาวะถ้าหากปัสสาวะเพิ่มมากขึ้นจนถึงจุดหนึ่ง ตั้งแต่ 150 - 400 ลบ.ซม. จะทำให้ผนังกระเพาะปัสสาวะตึงขึ้น
  2. เกิดรีเฟลกซ์การถ่ายปัสสาวะเนื่องจากการตึงของผนังกระเพาะปัสสาวะมีผลทำให้เกิดกระแสประสาทส่งไปยังไขสันหลังและสมองแล้วส่งกระแสประสาทกลับมากระตุ้นให้กล้ามเนื้อเรียบที่ผนังกระเพาะปัสสาวะบีบตัว
  3. ยิ่งความดันกระเพาะปัสสาวะมาก ยิ่งทำให้เกิดการอยากถ่ายปัสสาวะมากขึ้น การเกิดรีเฟลกซ์ การถ่ายปัสสาวะจะมีผลในการกระตุ้นให้สมองส่งกระแสประสาทมายงกล้ามเนื้อหูรูดมัดนอกของกระเพาะปัสสาวะให้คลายตัวและเกิดการถ่ายปัสสาวะขึ้น

อ้างอิง แก้