กระบวนการเผาไหม้นีออน

กระบวนการเผาไหม้นีออน (อังกฤษ: Neon-burning process) เป็นชุดของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นซึ่งเกิดขึ้นในดาวฤกษ์มวลมาก (อย่างน้อย 8 เท่าของมวลดวงอาทิตย์) การเผาไหม้นีออนต้องใช้อุณหภูมิและความดันที่สูงมาก (ประมาณ 1.2 x 109 K หรือ 100 KeV และ 4 x 109 kg/m3)

ที่อุณหภูมิสูงขนาดนั้น photodisintegration จึงส่งผลกระทบอย่างสำคัญ ทำให้นิวเคลียสอะตอมของนีออนบางตัวแตกตัวออกและปลดปล่อยอนุภาคอัลฟาออกมา[1]

20
10
Ne
 
γ  →  16
8
O
 
4
2
He
20
10
Ne
 
4
2
He
 
→  24
12
Mg
 
γ

Alternatively:

20
10
Ne
 
n  →  21
10
Ne
 
γ
21
10
Ne
 
4
2
He
 
→  24
12
Mg
 
n

ซึ่งนิวตรอนที่ถูกใช้ในในช่วงแรกจะถูกสร้างขึ้นมาใหม่ในขั้นที่สอง

การเผาไหม้นีออนเกิดขึ้นหลังจากที่กระบวนการเผาไหม้คาร์บอนได้เผาผลาญคาร์บอนทั้งหมดในแกนกลางไปแล้ว และสร้างแกนกลางที่ประกอบด้วยออกซิเจน/นีออน/แมกนีเซียมขึ้นมา แกนกลางจะหยุดการสร้างพลังงานฟิวชั่นและหดตัวลง การหดตัวทำให้ความหนาแน่นและอุณหภูมิสูงขึ้นจนถึงจุดที่ทำให้เริ่มเกิดการเผาไหม้นีออนได้

ระหว่างกระบวนการเผาไหม้นีออน จะมีการสะสมออกซิเจนและแมกนีเซียมที่แกนกลางขณะที่นีออนถูกใช้ไป หลังจากผ่านไปไม่กี่ปี ดาวฤกษ์จะใช้นีออนในตัวจนหมดและแกนกลางจะหยุดการสร้างพลังงานฟิวชั่นและหดตัวลงอีก คราวนี้ความดันจากแรงโน้มถ่วงจะเข้ามามีบทบาทและบีบอัดแกนกลาง ทำให้ความหนาแน่นและอุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจนสามารถเริ่มเกิดกระบวนการเผาไหม้ออกซิเจนได้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้