กระบวนการของธารน้ำ

กระบวนการของธารน้ำ [1][2](ละติน: Fluvial process, fluvius แปลว่า แม่น้ำ) ในทางภูมิศาสตร์ และวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึงกระบวนการที่แม่น้ำหรือธารน้ำทำให้เกิดธรณีสัณฐานรูปแบบต่าง ๆ

กระบวนการ แก้

แม่น้ำลำธารเป็นตัวการที่สำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศแบบต่าง ๆ เพราะน้ำมีอิทธิพลให้เกิดการเพิ่มและลดระดับของเปลือกโลก กระบวนการของทางน้ำ (fluvial process) มีอยู่ 3 ลักษณะได้แก่ การกร่อน (erosion) การพัดพา (transportation) และการทับถม (deposition)

การกัดเซาะ แก้

การกัดเซาะเป็นการแยกออกของวัตถุจากชั้นตะกอนหรือผิวด้านข้างของร่องน้ำ การไหลของกระแสน้ำสามารถกัดกร่อนได้ 2 แบบคือ[3]

  • การไหลของน้ำทำให้เกิดละลายของวัตถุหรือตะกอนในร่องน้ำ
  • การกระทำของน้ำ (hydraulic action) ที่กระทำด้านข้างหรือที่ชั้นตะกอนของร่องน้ำการหลุดออกของตะกอนทำให้เกิดการพัดพาต่อไป

การพัดพา แก้

จะมีธารน้ำเป็นการสำคัญที่ทำให้เกิดการพัดพา โดยจะพัดพาตะกอนไปได้มากแค่ไหนขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสน้ำ การพัดพามี 4 ประเภทคือ[4]

  1. การพัดพาสารละลาย (solution) - เป็นการพัดพาวัตถุที่ละลายน้ำได้ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต เกลือ
  2. การพัดพาสารแขวนลอย (suspension) - เป็นการพัดพาสารแขวนลอย เช่น ตะกอนขนาดทรายแป้ง และโคลน
  3. การพัดพาตะกอนขนาดเล็ก (saltation) - เป็นการพัดพาวัตถุที่มีขนาดเล็กโดยตะกอนจะกลิ้งไปตามท้องน้ำ
  4. การพัดพาตะกอนขนาดใหญ่ (traction) - เป็นการพัดพาวัตถุที่มีขนาดใหญ่ โดยที่ตะกอนจะถูกลากไปตามท้องน้ำ

การทับถม แก้

เนื่องจากความเร็วของกระแสน้ำและตะกอนมีปริมาณลดลง ทำให้ความสามารถในการเคลื่อนที่ของตะกอนลดลง ตะกอนที่มีขนาดใหญ่จะตะสะสมเป็นลำดับแรก ส่วนตะกอนที่มีขนาดเล็กและเบายังคงเคลื่อนที่ต่อไปก่อนจะตกสะสมในลำดับต่อมา

รูปแบบการไหล แก้

อ้างอิง แก้

  1. ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน เก็บถาวร 2017-07-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน พิมพ์คำว่า fluvial
  2. พจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา เก็บถาวร 2010-03-27 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ภาควิชาธรณีวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, หาคำว่า fluvial
  3. Geologic Work of Streams เก็บถาวร 2011-03-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน University of Wisconsin Steven Points (อังกฤษ)
  4. http://www.bbc.co.uk/schools/gcsebitesize/geography/riverswater/river_processesrev2.shtml River processes: Transport] BBC GCSE Bitesize (อังกฤษ)