กระต่ายน้อยปีเตอร์

กระต่ายน้อยปีเตอร์[1][2] หรือ เรื่องเล่าของปีเตอร์ แรบบิท[3] (อังกฤษ: The Tale of Peter Rabbit) เป็นวรรณกรรมเยาวชน เขียนและวาดภาพประกอบโดยบีทริกซ์ พอตเตอร์[4][5] เนื้อหาเป็นเรื่องราวของกระต่ายปีเตอร์ กระต่ายน้อยผู้ซุกซน โดยแม่กระต่ายผู้มารดาจะออกไปซื้อของ จึงบอกให้ลูก ๆ เล่นในทุ่ง แต่ห้ามไปเล่นในสวนของนายแม็กเกรเกอร์ เพราะพ่อกระต่ายเคยเข้าไปในนั้นแล้วถูกจับไปทำเป็นพายเนื้อกระต่าย แต่กระต่ายปีเตอร์ไม่เกรงกลัว ลอบเข้าไปในสวนนั้นและถูกนายแม็กเกรเกอร์ไล่ล่า[6] ที่สุดเขาฝ่าฟันอันตรายจนกลับไปถึงบ้าน แม่กระต่ายไม่ตำหนิเขาสักคำเดียว ทั้งยังชงชาคาโมมายล์ให้ปีเตอร์ดื่ม แล้วพูดสั้น ๆ ว่า "หนึ่งช้อนโต๊ะก่อนนอนนะจ๊ะ"[1] จำเดิมนางพอตเตอร์แต่งนิทานเรื่องนี้แก่โนเอล มัวร์ บุตรของแอนนี คาร์เตอร์ มัวร์ เมื่อ ค.ศ. 1893 ต่อมาพอตเตอร์นำนิทานนี้ไปพิมพ์เองขายเองใน ค.ศ. 1901 สำนักพิมพ์หลายแห่งปฏิเสธที่จะตีพิมพ์ กระต่ายน้อยปีเตอร์ หากแต่มีเพียงเฟรเดอริกโวร์นแอนด์โคที่ยอมรับผลงานของเธอไปตีพิมพ์ ปรากฏว่าขายดีมาก[4] หลังจากนั้นจึงตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง และได้รับการแปลถึง 36 ภาษา[7] ถือเป็นหนึ่งในหนังสือที่ขายดีที่สุดในประวัติศาสตร์[8]

กระต่ายน้อยปีเตอร์
The Tale of Peter Rabbit  
ตีพิมพืครั้งแรก, ตุลาคม ค.ศ. 1902
ผู้ประพันธ์บีทริกซ์ พอตเตอร์
ผู้วาดภาพประกอบบีทริกซ์ พอตเตอร์
ประเทศอังกฤษ
ภาษาอังกฤษ
ประเภทวรรณกรรมเยาวชน
สำนักพิมพ์เฟรเดอริกโวร์นแอนด์โค
วันที่พิมพ์ตุลาคม ค.ศ. 1902
ชนิดสื่อสิ่งพิมพ์ (ปกแข็ง)
หน้า56
OCLC12533701
เรื่องถัดไปเรื่องเล่าของกระรอกนัตกิ้น 

ในประเทศไทย มีการแต่งนิทานที่เขียนตามเค้าโครงเรื่อง กระต่ายน้อยปีเตอร์ นี้ เป็นหนังสือส่งเสริมการอ่านชั้นประถมศึกษา ใช้ชื่อเรื่องว่า กระต่ายน้อยเนตรแดง แต่งโดยหม่อมหลวงมณีรัตน์ บุนนาค ในรูปแบบร้อยกรอง โดยมีกำชัย ทองหล่อตรวจแก้คำประพันธ์ในหนังสือ ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2504[9] มีการเปลี่ยนแปลงชื่อตัวละครหลักเช่น "ปีเตอร์" เป็น "เนตรแดง" และ "นายแม็กเกรเกอร์" เป็น "นายสุข"[10]

เชิงอรรถ แก้

อ้างอิง
  1. 1.0 1.1 ธีรวงศ์ ธนิษฐ์เวธน์. "กระต่ายน้อยปีเตอร์". สมาคมไทสร้างสรรค์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-05. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "บีทริกซ์ พ็อตเตอร์". ร้านนายอินทร์. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "THE TALE OF PETER RABBIT เรื่องเล่าของปีเตอร์ แรบบิท". Meb's Pick. สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 เนตรทราย อินทรเจริญศักดิ์ (30 เมษายน 2550). "Miss Potter". คมชัดลึก. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  5. "ค้นพบนิทานของผู้เขียน "กระต่ายน้อยปีเตอร์ แรบบิท" หลังผ่านไปกว่าร้อยปี!". เอ็มไทย. 28 มกราคม 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-08-15. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "วรรณกรรมเยาวชนคลาสิก The Tale of Peter Rabbit". บีบีซีไทย. 16 กันยายน 2548. สืบค้นเมื่อ 29 เมษายน 2563. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. Mackey 2002, p. 33
  8. Worker's Press
  9. มณีรัตน์ บุนนาค, หม่อมหลวง. กระต่ายน้อยเนตรแดง. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2526, คำนำ
  10. มณีรัตน์ บุนนาค, หม่อมหลวง. กระต่ายน้อยเนตรแดง. กรุงเทพฯ : บำรุงสาส์น, 2526, หน้า 2-3
บรรณานุกรม