กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หรือ กสอ. (อังกฤษ: Department of Industrial Promotion) ในอดีตมีฐานะเป็นหน่วยงานระดับกอง ภายใต้กองอุตสาหกรรม สังกัดกรมพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐการ ต่อมาในปี พ.ศ. 2484 ถูกยกฐานะขึ้นเป็นกรมอุตสาหกรรม จากนั้นในปี พ.ศ. 2485 ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีบทบาทสำคัญด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่จำเป็นของประเทศ แม้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจะก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2485 แต่บทบาทด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมได้เริ่มมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่สงครามมหาเอเชียบูรพา กำลังเริ่มต้นขึ้นก่อนเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ผลกระทบจากสงครามในครั้งนั้นทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับภาวะขาดแคลนสินค้า เพื่อบรรเทาวิกฤตดังกล่าวรัฐบาลจึงเข้ามาส่งเสริมการผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคภายในประเทศ โดยมอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมของไทยให้เติบโตขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันที่ผ่านมา กรมส่งเสริม อุตสาหกรรมทำหน้าที่เสริมสร้างศักยภาพผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) และวิสาหกิจชุมชน (Micro Enterprise) ให้มีความเข้มแข็ง ท่ามกลางปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ภัยพิบัติ มาตรการ ทางการค้า ข้อกฎหมายใหม่ๆ และเทคโนโลยีที่เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งหนึ่งในความภาคภูมิใจสูงสุดของเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม คือ การเคียงข้าง พัฒนาและช่วยเหลือผู้ประกอบการในทุกสถานการณ์ เพื่อให้ผู้ประกอบการเป็นพลังอันแข็งแกร่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไทยให้ก้าวไกล สามารถแข่งขันและยืนหยัดบนเวทีระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป

กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
Department of Industrial Promotion
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง25 มกราคม พ.ศ. 2479
สำนักงานใหญ่ถนนพระรามที่ 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร 10400
งบประมาณประจำปี1,287.1873 ล้านบาท (พ.ศ. 2562)
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ภาสกร ชัยรัตน์[1], อธิบดี
  • วัชรุน จุ้ยจำลอง, รองอธิบดี
  • วาที พีระวรานุพงศ์, รองอธิบดี
  • ว่าง, รองอธิบดี
เว็บไซต์http://www.dip.go.th

ความสำเร็จของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในวันนี้ เป็นผลจากภารกิจ “ริเริ่ม - ส่งเสริม - วิจัยและพัฒนา” ที่ทำมาอย่างต่อเนื่องและก่อเกิดผลงานที่เป็นรูปธรรม โดยงานสำคัญหลายๆ งานที่ริเริ่มส่งเสริม และพัฒนาการผลิตมากมาย ยังคงเป็นรากฐานในการ พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศมาจนถึงทุกวันนี้ รวมถึงงานด้านวิจัยพัฒนาที่เจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้ค้นคว้า ทดลอง เพื่อค้นหาองค์ความรู้ใหม่ๆ ในการเพิ่มผลผลิตให้แก่ผู้ประกอบการ ปัจจุบันเมื่อโลกหมุนเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องบูรณาการ การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการปรับจุดยืนของอุตสาหกรรมไทยครั้งใหญ่ โดยเปลี่ยนผ่านก้าวสู่การเป็นอุตสาหกรรม ยุค 4.0 จากอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนโดยใช้แรงงานไปสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม อันก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในอนาคต กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงต้องปรับโครงสร้างภายในองค์กรให้ทันสมัยเท่าทันโลกการแข่งขัน ยุคใหม่ และสร้างประโยชน์สูงสุดให้เกิดแก่ SMEs ไทย ซึ่งต้องอาศัย การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะรวมพลังกันนำพาอุตสาหกรรมไทยเดินหน้าต่อไปได้อย่าง “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน”

ตราสัญลักษณ์ แก้

ประกอบด้วย 3 ส่วนได้แก่ พระนารายณ์ ฟันเฟือง และลูกศรสีธงชาติ ความหมายโดยรวมของสัญลักษณ์กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม หมายถึง การบริการ การสนับสนุน การส่งเสริม และการให้ความช่วยเหลือของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งกระจายไปสู่คนไทยเพื่อให้อุตสาหกรรมของชาติก้าวทะยานสู่ความสำเร็จ

พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ แก้

พระนารายณ์ หรือพระวิษณุ (อังกฤษ: Vishnu) เป็นสัญลักษณ์ที่กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความเคารพนับถือเพราะเป็นองค์เทพที่ช่วยเหลือมนุษย์เมือถึงคราวยุคเข็ญ พระนารายณ์ประทับอยู่ที่จุดศูนย์กลางของสัญลักษณ์ เพื่อสื่อความหมายว่าพระนารายณ์ คือจุดกำเนิดของการก่อตั้งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ฟันเฟือง แก้

ฟันเฟืองหรือเฟืองจักรอุตสาหกรรมแทนความหมายเกี่ยวกับภาระหน้าที่ของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม

ลูกศรสีธงชาติ แก้

พุ่งจากจุดกำเนิดแล้วกระจายออก แทนความหมายว่าการให้บริการและความช่วยเหลือต่างๆของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มุ่งกระจายไปสู่ประชาชนในชาติ ส่วนหัวลูกศร ชี้ขึ้นแทนความหมายว่าความช่วยเหลือต่างๆ ขององค์กร มีเป้าหมายทะยานพุ่งขึ้นสู่ความสำเร็จของคนในชาติโดยส่วนรวม

หน่วยงานภายใน แก้

  1. กลุ่มตรวจสอบภายใน
  2. สำนักงานเลขานุการกรม
  3. กองยุทธศาสตร์และแผนงาน
  4. กองพัฒนาขีดความสามารถธุรกิจอุตสาหกรรม
  5. กองพัฒนาดิจิทัลอุตสาหกรรม
  6. กองพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
  7. กองพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน
  8. กองพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  9. ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
  10. ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1-11[2]
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 จ.เชียงใหม่ ครอบคลุม 8 จังหวัด คือ กลุ่มภาคเหนือตอนบน 1 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน กลุ่มภาคเหนือตอนบน 2 เชียงราย น่าน พะเยา แพร่
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 2 จ.พิษณุโลก ครอบคลุม 5 จังหวัด กลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1 ตาก พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 3 จ.พิจิตร ครอบคลุม 8 จังหวัด แบ่งเป็นกลุ่มภาคกลางตอนบน 2 ชัยนาท ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง กลุ่มภาคกลางตอนล่าง 2 กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร อุทัยธานี
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 4 จ.อุดรธานี ครอบคลุม 5 จังหวัด เลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 5 จ.ขอนแก่น ครอบคลุม 7 จังหวัด แบ่งเป็นกลุ่มภาคอีสานตอนบน 2 นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กลุ่มภาคอีสานตอนกลาง กาฬสินธุ์ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 6 จ.นครราชสีมา ครอบคลุม 4 จังหวัด กลุ่มภาคอีสานตอนล่าง 1 นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 7 ครอบคลุม 4 จังหวัด กลุ่มภาคอีสานตอนล่าง 2 ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 8 ครอบคลุม 12 จังหวัด แบ่งเป็น กลุ่มภาคกลางตอนบน 1 นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา สระบุรี กลุ่มภาคกลางตอนล่าง 1 กาญจนบุรี นครปฐม ราชบุรี สุพรรณบุรี กลุ่มภาคกลางตอนล่าง 2 ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 9 ครอบคลุม 9 จังหวัด แบ่งเป็นกลุ่มภาคกลางตอนกลาง ฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี สมุทรปราการ สระแก้ว กลุ่มภาคตะวันออก จันทบุรี ชลบุรี ตราด ระยอง
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 10 ครอบคลุม 9 จังหวัด แบ่งเป็น กลุ่มภาคใต้ฝั่ง อ่าวไทย ชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สุราษฎร์ธานี กลุ่มภาคใต้ฝั่งอันดามัน กระบี่ ตรัง พังงา ภูเก็ต ระนอง
  • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 11 ครอบคลุม 5 จังหวัด กลุ่มภาคใต้ชายแดน นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา สตูล

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้