กรมสรรพาวุธทหารเรือ

กรมสรรพาวุธทหารเรือ (อักษรย่อ: สพ.ทร.;[12][13] อังกฤษ: Naval Ordnance Department) เป็นหน่วยงานของกองทัพเรือไทย ซึ่งมีบทบาทในการดำเนินการเกี่ยวกับการซ่อม, สร้าง และส่งกำลังพัสดุสายสรรพาวุธ รวมถึงการถอดทำลายวัตถุระเบิด[1][14] โดยมีเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือคนปัจจุบันคือ พลเรือโท[15] โสภณ รัชตาภิรักษ์[16]รองเจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือคนปัจจุบันคือพลเรือตรี กริช ขันธอุบล​[17]

กรมสรรพาวุธทหารเรือ
กรมสรรพาวุธทหารเรือ
ประเทศ ไทย
บทบาทซ่อมและสร้างเครื่องสรรพาวุธ[1]
การส่งกำลังพัสดุสายสรรพาวุธ[1]
การทำลายล้างวัตถุระเบิด[1]
การวิจัยและพัฒนาการสรรพาวุธ[1]
ให้การฝึกและศึกษาวิชาการสรรพาวุธ[1]
วิชาการอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย[1]
วันสถาปนา1 กรกฎาคม พ.ศ. 2451; 115 ปีก่อน (2451-07-01)[1]
ปฏิบัติการสำคัญความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2]
เก็บกู้ระเบิดยักษ์สมัยสงครามโลกครั้งที่สอง[3][4]
ผู้บังคับบัญชา
เจ้ากรมสรรพาวุธทหารเรือพลเรือโท[5] โสภณ รัชตาภิรักษ์[6]
ผบ. สำคัญร้อยเอก แอนเดอร์ซัน (H.F.A Anderson)[1]
พระยาศรยุทธเสนี (กระแส ประวาหะนาวิน)
พลเรือตรี หลวงดัษกรกำจาย (ดัด บุนนาค)
พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา[7]
พลเรือตรี รพล คำคล้าย[1]
พลเรือตรี สุรศักดิ์ แก้วแกมทอง[8]
พลเรือโท ณะ อารีนิจ[9]
พลเรือโท ธานินทร์ ลิขิตวงศ์[10]
พลเรือโท นิกิตติ์ ฑีร์ฆะยศ[11]

นอกจากนี้ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ยังเป็นหนึ่งในกำลังพลที่เข้าร่วมการปฏิบัติภารกิจความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย[2] รวมถึงได้รับมอบหมายในการเก็บกู้ระเบิดยักษ์ที่อยู่ใต้น้ำสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง ที่จังหวัดราชบุรี เนื่องด้วยทหารเรือมีความชำนาญใต้น้ำมากที่สุด[3][4]

ประวัติ แก้

 
อาวุธปล่อยนำวิถี ที่จัดไว้ ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

กรมสรรพาวุธทหารเรือเริ่มวางรากฐานกิจกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2443 โดยได้กำหนดตำแหน่งศักดินาในกรมทหารเรือในนาม “กรมคลังอาวุธภัณฑ์” และเชื่อกันตามหลักฐานบางส่วนว่ามีร้อยเอกแอนเดอร์ซัน (H.F.A Anderson) เป็นเจ้ากรมคนแรก[1]

ต่อมา กรมทหารเรือได้ดัดแปลงก่อสร้างบริเวณตึกหลวงแถวบางนาเป็นคลังสรรพาวุธ พร้อมกับให้ย้ายกองสรรพาวุธมาที่โรงสรรพาวุธ บางนา ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 จึงได้มีการถือวันดังกล่าว เป็นวันคล้ายวันสถาปนาจนถึงปัจจุบัน[1]

ที่จังหวัดชลบุรี เจ้าหน้าที่สรรพาวุธทหารเรือได้เก็บกู้กระสุนส่องสว่างจากปืนใหญ่ของเรือรบ ในเดือนกันยายน พ.ศ. 2556,[18] เก็บกู้ลูกกระสุนปืนใหญ่สำหรับปืนต่อสู้อากาศยาน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557,[19] เก็บกู้ระเบิดลูกปืน ค.60 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2558[20] และเก็บกู้ระเบิดเสียง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2559[21]

ในปี พ.ศ. 2561 ทางกองทัพเรือไทยได้เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก สำหรับส่งหน่วยปฏิบัติการพิเศษ และหาข่าว ซึ่งมีหลายหน่วยงานดำเนินภารกิจร่วมกัน ทั้งกรมสรรพาวุธทหารเรือ, กองเรือดำน้ำ กองเรือยุทธการ และกองการฝึก กองเรือยุทธการ[22]

การฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล แก้

กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกความพร้อมรบร่วมกันทางทะเล (อังกฤษ: Cooperation Afloat Readiness and Training; อักษรย่อ: CARAT) ระหว่างกองทัพเรือสหรัฐกับกองทัพเรือไทย[12][13]

กิจกรรมเพื่อสังคม แก้

ด้านกิจกรรมเพื่อสังคม อาทิ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2555 กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้มอบทุนการศึกษาแก่บุตรธิดาของข้าราชการและลูกจ้างในสังกัดจำนวน 355 ทุน[9] และในเดือนกันยายน พ.ศ. 2560 ทางสหกรณ์ออมทรัพย์ กรมสรรพาวุธทหารเรือ ได้มอบทุนการศึกษาแก่บุตรสมาชิกสหกรณ์จำนวน 352 ทุน[10]

รางวัลที่ได้รับ แก้

  • พ.ศ. 2558 : รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากเครื่องควบคุมมอเตอร์ สำหรับเลื่อนเป้ายิงปืนพก ในงานนาวีวิจัย 2015[23]
  • พ.ศ. 2558 : รางวัลสิ่งประดิษฐ์ดีเด่น – จากการผลิตลูกปืนต่อสู้อากาศยานขนาด 37 มิลลิเมตร ชนิดฝึก ในงานนาวีวิจัย 2015[23]
  • พ.ศ. 2560 : รางวัลระดับดีเลิศ – วันแห่งการจัดการความรู้ของกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2560 จากพลเรือเอก ณะ อารีนิจ ผู้บัญชาการทหารเรือ[24][25]

ยุทโธปกรณ์ แก้

ยานพาหนะภาคพื้นดิน แก้

รุ่น ภาพ ประเภท ที่มา หมายเหตุ
โตโยต้า คอมมิวเตอร์   รถตู้   ญี่ปุ่น รถเก็บกู้วัตถุระเบิด

ระเบียงภาพ แก้

อ้างอิง แก้

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 กองทัพเรือ จัดงาน ๑ กรกฎาคม วันคล้ายวันสถาปนากรมสรรพาวุธทหารเรือ
  2. 2.0 2.1 ไม่ใช่แค่ สวย แกร่ง เก่ง...แต่เสียสละสุด ๆ !! พร้อมแล้ว !! 121 "เหยี่ยวดำ" ทหารพรานหญิง นย.รุ่นแรกลงใต้.ผบ.ทร.ให้กำลังใจ และชื่นชมประดู่เหล็กหญิง
  3. 3.0 3.1 ถกกู้ระเบิดยักษ์ ใช้สรรพาวุธทหารเรือ - คมชัดลึก
  4. 4.0 4.1 ในประเทศ - เตรียมดำน้ำกู้'ระเบิดยักษ์'สมัยสงครามโลก จุดสร้างรถไฟทางคู่นครปฐม-หัวหิน
  5. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 7 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  6. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 33 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  7. พลเรือเอก ทวีศักดิ์ โสมาภา - โรงเรียนเตรียมทหาร
  8. กรมสรรพาวุธทหารเรือวุ่น! หม้อแปลงระเบิด บาดเจ็บ 9 ราย - Manager Online
  9. 9.0 9.1 กรมสรรพาวุธทหารเรือ มอบทุนการศึกษา - เดลินิวส์
  10. 10.0 10.1 สหประกันชีวิตร่วมยินดี 24 ปี สอ.สรรพาวุธทหารเรือ และร่วมสนับสนุนทุนการศึกษา
  11. ในประเทศ - ผู้บัญชาการทหารเรือลงพื้นที่ภาคตะวันออกตรวจเยี่ยมกำลังพล
  12. 12.0 12.1 "ฝึกผสม CARAT 2016 ระหว่างกองทัพเรือไทย กับ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกา ขนยุทธโธปกรณ์ร่วมฝึกเพียบ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-18. สืบค้นเมื่อ 2019-03-07.
  13. 13.0 13.1 เริ่มแล้ว! ฝึกร่วมทัพเรือไทย-สหรัฐฯ พร้อมต้อนรับเรือ USS Coronado เยือนไทย
  14. สรรพาวุธ ทร.เข้ากู้วัตถุคล้ายระเบิด สุดท้ายเป็นอะไหล่รถยนต์ - ไทยรัฐ
  15. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศทหารชั้นนายพล ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 39 ข หน้า 7 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  16. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 33 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  17. ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารรับราชการ ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 140 ตอน 209 ง หน้า 37 วันที่ 30 สิงหาคม 2566
  18. ผงะ! เจอกระสุนปืนใหญ่ในป่ามันฯ คาดถูกนำมาทิ้ง - ไทยรัฐ
  19. ผงะ! พบลูกกระสุนปืนใหญ่ถูกทึ้งริมถนน - ไทยรัฐ
  20. ผงะ! คนงานขุดเจอลูกปืน ค.60 กลางรีสอร์ตดังแสมสาร - ไทยรัฐ
  21. ลูกบ้านวิ่งหน้าตั้งแจ้งผู้ใหญ่บ้าน พบลูกระเบิดกลางป่าสัตหีบ - ไทยรัฐ
  22. ทัพเรือ เปิดตัวโครงการวิจัยเรือดำน้ำขนาดเล็ก - ข่าวสด
  23. 23.0 23.1 ทร.โชว์นวัตกรรมสุดยอดยุทโธปกรณ์ในงาน 'นาวีวิจัย 2015' - ไทยรัฐ
  24. ทร.ยกระดับขีดความสามารถกำลังพลในกิจกรรม 'วันแห่งการจัดการความรู้' - ไทยรัฐ
  25. หอประชุมกองทัพเรือ

แหล่งข้อมูลอื่น แก้