กรมศุลกากร (อังกฤษ: The Customs Department) เป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงการคลัง ก่อตั้งเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417 ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมีชื่อว่า "หอรัษฎากรพิพัฒน์"[2] มีหน้าที่เก็บภาษีอากรขาเข้าและขาออกเป็นรายได้ของรัฐ

กรมศุลกากร
The Customs Department
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง4 กรกฎาคม พ.ศ. 2417; 149 ปีก่อน (2417-07-04)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • หอรัษฎากรพิพัฒน์
เขตอำนาจทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
งบประมาณประจำปี4,267.7016 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • ธีรัชย์ อัตนวานิช, อธิบดี
  • นันท์ฐิตา ศิริคุปต์, รองอธิบดี
  • กิจจาลักษณ์ ศรีนุชศาสตร์, รองอธิบดี
ต้นสังกัดกระทรวงการคลัง
เว็บไซต์http://www.customs.go.th

ประวัติ แก้

 
"หอรัษฎากรพิพัฒน์" ในพระบรมมหาราชวัง ปัจจุบันปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

กิจการศุลกากรในประเทศไทย เริ่มมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยเรียกว่า "จกอบ" ต่อมาในสมัยอยุธยา ได้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่ด้านการตรวจเก็บภาษีขาเข้าเรียกว่า "พระคลังสินค้า"

ในยุครัตนโกสินทร์ ได้มีระบบการประมูลผูกขาดการเรียกเก็บภาษีอากร เรียกว่า "ระบบเจ้าภาษีนายอากร" ต่อมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 4 มีการติดต่อค้าขายมากขึ้น มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง เปลี่ยนแปลงการเก็บค่าธรรมเนียมปากเรือมาเป็น "ภาษีร้อยชักสาม" โดยมีโรงเก็บภาษีเรียกว่า "ศุลกสถาน" ต่อมาในปี พ.ศ. 2417 ได้มีการจัดตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นสำนักงานกลางในการรวบรวมรายได้ของแผ่นดิน และได้มีพัฒนาการเรื่อยมาจนเป็นกรมศุลกากร ที่มีบทบาทหน้าที่เน้นการจัดเก็บภาษีอากรจากของที่นำเข้ามาในและส่งออกนอกประเทศ

หน่วยงานในสังกัด แก้

ด่านศุลกากร แก้

ด่านศุลกากร ในสังกัดกรมศุลกากรมีจำนวนทั้งสิ้น 47 ด่าน[3] ดังนี้

  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 1 มีด่านศุลกากร จำนวน 8 ด่าน ได้แก่ คลองใหญ่ จันทบุรี ชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ แม่กลอง ระนอง สังขละบุรี และอรัญประเทศ
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 2 มีด่านศุลกากร จำนวน 10 ด่าน ได้แก่ ท่าลี่ เชียงคาน หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร เขมราฐ ช่องเม็ก ช่องสะงำ และช่องจอม
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 3 มีด่านศุลกากร จำนวน 9 ด่าน ได้แก่ แม่สาย เชียงแสน เชียงของ ทุ่งช้าง แม่สอด แม่สะเรียง ท่าอากาศยานเชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และเชียงดาว
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 4 มีด่านศุลกากร จำนวน 12 ด่าน ได้แก่ วังประจัน สตูล ปาดังเบซาร์ สะเดา บ้านประกอบ เบตง บูเก๊ะดา สุไหงโก-ลก ตากใบ ปัตตานี ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และสงขลา
  • สำนักงานศุลกากรภาคที่ 5 มีด่านศุลกากร จำนวน 8 ด่าน ได้แก่ บ้านดอน เกาะสมุย สิชล นครศรีธรรมราช กระบี่ ภูเก็ต ท่าอากาศยานภูเก็ต และกันตัง

อธิบดีกรมศุลกากร แก้

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. "ประวัติความเป็นมากรมศุลกากร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-18. สืบค้นเมื่อ 2010-07-28.
  3. ที่ตั้งสำนักงาน/ด่านศุลกากร กรมศุลกากร สืบค้นวันที่ 31 ธันวาคม 2563

ดูเพิ่ม แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้