สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์

หน่วยงานข้าราชการในพระองค์ของราชสำนักไทย
(เปลี่ยนทางจาก กรมราชองครักษ์)

สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์ (อังกฤษ: Office of the Aide-de-Camp) มีหน้าที่วางแผน สั่งการ อำนวยการและประสานงาน กำกับการ ถวายพระเกียรติ ถวายความปลอดภัย ดำเนินการตามพระราชกรณียกิจ พระราชกิจให้เป็นไปในความสงบเรียบร้อย และ ถวายงานตามพระราชประสงค์[2]

สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์
Office of the Aide-de-Camp
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้งพ.ศ. 2413; 154 ปีที่แล้ว (2413)
หน่วยงานก่อนหน้า
  • กรมราชองครักษ์
เขตอำนาจไทย ทั่วราชอาณาจักร
สำนักงานใหญ่หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัย
รักษาพระองค์
พระที่นั่งอัมพรสถาน 904
ถนนนครราชสีมา แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 10300
งบประมาณประจำปี742.2836 ล้านบาท (พ.ศ. 2559)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
  • พล.ร.อ วีระศักดิ์ อ๊อกกังวาล ร.น., ผู้บัญชาการสำนักงานราชองครักษ์ประจำพระองค์
  • พล.ร.อ ณัฏฐนันท์ วิเศษสมวงศ์ ร.น., รองผู้บัญชาการสำนักงานราชองครักษ์ประจำพระองค์
  • พล.อ.อ เชษฐา เหมือนเเก้ว, รองผู้บัญชาการสำนักงานราชองครักษ์ประจำพระองค์
ต้นสังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์
ลูกสังกัด
  • กองบัญชาการ
  • หน่วยเสนาธิการประสานงานในพระองค์ / ฝ่ายอำนวยการประจำพระองค์
  • หน่วยอำนวยการยุทธวังเเละเเผนงานอำนวยการในพระองค์
  • หน่วยวิทยาการราชองครักษ์
  • หน่วยบินเดโชชัย 3
เว็บไซต์www.royaloffice.th
ราชองครักษ์ สมัยรัชกาลที่ 6

กำเนิดกรมราชองครักษ์ แก้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มให้มีราชองครักษ์ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2413 ในคราวเสด็จประพาสประเทศสิงคโปร์และปัตตาเวีย (อินโดนีเซีย) ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ นายพลโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช (ขณะนั้นดำรงพระยศ นายร้อยเอก พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดิ์) ตามเสด็จฯ ซึ่งนับเป็น "ราชองครักษ์" พระองค์แรก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เรียกนายทหารรักษาพระองค์เหล่านี้ว่า "ราช-แอด-เดอ-แกมป์" ซึ่งคัดเลือกมาจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ ต่อมาเมื่อตั้งกรมยุทธนาธิการขึ้นเมื่อ วันที่ 8 เมษายน 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น "แอด-เดอ-แกมป์หลวง" และไปขึ้นการปกครองบังคับบัญชากับผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการต่อมาในปี พ.ศ. 2434 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามเป็น "ราชองครักษ์" สืบมาจนปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2441 (ร.ศ.117) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดระเบียบการสำหรับราชองครักษ์ให้เป็นหลักฐานมั่นคง ด้วยการตรา "พระราชบัญญัติราชองครักษ์ ร.ศ.117" ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2441 โดยในมาตรา 6 ระบุข้อความว่า "สมุหราชองครักษ์กับทั้งราชองครักษ์ประจำการพวกนี้ นับเป็นกรมหนึ่ง ขึ้นอยู่ใน กรมยุทธนาธิการ" กรมราชองครักษ์จึงถือเอา วันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2441 นี้ เป็นวันกำเนิดกรมราชองครักษ์ (Royal Thai Aide-De-Camp Department) ซึ่งมีสมุหราชองครักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560[3] ให้มีการจัดระเบียบบริหารราชการในพระองค์ และมีพระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560 กำหนดให้มี "กรมราชองครักษ์" โอนไปเป็นส่วนราชการในพระองค์[4] สังกัดหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และเปลี่ยนชื่อเป็น "สํานักงานราชองครักษ์ประจําพระองค์"[2] (Office of the Aide-de-Camp)[5]

วิวัฒนาการราชองครักษ์ แก้

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญและคุณประโยชน์ที่จะต้องมีราชองครักษ์ไว้ปฏิบัติราชการสนองพระเดชพระคุณโดยใกล้ชิด จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้คัดเลือก นายทหารรักษาพระองค์มาจากกรมทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์

ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำริเปลี่ยนแปลงแก้ไขความใน พระราชบัญญัติเดิมโดยตราเป็นพระราชบัญญัติราชองครักษ์ พ.ศ. 2459 ซึ่งจากเดิมที่กำหนดให้เฉพาะนายทหารบก เป็นราชองครักษ์เท่านั้นได้โปรดเกล้าฯให้นายทหารเรือ เข้ารับราชการเป็นราชองครักษ์ด้วยและสมุหราชองครักษ์มีสิทธิขาดในการนำความเข้ากราบบังคมทูลต่อพระมหากษัตริย์ได้โดยตรง บางคราวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งนายตำรวจภูธรและนายตำรวจนครบาลเป็นราชองครักษ์เป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากกฎเกณฑ์ในพระราชบัญญัติ ซึ่งนับเป็นกำเนิดของตำรวจราชสำนักเวร

เมื่อพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2468 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนแปลงระเบียบการเกี่ยวกับราชองครักษ์บางอย่างที่สำคัญ คือ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ราชองครักษ์แต่เดิมในรัชกาลก่อนคงเป็นราชองครักษ์ของพระองค์สืบต่อไปและทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ใช้ "ปลอกแขน"เป็นเครื่องหมายแสดงว่าเป็นราชองครักษ์ขณะปฏิบัติหน้าที่ประจำพระองค์

วิวัฒนาการราชองครักษ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขมาเป็นลำดับเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสภาวการณ์ในแต่ละรัชกาล ซึ่งในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบันได้มีกฎระเบียบและพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับราชองครักษ์ดังนี้ คือ ได้จำแนกราชองครักษ์ออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • ราชองครักษ์พิเศษ เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรและต้องปฏิบัติหน้าที่ราชองครักษ์ ในบางโอกาสตามพระราชประเพณี
  • ราชองครักษ์ในพระองค์ แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และคงรับราชการตามตำแหน่งเดิม มีหน้าที่ประจำ ตามเสด็จรักษาการณ์และปฏิบัติกิจการอื่นในส่วนพระองค์พระมหากษัตริย์
  • ราชองครักษ์ประจำพระองค์ แต่งตั้งจากนายทหารสัญญาบัตรประจำการ และเข้ารับราชการประจำในหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ มีหน้าที่ปฏิบัติกิจการในส่วนองค์พระมหากษัตริย์แล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
 
ตราราชการกรมราชองครักษ์

ราชองครักษ์ทุกคนจะต้องปฏิบัติหน้าที่ถวายความปลอดภัยและถวายพระเกียรติ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ณ ที่ประทับ รวมทั้งการเสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับแรม ณ พระตำหนักในต่างจังหวัด เพื่อทรงงานและเยี่ยมเยียนราษฏรในทุกพื้นที่ของประเทศ

คณะผู้บริหาร(กรมราชองครักษ์)ชุดสุดท้าย แก้

  1. พลเรือเอก เดชา บุญนาค รองสมุหราชองครักษ์[6]
  2. พลเอก พูลสวัสดิ์ ปัญจมานนท์ รองสมุหราชองครักษ์
  3. พลเอก พงษ์เทพ กนิษฐานนท์ รองสมุหราชองครักษ์
  4. พลเอก ณรงค์ แสงชนะศึก รองสมุหราชองครักษ์
  5. พลเรือเอก วีระศักดิ์ อ๊อกกังวาล รองสมุหราชองครักษ์
  6. พลเอก นนท์เกษม ขำเกษม รองสมุหราชองครักษ์
  7. พลเอก หม่อมหลวงทศนวอมร เทวกุล รองสมุหราชองครักษ์[7]
  8. พลอากาศเอก ธีระพล คล้ายพันธ์ รองสมุหราชองครักษ์
  9. พลอากาศเอก เดชา หันหาบุญ รองสมุหราชองครักษ์
  10. พลเรือเอก คมสรร บุษปะเวศ รองสมุหราชองครักษ์[8]
  11. พลเรือเอก คณีพล สงเจริญ รองสมุหราชองครักษ์[9]
  12. พลอากาศเอก พิเชษฐ์ ขาวจุ้ย เสนาธิการกรมราชองครักษ์[10]

วันที่ 10 ธันวาคม 2559 มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารพ้นจากราชการ [11]เนื่องจากลาออกจากราชการ รองสมุหราชองครักษ์ และเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2560 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชโองการ ประกาศ เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายทหารลาออกจากราชการ ความว่า มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ พลเอก สายัณห์ คัมภีร์พันธุ์ อดีตสมุหราชองครักษ์ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ลาออกจากราชการเพื่อรักษาตัว ตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2560 [12]วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561 ได้มีพระบรมราชโองการประกาศโปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งจำนวน 44 รายโดยย้ายผู้บริหารกรมราชองครักษ์​ทั้งหมด[13]โดยให้มีผลตั้งแต่ วันที่ 1 สิงหาคม 2560

ภารกิจหลัก แก้

 
ราชองครักษ์ขณะปฏิบัติหน้าที่

มีหน้าที่วางแผน สั่งการ อำนวยการและประสานงาน กำกับการ ถวายพระเกียรติ ถวายความปลอดภัย ดำเนินการตามพระราชกรณียกิจ พระราชกิจให้เป็นไปในความสงบเรียบร้อย และ ถวายงานตามพระราชประสงค์[14] ทั้งนี้ ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตาม พระราชประสงค์และราชประเพณี โดยสรุปก็คือ การถวายความปลอดภัยและการถวายพระเกียรติ

หน่วยงานในสังกัด แก้

  1. กองบัญชาการฯ มีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการวางเเผน ควบคุมการปฏิบัติในการถวายความปลอดภัย ถวายอารักขา ถวายพระเกียรติ รวมทั้งการธุรการเเละกำลังพล การส่งกำลังบำรุง การสนับสนุนสายพลาธิการ ขนส่ง การบริการ สายการเเพทย์ งานห้องสมุดหลวง คลังพัสดุ ครุภัณฑ์ เอกสารประวัติศาสตร์ของหน่วย การงบประมาณเเละการเงิน มีผู้บัญชาการกองบัญชาการฯ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  2. หน่วยเสนาธิการประสานงานในพระองค์ / ฝ่ายอำนวยการประจำพระองค์ มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และปฏิบัติการระวังป้องกัน ในการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ มีผู้อำนวยการสำนักงานรักษาความปลอดภัย เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  3. หน่วยอำนวยการยุทธวังเเละเเผนงานอำนวยการในพระองค์  มีหน้าที่พิจารณาเสนอความเห็น วางแผน อำนวยการ ประสานงาน ดำเนินการเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัย การธุรการ การกำลังพล การข่าว การยุทธการ การฝึกและศึกษา การสื่อสารและสารสนเทศ การงบประมาณ ในการสนับสนุนการรักษาความปลอดภัย สำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ และการคุ้มครองพยานในคดีอาญา มีผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  4. หน่วยวิทยาการราชองครักษ์ มีหน้าที่ วางเเผน อำนวยการ ประสานงาน กำกับดูเเล เเละติดตามการปฏิบัติงานด้านพระราชพิธีสายวิทยาการราชองครักษ์ มีผู้บัญชาการหน่วยวิทยาการราชองครักษ์ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
  5. หน่วยบินเดโชชัย 3 มีหน้าที่วางแผน อำนวยการ ประสานงาน และปฏิบัติการเกี่ยวกับงานกิจการพิเศษ ตามพระราชกระแส หรือพระราชประสงค์ ในการสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ มีผู้อำนวยการสำนักงานกิจการพิเศษ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ

อ้างอิง แก้

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 เล่ม 132 ตอนที่ 91ก วันที่ 25 กันยายน 2558
  2. 2.0 2.1 "โครงสร้างหน่วยงาน หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์". www.royaloffice.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
  4. พระราชกฤษฎีกาจัดระเบียบราชการและการบริหารงานบุคคลของราชการในพระองค์ พ.ศ. 2560
  5. "Organization Structure - Royal Office". www.royaloffice.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/122/1.PDF
  7. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/079/33.PDF
  8. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/287/3.PDF
  9. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/E/181/1.PDF
  10. http://www.matichon.co.th/news/328294
  11. http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2559/E/287/4.PDF
  12. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ :0
  13. โปรดเกล้าฯแต่งตั้งข้าราชการในพระองค์ให้ดำรงตำแหน่งจำนวน 44 ราย​
  14. พระราชบัญญัติระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ. 2551ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 26 ก วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2551 หน้า 35

พระราชบัญญัติ การถวายความปลอดภัย พ.ศ. ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

ดูเพิ่ม แก้